xs
xsm
sm
md
lg

เลียนแบบโปร…โก้แต่เจ็บ!

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


สำหรับพวกโปร จะมีอาการบาดเจ็บบ้างส่วนใหญ่ก็เกิดจากการซ้อมมากไป บางคนตีเพลินล่อเข้าไป 4-500 ลูกต่อวัน แต่สำหรับพวกสมัครเล่น มักมีสาเหตุการบาดเจ็บอันเนื่องมาจากมีความแข็งแรงไม่เพียงพอ มีกลไกในการสวิงไม่ถูกต้อง หรือไม่ก็ลืมวอร์มอัพก่อนเล่น

แฮงด์ จอห์นสัน ครูกอล์ฟผู้ได้ทำการศึกษาด้านชีวกลศาสตร์ของกีฬากอล์ฟมากว่า 30 ปี พบว่า อาการบาดเจ็บในมือสมัครเล่นส่วนใหญ่มาจากเทคนิคที่ผิดพลาด และบ่อยครั้งที่เกิดจากการพยายามเกินขีดความสามารถของตนเอง เรามักเห็นนักกอล์ฟฝีมือปานกลางพยายามทำเลียนแบบพวกโปรที่เล่นอยู่ในทัวร์ ลงท้ายก็เกิดการบาดเจ็บขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

“เอาละ!” แฮงด์ กล่าว “คราวนี้มาดูกันว่าคุณสวิงกันอย่างไร? ถึงทำให้เกิดการบาดเจ็บแล้วผมจะบอกว่าเกิดอะไรขึ้นกับวงสวิง และวิธีปรับเปลี่ยนเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บนั้น”

บริเวณข้อศอก
เส้นเอ็นของกล้ามเนื้อเหยียดข้อศอกซึ่งอยู่ด้านนอกของแขนจะรับแรงกระแทกที่เกิดจากการอิมแพคอย่างรุนแรงจนเริ่มที่จะฉีกออกจากกระดูกที่เกาะอยู่ ซึ่งเรียกว่าอาการของ “เทนนิสเอลโบ” การบาดเจ็บนี้เกิดจากการเหยรยดแขนซ้ายยตรง และยึดติดเกร็งแน่นอยู่เช่นนั้นขณะขึ้นแบคสวิง ดังนั้นขอให้แก้ไขโดยให้ปล่อยแขนห้อยลงมาข้างลำตัวสบายๆ ข้อศอกก็จะเหยียดตรง แต่มีความผ่อนคลายอยู่ในตัว นี่คือท่าที่ถูกต้อง และให้นึกถึงแขนที่มีลักษณะนุ่มนวลนี้ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนจบวงสวิง ซึ่งแรงขับเคลื่อนของการทำดาวน์สวิงจะดึงแขนซ้ายให้เหยียดออกโดยไม่ต้องไปคิดถึงมัน

บริเวณหัวไหล่
นักกอล์ฟที่หมุนตัวได้ไม่ดีเวลาแบคสวิงมีแนวโน้มที่จะตรึงแขนซ้ายผ่านหน้าอกโดยคิดว่าการหมุนตัวช่วงบนเป็นเรื่องยากแต่จริงๆแล้วไม่ยากเลย หลักของการสวิงก็คือ “หมุนให้มากขึ้นสวิงให้น้อยลง” เมื่อลำตัวหยุดการหมุนไปด้านหลัง แขนก็ควรหยุดสวิงด้วยเช่นกัน ขอให้คิดถึงการสวิงแขนไปพร้อมกับการหมุนตัว ไม่ใช่การหมุนกล้ามเนื้อที่ไหล่

บริเวณแผ่นหลังช่วงล่าง
เป็นการบาดเจ็บที่พบบ่อยที่สุดในกอล์ฟ และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกมสิ้นสุดลงเร็วกว่าที่ควรมากที่สุด ทั้งนี้การสอนสวิงในปัจจุบันจะสอนให้แยกส่วนระหว่างการหมุนของกระดูกเชิงกรานและการหมุนของลำตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงดาวน์สวิง เพื่อเพิ่มความเร็วจากการคลายเกลียวที่สร้างขึ้นระหว่างกระดูกเชิงกรานและกระดูกสันหลังส่วนเอว ซึ่งเป็นตัวดึงเส้นเอ็นของกล้ามเนื้อและข้อบริเวณนั้น แต่ปัญหาก็คือ นักกอล์ฟจำนวนมากไม่สามารถทำเช่นนั้นได้โดยไม่บาดเจ็บที่บริเวณหลังส่วนล่าง ดังนั้นจึงขอให้ลองหมุนทุกๆส่วนไปพร้อมๆกัน โดยสะโพกและไหล่ควรหมุนไปข้างหลัง และผ่านกลับมาด้วยกันถึงแม้ว่าจะต้องสุญเสียพละกำลังไปบ้างก็ตาม แต่จะไม่เกิดการบาดเจ็บ….ลองดูครับ

* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *


กำลังโหลดความคิดเห็น