คอลัมน์ “Final Quarter” โดย “ลุงแซม”
ถึงวันที่คอยัดห่วงคลิกเข้ามาอ่านคอลัมน์ตอนนี้ บางที ไมอามี ฮีท อาจกำลังฉลองแชมป์บาสเกตบอล เอ็นบีเอ (NBA) ฤดูกาล 2011/12 ขณะเดียวกัน เลอบรอน เจมส์ คงก้มลงชื่นชมแหวนแชมป์วงแรกตั้งแต่เข้าลีกมา 9 ปีแล้วก็เป็นได้ ในเมื่อ โอกลาโฮมา ซิตี ธันเดอร์ ทรงเกมในซีรีส์รอบชิงยังไม่ฟื้นแต่อย่างใด
เปิดหัวซีรีส์ให้แฟนๆ “โอเคซี” ได้ฝันไปถึงตำแหน่งแชมป์ ทว่า 3 เกมถัดมาถึงวันปั่นต้นฉบับ ณ ปัจจุบันพุธที่ 20 มิ.ย.ที่ผ่านมา กลายเป็นว่า ฮีท แซงขึ้นแท่นนำ 3-1 เกม ดูเหมือนโอกาสที่ “แลร์รี โอไบรอัน โทรฟี” จะเคลื่อนไปประดับโชว์ที่โอกลาโฮมา ซิตี เห็นทียากแล้ว เมื่อขุนพล “สายฟ้า” ไม่ร้องคำรามได้ดั่งที่ควรเป็น
ซีรีส์ที่ผ่านๆ มาไล่ตั้งแต่สวีป “แชมป์เก่า” ดัลลัส แมฟเวอร์ริกส์ ต่อด้วยถลุง แอลเอ เลเกอร์ส 4-1 เกม “โอเคซี” เดินหน้าสู่รอบชิงด้วยอาวุธครบมือ แต่พอมาเจอกับฮีท กลายเป็นว่าหลายคนที่เปิดซิงรอบชิงครั้งแรกในชีวิตแข้งขาสั่นไปกันหมด เจมส์ ฮาร์เดน ทำสกอร์สองหลักแค่เกมที่ 2 นอกนั้นไม่ใช่สิ่งที่ “เคราเฟิ้ม” ทำมาตลอดทั้งซีซัน จนได้รับเลือกให้เป็นผู้เล่นคนที่ 6 (สำรอง) ยอดเยี่ยมแห่งปี เคนดริก เพอร์กินส์ กับ เซิร์จ อิบากา วงในหงอยกันไปเลย เมื่อ คริส บอช กลับมาปักหลักให้ฮีท ด้าน ธาโบ ซาฟาโลชา เอาเข้าจริงปิดผนึก ดีเวย์น เหว็ด ไม่สำเร็จ ขณะที่ประสบการณ์ ดีเร็ค ฟิสเชอร์ ไม่สามารถปลุกเร้ารุ่นน้องให้ฟื้นคืนสภาพได้ มีเพียง เควิน ดูแรนท์ ที่ฟอร์มยังเสมอตัว รัสเซล เวสต์บรูก ถ้าไม่มี 43 แต้ม ในเกม 4 เห็นทีเจอแฟนๆ โยนบาปให้เต็มๆ
จากที่เคยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบกันได้ดี หลายฝ่ายมองว่า “โอเคซี” ทีเด็ดครบเครื่องมากกว่า ฮีท ทว่าทำไปทำมาเหมือนสองทีมนี้สลับร่างกันเสียอย่างนั้น ฮีท ที่เคยโดนปรามาส ว่า มีแค่ เลอบรอน เจมส์ ค้ำยัน “ดี-เหว็ด” แม้เปอร์เซ็นต์ฟิลด์โลกยังไม่สู้ดี แต่สกอร์หลัก 20 แต้มยังมีให้เห็นอย่างสม่ำเสมอ นี่ยิ่งได้ บอช กลับมาช่วยใต้แป้น การเก็บดาบสองยิ่งเหนือกว่าไปใหญ่ ต้องให้เครดิต เอริค สโปเอลสตรา หัวหน้าโค้ชอเมริกันเชื้อสายฟิลิปปินส์ ที่อดทนรอจน “อวตาร” คืนความฟิตยืนตัวจริงได้เกือบทั้งเกม มิหนำซ้ำยังต้องชมเชยตัวช่วยอื่นๆ มาริโอ ชาลเมอร์ส ครบเครื่องเรื่องต้มยำ ช่วงที่ บอช ไม่เต็มร้อย ชาลเมอร์ส ถูกจับไปช่วยวงในกับแทกติก “สมอลบอล” มาเกม 4 ล่าสุด ทำคนเดียว 25 แต้ม กอปรกับผลงานมือปืนเข้าสิง เชน แบ็ตติเยร์ ซึ่งซีรีส์นี้ส่องสามแต้มลง 11 จาก 15 หน เท่ากับสถิติที่ ราชาร์ด ลูอิส เคยทำไว้กับ ออร์แลนโด แมจิก รอบชิงปี 2009 และก็ไล่หลังเจ้าของสถิติสูดสุดอย่าง ดีเร็ค ฮาร์เปอร์ ที่ชู้ตไกลซวบห่วงให้ นิวยอร์ก นิกส์ 14 หนเมื่อปี 1994 นี่ยังไม่ได้ปรบมือให้ อูโดนิส ฮาสเลม, ไมค์ มิลเลอร์, เจมส์ โจนส์ และนอร์ริส โคล ที่สลับกันลงสนามช่วยให้สำรอง ฮีท เด่นกว่า ธันเดอร์
งานนี้รู้สึกเสียดายแทน บารัค โอบามา และแฟนๆ ยัดห่วงทั้งไทยและเทศที่คงไม่ได้เห็นซีรีส์ต้องตัดสินถึงฏีกาเกม 7 ต้องยอมรับว่า “ประสบการณอ เป็นปัจจัยที่สำคัญจริงๆ ฮีท ผู้เคยช้ำชอกจากปีก่อนด้วยน้ำมือ “แมฟส์แมน” มาคราวนี้รวมพลังกันถูกที่ถูกเวลา จึงเริ่มนับถอยหลังซิวแชมป์สมัยที่ 2 ในประวัติศาสตร์ต่อจากปี 2006 “The Decision” เป็นการตัดสินใจที่ถูกแล้วสำหรับ “คิงเจมส์” กับการผละคลีฟแลนด์ คาวาเลียร์ส มาสู่ฟลอริดา เพราะแค่ขวบปีที่สองในการผนึกกำลัง เหว็ด และบอช นำพามาซึ่งเกียรติยศที่รอคอย
ส่วน “โอเคซอ หากมองโลกในแง่ดี มันคงยังไม่ถึงเวลาที่ดาวรุ่งทีมนี้จะถึงฝั่งฝัน จงเก็บความอัดอั้น บ่มเพาะเป็นแรงผลักดันขึ้นมาประกาศชัยกันใหม่ในฤดูกาลต่อไป (2012/13) ก็ยังไม่สาย สกอตต์ บรูกส์ พอมีเวลาโชว์ฝีมือแก้เกมให้ธันเดอร์ ขณะที่ “บิ๊กทรี” วัย 22-23 ปีทั้ง ดูแรนท์, เวสต์บรูก และฮาร์เดน เข้าลีกมาได้ 3-4 ปี ดูเร็วไปไอ้น้องกับแชมเปียนส์ NBA นั่นเป็นสิ่งที่ เลอบรอน, เหว็ด หรือว่า บอช เหล่ารุ่นพี่ “ดรีมทีม” สหรัฐฯ อาจต้องการฝากบอกไว้ก็เป็นได้
ถึงวันที่คอยัดห่วงคลิกเข้ามาอ่านคอลัมน์ตอนนี้ บางที ไมอามี ฮีท อาจกำลังฉลองแชมป์บาสเกตบอล เอ็นบีเอ (NBA) ฤดูกาล 2011/12 ขณะเดียวกัน เลอบรอน เจมส์ คงก้มลงชื่นชมแหวนแชมป์วงแรกตั้งแต่เข้าลีกมา 9 ปีแล้วก็เป็นได้ ในเมื่อ โอกลาโฮมา ซิตี ธันเดอร์ ทรงเกมในซีรีส์รอบชิงยังไม่ฟื้นแต่อย่างใด
เปิดหัวซีรีส์ให้แฟนๆ “โอเคซี” ได้ฝันไปถึงตำแหน่งแชมป์ ทว่า 3 เกมถัดมาถึงวันปั่นต้นฉบับ ณ ปัจจุบันพุธที่ 20 มิ.ย.ที่ผ่านมา กลายเป็นว่า ฮีท แซงขึ้นแท่นนำ 3-1 เกม ดูเหมือนโอกาสที่ “แลร์รี โอไบรอัน โทรฟี” จะเคลื่อนไปประดับโชว์ที่โอกลาโฮมา ซิตี เห็นทียากแล้ว เมื่อขุนพล “สายฟ้า” ไม่ร้องคำรามได้ดั่งที่ควรเป็น
ซีรีส์ที่ผ่านๆ มาไล่ตั้งแต่สวีป “แชมป์เก่า” ดัลลัส แมฟเวอร์ริกส์ ต่อด้วยถลุง แอลเอ เลเกอร์ส 4-1 เกม “โอเคซี” เดินหน้าสู่รอบชิงด้วยอาวุธครบมือ แต่พอมาเจอกับฮีท กลายเป็นว่าหลายคนที่เปิดซิงรอบชิงครั้งแรกในชีวิตแข้งขาสั่นไปกันหมด เจมส์ ฮาร์เดน ทำสกอร์สองหลักแค่เกมที่ 2 นอกนั้นไม่ใช่สิ่งที่ “เคราเฟิ้ม” ทำมาตลอดทั้งซีซัน จนได้รับเลือกให้เป็นผู้เล่นคนที่ 6 (สำรอง) ยอดเยี่ยมแห่งปี เคนดริก เพอร์กินส์ กับ เซิร์จ อิบากา วงในหงอยกันไปเลย เมื่อ คริส บอช กลับมาปักหลักให้ฮีท ด้าน ธาโบ ซาฟาโลชา เอาเข้าจริงปิดผนึก ดีเวย์น เหว็ด ไม่สำเร็จ ขณะที่ประสบการณ์ ดีเร็ค ฟิสเชอร์ ไม่สามารถปลุกเร้ารุ่นน้องให้ฟื้นคืนสภาพได้ มีเพียง เควิน ดูแรนท์ ที่ฟอร์มยังเสมอตัว รัสเซล เวสต์บรูก ถ้าไม่มี 43 แต้ม ในเกม 4 เห็นทีเจอแฟนๆ โยนบาปให้เต็มๆ
จากที่เคยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบกันได้ดี หลายฝ่ายมองว่า “โอเคซี” ทีเด็ดครบเครื่องมากกว่า ฮีท ทว่าทำไปทำมาเหมือนสองทีมนี้สลับร่างกันเสียอย่างนั้น ฮีท ที่เคยโดนปรามาส ว่า มีแค่ เลอบรอน เจมส์ ค้ำยัน “ดี-เหว็ด” แม้เปอร์เซ็นต์ฟิลด์โลกยังไม่สู้ดี แต่สกอร์หลัก 20 แต้มยังมีให้เห็นอย่างสม่ำเสมอ นี่ยิ่งได้ บอช กลับมาช่วยใต้แป้น การเก็บดาบสองยิ่งเหนือกว่าไปใหญ่ ต้องให้เครดิต เอริค สโปเอลสตรา หัวหน้าโค้ชอเมริกันเชื้อสายฟิลิปปินส์ ที่อดทนรอจน “อวตาร” คืนความฟิตยืนตัวจริงได้เกือบทั้งเกม มิหนำซ้ำยังต้องชมเชยตัวช่วยอื่นๆ มาริโอ ชาลเมอร์ส ครบเครื่องเรื่องต้มยำ ช่วงที่ บอช ไม่เต็มร้อย ชาลเมอร์ส ถูกจับไปช่วยวงในกับแทกติก “สมอลบอล” มาเกม 4 ล่าสุด ทำคนเดียว 25 แต้ม กอปรกับผลงานมือปืนเข้าสิง เชน แบ็ตติเยร์ ซึ่งซีรีส์นี้ส่องสามแต้มลง 11 จาก 15 หน เท่ากับสถิติที่ ราชาร์ด ลูอิส เคยทำไว้กับ ออร์แลนโด แมจิก รอบชิงปี 2009 และก็ไล่หลังเจ้าของสถิติสูดสุดอย่าง ดีเร็ค ฮาร์เปอร์ ที่ชู้ตไกลซวบห่วงให้ นิวยอร์ก นิกส์ 14 หนเมื่อปี 1994 นี่ยังไม่ได้ปรบมือให้ อูโดนิส ฮาสเลม, ไมค์ มิลเลอร์, เจมส์ โจนส์ และนอร์ริส โคล ที่สลับกันลงสนามช่วยให้สำรอง ฮีท เด่นกว่า ธันเดอร์
งานนี้รู้สึกเสียดายแทน บารัค โอบามา และแฟนๆ ยัดห่วงทั้งไทยและเทศที่คงไม่ได้เห็นซีรีส์ต้องตัดสินถึงฏีกาเกม 7 ต้องยอมรับว่า “ประสบการณอ เป็นปัจจัยที่สำคัญจริงๆ ฮีท ผู้เคยช้ำชอกจากปีก่อนด้วยน้ำมือ “แมฟส์แมน” มาคราวนี้รวมพลังกันถูกที่ถูกเวลา จึงเริ่มนับถอยหลังซิวแชมป์สมัยที่ 2 ในประวัติศาสตร์ต่อจากปี 2006 “The Decision” เป็นการตัดสินใจที่ถูกแล้วสำหรับ “คิงเจมส์” กับการผละคลีฟแลนด์ คาวาเลียร์ส มาสู่ฟลอริดา เพราะแค่ขวบปีที่สองในการผนึกกำลัง เหว็ด และบอช นำพามาซึ่งเกียรติยศที่รอคอย
ส่วน “โอเคซอ หากมองโลกในแง่ดี มันคงยังไม่ถึงเวลาที่ดาวรุ่งทีมนี้จะถึงฝั่งฝัน จงเก็บความอัดอั้น บ่มเพาะเป็นแรงผลักดันขึ้นมาประกาศชัยกันใหม่ในฤดูกาลต่อไป (2012/13) ก็ยังไม่สาย สกอตต์ บรูกส์ พอมีเวลาโชว์ฝีมือแก้เกมให้ธันเดอร์ ขณะที่ “บิ๊กทรี” วัย 22-23 ปีทั้ง ดูแรนท์, เวสต์บรูก และฮาร์เดน เข้าลีกมาได้ 3-4 ปี ดูเร็วไปไอ้น้องกับแชมเปียนส์ NBA นั่นเป็นสิ่งที่ เลอบรอน, เหว็ด หรือว่า บอช เหล่ารุ่นพี่ “ดรีมทีม” สหรัฐฯ อาจต้องการฝากบอกไว้ก็เป็นได้