คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน ราชวังสัน
การประชุมใหญ่สามัญประจำปีของ สหพันธุ์ฟุตบอลนานาชาติ ครั้งที่ 63 (63rd FIFA Congress) ที่ สาธารณรัฐ โมรีเชียส เมื่อวันที่ 30-31 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีหลากหลายเรื่องราวที่ถูกบรรจุไว้ในวาระการประชุม จัดการแจ้งสมาชิกล่วงหน้านานนับเดือน อันนี้ก็เพื่อที่แต่ละคนจะได้มีเวลาเตรียมตัว แล้วในที่สุด ประธานฟีฟา ก็ถอดเรื่องที่ตนเองจะเสียประโยชน์ส่วนตัวออกไปอย่างหน้าตาเฉย
ก่อนหน้าการประชุมใหญ่ที่จะมีมวลสมาชิกทั้ง 209 ชาติเข้าร่วม เขาจัดให้ คณะกรรมการบริหาร 24 คน ประชุมหารือกันเองก่อนในวันที่ 29 พฤษภาคม จะได้เตี๊ยมกันได้ ซึ่งงานนี้ มิเชล ปลาตินี ประธานสหสมาคมฟุตบอลยุโรป หรือ ยูเอ็ฟฟ่า (UEFA) เตรียมเน้นๆ เป็นพิเศษก็เรื่องการจำกัดอายุและวาระการดำรงตำแหน่ง ประธานฟีฟา นั่นเอง
อดีตยอดนักเตะ ยูเวนตุส ชาวฝรั่งเศส ฉายา นาโปเลองลูกหนัง เจ้าของรางวัล บัลลง ดอร 3 ปีซ้อน ซึ่งในอีกราว 2 สัปดาห์ก็จะมีอายุครบ 58 ปีแล้ว หมายมั่นว่า ก้าวต่อไปของเขาก็คือการเข้าดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดของวงการฟุตบอลแทน โชเซ็ฟ บลัทเท่อร์ ประธานคนปัจจุบันชาวสวิสที่ตอนนี้อายุปาเข้าไป 77 ปีแล้ว
หมอนี่เฝ้ารอการเกษียณตัวเองของ เซ็พ ตามคำสัญญาที่เคยให้ไว้ หลังจากได้รับเลือกตั้งอีกเป็นสมัยที่ 4 เมื่อปี 2011 ว่าจะก้าวลงจากตำแหน่งในปี 2015 แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป เซ็พ กลับแสดงความตั้งใจที่จะลงสมัครชิงตำแหน่งดังกล่าวอีกเป็นสมัยที่ 5 ทำให้หนทางในการชิงตำแหน่งไม่ง่ายอย่างที่คิดเสียแล้ว และอาจดับวูบลง เพราะเมื่อคราวเลือกตั้ง 2011 เซ็พ กวาดคะแนนไปถึง 186 จาก 203 คะแนน
กรรมการบริหารฟีฟาที่มาจาก ยูเอ็ฟฟ่า ซึ่งมีจำนวน 7 คนไม่พอใจอย่างยิ่ง เขาจึงหันมาใช้ไม้ตายด้วยการผลักดันให้มีการจำกัดอายุผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานฟีฟา ต้องไม่เกิน 72 ปี นอกจากนั้น จะตะบี้ตะบันครองอำนาจวาระละ 4 ปีได้อย่างมากไม่เกิน 3 เที่ยวคือ 12 ปีเท่านั้น อันนี้เริ่มเป็นขบวนการตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา และเรื่องดังกล่าวก็มาถูกบรรจุในวาระการประชุมสามัญประจำปี ครั้งที่ 63 ซึ่งหลักเกณฑ์ทั้ง 2 ข้อดังกล่าว เซ็พ เลยพ้นจุดนั้นมาหมดแล้ว คราวนี้คงต้องจำใจโบกมือลาไปเอง ถ้าเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมใหญ่
