คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน ราชวังสัน
ถอดใจไปเรียบร้อยเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา สำหรับ มีเชล ปลาตีนี (Michel Platini) ประธานสหสมาคมฟุตบอลแห่งยุโรป หรือ ยูเอ็ฟฟ่า ชาวฝรั่งเศส วัย 59 ปี ที่ประกาศลงชิงตำแหน่ง ประธานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า กับ โชเซ้ฟ บลั้ทเท่อร์ (Joseph Blatter) เจ้าของตำแหน่งคนปัจจุบัน ชาวสวิส วัย 78 ปี ที่ยังต้องการครอบครองเก้าอี้นี้ต่อไปเป็นสมัยที่ 5
ปลาตีนี ได้ประกาศตัวเป็นคู่แข่งชิงตำแหน่งผู้นำวงการฟุตบอลของโลกที่จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2015 ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองไม่ดีเอาเลยมาตลอดช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา และ ยูเอ็ฟฟ่า ย่อมได้รับผลกระทบด้วยอย่างแน่นอน ยิ่งในช่วงการประชุมใหญ่ ฟีฟ่า ค็องเกรส ก่อนที่การแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2014 จะเริ่มขึ้น นาโปเลองลูกหนัง ถึงกับประกาศเลิกให้การสนับสนุน บลั้ทเท่อร์ อย่างเด็ดขาด ทำให้ความตึงเครียดระหว่าง 2 องค์กรเพิ่มทวีขึ้นอีก
ด้วยความเป็นห่วงที่จะต้องเดือดร้อน ทาง ยูเอ็ฟฟ่า จึงพยายามขอให้ตำนานนักเตะฝรั่งเศส แสดงความชัดเจนออกมา ซึ่งในที่สุดเขาก็ประกาศถอนตัวในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในโอกาสที่มีพิธีจับสลากรอบแบ่งกลุ่มฟุตบอล ยูเอ็ฟฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก 2014-15 ที่ โมนาโก เมื่อวันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่า มันยังไม่ใช่เวลาของเขา เขาได้ใช้เวลาทบทวนอย่างถี่ถ้วนแล้ว ไม่ได้มีอะไรต้องสงสัย เคลือบแคลง หรือรู้สึกเสียใจหรอก
ความจริง เจ้าของรางวัล บัลลง ดอร 3 สมัยซ้อนคงจะรู้ดีว่า เสียงโหวทของแต่ละทวีปนั้นค่อนข้างเป็นปึกแผ่น เมื่อผู้นำองค์กรของทวีปใดให้การสนับสนุนใคร เสียงของชาติต่างๆ ในทวีปนั้นก็จะพร้อมใจเทไปในทิศทางเดียวกัน มันเป็นเช่นนี้มาตั้งแต่สมัยของ โชเอา อาเวลั้นช์ (Joao Havelange) ที่เป็นคนวางระบบ แล้ว บลั้ทเท่อร์ ก็มาสานต่อ ดังนั้น เมื่อลองสัมผัสคะแนนเสียง บลั้ทเท่อร์ มีตั้ง 5 ใน 6 ทวีป แล้ว 54 เสียงของทวีปยุโรปคงเปรียบอะไรไม่ได้กับมวลสมาชิกของ ฟีฟ่า ที่มีถึง 209 ชาติ
นอกจากนั้น ดูเหมือนว่า บลั้ทเท่อร์ จะมีหมัดเด็ดที่ง้างขู่เอาไว้ คือเรื่องทุจริตในการลงคะแนนเลือกชาติเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ซึ่ง กาตาร์ ได้รับสิทธิ์นั้นอย่างน่าสงสัยว่ามีการยัดเงินกว่า 5 ล้าน ยูเอส ดอลเล่อร์ส แก่บรรดาสมาชิก ฟีฟ่า ผู้ทำหน้าที่ลงคะแนน โดย มีเชล ปลาตีนี ดันไปมีชื่อเกี่ยวข้องกับการพบปะบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องของ กาตาร์ และผู้นำฝรั่งเศสในขณะนั้นด้วย อีกทั้งมีการเปิดเผยว่า ปลาตีนี ยังมีผลประโยชน์ในการผลักดันให้ โลร็อง ปลาตีนี (Laurent Platini) ลูกชายของตนได้เป็นผู้บริหาร บูรดา สปอร์ทส (Burrda Sports) บริษัทเสื้อผ้าอุปกรณ์กีฬาของ กาตาร์ ในประเทศฝรั่งเศสอีกด้วย
