คอลัมน์ “สกอร์บอร์ด” โดย “แมวดำ”
ช่วงเวลาสิ้นปี 2556 ที่กำลังจะหมดไป เพื่อผ่านเข้าสู่ปี 2557 นับเป็นเวลาแห่งการเฉลิมฉลองของคนทั้งโลก นอกจากนี้ยังเป็นเวลาที่เหล่าบรรดานักกีฬาทีมชาติไทย และสมาคมกีฬาต่างๆ เลี้ยงส่งแสดงความขอบคุณที่เหล่าบรรดาฮีโร่ทั้งหลายคว้าเหรียญรางวัลจากการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 27 ที่ประเทศพม่า
อีกเรื่องที่อยากพูดถึงคือการเตรียมลุกจากเก้าอี้ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยของ “บิ๊กหนุ่ม” คุณกนกพันธุ์ จุลเกษม ที่ดำรงตำแหน่งมา 2 สมัย นั้บต้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา มีผลงานมากมาย อาทิ การผลักดันให้มีการรวมลีกฟุตบอล ระหว่าง ไทยลีก ที่บริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย กับฟุตบอลโปรวินเชียลลีก จนกลายมาเป็นส่วนผสมและมีผลต่อการพัฒนากีฬาฟุตบอลในทุกวันนี้
แต่เรื่องที่อยากพูดถึงและเป็นส่วนหนึ่งที่ คุณกนกพันธุ์ มีส่วนสำคัญในการผลักดันมาตลอดคือเรื่องการออกกฎหมายสำคัญอย่าง “พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ.2556” ที่มีผลบังคับใช้หลังมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษากันไปเมื่อวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา หลายท่านที่ไม่ได้ติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอดตั้งแต่ต้นอาจไม่ทราบถึงความสำคัญของกฎหมายกีฬาฉบับนี้ว่าเป็นอย่างไร จึงอยากหยิบยกเรื่องราวมากล่าวถึงให้ได้รับฟังเป็นตัวอย่างสักเล็กน้อยว่า ทุกวันนี้เวลาเรามีปัญหาเรื่องกีฬา ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งในวงการกีฬา อาทิ การล็อกผลการแข่งขัน หรือการทำหน้าที่ด้วยความเอนเอียงของผู้ตัดสินกีฬา บ่อยครั้งที่ไม่สามารถนำตัวใครก็ตามที่ถูกกล่าวหามาลงโทษได้ หากว่าคนเหล่านั้นได้รับการปกป้องจากผู้ใหญ่ในวงการกีฬา อาจมีการตั้งคณะกรรมการมาสอบสวน พอผ่านไปสักพักเรื่องราวเงียบหาย ก็ตัดสินกับแบบอุ๊บอิ๊บว่าไม่มีความผิดบ้าง หลักฐานไม่เพียงพอบ้าง ทว่าเมื่อกฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้แล้ว คราวนี้มันก็มีบทลงโทษทางกฎหมายด้วย
ที่ยกมาเป็นเพียงแต่ตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้เห็นความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ แต่กว่าที่จะออกกฎหมายฉบับนี้ออกมาได้ ต้องถือว่าใช้ระยะเวลายาวนานหลายปีเลยทีเดียว นานจนผมเองก็จำไม่ได้ว่ามีการหยิบยกขึ้นมาถกกันครั้งแรกเมื่อไร เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ส่งผลได้เสียกับเหล่าบรรดานักการเมืองทั้งหลาย การจะเรียกร้องให้คนเหล่านั้สนใจผลประโยชน์ของชาติในด้านกีฬาก็อาจเป็นเรื่องยากเย็นกว่าการขยับตัวคิดเมกะโปรเจ็คหาเงินมาถลุงเงินกัน แต่เมื่อมีการประกาศใช้แล้ว คงจะเป็นป้องปรามเหล่าบรรดาพวกเหลือบที่เกาะกินวงการกีฬาไทยได้บ้าง เพราะเมื่อก่อนไม่มีกฎหมาย ก็ไม่มีบทลงโทษ ทำอะไรกันแบบตามใจฉันอย่างที่เราเห็นกันในหลายสมาคมกีฬา
หากมาดูเนื้อหาของกฎหมายแล้วจะเห็นได้ชัดว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้มุ่งเน้นสำหรับส่งเสริมกีฬาอาชีพเป็นหลัก เมื่อก่อนนักกีฬากับสโมสรต้นสังกัดอาจมีเพียงแค่สัญญาใจ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องสัญญาจ้าง ก็ไม่มีใครมาดูแล ทีนี้ทุกอย่างก็เปลี่ยนไปในทางที่น่าจะดีขึ้น ซึ่งมองดูแล้วสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาในเรื่องกีฬาอาชีพของการกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เมื่อทุกอย่างสอดประสานกันเพื่ออุดรอยรั่ว และยกระดับไปพร้อมกัน สิ่งเหล่านี้จึงเป็นประโยชน์ต่อวงการกีฬาของประเทศ
ด้วยความรู้อันน้อยนิดของผม ยังพอได้ทราบว่านอกจากให้ความเป็นธรรมแล้ว กฎหมายดังกล่าวยังมีการดูแลชีวิตนักกีฬา และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในเรื่องความปลอดภัยจากการแข่งขัน รวมทั้งยังดูแลในเรื่องสวัสดิการอีกด้วย จึงถือเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของคุณกนกพันธุ์ที่จะอำลาจากตำแหน่งนี้ไปในเดือนมิถุนายน 2557
แต่พูดก็พูดเถอะ ผลงานในปีที่ผ่านมาของผู้ว่าการ กกท.คนนี้ไม่ใช่จะมีแต่โบแดงเท่านั้น โบดำที่ติดอยู่ล้างยังไงก็คงไม่ลบเลือน คือการเปิดพื้นที่ให้ใช้สนามราชมังคลากีฬาสถานของกลุ่มคนเสื้อแดง จนนำไปสู่การปะทะกับนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และที่สำคัญคือมีคนตาย เรื่องนี้คงเป็นตราบาป “บิ๊กหนุ่ม” ไปชั่วชีวิตเช่นกัน
ช่วงเวลาสิ้นปี 2556 ที่กำลังจะหมดไป เพื่อผ่านเข้าสู่ปี 2557 นับเป็นเวลาแห่งการเฉลิมฉลองของคนทั้งโลก นอกจากนี้ยังเป็นเวลาที่เหล่าบรรดานักกีฬาทีมชาติไทย และสมาคมกีฬาต่างๆ เลี้ยงส่งแสดงความขอบคุณที่เหล่าบรรดาฮีโร่ทั้งหลายคว้าเหรียญรางวัลจากการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 27 ที่ประเทศพม่า
อีกเรื่องที่อยากพูดถึงคือการเตรียมลุกจากเก้าอี้ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยของ “บิ๊กหนุ่ม” คุณกนกพันธุ์ จุลเกษม ที่ดำรงตำแหน่งมา 2 สมัย นั้บต้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา มีผลงานมากมาย อาทิ การผลักดันให้มีการรวมลีกฟุตบอล ระหว่าง ไทยลีก ที่บริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย กับฟุตบอลโปรวินเชียลลีก จนกลายมาเป็นส่วนผสมและมีผลต่อการพัฒนากีฬาฟุตบอลในทุกวันนี้
แต่เรื่องที่อยากพูดถึงและเป็นส่วนหนึ่งที่ คุณกนกพันธุ์ มีส่วนสำคัญในการผลักดันมาตลอดคือเรื่องการออกกฎหมายสำคัญอย่าง “พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ.2556” ที่มีผลบังคับใช้หลังมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษากันไปเมื่อวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา หลายท่านที่ไม่ได้ติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอดตั้งแต่ต้นอาจไม่ทราบถึงความสำคัญของกฎหมายกีฬาฉบับนี้ว่าเป็นอย่างไร