ในปัจจุบัน การดำรงตำแหน่ง ประธานฟีฟา นั้น ไม่มีการจำกัดอายุ โดยมีวาระละ 4 ปี ซึ่งจะอยู่กี่วาระก็ได้ คือเป็นประธานไปจนกว่าจะไม่ได้รับเลือก ซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 1904 มีประธานฟีฟาทั้งสิ้น 8 คน ครองเก้าอี้จนตายคาตำแหน่งไปก็หลายคน ตำแหน่งนี้เขาประเมินว่ามีเงินเดือน รายได้ ผลประโยชน์ รวมกันปีละ 150-200 ล้านบาท
แม้ว่าช่วงที่ผ่านมา เซ็พ จะพยายามชูประเด็นการแก้ไขปัญหาคอร์รัพเชิ่นในองค์กร แต่หมอนี่ก็โดนวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องการทุจริตที่เกิดขึ้นใน ฟีฟา รวมทั้งการบริหารงานด้านการเงินที่ไม่โปร่งใสตลอดระยะเวลาที่เขาดำรงตำแหน่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องทุจริตในการคัดเลือกเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ กาตาร์ ได้สิทธิ์นั้นในปี 2022
เมื่อรู้ตัวว่า ตำแหน่งของตนไม่มั่นคงเสียแล้ว มีความพยายามที่จะจำกัดสิทธิ์ในการดำรงตำแหน่ง ทำให้ เซ็พ ต้องยื้อด้วยการถอดเรื่องออกจากวาระการประชุมไปดื้อๆ แล้วค่อยมาคุยกันใหม่ในปีหน้า อันนี้ผมว่ามันก็ด้วยกิเลส ตัณหา ความอยากมี อยากได้ ไม่รู้จักพอ ของคนๆ หนึ่ง ดันหลงใหลได้ปลื้มกับผลประโยชน์ รายได้ และอำนาจ มันก็คือต้องการอยู่เกาะกินไปอีกนานกว่านี้ เท่านั้นเอง มันไม่ต่างจากสมาคมบอลไทยเลยครับ
การประชุมใหญ่สามัญประจำปีของ สหพันธุ์ฟุตบอลนานาชาติ ครั้งที่ 63 (63rd FIFA Congress) ที่ สาธารณรัฐ โมรีเชียส เมื่อวันที่ 30-31 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีหลากหลายเรื่องราวที่ถูกบรรจุไว้ในวาระการประชุม จัดการแจ้งสมาชิกล่วงหน้านานนับเดือน อันนี้ก็เพื่อที่แต่ละคนจะได้มีเวลาเตรียมตัว แล้วในที่สุด ประธานฟีฟา ก็ถอดเรื่องที่ตนเองจะเสียประโยชน์ส่วนตัวออกไปอย่างหน้าตาเฉย
ก่อนหน้าการประชุมใหญ่ที่จะมีมวลสมาชิกทั้ง 209 ชาติเข้าร่วม เขาจัดให้ คณะกรรมการบริหาร 24 คน ประชุมหารือกันเองก่อนในวันที่ 29 พฤษภาคม จะได้เตี๊ยมกันได้ ซึ่งงานนี้ มิเชล ปลาตินี ประธานสหสมาคมฟุตบอลยุโรป หรือ ยูเอ็ฟฟ่า (UEFA) เตรียมเน้นๆ เป็นพิเศษก็เรื่องการจำกัดอายุและวาระการดำรงตำแหน่ง ประธานฟีฟา นั่นเอง
อดีตยอดนักเตะ ยูเวนตุส ชาวฝรั่งเศส ฉายา นาโปเลองลูกหนัง เจ้าของรางวัล บัลลง ดอร 3 ปีซ้อน ซึ่งในอีกราว 2 สัปดาห์ก็จะมีอายุครบ 58 ปีแล้ว หมายมั่นว่า ก้าวต่อไปของเขาก็คือการเข้าดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดของวงการฟุตบอลแทน โชเซ็ฟ บลัทเท่อร์ ประธานคนปัจจุบันชาวสวิสที่ตอนนี้อายุปาเข้าไป 77 ปีแล้ว
