คอลัมน์ “TIMEOUT” โดย “ชมณัฐ”
เป็นที่ชี้ชัดแล้วว่ากฎหมายของประเทศไทยเกือบทุกฉบับ ยังไม่รองรับกับร่างข้อบังคับฉบับใหม่ของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ที่ “บังยี” วรวีร์ มะกูดี ผู้นำลูกหนังไทย ต้องการเปลี่ยนแปลงโดยอ้างว่าให้เป็นไปตามธรรมนูญมาตรฐานสากลที่สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟา) กำหนด แม้การกีฬาแห่งประเทศไทย(กกท.) จะเปิดโอกาสให้สามารถโหวตรับรองได้ในวันที่ 9 สิงหาคม แต่มีข้อแม้คือต้องแก้ไขให้ไม่ขัดต่อกฎหมายไทยเสียก่อน
ส่วนวันที่ 8 สิงหาคม สโมสรสมาชิก 108 ทีม ที่เข้าชื่อเตรียมจัดเลือกตั้งเองนั้นก็ทำได้เช่นกัน แต่จะได้รับการจดทะเบียนหรือไม่นั้นก็ต้องแล้วกรมการปกครองพิจารณา
สำหรับร่างข้อบังคับฉบับใหม่ที่ต้องแก้ไขนั้นส่วนใหญ่เป็นการแปลความที่คลาดเคลื่อน หรือนิยามศัพท์บางคำยังขัดยังต่อข้อกฎหมายอยู่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาเรียบเรียงให้ถูกต้องได้ไม่ยาก แต่ปัญหาจริงคือเรื่องการเปลี่ยนจำนวนเสียงของสโมสรสมาชิกที่จะใช้โหวตเลือกตั้งนายกสมาคมฯให้เหลือ 72 เสียง ที่เป็นต้นตอของปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นในเวลานี้
แม้ วรวีร์ จะยืนกระต่ายขาเดียวมาตลอดว่าจะเป็นจะตายก็แก้ไม่ได้เพราะฟีฟากำหนดมาแล้ว แต่หากย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2556 “บังยี” เคยเชิญ มร.เจมส์ จอห์นสัน ตัวแทนจากฟีฟาเข้ามาหารือกับกกท.เป็นครั้งแรก และฟีฟาเองก็ไม่ขัดข้องแต่ประการใดที่สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยจะไม่แก้ไขหัวข้อระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของนายกสมาคมฯจากเดิม 2 ปี เป็น 4 ปี ตามที่ทั่วโลกใช้กัน เนื่องจากเป็นการขัดต่อกฎหมายไทย และจะนับประสาอะไรกับจำนวนเสียงโหวตที่แต่ละประเทศใช้ไม่เหมือนกันจะแก้ไม่ได้
เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผู้นำฟุตบอลไทยควรทำคือ นำเรื่องธรรมนูญข้อบังคับใหม่นี้ เข้าชี้แจงต่อลูกหนังโลกว่ายังไม่สามารถใช้ได้ในตอนนี้เพราะขัดกับกฎหมายในประเทศ เพื่อเป็นการแสดงสปิริตให้แฟนบอลชาวไทยได้เห็นว่า ตนปกป้องประเทศชาติไม่ยอมให้สิ่งที่ขัดต่อกฎหมายมาครอบงำ ไม่ใช่พยายามหาทางเลี่ยงบาลี หาช่องโหว่ของกฎหมายมายื้อเวลาไปเรื่อยๆ เพราะตอนนี้ผลกระทบต่างๆที่โดนหางเลขก็ทวีเพิ่มขึ้นทุกที ตั้งแต่ เฮดโค้ชทีมชาติไทยคนใหม่, ปัญหาแย่งสิทธิ์ทำทีมของศรีสะเกษ เอฟซี, การประมูลลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดไทยลีก จนล่าสุด ฟุตซอลลีก ที่ยังไม่ได้ฤกษ์เปิดฉากเสียที
แต่มีสิ่งที่ “ชมณัฐ” ยังกังวลอยู่ก็คือในมติของกกท.ที่สรุปออกมาเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ที่ผ่านมา มีส่วนหนึ่งในข้อแถลงระบุว่า “ทางกรมการปกครองในฐานะนายทะเบียนสมาคมกรุงเทพมหานคร มีความเห็นว่าให้สมาคมฟุตบอลฯสามารถจัดเลือกตั้งได้ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2556 และต้องไม่เกินเดือนมีนาคม 2557” จึงอาจเป็นไปได้ว่า “ใครบางคน” จะอาศัยช่องทางตรงนี้ลากยาวยื้อไปจนปีหน้า
