คอลัมน์ “สกอร์บอร์ด” โดย “แมวดำ”
แม้ว่ามหกรรมการแข่งขันกีฬาของชาวภูมิภาคอาเซียน หรือที่เรารู้จักกันในชื่อกีฬาแหลมทองในอดีต และปัจจุบันเรียกชื่อใหม่จนจำขึ้นใจว่า “ซีเกมส์” จะจัดกันมาแล้วรวม 27 ครั้ง ซึ่งผมเองแม้อายุอานามไม่มากเข้าขั้นเป็นสื่อระดับอาวุโส แต่ในสถานภาพของการเป็นสื่อมวลชนนั้นผ่านการจัดการแข่งขันรายการนี้มาแล้วก็ 6 ครั้งได้ ไล่มาตั้งแต่ครั้งที่ 22 จัดขึ้นที่ประเทศเวียดนาม, ครั้งที่ 23 ที่ฟิลิปปินส์, ครั้งที่ 24 ที่ประเทศไทย (นครราชสีมาเป็นเมืองหลัก), ครั้งที่ 25 ที่ลาว, ครั้งที่ 26 ที่อินโดนีเซีย และ ครั้งนี้ที่ประเทศพม่า ซึ่งใช้เมืองเนปิดอว์ เป็นเมืองหลักในการจัดการแข่งขัน
ซึ่งใน 6 ครั้งที่ได้ติดตามรายงานข่าวอย่างใกล้ชิดบ้าง (ใกล้ชิดของผมคือต้องลงพื้นที่รายงานข่าวเอง) ห่างเหินบ้าง (คือติดตามรายงานข่าวโดยไม่ได้ลงพื้นที่) จึงได้เห็นความแตกต่างของการจัดแต่ละครั้งว่าชนิดกีฬาที่เจ้าภาพพยายามนำเข้าร่วมชิงชัยกันแต่ละครั้งนั้นแตกต่างกันมาก ยกตัวอย่าง ซีเกมส์ ครั้งที่ 22 ที่เวียดนามเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เมืองหลักในการจัดการแข่งขันเป็น 2 เมือง คือ ฮานอย กับ โฮจิมินห์ โดยครั้งนั้นผมจึงได้รู้จักกับกีฬาชัตเติลค็อก หรือการเดาะลูกขนไก่ รวมถึงกีฬาต่อสู้ประจำชาติที่เรียกว่าโววีนัม
ส่วนการแข่งขันครั้งที่ 23 ที่ฟิลิปปินส์ อันเป็นประเทศหมู่เกาะ แม้ว่าเมืองมะนิลาจะเป็นเมืองหลักในการจัดการแข่งขัน แต่ก็พยายามกระจายชนิดกีฬาต่างๆ ออกสู่เมืองตามหมูเกาะรายรอบ ซึ่งอาจจะดีสำหรับการมีส่วนร่วมของชาวตากาล็อก ทว่ากับการรายงานข่าวนั้นเหนื่อยหนักกันเลยทีเดียว เพราะต้องใช้ผู้สื่อข่าวจำนวนมากสำหรับลงพื้นที่และการส่งคนไปมากๆ นั้นทำได้สำหรับสื่อที่เป็นองค์กรใหญ่ๆ เท่านั้นสื่อตัวเล็กอย่างทีมข่าว MGR SPORT เวลานั้นทำได้เพียงส่งผู้สื่อข่าวหนึ่งเดียวเข้าร่วม ก็เป็นประสบการณ์ที่ดี
ขณะที่การแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นเมืองหลักในการแข่งขัน เราก็ได้บรรจุกีฬาประจำชาติอย่างตะกร้อ และมวยไทย ร่วมแข่งขัน โดยเฉพาะตะกร้อเรามีการบรรจุประเภท “ดับเบิล” หรือ ฝ่ายละ 2 คน ลงแข่งขันกันเต็มที่ ถัดมาอีก 2 ปี ที่ประเทศลาวเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 25 เราได้เห็นกีฬาพื้นบ้านอย่าง ฟินสวิมมิง ที่มีชิงชัยกันถึง 17 เหรียญทอง
มาถึงกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 26 ที่ประเทศอินโดนีเซีย เป็นอีกครั้งที่มีการใช้ 2 เมืองเป็นเมืองหลักในการแข่งขัน ประกอบด้วย จาการ์ตา และ ปาเลมบัง ที่สำคัญไม่พลาดที่เราจะได้เห็นกีฬาพื้นบ้านอย่าง เคมโป ที่มีรากฐานมาจากคาราเตโด กับ ตารุง เดราจัต อีกหนึ่งกีฬาต่อสู้ของเพื่อนบ้านเรา
และสุดท้ายก็เป็นกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 27 ที่ประเทศพม่า ซึ่งพิธีเปิดการแข่งขันผ่านพ้นไปแล้ว ต้องยอมรับว่าอลังการเกินคาดสำหรับประเทศที่ห่างหายจากการเป็นเจ้าภาพไปถึง 44 ปี พร้อมกับการบรรจุชนิดกีฬาอย่าง ชินลง ร่วมชิงชัย กัน 8 เหรียญทอง รวมทั้งยังเน้นกีฬาต่อสู้อย่าง เคมโป, โววีนัม, วูซู และ ปันจักสีลัต ให้มีเหรียญทองจำนวนมาก ส่งผลให้ตอนนี้เจ้าภาพทำเหรียญรวมนำห่าง และมากกว่าจำนวนเหรียญทองที่ได้มาจากซีเกมส์ครั้งที่แล้ว ทั้งที่พิธีเปิดการแข่งขันเพิ่งเริ่มต้น แถมยังมีการตัดกีฬาสากลอย่าง ยิมนาสติก และ เทนนิส ที่เป็นความหวังของเราออกไปอีก
ถึงตอนนี้ร่ำๆ ว่าซีเกมส์ ครั้งที่ 28 ที่ประเทศสิงคโปร์ ที่ประกาศว่าจะไม่เน้นการจัดกีฬาพื้นบ้าน ทว่ากลับเล็งตัดกีฬาสากลอย่าง วอลเลย์บอล, มวยสากลสมัครเล่น, ยกน้ำหนัก, เรือพาย ออกไปอีก แม้จะยังไม่ได้ข้อสรุปในตอนนี้ แต่ที่แน่ๆ ดูแล้วเจ้าภาพแต่ละชาติเหมือนจะหนักข้อขึ้นทุกที
แม้ว่ามหกรรมการแข่งขันกีฬาของชาวภูมิภาคอาเซียน หรือที่เรารู้จักกันในชื่อกีฬาแหลมทองในอดีต และปัจจุบันเรียกชื่อใหม่จนจำขึ้นใจว่า “ซีเกมส์” จะจัดกันมาแล้วรวม 27 ครั้ง ซึ่งผมเองแม้อายุอานามไม่มากเข้าขั้นเป็นสื่อระดับอาวุโส แต่ในสถานภาพของการเป็นสื่อมวลชนนั้นผ่านการจัดการแข่งขันรายการนี้มาแล้วก็ 6 ครั้งได้ ไล่มาตั้งแต่ครั้งที่ 22 จัดขึ้นที่ประเทศเวียดนาม, ครั้งที่ 23 ที่ฟิลิปปินส์, ครั้งที่ 24 ที่ประเทศไทย (นครราชสีมาเป็นเมืองหลัก), ครั้งที่ 25 ที่ลาว, ครั้งที่ 26 ที่อินโดนีเซีย และ ครั้งนี้ที่ประเทศพม่า ซึ่งใช้เมืองเนปิดอว์ เป็นเมืองหลักในการจัดการแข่งขัน
ซึ่งใน 6 ครั้งที่ได้ติดตามรายงานข่าวอย่างใกล้ชิดบ้าง (ใกล้ชิดของผมคือต้องลงพื้นที่รายงานข่าวเอง) ห่างเหินบ้าง (คือติดตามรายงานข่าวโดยไม่ได้ลงพื้นที่) จึงได้เห็นความแตกต่างของการจัดแต่ละครั้งว่าชนิดกีฬาที่เจ้าภาพพยายามนำเข้าร่วมชิงชัยกันแต่ละครั้งนั้นแตกต่างกันมาก ยกตัวอย่าง ซีเกมส์ ครั้งที่ 22 ที่เวียดนามเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เมืองหลักในการจัดการแข่งขันเป็น 2 เมือง คือ ฮานอย กับ โฮจิมินห์ โดยครั้งนั้นผมจึงได้รู้จักกับกีฬาชัตเติลค็อก หรือการเดาะลูกขนไก่ รวมถึงกีฬาต่อสู้ประจำชาติที่เรียกว่าโววีนัม
ส่วนการแข่งขันครั้งที่ 23 ที่ฟิลิปปินส์ อันเป็นประเทศหมู่เกาะ แม้ว่าเมืองมะนิลาจะเป็นเมืองหลักในการจัดการแข่งขัน แต่ก็พยายามกระจายชนิดกีฬาต่างๆ ออกสู่เมืองตามหมูเกาะรายรอบ ซึ่งอาจจะดีสำหรับการมีส่วนร่วมของชาวตากาล็อก ทว่ากับการรายงานข่าวนั้นเหนื่อยหนักกันเลยทีเดียว เพราะต้องใช้ผู้สื่อข่าวจำนวนมากสำหรับลงพื้นที่และการส่งคนไปมากๆ นั้นทำได้สำหรับสื่อที่เป็นองค์กรใหญ่ๆ เท่านั้นสื่อตัวเล็กอย่างทีมข่าว MGR SPORT เวลานั้นทำได้เพียงส่งผู้สื่อข่าวหนึ่งเดียวเข้าร่วม ก็เป็นประสบการณ์ที่ดี
ขณะที่การแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นเมืองหลักในการแข่งขัน เราก็ได้บรรจุกีฬาประจำชาติอย่างตะกร้อ และมวยไทย ร่วมแข่งขัน โดยเฉพาะตะกร้อเรามีการบรรจุประเภท “ดับเบิล” หรือ ฝ่ายละ 2 คน ลงแข่งขันกันเต็มที่ ถัดมาอีก 2 ปี ที่ประเทศลาวเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 25 เราได้เห็นกีฬาพื้นบ้านอย่าง ฟินสวิมมิง ที่มีชิงชัยกันถึง 17 เหรียญทอง
มาถึงกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 26 ที่ประเทศอินโดนีเซีย เป็นอีกครั้งที่มีการใช้ 2 เมืองเป็นเมืองหลักในการแข่งขัน ประกอบด้วย จาการ์ตา และ ปาเลมบัง ที่สำคัญไม่พลาดที่เราจะได้เห็นกีฬาพื้นบ้านอย่าง เคมโป ที่มีรากฐานมาจากคาราเตโด กับ ตารุง เดราจัต อีกหนึ่งกีฬาต่อสู้ของเพื่อนบ้านเรา
และสุดท้ายก็เป็นกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 27 ที่ประเทศพม่า ซึ่งพิธีเปิดการแข่งขันผ่านพ้นไปแล้ว ต้องยอมรับว่าอลังการเกินคาดสำหรับประเทศที่ห่างหายจากการเป็นเจ้าภาพไปถึง 44 ปี พร้อมกับการบรรจุชนิดกีฬาอย่าง ชินลง ร่วมชิงชัย กัน 8 เหรียญทอง รวมทั้งยังเน้นกีฬาต่อสู้อย่าง เคมโป, โววีนัม, วูซู และ ปันจักสีลัต ให้มีเหรียญทองจำนวนมาก ส่งผลให้ตอนนี้เจ้าภาพทำเหรียญรวมนำห่าง และมากกว่าจำนวนเหรียญทองที่ได้มาจากซีเกมส์ครั้งที่แล้ว ทั้งที่พิธีเปิดการแข่งขันเพิ่งเริ่มต้น แถมยังมีการตัดกีฬาสากลอย่าง ยิมนาสติก และ เทนนิส ที่เป็นความหวังของเราออกไปอีก
ถึงตอนนี้ร่ำๆ ว่าซีเกมส์ ครั้งที่ 28 ที่ประเทศสิงคโปร์ ที่ประกาศว่าจะไม่เน้นการจัดกีฬาพื้นบ้าน ทว่ากลับเล็งตัดกีฬาสากลอย่าง วอลเลย์บอล, มวยสากลสมัครเล่น, ยกน้ำหนัก, เรือพาย ออกไปอีก แม้จะยังไม่ได้ข้อสรุปในตอนนี้ แต่ที่แน่ๆ ดูแล้วเจ้าภาพแต่ละชาติเหมือนจะหนักข้อขึ้นทุกที