อดีตทหารเสือทีมชาติฝรั่งเศส คงบวกลบคูณหารแล้วเห็นว่าไม่น่าจะคุ้มที่ตนอาจจะต้องพบกับความเสียหายอย่างมหาศาล หากยังบังอาจต่อสู้กับ เซ็พ ยิ่งการลงคะแนนเลือกประธาน ยูเอ็ฟฟ่า สมัยหน้าก็กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนมีนาคม 2015 อยู่แล้ว มุ่งหน้าสู่ตำแหน่งผู้นำองค์กรฟุตบอลทวีปยุโรปที่ตนเองดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2007 ให้ได้เป็นสมัยที่ 3 ก่อนดีกว่า แล้วค่อยไปชิงตำแหน่งประธานฟีฟ่าในปี 2019 เมื่อ เซ็พ ยอมก้าวลงจากตำแหน่ง
เมื่อไม่มี ปลาตีนี มาเป็นคู่แข่ง เซ็พ ก็ถือโอกาสประกาศลงสมัครชิงตำแหน่ง ประธาน ฟีฟ่า เป็นสมัยที่ 5 ต่อ คณะกรรมการบริหาร อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา โดยทำเป็นวีดิโอฉายใน ซ็อคเค่อเร็กซ์ (Soccerex) งานประชุมโลกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมฟุตบอลที่จัดขึ้นที่เมืองแมนเช้สเต้อร์ ระหว่างวันที่ 5-10 กันยายนนี้
พร้อมๆ กับการประกาศดังกล่าว เซ็พ ยังพยายามแสดงให้เห็นว่าตนไม่ตกยุคด้วยการประกาศพร้อมทดสอบการใช้ภาพวีดิโอในเกมฟุตบอล โดยอาจเปิดโอกาสให้เฮ้ดโค้ชทักท้วงคำตัดสินและพิสูจน์ด้วยภาพวีดิโอได้ครึ่งเวลาละ 1 หรือ 2 ครั้งในช่วงที่เกมหยุด แม้ว่าแต่ก่อน เซ็พ จะปฎิเสธการใช้เท็คนอลลอจี้ในเกมฟุตบอลมาก่อน แต่หลังๆก็เปลี่ยนใจยอมรับ อย่างเช่น โกล ลายน์ เท็คนอลลอจี้ (Goal-line technology) ที่ได้รับการนำมาใช้ใน ฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิว ดังนั้น หาก เซ็พ ดำรงตำแหน่งประธาน ฟีฟ่า อีกสมัย เราคงได้เห็น วีดิโอ เท็คนอลลอจี้ ในเกมฟุตบอลอย่างแน่นอน
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *
ถอดใจไปเรียบร้อยเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา สำหรับ มีเชล ปลาตีนี (Michel Platini) ประธานสหสมาคมฟุตบอลแห่งยุโรป หรือ ยูเอ็ฟฟ่า ชาวฝรั่งเศส วัย 59 ปี ที่ประกาศลงชิงตำแหน่ง ประธานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า กับ โชเซ้ฟ บลั้ทเท่อร์ (Joseph Blatter) เจ้าของตำแหน่งคนปัจจุบัน ชาวสวิส วัย 78 ปี ที่ยังต้องการครอบครองเก้าอี้นี้ต่อไปเป็นสมัยที่ 5
ปลาตีนี ได้ประกาศตัวเป็นคู่แข่งชิงตำแหน่งผู้นำวงการฟุตบอลของโลกที่จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2015 ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองไม่ดีเอาเลยมาตลอดช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา และ ยูเอ็ฟฟ่า ย่อมได้รับผลกระทบด้วยอย่างแน่นอน ยิ่งในช่วงการประชุมใหญ่ ฟีฟ่า ค็องเกรส ก่อนที่การแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2014 จะเริ่มขึ้น นาโปเลองลูกหนัง ถึงกับประกาศเลิกให้การสนับสนุน บลั้ทเท่อร์ อย่างเด็ดขาด ทำให้ความตึงเครียดระหว่าง 2 องค์กรเพิ่มทวีขึ้นอีก
ด้วยความเป็นห่วงที่จะต้องเดือดร้อน ทาง ยูเอ็ฟฟ่า จึงพยายามขอให้ตำนานนักเตะฝรั่งเศส แสดงความชัดเจนออกมา ซึ่งในที่สุดเขาก็ประกาศถอนตัวในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในโอกาสที่มีพิธีจับสลากรอบแบ่งกลุ่มฟุตบอล ยูเอ็ฟฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก 2014-15 ที่ โมนาโก เมื่อวันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่า มันยังไม่ใช่เวลาของเขา เขาได้ใช้เวลาทบทวนอย่างถี่ถ้วนแล้ว ไม่ได้มีอะไรต้องสงสัย เคลือบแคลง หรือรู้สึกเสียใจหรอก
