คอลัมน์ “สกอร์บอร์ด” โดย “แมวดำ”
เมื่อเวลา 19.00 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 คงเป็นช่วงเวลานาทีอันทำใจยอมรับยากยิ่งของปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าที่ได้รับข่าวร้ายที่สุดถึงการสูญเสียพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่ง แม้จะผ่านมาแล้วหลายวัน แต่ความเศร้าโศกและเสียใจยังคงมีอยู่ในหัวใจคนไทยทุกคนที่รักและเทิดทูนพระองค์ท่าน ผู้ทรงทำประโยชน์สูงสุดให้กับทุกวงการ ไม่เว้นแม้แต่วงการกีฬา
สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงเป็นกษัตริย์นักกีฬาอย่างแท้จริง นอกจากจะมีพระอัจฉริยภาพด้านกีฬาเรือใบ ยังทรงพระดำเนินออกพละกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นกีฬาแบดมินตัน หรือแม้แต่ทรงวิ่งในพื้นที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐานยังมีทางวิ่งยาวถึง 3 กิโลเมตร เช่นเดียวกับพระราชวังไกลกังวล หัวหิน ก็มีทางวิ่งเช่นเดียวกัน
แต่กีฬาที่ทรงถนัดมาก ๆ คือ เรือใบ นั้น ทราบว่า ทรงมีความสนพระราชหฤทัยตั้งแต่พระชนม์ปลาย 30 พรรษา ต่อต้น 40 พรรษา จากการทรงต่อเรือใบเล็ก ประเภทที่เรียกว่า “ดิงกี้” ขึ้นมาถึง 6 ลำ โดยมี ม.จ.ภีศเดช รัชนี ทรงเป็นผู้ช่วย โดยเรือใบลำแรกที่ทรงต่อสำเร็จหลังวันเฉลิมพระชนมพรรษาปี พ.ศ. 2507 ได้รับพระราชทานนามว่า “ราชปะแตน”
ซึ่งจากหนังสือ “พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช กลางใจราษฎร์ หกทศวรรษแห่งการทรงงาน” ช่วงหนึ่งมีการระบุว่า พระองค์ทรงตั้งสโมสรหมวดเรือใบหลวงจิตรลดา เพื่อส่งเสริมการแข่งขันเรือใบ ส่วนคู่แข่งสำคัญของพระองค์คือ ม.จ.ภีศเดช รัชนี หรือ “ท่านภี” ผู้ช่วยต่อเรือคนสำคัญของพระองค์ ขณะที่อีกพระองค์ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช หรือที่ชาวตะวันตกรู้จักกันในนาม “เจ้าชายพีระแห่งสยาม” หรือ B.Bira ที่ทรงโด่งดังในฐานะนักขับรถแข่งระดับโลกช่วงทศวรรษ 1930 (พ.ศ. 2473 - 2482) และในทศวรรษ 1950 (พ.ศ. 2493 - 2502) พระองค์เจ้าพีระ ทรงเคยแข่งขันเรือใบมาแล้ว ทั้งในโอลิมปิก ที่เมลเบิร์น, โรม, โตเกียว และ มิวนิก
สำหรับคู่แข่งคนสุดท้าย คือ ดร.รชฏ กาญจนวณิชย์ วิศวกรผู้ซึ่งเป็นนักแข่งเรือใบระดับโอลิมปิก และสมาชิกสโมสรหมวดเรือใบจิตรลดาอีกด้วย โดย ม.จ.ภีศเดช ทรงเล่าเอาไว้ว่า เมื่อครั้งอดีตนั้นพระเจ้าอยู่หัวของเราทรงโปรดบรรยากาศการแข่งขันที่หัวหินมาก และระยะต้น ๆ ก็ทรงแพ้อยู่บ่อย “ผมเคยชนะท่านมาสามปี จากนั้นท่านเก่งขึ้นเรื่อย ๆ สามปีหลังท่านชนะตลอด ตอนแรก ๆ ท่านยังไม่ทรงมีประสบการณ์ในการเล่นเรือใบ และการแข่ง แต่หลังจากสามปีแล้วพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงเริ่มชนะ”
ครั้งหนึ่งพระเจ้าอยู่หัว ต้องทรงนำเรือกลับเข้าฝั่ง เนื่องจากชนกับเรือของ ม.จ.ภีศเดช ครั้งนั้นพระมหากษัตริย์ของเราไม่ได้โกรธกริ้วแต่ประการใด อีกทั้งทรงแสดงออกด้วยการใส่พระนามของ ม.จ.ภีศเดช ลงในบัญชีรายชื่อผู้ที่จะได้รับตราปฐมจุลจอมเกล้าปีนั้นด้วย โดย “ท่านภี” ทรงเล่าว่า “ตอนนั้นก่อนวันฉัตรมงคลประมาณหนึ่งสัปดาห์ พระองค์ธานี (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัตร กรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากร) ได้เสด็จมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้าฯ ถวายชื่อผู้สมควรได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสว่า เหตุที่ชื่อของผมแวบขึ้นในพระราชหฤทัยก็เพราะเรือผมไปชนเรือใบพระที่นั่งของพระองค์ท่านเข้า ท่านแล่นช้า ผมก็ชนเรือท่าน ท่านต้องหลบเราแล้วท่านไม่หลบก็เลยโดนเรือผม ท่านก็ออกจากการแข่งขันเพราะผิดกติกา”
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *
เมื่อเวลา 19.00 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 คงเป็นช่วงเวลานาทีอันทำใจยอมรับยากยิ่งของปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าที่ได้รับข่าวร้ายที่สุดถึงการสูญเสียพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่ง แม้จะผ่านมาแล้วหลายวัน แต่ความเศร้าโศกและเสียใจยังคงมีอยู่ในหัวใจคนไทยทุกคนที่รักและเทิดทูนพระองค์ท่าน ผู้ทรงทำประโยชน์สูงสุดให้กับทุกวงการ ไม่เว้นแม้แต่วงการกีฬา
สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงเป็นกษัตริย์นักกีฬาอย่างแท้จริง นอกจากจะมีพระอัจฉริยภาพด้านกีฬาเรือใบ ยังทรงพระดำเนินออกพละกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นกีฬาแบดมินตัน หรือแม้แต่ทรงวิ่งในพื้นที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐานยังมีทางวิ่งยาวถึง 3 กิโลเมตร เช่นเดียวกับพระราชวังไกลกังวล หัวหิน ก็มีทางวิ่งเช่นเดียวกัน
แต่กีฬาที่ทรงถนัดมาก ๆ คือ เรือใบ นั้น ทราบว่า ทรงมีความสนพระราชหฤทัยตั้งแต่พระชนม์ปลาย 30 พรรษา ต่อต้น 40 พรรษา จากการทรงต่อเรือใบเล็ก ประเภทที่เรียกว่า “ดิงกี้” ขึ้นมาถึง 6 ลำ โดยมี ม.จ.ภีศเดช รัชนี ทรงเป็นผู้ช่วย โดยเรือใบลำแรกที่ทรงต่อสำเร็จหลังวันเฉลิมพระชนมพรรษาปี พ.ศ. 2507 ได้รับพระราชทานนามว่า “ราชปะแตน”
ซึ่งจากหนังสือ “พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช กลางใจราษฎร์ หกทศวรรษแห่งการทรงงาน” ช่วงหนึ่งมีการระบุว่า พระองค์ทรงตั้งสโมสรหมวดเรือใบหลวงจิตรลดา เพื่อส่งเสริมการแข่งขันเรือใบ ส่วนคู่แข่งสำคัญของพระองค์คือ ม.จ.ภีศเดช รัชนี หรือ “ท่านภี” ผู้ช่วยต่อเรือคนสำคัญของพระองค์ ขณะที่อีกพระองค์ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช หรือที่ชาวตะวันตกรู้จักกันในนาม “เจ้าชายพีระแห่งสยาม” หรือ B.Bira ที่ทรงโด่งดังในฐานะนักขับรถแข่งระดับโลกช่วงทศวรรษ 1930 (พ.ศ. 2473 - 2482) และในทศวรรษ 1950 (พ.ศ. 2493 - 2502) พระองค์เจ้าพีระ ทรงเคยแข่งขันเรือใบมาแล้ว ทั้งในโอลิมปิก ที่เมลเบิร์น, โรม, โตเกียว และ มิวนิก
สำหรับคู่แข่งคนสุดท้าย คือ ดร.รชฏ กาญจนวณิชย์ วิศวกรผู้ซึ่งเป็นนักแข่งเรือใบระดับโอลิมปิก และสมาชิกสโมสรหมวดเรือใบจิตรลดาอีกด้วย โดย ม.จ.ภีศเดช ทรงเล่าเอาไว้ว่า เมื่อครั้งอดีตนั้นพระเจ้าอยู่หัวของเราทรงโปรดบรรยากาศการแข่งขันที่หัวหินมาก และระยะต้น ๆ ก็ทรงแพ้อยู่บ่อย “ผมเคยชนะท่านมาสามปี จากนั้นท่านเก่งขึ้นเรื่อย ๆ สามปีหลังท่านชนะตลอด ตอนแรก ๆ ท่านยังไม่ทรงมีประสบการณ์ในการเล่นเรือใบ และการแข่ง แต่หลังจากสามปีแล้วพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงเริ่มชนะ”
ครั้งหนึ่งพระเจ้าอยู่หัว ต้องทรงนำเรือกลับเข้าฝั่ง เนื่องจากชนกับเรือของ ม.จ.ภีศเดช ครั้งนั้นพระมหากษัตริย์ของเราไม่ได้โกรธกริ้วแต่ประการใด อีกทั้งทรงแสดงออกด้วยการใส่พระนามของ ม.จ.ภีศเดช ลงในบัญชีรายชื่อผู้ที่จะได้รับตราปฐมจุลจอมเกล้าปีนั้นด้วย โดย “ท่านภี” ทรงเล่าว่า “ตอนนั้นก่อนวันฉัตรมงคลประมาณหนึ่งสัปดาห์ พระองค์ธานี (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัตร กรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากร) ได้เสด็จมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้าฯ ถวายชื่อผู้สมควรได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสว่า เหตุที่ชื่อของผมแวบขึ้นในพระราชหฤทัยก็เพราะเรือผมไปชนเรือใบพระที่นั่งของพระองค์ท่านเข้า ท่านแล่นช้า ผมก็ชนเรือท่าน ท่านต้องหลบเราแล้วท่านไม่หลบก็เลยโดนเรือผม ท่านก็ออกจากการแข่งขันเพราะผิดกติกา”
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *