คอลัมน์ “Final Quarter” โดย “ลุงแซม”
แม้บาสเกตบอลเป็นกีฬาที่เล่นกันเป็นทีม แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าหาก "แม่ทัพ" ทีมใดฉายฟอร์มได้โดดเด่นกว่า ชัยชนะในการศึกหรือเกียรติยศมีสิทธิตกต้องอยู่กับฝ่ายนั้น ซึ่งใน เอ็นบีเอ ไฟนัลส์ ฤดูกาล 2012 บางทีประเด็น ไมอามี ฮีท กับ โอกลาโฮมา ซิตี ธันเดอร์ ใครจะเป็นแชมป์สมัยที่ 2 ในประวัติศาสตร์ ดูจะเบากว่าเรื่องที่ใครต่างสนใจว่า แท้ที่จริงแล้วระหว่าง เลอบรอน เจมส์ กับ เควิน ดูแรนท์ ใครคู่ควรกับตำแหน่ง "ผู้เล่นทรงคุณค่า" (Most Valuable Player) มากกว่ากัน
โดยฤดูกาลปกติ สื่อมวลชนในสหรัฐฯ และแคนาดา เลือกให้ เลอบรอน เป็น MVP สมัยที่ 3 ในอาชีพ เมื่อถูกโหวตให้ไป 1,074 คะแนน ทิ้งห่าง ดูแรนท์ ที่ได้มา 889 คะแนน แบบไม่เห็นฝุ่น ทั้งที่ "เคดี" ทำเฉลี่ย 28 แต้ม เป็นแชมป์ทำคะแนน 3 ปีติดต่อกัน มีส่วนสำคัญนำ ธันเดอร์ ทีมดาวรุ่งชนะ 49 แพ้ 17 เกม รั้งอันดับ 2 ฝั่งตะวันตก มาในรอบชิง ถึงทาง ดูแรนท์ ให้สัมภาษณ์นี่ไม่ใช่ซีรีส์ "เคดี" ปะทะ "คิงเจมส์" แต่ในใจลึกๆ เชื่อเหลือเกินว่า สมอลฟอร์เวิร์ดวัย 23 ปี อยากพิสูจน์บางสิ่งบางอย่างให้ประจักษ์
ซึ่ง ดูแรนท์ เริ่มต้นทำงานของตัวเองอีกครั้ง ด้วยการกด 17 แต้มในควอเตอร์ที่สี่ จากทั้งหมด 36 แต้ม ที่ทำได้ในเกมแรกเมื่อวันพุธที่ 13 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทำให้ ธันเดอร์ ออกนำก่อน 1-0 โดยเกมประเดิมชิงแชมป์ประเทศ ทีมดาวรุ่งอย่าง "โอเคซี" มีลูกตื่นให้เห็นเหมือนกัน แต่เมื่อแม่ทัพใหญ่จุดประกายได้ถูกที่ถูกเวลา ความมั่นใจของเพื่อนๆ ย่อมเพิ่มทวี พลิกสถานการณ์จากเป็นรองในครึ่งแรก แซงกลับมานำ 74-73 ปลายควอเตอร์สาม จากทรีพอยท์นเพลย์ของ รัสเซล เวสต์บรูก การ์ดคู่หูที่ขนาด ดีเวย์น เหว็ด ยังซูฮกว่าเป็นผู้เล่นแบ็กคอร์ตระดับหัวแถวของ NBA ไปแล้ว
จากเกมแรกที่ผ่านไป ดูแรนท์ กับ เวสต์บรูก ทำแต้มได้ตามมาตรฐาน เจมส์ ฮาร์เดน ดีกรีสำรองยอดเยี่ยมฟอร์มลดไปเยอะ มีเพียง 5 แต้ม แต่ลูกชู้ตสามแต้มทีเด็ดปลายครึ่งแรกช่วยให้เจ้าถิ่นไล่หลังเพียง 7 แต้ม ซึ่งความบ้อท่าของ "เคราเฟิ้ม" สะท้อนให้เห็นชัดว่า "โอเคซี" มีตัวสอดขึ้นมาช่วยตลอดและก็แบ่งหน้าที่กันดีเยี่ยม เซิร์จ อิบากา กับ เคนดริก เพอร์กินส์ รับสัมประทานใต้แป้น หาก คริส บอช ฟื้นตัวถึง 100 เปอร์เซ็นต์ช้าเท่าไหร่ ไม่แน่ใจว่า "สมอลบอล" แท็คติกที่ เอริค สโปเอลสตรา พยายามใช้ชะลอเกมเร็วซึ่งเป็นทีเด็ดของธันเดอร์ จะยืนหยัดได้นานแค่ไหน