ความจริง เจ้าของรางวัล บัลลง ดอร 3 สมัยซ้อนคงจะรู้ดีว่า เสียงโหวทของแต่ละทวีปนั้นค่อนข้างเป็นปึกแผ่น เมื่อผู้นำองค์กรของทวีปใดให้การสนับสนุนใคร เสียงของชาติต่างๆ ในทวีปนั้นก็จะพร้อมใจเทไปในทิศทางเดียวกัน มันเป็นเช่นนี้มาตั้งแต่สมัยของ โชเอา อาเวลั้นช์ (Joao Havelange) ที่เป็นคนวางระบบ แล้ว บลั้ทเท่อร์ ก็มาสานต่อ ดังนั้น เมื่อลองสัมผัสคะแนนเสียง บลั้ทเท่อร์ มีตั้ง 5 ใน 6 ทวีป แล้ว 54 เสียงของทวีปยุโรปคงเปรียบอะไรไม่ได้กับมวลสมาชิกของ ฟีฟ่า ที่มีถึง 209 ชาติ
นอกจากนั้น ดูเหมือนว่า บลั้ทเท่อร์ จะมีหมัดเด็ดที่ง้างขู่เอาไว้ คือเรื่องทุจริตในการลงคะแนนเลือกชาติเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ซึ่ง กาตาร์ ได้รับสิทธิ์นั้นอย่างน่าสงสัยว่ามีการยัดเงินกว่า 5 ล้าน ยูเอส ดอลเล่อร์ส แก่บรรดาสมาชิก ฟีฟ่า ผู้ทำหน้าที่ลงคะแนน โดย มีเชล ปลาตีนี ดันไปมีชื่อเกี่ยวข้องกับการพบปะบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องของ กาตาร์ และผู้นำฝรั่งเศสในขณะนั้นด้วย อีกทั้งมีการเปิดเผยว่า ปลาตีนี ยังมีผลประโยชน์ในการผลักดันให้ โลร็อง ปลาตีนี (Laurent Platini) ลูกชายของตนได้เป็นผู้บริหาร บูรดา สปอร์ทส (Burrda Sports) บริษัทเสื้อผ้าอุปกรณ์กีฬาของ กาตาร์ ในประเทศฝรั่งเศสอีกด้วย
อดีตทหารเสือทีมชาติฝรั่งเศส คงบวกลบคูณหารแล้วเห็นว่าไม่น่าจะคุ้มที่ตนอาจจะต้องพบกับความเสียหายอย่างมหาศาล หากยังบังอาจต่อสู้กับ เซ็พ ยิ่งการลงคะแนนเลือกประธาน ยูเอ็ฟฟ่า สมัยหน้าก็กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนมีนาคม 2015 อยู่แล้ว มุ่งหน้าสู่ตำแหน่งผู้นำองค์กรฟุตบอลทวีปยุโรปที่ตนเองดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2007 ให้ได้เป็นสมัยที่ 3 ก่อนดีกว่า แล้วค่อยไปชิงตำแหน่งประธานฟีฟ่าในปี 2019 เมื่อ เซ็พ ยอมก้าวลงจากตำแหน่ง
เมื่อไม่มี ปลาตีนี มาเป็นคู่แข่ง เซ็พ ก็ถือโอกาสประกาศลงสมัครชิงตำแหน่ง ประธาน ฟีฟ่า เป็นสมัยที่ 5 ต่อ คณะกรรมการบริหาร อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา โดยทำเป็นวีดิโอฉายใน ซ็อคเค่อเร็กซ์ (Soccerex) งานประชุมโลกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมฟุตบอลที่จัดขึ้นที่เมืองแมนเช้สเต้อร์ ระหว่างวันที่ 5-10 กันยายนนี้
พร้อมๆ กับการประกาศดังกล่าว เซ็พ ยังพยายามแสดงให้เห็นว่าตนไม่ตกยุคด้วยการประกาศพร้อมทดสอบการใช้ภาพวีดิโอในเกมฟุตบอล โดยอาจเปิดโอกาสให้เฮ้ดโค้ชทักท้วงคำตัดสินและพิสูจน์ด้วยภาพวีดิโอได้ครึ่งเวลาละ 1 หรือ 2 ครั้งในช่วงที่เกมหยุด แม้ว่าแต่ก่อน เซ็พ จะปฎิเสธการใช้เท็คนอลลอจี้ในเกมฟุตบอลมาก่อน แต่หลังๆก็เปลี่ยนใจยอมรับ อย่างเช่น โกล ลายน์ เท็คนอลลอจี้ (Goal-line technology) ที่ได้รับการนำมาใช้ใน ฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิว ดังนั้น หาก เซ็พ ดำรงตำแหน่งประธาน ฟีฟ่า อีกสมัย เราคงได้เห็น วีดิโอ เท็คนอลลอจี้ ในเกมฟุตบอลอย่างแน่นอน
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *