คอลัมน์ “The Golf Touch” โดย “วันปีย์ สัจจมาร์ค”
สัปดาห์นี้มีการแข่งขันรายการ ยูเอส โอเพ่น ซึ่งโดยปกติแล้วถือว่าเป็นรายการที่เซ็ตสนามแข่งขันได้ยากที่สุดในวงการกอล์ฟ บรรดาทัวริ่งโปรทั้งหลายจะต้องเผชิญกับ "ความพิเศษ" หรือ "ความกว่าปกติ" กันตลอดทั้งสัปดาห์ บางคนจะพูดถึงความยาวของสนามที่ใช้จัดแข่งยูเอส โอเพ่น แต่ถ้าว่ากันจริงๆ แล้ว หลายปีที่ผ่านมานี้ พีจีเอ แชมเปี้ยนชิพ มักจะเซ็ตสนามยาวกว่า ความแข็งของกรีนในทัวร์ที่ธรรมดาแข็งและเร็วอยู่แล้ว สัปดาห์นี้ก็มักจะแข็งและเร็วกว่าปกติ แต่ความโหดของกรีนในยูเอส โอเพ่น ก็ไม่มากไปกว่ากรีนของรายการ เดอะ มาสเตอร์ส บ่อยครั้งที่ความกว้างของแฟร์เวย์ก็จะลดแคบลงมากว่าปกติ แต่สำหรับผมแล้ว ปัจจัยของสนามที่เพิ่มความยากและเป็นเอกลักษณ์รวมทั้งเป็นบททดสอบหลักของยูเอส โอเพ่น ก็คือรัฟที่ยาวและหนาแน่นเป็นพิเศษ
ตามมาตรฐานของยูเอส โอเพ่น ปีแล้วปีเล่า เรามักจะเห็นความยาวของรัฟถูกเลี้ยงไว้ที่ระหว่าง 1.5" ถึง 6" หมายความว่ารัฟที่อยู่ไกล้แฟร์เวย์ก็จะบางและค่อนข้างสั้น ขนาดที่ถ้าตีพลาดแฟร์เวย์ยิ่งห่างออกไปเรื่อยๆ รัฟก็จะยิ่งหนาแน่นและยาวขึ้นด้วยเช่นกัน ถ้าโชคดีเมื่อเราไปอยู่ในรัฟและลูกลอย เราอาจจะตีลูกไปข้างหน้าด้วยไม้ไฮบริท หรือเหล็กกลางลงมาอย่างไม่ยากจนเกินไปนัก แต่ถ้าลูกจมลงไปสุดโคนหญ้าในรัฟหนา การที่จะตีลูกกอล์ฟไปในทิศทางของกรีนอาจจะเป็นไปไม่ได้ด้วยซ้ำ บ่อยครั้งที่แม้กระทั่งทัวร์โปรก็ต้องจับเวดจ์แล้วเล่นออกด้านข้างให้กลับมาอยู่ในหญ้าสั้น วิธีเล่นออกมาไม่ยากเลยครับ เพราะผมเชื่อว่านักกอล์ฟส่วนมากเล่นช็อตนี้กันเป็นอยู่แล้วตราบใดที่ไม่โลภมากจนเกินไป
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือคำว่า "ระเบิดรัฟ" ซึ่งเล่นเหมือนการระเบิดทรายทุกกระเบียดนิ้วตั้งแต่ยืนเปิดและเปิดหน้าเหล็ก ขึ้นชัน พับข้อมือ ต่อมาด้วยการลงชัน ตีโดนพื้นที่ตำแหน่งหลังลูก ถ้าจะต่าง อาจจะมีแค่การจับที่แน่นขึ้นเล็กน้อยตามแรงต้านของหญ้าในตำแหน่งนั้นๆ อย่าลืมว่าในรัฟเราสามารถทดสอบความหนาแน่นของหญ้าด้วยการซ้อมสวิงหญ้าก่อนได้ต่างจากการเล่นในทรายที่ซ้อมสวิงไม่ได้
จับตาดูวิธีการเล่นในรัฟของโปรชั้นนำทั้งหลายที่ไปร่วมแข่งขันรายการยูเอส โอเพ่น สัปดาห์นี้ดีๆ นะครับ เราจะได้นำเอาเทคนิคเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในเกมของเรา ผมรับประกันได้ว่ามีระเบิดรัฟให้เห็นกันเยอะมากแน่นอน