จึงอยากหยิบยกเรื่องราวมากล่าวถึงให้ได้รับฟังเป็นตัวอย่างสักเล็กน้อยว่า ทุกวันนี้เวลาเรามีปัญหาเรื่องกีฬา ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งในวงการกีฬา อาทิ การล็อกผลการแข่งขัน หรือการทำหน้าที่ด้วยความเอนเอียงของผู้ตัดสินกีฬา บ่อยครั้งที่ไม่สามารถนำตัวใครก็ตามที่ถูกกล่าวหามาลงโทษได้ หากว่าคนเหล่านั้นได้รับการปกป้องจากผู้ใหญ่ในวงการกีฬา อาจมีการตั้งคณะกรรมการมาสอบสวน พอผ่านไปสักพักเรื่องราวเงียบหาย ก็ตัดสินกับแบบอุ๊บอิ๊บว่าไม่มีความผิดบ้าง หลักฐานไม่เพียงพอบ้าง ทว่าเมื่อกฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้แล้ว คราวนี้มันก็มีบทลงโทษทางกฎหมายด้วย
ที่ยกมาเป็นเพียงแต่ตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้เห็นความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ แต่กว่าที่จะออกกฎหมายฉบับนี้ออกมาได้ ต้องถือว่าใช้ระยะเวลายาวนานหลายปีเลยทีเดียว นานจนผมเองก็จำไม่ได้ว่ามีการหยิบยกขึ้นมาถกกันครั้งแรกเมื่อไร เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ส่งผลได้เสียกับเหล่าบรรดานักการเมืองทั้งหลาย การจะเรียกร้องให้คนเหล่านั้สนใจผลประโยชน์ของชาติในด้านกีฬาก็อาจเป็นเรื่องยากเย็นกว่าการขยับตัวคิดเมกะโปรเจ็คหาเงินมาถลุงเงินกัน แต่เมื่อมีการประกาศใช้แล้ว คงจะเป็นป้องปรามเหล่าบรรดาพวกเหลือบที่เกาะกินวงการกีฬาไทยได้บ้าง เพราะเมื่อก่อนไม่มีกฎหมาย ก็ไม่มีบทลงโทษ ทำอะไรกันแบบตามใจฉันอย่างที่เราเห็นกันในหลายสมาคมกีฬา
หากมาดูเนื้อหาของกฎหมายแล้วจะเห็นได้ชัดว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้มุ่งเน้นสำหรับส่งเสริมกีฬาอาชีพเป็นหลัก เมื่อก่อนนักกีฬากับสโมสรต้นสังกัดอาจมีเพียงแค่สัญญาใจ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องสัญญาจ้าง ก็ไม่มีใครมาดูแล ทีนี้ทุกอย่างก็เปลี่ยนไปในทางที่น่าจะดีขึ้น ซึ่งมองดูแล้วสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาในเรื่องกีฬาอาชีพของการกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เมื่อทุกอย่างสอดประสานกันเพื่ออุดรอยรั่ว และยกระดับไปพร้อมกัน สิ่งเหล่านี้จึงเป็นประโยชน์ต่อวงการกีฬาของประเทศ
ด้วยความรู้อันน้อยนิดของผม ยังพอได้ทราบว่านอกจากให้ความเป็นธรรมแล้ว กฎหมายดังกล่าวยังมีการดูแลชีวิตนักกีฬา และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในเรื่องความปลอดภัยจากการแข่งขัน รวมทั้งยังดูแลในเรื่องสวัสดิการอีกด้วย จึงถือเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของคุณกนกพันธุ์ที่จะอำลาจากตำแหน่งนี้ไปในเดือนมิถุนายน 2557
แต่พูดก็พูดเถอะ ผลงานในปีที่ผ่านมาของผู้ว่าการ กกท.คนนี้ไม่ใช่จะมีแต่โบแดงเท่านั้น โบดำที่ติดอยู่ล้างยังไงก็คงไม่ลบเลือน คือการเปิดพื้นที่ให้ใช้สนามราชมังคลากีฬาสถานของกลุ่มคนเสื้อแดง จนนำไปสู่การปะทะกับนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และที่สำคัญคือมีคนตาย เรื่องนี้คงเป็นตราบาป “บิ๊กหนุ่ม” ไปชั่วชีวิตเช่นกัน