คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน ราชวังสัน
ผมยังติดตามความเคลื่อนไหวเรื่องฉ้อฉลในวงการฟุตบอลซึ่งเกิดเป็นกระแสข่าวมาในช่วงปีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกรณีที่ กรรมการบริหาร ฟีฟ่า บางคนถูกกล่าวหาว่ามีส่วนพัวพันกับการรับผลประโยชน์เพื่อเป็นเงื่อนไขจูงใจให้เทคะแนนให้ กาตาร์ ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022 แล้วก็ต้องผิดหวังต่อบทสรุปที่ไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรต่อประชากรฟุตบอลเลย คงเป็นเรื่องการช่วงชิงผลประโยชน์ของตนเป็นตัวตั้ง ต่างฝ่ายก็แค่เงื้อหมัดขู่ พอประเมินกำลังคู่ต่อสู้ได้ว่าขนาดไหน ต่างก็รามือ ซึ่งเราก็จะไม่มีทางได้เห็นการล้างเผ่าพันธุ์คนโกงใน ฟีฟ่า อย่างจริงจังเสียที
เอาเรื่อง มีเชล ปลาตีนี (Michel Platini) ก่อนเลย ประธานสหสมาคมฟุตบอลยุโรป หรือ ยูเอ็ฟฟ่า เป็นเป้าโจมตีจาก ซันเดย์ ทายม์ส และ เดลี่ เทเลกร๊าฟ สื่อของอังกฤษมาตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หนักๆชัดๆก็เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาที่หมอนี่เริ่มโดนแฉว่าเป็น “ตัวสะแตก” ตัวหนึ่งเลยทีเดียว ดันไปเจรจาลับๆในมื้ออาหารเช้ากับ โมฮัมเหม็ด บิน ฮัมมัม ประธานสหพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ที่กระเด็นจากวงการฟุตบอลไปตลอดชีวิตแล้วหลังจากเจอคดีฉาวอีกเรื่องคือเรื่องแจกเงินซื้อเสียงเลือกประธาน ฟีฟ่า
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นาโปเลองลูกหนังชาวฝรั่งเศส ที่เคยประกาศลงชิงตำแหน่งประธาน ฟีฟ่า ในปี 2015 ได้ออกมาปฏิเสธว่า ไร้สาระสิ้นดี เป็นเรื่องลือกันไปโดยไม่มีมูลเลย และสื่อทั้ง 2 ฉบับก็ไม่เห็นมีหลักฐานอะไรมาแสดง แต่อย่างไรก็ตาม หมอนี่คงอยากยุติการถูกแฉด้วยการประกาศถอนตัวการชิงตำแหน่งนายใหญ่ของ ฟีฟ่า ไปตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา ถึงกระนั้น ซันเดย์ ทายม์ส ก็ยังไม่หยุดขุดคุ้ย เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมาหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ออกมาระบุอย่างชัดเจนว่า หมอนี่ได้รับภาพเขียนของ ปาโบล ปีกั๊สโซ (Pablo Picasso) ศิลปินชื่อดังยุคต้นศตวรรษที่ 20 ชาวสเปน จาก รัสเซีย เพื่อแลกกับการสนับสนุนให้ รัสเซีย ได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ซึ่งอันนี้ ปลาตีนี ยังใบ้กินอยู่ ไม่เห็นออกมาแก้ตัวอะไรเลย
ในขณะที่อีกซีกหนึ่ง มายเคิ่ล เจ การ์เซีย (Michael J Garcia) อดีตอัยการรัฐชาวอเมริกาที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะสอบสวนของคณะกรรมการด้านจริยธรรมของ ฟีฟ่า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2012 ได้ดำเนินการสืบสวนสอบสวนกรณีไม่ชอบมาพากลเกี่ยวกับการโหวทเลือกชาติเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2 ครั้งรวด สำหรับปี 2018 และ 2022 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2010 และสรุปออกมาเป็นรายงานหนา 430 หน้าซึ่งมีรายละเอียดที่ทำให้กรรมการบริหารของ ฟีฟ่า หลายคนต้องเครียดหนัก เสี่ยงต่อการถูกประณาม เสื่อมเสียชื่อเสียงและถูกขับไล่ให้พ้นวงการฟุตบอลตลอดชีวิตด้วยข้อหามีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับสินบน
อันนี้ทำให้ โชเซ้ฟ บลัทเท่อร์ (Joseph Blatter) ประธาน ฟีฟ่า ต้องสั่งเบรคมิให้รายงานดังกล่าวถูกเผยแพร่สู่สาธารณะ มิเช่นนั้นพรรคพวกของตนที่เป็นฐานเสียงสนับสนุนในการเลือกตั้งในปีหน้าหลายคนทีเดียวที่จะต้องได้รับผลจนกระเด็นจากวงจรฟุตบอลไป และความหวังในตำแหน่งสูงสุดที่ตนหวังจะอยู่ยาวอีก 1 สมัยจะต้องกระทบกระเทือนอย่างแน่นอน เกี่ยวกับเรื่องนี้ยังผลให้ การ์เซีย ฉุนขาด ประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการสอบสวนฯ เรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมา
หลังจากการลาออกของ การ์เซีย ดูว่าจะเข้าทาง เซ๊พ รีบออกมาประกาศว่า รายงานการสอบสวนดังกล่าวนั้นจะได้รับการเผยแพร่ในรูปแบบที่เหมาะสม นั่นก็หมายความว่า จะมีการเผยข้อมูลเพียงบางส่วน ไม่ให้ฉาว ไม่ให้กระเทือนคนของตน หรืออาจถึงขั้นตัดแต่ง ปรับข้อความให้ออกมาไม่เป็นผลลบต่อพรรคพวกของตนนั่นเอง ซึ่งเรื่องนี้ ปลาตีนี ที่ถูกปอกเปลือกออกมาจนเห็นแผลเน่าเฟะก็ได้แต่เพียงออกมาวิจารณ์ว่า ไม่ใช่หนทางที่ถูกที่ควร แต่ก็หวังว่ามันคงได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณะโดยมิพักชักช้านะฮ้าฟ
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *
ผมยังติดตามความเคลื่อนไหวเรื่องฉ้อฉลในวงการฟุตบอลซึ่งเกิดเป็นกระแสข่าวมาในช่วงปีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกรณีที่ กรรมการบริหาร ฟีฟ่า บางคนถูกกล่าวหาว่ามีส่วนพัวพันกับการรับผลประโยชน์เพื่อเป็นเงื่อนไขจูงใจให้เทคะแนนให้ กาตาร์ ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022 แล้วก็ต้องผิดหวังต่อบทสรุปที่ไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรต่อประชากรฟุตบอลเลย คงเป็นเรื่องการช่วงชิงผลประโยชน์ของตนเป็นตัวตั้ง ต่างฝ่ายก็แค่เงื้อหมัดขู่ พอประเมินกำลังคู่ต่อสู้ได้ว่าขนาดไหน ต่างก็รามือ ซึ่งเราก็จะไม่มีทางได้เห็นการล้างเผ่าพันธุ์คนโกงใน ฟีฟ่า อย่างจริงจังเสียที
เอาเรื่อง มีเชล ปลาตีนี (Michel Platini) ก่อนเลย ประธานสหสมาคมฟุตบอลยุโรป หรือ ยูเอ็ฟฟ่า เป็นเป้าโจมตีจาก ซันเดย์ ทายม์ส และ เดลี่ เทเลกร๊าฟ สื่อของอังกฤษมาตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หนักๆชัดๆก็เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาที่หมอนี่เริ่มโดนแฉว่าเป็น “ตัวสะแตก” ตัวหนึ่งเลยทีเดียว ดันไปเจรจาลับๆในมื้ออาหารเช้ากับ โมฮัมเหม็ด บิน ฮัมมัม ประธานสหพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ที่กระเด็นจากวงการฟุตบอลไปตลอดชีวิตแล้วหลังจากเจอคดีฉาวอีกเรื่องคือเรื่องแจกเงินซื้อเสียงเลือกประธาน ฟีฟ่า