สัปดาห์นี้มีการแข่งขันรายการ ยูเอส โอเพ่น ซึ่งโดยปกติแล้วถือว่าเป็นรายการที่เซ็ตสนามแข่งขันได้ยากที่สุดในวงการกอล์ฟ บรรดาทัวริ่งโปรทั้งหลายจะต้องเผชิญกับ "ความพิเศษ" หรือ "ความกว่าปกติ" กันตลอดทั้งสัปดาห์ บางคนจะพูดถึงความยาวของสนามที่ใช้จัดแข่งยูเอส โอเพ่น แต่ถ้าว่ากันจริงๆ แล้ว หลายปีที่ผ่านมานี้ พีจีเอ แชมเปี้ยนชิพ มักจะเซ็ตสนามยาวกว่า ความแข็งของกรีนในทัวร์ที่ธรรมดาแข็งและเร็วอยู่แล้ว สัปดาห์นี้ก็มักจะแข็งและเร็วกว่าปกติ แต่ความโหดของกรีนในยูเอส โอเพ่น ก็ไม่มากไปกว่ากรีนของรายการ เดอะ มาสเตอร์ส บ่อยครั้งที่ความกว้างของแฟร์เวย์ก็จะลดแคบลงมากว่าปกติ แต่สำหรับผมแล้ว ปัจจัยของสนามที่เพิ่มความยากและเป็นเอกลักษณ์รวมทั้งเป็นบททดสอบหลักของยูเอส โอเพ่น ก็คือรัฟที่ยาวและหนาแน่นเป็นพิเศษ
ตามมาตรฐานของยูเอส โอเพ่น ปีแล้วปีเล่า เรามักจะเห็นความยาวของรัฟถูกเลี้ยงไว้ที่ระหว่าง 1.5" ถึง 6" หมายความว่ารัฟที่อยู่ไกล้แฟร์เวย์ก็จะบางและค่อนข้างสั้น ขนาดที่ถ้าตีพลาดแฟร์เวย์ยิ่งห่างออกไปเรื่อยๆ รัฟก็จะยิ่งหนาแน่นและยาวขึ้นด้วยเช่นกัน ถ้าโชคดีเมื่อเราไปอยู่ในรัฟและลูกลอย เราอาจจะตีลูกไปข้างหน้าด้วยไม้ไฮบริท หรือเหล็กกลางลงมาอย่างไม่ยากจนเกินไปนัก แต่ถ้าลูกจมลงไปสุดโคนหญ้าในรัฟหนา การที่จะตีลูกกอล์ฟไปในทิศทางของกรีนอาจจะเป็นไปไม่ได้ด้วยซ้ำ บ่อยครั้งที่แม้กระทั่งทัวร์โปรก็ต้องจับเวดจ์แล้วเล่นออกด้านข้างให้กลับมาอยู่ในหญ้าสั้น วิธีเล่นออกมาไม่ยากเลยครับ เพราะผมเชื่อว่านักกอล์ฟส่วนมากเล่นช็อตนี้กันเป็นอยู่แล้วตราบใดที่ไม่โลภมากจนเกินไป
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือคำว่า "ระเบิดรัฟ" ซึ่งเล่นเหมือนการระเบิดทรายทุกกระเบียดนิ้วตั้งแต่ยืนเปิดและเปิดหน้าเหล็ก ขึ้นชัน พับข้อมือ ต่อมาด้วยการลงชัน ตีโดนพื้นที่ตำแหน่งหลังลูก ถ้าจะต่าง อาจจะมีแค่การจับที่แน่นขึ้นเล็กน้อยตามแรงต้านของหญ้าในตำแหน่งนั้นๆ อย่าลืมว่าในรัฟเราสามารถทดสอบความหนาแน่นของหญ้าด้วยการซ้อมสวิงหญ้าก่อนได้ต่างจากการเล่นในทรายที่ซ้อมสวิงไม่ได้
จับตาดูวิธีการเล่นในรัฟของโปรชั้นนำทั้งหลายที่ไปร่วมแข่งขันรายการยูเอส โอเพ่น สัปดาห์นี้ดีๆ นะครับ เราจะได้นำเอาเทคนิคเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในเกมของเรา ผมรับประกันได้ว่ามีระเบิดรัฟให้เห็นกันเยอะมากแน่นอน