อาการปวดหัวไหล่ของนักกอล์ฟ ก็เป็นอุปสรรคหนึ่งที่ทำให้วงสวิงเพี้ยน จนเป็นเหตุให้สกอร์เพิ่ม และถ้าดูแลรักษาไม่ถูกต้อง ข้อจะอักเสบเรื้อรังจนเกิด “ภาวะหัวไหล่ติด” ซึ่งจะมีอาการยกแขนข้างนั้นไม่ขึ้น และเมื่อข้อไหล่ไม่เคลื่อนไหวเหมือนเคย ช่วงระยะหนึ่งก็จะเกิดเยื่อพังผืด และหินปูนแทรกในข้อและเนื้อเยื่อรอบหัวไหล่ ซึ่งจะปวดมากเมื่อเคลื่อนไหวข้อไหล่ ผลต่อมาก็คือ ทำให้กล้ามเนื้อรอบบริเวณหัวไหล่อ่อนแรงและลีบลง
อาการของภาวะไหล่ติดนี้ อาจใช้เวลาสะสมอาการนานถึง 2-3 ปี แบ่งออกเป็น 3 ระยะได้แก่
1.ระยะปวด อักเสบ ประมาณ 1-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อไหล่ โดยเฉพาะเวลากลางคืน บางคนปวดมากจนสะดุ้งตื่นกลางดึก จากการนอนตะแคงทับข้างที่ปวดเป็นเวลานานๆ
2.ระยะข้อไหล่ติด ประมาณ 16 เดือน อาการเจ็บจะลดลง แต่หัวไหล่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ ถ้าฝืนทำกิจกรรมต่างๆ เช่น สระผม ถูหลังเวลาอาบน้ำ ถอดหรือสวมเสื้อยืดเข้าออกทางศีรษะ จะปวดมาก ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ลีบลง ดูผิดรูปได้
3.ระยะฟื้นตัว ประมาณ 1-2 ปี อาการเจ็บจะลดลงเรื่อยๆ แขนข้างที่เจ็บจะเคลื่อนไหวมากขึ้นได้ช้าๆ
ส่วนการรักษาภาวะไหล่ติด ทั่วๆ ไปมี 4 ขั้นตอน ได้แก่
1.การพักและการกินยาแก้อักเสบ
2.การทำกายภาพบำบัด และการบริหารหัวไหล่
3.การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อไหล่
4.การผ่าตัดส่องกล้อง
ซึ่งต้องยอมรับว่า การรักษาในแนวนี้ ยังไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจนัก โชคดีที่ขณะนี้มีการนำเสนอวิธีการรักษาภาวะไหล่ติดแนวใหม่ที่เรียกว่า SAM โดยแพทย์อายุรเวท หมอวิภาพร สายศรี แห่งศูนย์รักษาไมเกรน และโรคปวดกล้ามเนื้อ ด็อกเตอร์แคร์ อธิบายว่า SAM เป็นการรักษาแนวใหม่ มี 3 ขั้นตอน คือ
Stretching การยืดกล้ามเนื้อรอบหัวไหล่ เพื่อเตรียมความพร้อมของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นบริเวณข้อต่อหัวไหล่
Acupressure เป็นการกดจุดที่ Trigger point เพื่อสลายพังผืดบริเวณหัวไหล่ให้ยืดหยุ่น พร้อมที่จะรับการรักษาในขั้นต่อไป คือ
Manipulation การปรับองศาการเคลื่อนไหว ของข้อไหล่ด้วยเครื่อง Gonlometer ซึ่งเป็นการปรับองศาการเคลื่อนที่ของไหล่ ทั้งแนวระนาบและแนวดิ่ง เพื่อให้การทำงานของหัวไหล่ กลับมาเป็นปกติ
ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บน้อยลงมาก และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ ภายใน 2 สัปดาห์ จากเดิมที่ต้องทนทรมานจากภาวะไหล่ติด มานานนับปี
ก็น่าจะเป็นผลดีกับนักกอล์ฟที่ไหล่ติดนะครับ จะได้ไม่ต้องพักยาว เดี๋ยวเพื่อนๆจะคิดถึง!