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นาโปเลองลูกหนังชาวฝรั่งเศส ที่เคยประกาศลงชิงตำแหน่งประธาน ฟีฟ่า ในปี 2015 ได้ออกมาปฏิเสธว่า ไร้สาระสิ้นดี เป็นเรื่องลือกันไปโดยไม่มีมูลเลย และสื่อทั้ง 2 ฉบับก็ไม่เห็นมีหลักฐานอะไรมาแสดง แต่อย่างไรก็ตาม หมอนี่คงอยากยุติการถูกแฉด้วยการประกาศถอนตัวการชิงตำแหน่งนายใหญ่ของ ฟีฟ่า ไปตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา ถึงกระนั้น ซันเดย์ ทายม์ส ก็ยังไม่หยุดขุดคุ้ย เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมาหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ออกมาระบุอย่างชัดเจนว่า หมอนี่ได้รับภาพเขียนของ ปาโบล ปีกั๊สโซ (Pablo Picasso) ศิลปินชื่อดังยุคต้นศตวรรษที่ 20 ชาวสเปน จาก รัสเซีย เพื่อแลกกับการสนับสนุนให้ รัสเซีย ได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ซึ่งอันนี้ ปลาตีนี ยังใบ้กินอยู่ ไม่เห็นออกมาแก้ตัวอะไรเลย
ในขณะที่อีกซีกหนึ่ง มายเคิ่ล เจ การ์เซีย (Michael J Garcia) อดีตอัยการรัฐชาวอเมริกาที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะสอบสวนของคณะกรรมการด้านจริยธรรมของ ฟีฟ่า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2012 ได้ดำเนินการสืบสวนสอบสวนกรณีไม่ชอบมาพากลเกี่ยวกับการโหวทเลือกชาติเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2 ครั้งรวด สำหรับปี 2018 และ 2022 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2010 และสรุปออกมาเป็นรายงานหนา 430 หน้าซึ่งมีรายละเอียดที่ทำให้กรรมการบริหารของ ฟีฟ่า หลายคนต้องเครียดหนัก เสี่ยงต่อการถูกประณาม เสื่อมเสียชื่อเสียงและถูกขับไล่ให้พ้นวงการฟุตบอลตลอดชีวิตด้วยข้อหามีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับสินบน
อันนี้ทำให้ โชเซ้ฟ บลัทเท่อร์ (Joseph Blatter) ประธาน ฟีฟ่า ต้องสั่งเบรคมิให้รายงานดังกล่าวถูกเผยแพร่สู่สาธารณะ มิเช่นนั้นพรรคพวกของตนที่เป็นฐานเสียงสนับสนุนในการเลือกตั้งในปีหน้าหลายคนทีเดียวที่จะต้องได้รับผลจนกระเด็นจากวงจรฟุตบอลไป และความหวังในตำแหน่งสูงสุดที่ตนหวังจะอยู่ยาวอีก 1 สมัยจะต้องกระทบกระเทือนอย่างแน่นอน เกี่ยวกับเรื่องนี้ยังผลให้ การ์เซีย ฉุนขาด ประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการสอบสวนฯ เรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมา
หลังจากการลาออกของ การ์เซีย ดูว่าจะเข้าทาง เซ๊พ รีบออกมาประกาศว่า รายงานการสอบสวนดังกล่าวนั้นจะได้รับการเผยแพร่ในรูปแบบที่เหมาะสม นั่นก็หมายความว่า จะมีการเผยข้อมูลเพียงบางส่วน ไม่ให้ฉาว ไม่ให้กระเทือนคนของตน หรืออาจถึงขั้นตัดแต่ง ปรับข้อความให้ออกมาไม่เป็นผลลบต่อพรรคพวกของตนนั่นเอง ซึ่งเรื่องนี้ ปลาตีนี ที่ถูกปอกเปลือกออกมาจนเห็นแผลเน่าเฟะก็ได้แต่เพียงออกมาวิจารณ์ว่า ไม่ใช่หนทางที่ถูกที่ควร แต่ก็หวังว่ามันคงได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณะโดยมิพักชักช้านะฮ้าฟ
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *