xs
xsm
sm
md
lg

หญ้าหวานแทนน้ำตาลหวานที่เป็นยา / พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



คอลัมน์ “Golf Healing” โดย “พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎ และ โรงพยาบาลรามคำแหง มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมากกว่า 30 ปี somsak_doctor@hotmail.com”

"เอสเปรสโซ่ร้อนกลับบ้าน 3 แถ้วครับ" เจ้าเก่งสั่งกาแฟเพื่อคุณชูสง่าและพี่หมอเหมือนเคย "กาแฟของเขาหอมดีนะครับ แต่ขมปี๋เลย ผมอดเติมน้ำตาลไม่ได้" เด็กอ้วนสารภาพ

"มิน่าเบาหวานมึงไม่ลงเลย" พี่หมอเซ็งความประพฤติไอ้เด็กอ้วน แต่ก็อดสงสารมันไม่ได้ที่เป็นพวกติดหวานเหมือนชาวบ้านทั่วๆ ไป

ส่วนเฮียรับรู้เหตุการณ์แล้วพูดอย่างผู้ใหญ่ใจดี "เอางี้เดี๋ยวจะขโมยหญ้าหวานของซ้อมาให้พวกมึงไว้เติมกาแฟแทนน้ำตาล"

"ทำไมต้องขโมยละเฮีย"

"ก็ซ้อเขาหวง"

หลายคนเปลี่ยนไลฟ์สไตล์มาเป็นคนรักสุขภาพทั้งการออกกำลังกายและมองหาอาหารออร์แกนิคมาเติมเต็มมื้ออาหารต่างๆ มีการเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มรสหวาน แต่ด้วยนวัตกรรมที่ก้าวหน้าในปัจจุบันได้มีการนำเอาสารให้ความหวานต่างๆ มาช่วยแก้ปัญหาในส่วนนี้ โดยเป็นสารที่ได้มาจากธรรมชาติและยังให้ประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างเต็มเปี่ยม

"หญ้าหวาน" เป็นพืชในตระกูลทานตะวัน เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศบราซิลและปารากวัยในทวีปอเมริกาใต้ ช่วงพื้นเมืองรู้จักและนำมาสกัดเพื่อใช้บริโภคหลายศตวรรษแล้ว ต่อมาประเทศญี่ปุ่นได้นำไปใช้ผสมผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ เช่น เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว ผักดอง เนื้อปลาบด เป็นต้น ได้มีการนำเข้ามาปลูกในภาคเหนือของไทยในช่วงปี 2518 ที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน

สรรพคุณของหญ้าหวาน มีมากมายสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดด้วยคุณสมบัติที่ปราศจากพลังงาน ร่างกายจึงสามารถขับออกมาได้ทันที นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าหญ้าหวานอาจช่วยเพิ่มการผลิตอินซูลินและกระตุ้นการทำงาานของอินซูลินให้ดีขึ้นได้ ทำให้หญ้าหวานสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานและเนื่องจากหญ้าหวานมีคุณสมบัติช่วยลดไขมันในเลือดและลดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยแล้วจึงมีประโยชน์ในการช่วยป้องกันโรคหัวใจ เบาหวาน โรคอว้วน และโรคความดันโลหิตสูง บำรุงตับ และบำรุงกำลัง ยังช่วยทดแทนเกลือแร่ในผู้ป่วยที่มีภาวะขาดน้ำ

หญ้าหวานยังเป็นทางเลือกของคนอ้วน โดยให้ความหวานเหมือน้ำตาล แต่ไม่ให้พลังงานจึงรับประทานเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน ใช้ในการควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี

ข้อควรระวังในการรับประทานหญ้าหวาน แม้ว่าการศึกษาในปัจจุบันยังไม่พบว่าการใช้หญ้าหวานเป็นอันตรายแก่ร่างกายแถมยังเป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพทดแทนน้ำตาลได้เป็นอย่างดี แต่อย่าลืมว่าความเป็นจริงอะไรที่มากเกินไปก็ย่อมไม่ดี ดังนั้นการใช้หญ้าหวานก็ควรคำนึงถึงปริมาณที่เหมาะสมด้วย เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดและมั่นใจได้ว่าปลอดภัยต่อสุขภาพจริงๆ
กำลังโหลดความคิดเห็น