เป็นที่ชี้ชัดแล้วว่ากฎหมายของประเทศไทยเกือบทุกฉบับ ยังไม่รองรับกับร่างข้อบังคับฉบับใหม่ของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ที่ “บังยี” วรวีร์ มะกูดี ผู้นำลูกหนังไทย ต้องการเปลี่ยนแปลงโดยอ้างว่าให้เป็นไปตามธรรมนูญมาตรฐานสากลที่สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟา) กำหนด แม้การกีฬาแห่งประเทศไทย(กกท.) จะเปิดโอกาสให้สามารถโหวตรับรองได้ในวันที่ 9 สิงหาคม แต่มีข้อแม้คือต้องแก้ไขให้ไม่ขัดต่อกฎหมายไทยเสียก่อน
ส่วนวันที่ 8 สิงหาคม สโมสรสมาชิก 108 ทีม ที่เข้าชื่อเตรียมจัดเลือกตั้งเองนั้นก็ทำได้เช่นกัน แต่จะได้รับการจดทะเบียนหรือไม่นั้นก็ต้องแล้วกรมการปกครองพิจารณา
สำหรับร่างข้อบังคับฉบับใหม่ที่ต้องแก้ไขนั้นส่วนใหญ่เป็นการแปลความที่คลาดเคลื่อน หรือนิยามศัพท์บางคำยังขัดยังต่อข้อกฎหมายอยู่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาเรียบเรียงให้ถูกต้องได้ไม่ยาก แต่ปัญหาจริงคือเรื่องการเปลี่ยนจำนวนเสียงของสโมสรสมาชิกที่จะใช้โหวตเลือกตั้งนายกสมาคมฯให้เหลือ 72 เสียง ที่เป็นต้นตอของปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นในเวลานี้
แม้ วรวีร์ จะยืนกระต่ายขาเดียวมาตลอดว่าจะเป็นจะตายก็แก้ไม่ได้เพราะฟีฟากำหนดมาแล้ว แต่หากย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2556 “บังยี” เคยเชิญ มร.เจมส์ จอห์นสัน ตัวแทนจากฟีฟาเข้ามาหารือกับกกท.เป็นครั้งแรก และฟีฟาเองก็ไม่ขัดข้องแต่ประการใดที่สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยจะไม่แก้ไขหัวข้อระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของนายกสมาคมฯจากเดิม 2 ปี เป็น 4 ปี ตามที่ทั่วโลกใช้กัน เนื่องจากเป็นการขัดต่อกฎหมายไทย และจะนับประสาอะไรกับจำนวนเสียงโหวตที่แต่ละประเทศใช้ไม่เหมือนกันจะแก้ไม่ได้
เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผู้นำฟุตบอลไทยควรทำคือ นำเรื่องธรรมนูญข้อบังคับใหม่นี้ เข้าชี้แจงต่อลูกหนังโลกว่ายังไม่สามารถใช้ได้ในตอนนี้เพราะขัดกับกฎหมายในประเทศ เพื่อเป็นการแสดงสปิริตให้แฟนบอลชาวไทยได้เห็นว่า ตนปกป้องประเทศชาติไม่ยอมให้สิ่งที่ขัดต่อกฎหมายมาครอบงำ ไม่ใช่พยายามหาทางเลี่ยงบาลี หาช่องโหว่ของกฎหมายมายื้อเวลาไปเรื่อยๆ เพราะตอนนี้ผลกระทบต่างๆที่โดนหางเลขก็ทวีเพิ่มขึ้นทุกที ตั้งแต่ เฮดโค้ชทีมชาติไทยคนใหม่, ปัญหาแย่งสิทธิ์ทำทีมของศรีสะเกษ เอฟซี, การประมูลลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดไทยลีก จนล่าสุด ฟุตซอลลีก ที่ยังไม่ได้ฤกษ์เปิดฉากเสียที
แต่มีสิ่งที่ “ชมณัฐ” ยังกังวลอยู่ก็คือในมติของกกท.ที่สรุปออกมาเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ที่ผ่านมา มีส่วนหนึ่งในข้อแถลงระบุว่า “ทางกรมการปกครองในฐานะนายทะเบียนสมาคมกรุงเทพมหานคร มีความเห็นว่าให้สมาคมฟุตบอลฯสามารถจัดเลือกตั้งได้ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2556 และต้องไม่เกินเดือนมีนาคม 2557” จึงอาจเป็นไปได้ว่า “ใครบางคน” จะอาศัยช่องทางตรงนี้ลากยาวยื้อไปจนปีหน้า