หมอนี่เฝ้ารอการเกษียณตัวเองของ เซ็พ ตามคำสัญญาที่เคยให้ไว้ หลังจากได้รับเลือกตั้งอีกเป็นสมัยที่ 4 เมื่อปี 2011 ว่าจะก้าวลงจากตำแหน่งในปี 2015 แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป เซ็พ กลับแสดงความตั้งใจที่จะลงสมัครชิงตำแหน่งดังกล่าวอีกเป็นสมัยที่ 5 ทำให้หนทางในการชิงตำแหน่งไม่ง่ายอย่างที่คิดเสียแล้ว และอาจดับวูบลง เพราะเมื่อคราวเลือกตั้ง 2011 เซ็พ กวาดคะแนนไปถึง 186 จาก 203 คะแนน
กรรมการบริหารฟีฟาที่มาจาก ยูเอ็ฟฟ่า ซึ่งมีจำนวน 7 คนไม่พอใจอย่างยิ่ง เขาจึงหันมาใช้ไม้ตายด้วยการผลักดันให้มีการจำกัดอายุผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานฟีฟา ต้องไม่เกิน 72 ปี นอกจากนั้น จะตะบี้ตะบันครองอำนาจวาระละ 4 ปีได้อย่างมากไม่เกิน 3 เที่ยวคือ 12 ปีเท่านั้น อันนี้เริ่มเป็นขบวนการตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา และเรื่องดังกล่าวก็มาถูกบรรจุในวาระการประชุมสามัญประจำปี ครั้งที่ 63 ซึ่งหลักเกณฑ์ทั้ง 2 ข้อดังกล่าว เซ็พ เลยพ้นจุดนั้นมาหมดแล้ว คราวนี้คงต้องจำใจโบกมือลาไปเอง ถ้าเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมใหญ่
ในปัจจุบัน การดำรงตำแหน่ง ประธานฟีฟา นั้น ไม่มีการจำกัดอายุ โดยมีวาระละ 4 ปี ซึ่งจะอยู่กี่วาระก็ได้ คือเป็นประธานไปจนกว่าจะไม่ได้รับเลือก ซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 1904 มีประธานฟีฟาทั้งสิ้น 8 คน ครองเก้าอี้จนตายคาตำแหน่งไปก็หลายคน ตำแหน่งนี้เขาประเมินว่ามีเงินเดือน รายได้ ผลประโยชน์ รวมกันปีละ 150-200 ล้านบาท
แม้ว่าช่วงที่ผ่านมา เซ็พ จะพยายามชูประเด็นการแก้ไขปัญหาคอร์รัพเชิ่นในองค์กร แต่หมอนี่ก็โดนวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องการทุจริตที่เกิดขึ้นใน ฟีฟา รวมทั้งการบริหารงานด้านการเงินที่ไม่โปร่งใสตลอดระยะเวลาที่เขาดำรงตำแหน่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องทุจริตในการคัดเลือกเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ กาตาร์ ได้สิทธิ์นั้นในปี 2022
เมื่อรู้ตัวว่า ตำแหน่งของตนไม่มั่นคงเสียแล้ว มีความพยายามที่จะจำกัดสิทธิ์ในการดำรงตำแหน่ง ทำให้ เซ็พ ต้องยื้อด้วยการถอดเรื่องออกจากวาระการประชุมไปดื้อๆ แล้วค่อยมาคุยกันใหม่ในปีหน้า อันนี้ผมว่ามันก็ด้วยกิเลส ตัณหา ความอยากมี อยากได้ ไม่รู้จักพอ ของคนๆ หนึ่ง ดันหลงใหลได้ปลื้มกับผลประโยชน์ รายได้ และอำนาจ มันก็คือต้องการอยู่เกาะกินไปอีกนานกว่านี้ เท่านั้นเอง มันไม่ต่างจากสมาคมบอลไทยเลยครับ