คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน ราชวังสัน
การประชุมใหญ่ของ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ ที่เรียกว่า ฟีฟ่า ค็องเกรส ( FIFA Congress ) นั้น เป็นการประชุมที่ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 209 ชาติ อันนี้แตกต่างคนละอันกันกับการประชุมคณะกรรมการบริหารของ ฟีฟ่า ซึ่งประกอบด้วยกรรมการเพียง 24 คน เดิม ฟีฟ่า ค็องเกรส จัดขึ้นทุกๆ 2 ปี แต่ต่อมานับตั้งแต่ปี 1998 ก็มีกำหนดให้มีการประชุมใหญ่ทุกๆปี โดยการประชุมใหญ่หนต่อไปคือ ฟีฟ่า ค็องเกรส ครั้งที่ 63 กำลังจะเกิดขึ้นที่ สาธารณรัฐ โมรีเชียส ในวันที่ 30-31 พฤษภาคมนี้
ฟีฟ่า ค็องเกรส ก็คือการประชุมใหญ่สามัญประจำปีนั่นเอง ซึ่งหากวาระการดำรงตำแหน่งของ ประธาน ฟีฟ่า กำลังจะหมดลง เขาก็จะจัดให้มีการเลือกตั้งในการประชุมด้วยเลย ซี่งปัจจุบันมักกำหนดการเลือกตั้งในปีถัดจากการแข่งขันฟุตบอลโลก ในการประชุมใหญ่นั้นแต่ละชาติสมาชิกจะมีสิทธิ์โหวทชาติละ 1 เสียงเท่าๆกัน และอาจมีการประชุมวิสามัญอีกก็ได้ หากคณะกรรมการบริหารเรียกประชุมและมีเสียงสนับสนุนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของชาติสมาชิก
ก่อนการประชุมใหญ่ครั้งนี้จะเกิดขึ้น คณะกรรมการบริหาร ฟีฟ่า จะมีการประชุมกันเองซะก่อนในวันที่ 29 พฤษภาคม อันนี้ผมว่า คงแอบคุยกันให้สะเด็ดน้ำก่อนว่าจะเอาอย่างไรกัน และเมื่ออยู่ในที่ประชุมใหญ่จะได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มันก็คือการเตี๊ยมกันนั่นเองครับ ซึ่งเดี๋ยวนี้ในการประชุมไม่ว่า ระดับไหน ของชาติไหน ก็มักจะทำเช่นนี้
ประเด็นสำคัญที่จะคุยกันใน ฟีฟ่า ค็องเกรส ก็เน้นไปที่เรื่องการปฏิรูปองค์กร ซึ่งที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใส การรับเงินใต้โต๊ะทำให้กรรมการบริหารบางคนต้องถูกแขวนหรือกระเด็นออกไป ซึ่งอันนี้ โชเซฟ บลัทเท่อร์ ประธาน ฟีฟ่า ชาวสวิส บอกว่า เขาจะเดินหน้าปฏิรูปองค์กรต่อไป ซึ่งจะมีคณะทำงานที่ดำเนินการอย่างอิสระ ไม่มีอะไรจะมาหยุดยั้งได้
ในปัจจุบัน ตำแหน่งประธาน ฟีฟ่า มีวาระคราวละ 4 ปี และมีบางคนพูดว่าจะเริ่มจำกัดอายุของผู้ดำรงตำแน่งแล้วว่าต้องไม่เกินเท่านั้น ไม่เกินเท่านี้ อันนี้ก็เพื่อมิให้ใครมาเกาะกินจนตายคาเก้าอี้ เพราะตำแหน่งนี้กินเงินเดือน รายได้ ผลประโยชน์ ปีละ 5-7 ล้าน ยูเอส ดอลเล่อร์ส ทีเดียว คิดเป็นเงินไทยก็ร่วมๆ 200 ล้านบาทต่อปีครับ แต่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เซ็พ เถียงว่า คนเราสดไม่เท่ากันในวัย 60, 70 หรือ 80 ดังนั้น เขาไม่เห็นด้วยที่จะมีจำกัดอายุ ถ้าทำเช่นนั้นมันก็ไม่ต่างกับการเหยียดผิว
เรื่องกระบวนการคัดเลือกเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกก็มีบรรจุในวาระการประชุม ซึ่งต่อแต่นี้ไม่เอาแล้วครับที่จะปล่อยให้ คณะกรรมการบริหาร ฟีฟ่า เพียง 24 คน เป็นผู้ชี้เป็นชี้ตาย กำหนดชาติเจ้าภาพจัดการแข่งขัน มันยัดเงินกันง่าย คราวนี้การคัดเลือกชาติเจ้าภาพนั้นจะให้ที่ประชุมใหญ่เป็นผู้ลงคะแนนเลือกเองเลย ซึ่ง เซ็พ ก็ยังยอมรับอีกด้วยว่า การคัดเลือกชาติเจ้าภาพที่ผ่านมา เขาทำผิดพลาดไปเองที่รวบเอา ฟุตบอลโลก 2 ครั้งมาเลือกในคราเดียวกัน
สำหรับการต่อสู้กับการเหยียดผิว ประธาน ฟีฟ่า เชื่อว่าต้องใช้ยาแรงกว่านี้ ต่อไปจะทั้งปรับ ทั้งตัดคะแนน หรือลงโทษขับออกจากการแข่งขันรายการนั้นๆไปเลย นอกจากประเด็นต่างๆที่กล่าวมาแล้ว ยังมีเรื่องการตัดสินลูกบอลผ่านเส้นประตู ( goal-line technology ) การปกป้องสโมสรฟุตบอล ( Club Protection Program ) อันนี้พูดจากันเรื่องการชดเชยค่าเสียหายแก่สโมสรต้นสังกัดที่ปล่อยนักเตะของตนไปรับใช้ทีมชาติ การล้มบอลหรือกำหนดผลการแข่งขัน ก็เป็นอีกเรื่องที่ ฟีฟ่า ต้องนำไปพูดจากันด้วยครับ
การประชุมใหญ่ของ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ ที่เรียกว่า ฟีฟ่า ค็องเกรส ( FIFA Congress ) นั้น เป็นการประชุมที่ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 209 ชาติ อันนี้แตกต่างคนละอันกันกับการประชุมคณะกรรมการบริหารของ ฟีฟ่า ซึ่งประกอบด้วยกรรมการเพียง 24 คน เดิม ฟีฟ่า ค็องเกรส จัดขึ้นทุกๆ 2 ปี แต่ต่อมานับตั้งแต่ปี 1998 ก็มีกำหนดให้มีการประชุมใหญ่ทุกๆปี โดยการประชุมใหญ่หนต่อไปคือ ฟีฟ่า ค็องเกรส ครั้งที่ 63 กำลังจะเกิดขึ้นที่ สาธารณรัฐ โมรีเชียส ในวันที่ 30-31 พฤษภาคมนี้
ฟีฟ่า ค็องเกรส ก็คือการประชุมใหญ่สามัญประจำปีนั่นเอง ซึ่งหากวาระการดำรงตำแหน่งของ ประธาน ฟีฟ่า กำลังจะหมดลง เขาก็จะจัดให้มีการเลือกตั้งในการประชุมด้วยเลย ซี่งปัจจุบันมักกำหนดการเลือกตั้งในปีถัดจากการแข่งขันฟุตบอลโลก ในการประชุมใหญ่นั้นแต่ละชาติสมาชิกจะมีสิทธิ์โหวทชาติละ 1 เสียงเท่าๆกัน และอาจมีการประชุมวิสามัญอีกก็ได้ หากคณะกรรมการบริหารเรียกประชุมและมีเสียงสนับสนุนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของชาติสมาชิก
ก่อนการประชุมใหญ่ครั้งนี้จะเกิดขึ้น คณะกรรมการบริหาร ฟีฟ่า จะมีการประชุมกันเองซะก่อนในวันที่ 29 พฤษภาคม อันนี้ผมว่า คงแอบคุยกันให้สะเด็ดน้ำก่อนว่าจะเอาอย่างไรกัน และเมื่ออยู่ในที่ประชุมใหญ่จะได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มันก็คือการเตี๊ยมกันนั่นเองครับ ซึ่งเดี๋ยวนี้ในการประชุมไม่ว่า ระดับไหน ของชาติไหน ก็มักจะทำเช่นนี้
ประเด็นสำคัญที่จะคุยกันใน ฟีฟ่า ค็องเกรส ก็เน้นไปที่เรื่องการปฏิรูปองค์กร ซึ่งที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใส การรับเงินใต้โต๊ะทำให้กรรมการบริหารบางคนต้องถูกแขวนหรือกระเด็นออกไป ซึ่งอันนี้ โชเซฟ บลัทเท่อร์ ประธาน ฟีฟ่า ชาวสวิส บอกว่า เขาจะเดินหน้าปฏิรูปองค์กรต่อไป ซึ่งจะมีคณะทำงานที่ดำเนินการอย่างอิสระ ไม่มีอะไรจะมาหยุดยั้งได้
ในปัจจุบัน ตำแหน่งประธาน ฟีฟ่า มีวาระคราวละ 4 ปี และมีบางคนพูดว่าจะเริ่มจำกัดอายุของผู้ดำรงตำแน่งแล้วว่าต้องไม่เกินเท่านั้น ไม่เกินเท่านี้ อันนี้ก็เพื่อมิให้ใครมาเกาะกินจนตายคาเก้าอี้ เพราะตำแหน่งนี้กินเงินเดือน รายได้ ผลประโยชน์ ปีละ 5-7 ล้าน ยูเอส ดอลเล่อร์ส ทีเดียว คิดเป็นเงินไทยก็ร่วมๆ 200 ล้านบาทต่อปีครับ แต่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เซ็พ เถียงว่า คนเราสดไม่เท่ากันในวัย 60, 70 หรือ 80 ดังนั้น เขาไม่เห็นด้วยที่จะมีจำกัดอายุ ถ้าทำเช่นนั้นมันก็ไม่ต่างกับการเหยียดผิว
เรื่องกระบวนการคัดเลือกเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกก็มีบรรจุในวาระการประชุม ซึ่งต่อแต่นี้ไม่เอาแล้วครับที่จะปล่อยให้ คณะกรรมการบริหาร ฟีฟ่า เพียง 24 คน เป็นผู้ชี้เป็นชี้ตาย กำหนดชาติเจ้าภาพจัดการแข่งขัน มันยัดเงินกันง่าย คราวนี้การคัดเลือกชาติเจ้าภาพนั้นจะให้ที่ประชุมใหญ่เป็นผู้ลงคะแนนเลือกเองเลย ซึ่ง เซ็พ ก็ยังยอมรับอีกด้วยว่า การคัดเลือกชาติเจ้าภาพที่ผ่านมา เขาทำผิดพลาดไปเองที่รวบเอา ฟุตบอลโลก 2 ครั้งมาเลือกในคราเดียวกัน
สำหรับการต่อสู้กับการเหยียดผิว ประธาน ฟีฟ่า เชื่อว่าต้องใช้ยาแรงกว่านี้ ต่อไปจะทั้งปรับ ทั้งตัดคะแนน หรือลงโทษขับออกจากการแข่งขันรายการนั้นๆไปเลย นอกจากประเด็นต่างๆที่กล่าวมาแล้ว ยังมีเรื่องการตัดสินลูกบอลผ่านเส้นประตู ( goal-line technology ) การปกป้องสโมสรฟุตบอล ( Club Protection Program ) อันนี้พูดจากันเรื่องการชดเชยค่าเสียหายแก่สโมสรต้นสังกัดที่ปล่อยนักเตะของตนไปรับใช้ทีมชาติ การล้มบอลหรือกำหนดผลการแข่งขัน ก็เป็นอีกเรื่องที่ ฟีฟ่า ต้องนำไปพูดจากันด้วยครับ