ส่วน ฮีท ถึงแม้ปราชัยประเดิม แต่มีสัญญาณที่ดีดังขึ้นหลายอย่าง บอช ที่ยังไม่เต็มถังจากอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อท้องตั้งแต่ซีรีส์รอบสองกับ อินเดียนา เพเซอร์ส ลงสนามได้นานถึงครึ่งชั่วโมงเศษ ด้าน มาริโอ ชาลเมอร์ส ถึงจะต่อกรกับ เวสต์บรูก แต่ก็ได้ไป 12 แต้ม 6 แอสซิสต์ ขณะที่ เชน เบ็ตติเยร์ ฟอร์เวิร์ดที่ขึ้นชื่อเรื่องเกมรับ กลับปล่อยอาวุธเกมรุกให้เห็นเสียอย่างนั้น ส่องสามแต้มลงไป 4 จาก 6 หน เบ็ดเสร็จมี 17 แต้ม เหล่านี้เป็นสิ่งที่แฟนๆ ฮีท เพรียกหามาตลอด ตัวช่วยที่นอกเหนือจาก "ดี-เหว็ด" นั่นเอง
อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่ากังวลใจสำหรับ ฮีท คือ เลอบรอน แม้ผลงาน 30 แต้มที่ได้มา ถือว่ามากสุดในบรรดา 11 เกมที่ลงเล่นในซีรีส์รอบชิง แต่ "อาการเจมส์" ที่ชอบเสียทรงในช่วงสำคัญของเกมใหญ่ระดับประเทศเริ่มมีให้เห็นอีกแล้ว ควอเตอร์สี่เกมแรกได้แค่ 7 แต้ม กว่าจะหาห่วงเจอต้องรอถึงกลางควอเตอร์ที่เดียว ปีก่อนที่ฮีทเข้าชิงและพ่าย ดัลลัส แมฟเวอร์ริกส์ 2-4 เกม "คิงเจมส์" เฉลี่ยควอเตอร์สุดท้ายแค่ 3 แต้ม หากแก้อาการเรื้อรังดังกล่าวไม่หาย เกรงว่า "Third Time" คงไม่ "Lucky" และมันคงสะกิดต่อมสงสัยของใครอีกหลายคนที่ว่า ฤดูกาลนี้ MVP มันน่าจะใช่ ดูแรนท์ มากกว่าหรือไม่ แต่ถ้า เลอบรอน ผู้คร่ำวอดในลีกอาชีพระดับโลกมา 9 ปี ได้สัมผัส "แลร์รี โอไบรอัน โทรฟี" ในท้ายที่สุด คงไม่มีใครคาใจกับเกียรติยศที่ไหลมาเทมาในปีนี้แน่นอน
แม้บาสเกตบอลเป็นกีฬาที่เล่นกันเป็นทีม แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าหาก "แม่ทัพ" ทีมใดฉายฟอร์มได้โดดเด่นกว่า ชัยชนะในการศึกหรือเกียรติยศมีสิทธิตกต้องอยู่กับฝ่ายนั้น ซึ่งใน เอ็นบีเอ ไฟนัลส์ ฤดูกาล 2012 บางทีประเด็น ไมอามี ฮีท กับ โอกลาโฮมา ซิตี ธันเดอร์ ใครจะเป็นแชมป์สมัยที่ 2 ในประวัติศาสตร์ ดูจะเบากว่าเรื่องที่ใครต่างสนใจว่า แท้ที่จริงแล้วระหว่าง เลอบรอน เจมส์ กับ เควิน ดูแรนท์ ใครคู่ควรกับตำแหน่ง "ผู้เล่นทรงคุณค่า" (Most Valuable Player) มากกว่ากัน
โดยฤดูกาลปกติ สื่อมวลชนในสหรัฐฯ และแคนาดา เลือกให้ เลอบรอน เป็น MVP สมัยที่ 3 ในอาชีพ เมื่อถูกโหวตให้ไป 1,074 คะแนน ทิ้งห่าง ดูแรนท์ ที่ได้มา 889 คะแนน แบบไม่เห็นฝุ่น ทั้งที่ "เคดี" ทำเฉลี่ย 28 แต้ม เป็นแชมป์ทำคะแนน 3 ปีติดต่อกัน มีส่วนสำคัญนำ ธันเดอร์ ทีมดาวรุ่งชนะ 49 แพ้ 17 เกม รั้งอันดับ 2 ฝั่งตะวันตก มาในรอบชิง ถึงทาง ดูแรนท์ ให้สัมภาษณ์นี่ไม่ใช่ซีรีส์ "เคดี" ปะทะ "คิงเจมส์" แต่ในใจลึกๆ เชื่อเหลือเกินว่า สมอลฟอร์เวิร์ดวัย 23 ปี อยากพิสูจน์บางสิ่งบางอย่างให้ประจักษ์
ซึ่ง ดูแรนท์ เริ่มต้นทำงานของตัวเองอีกครั้ง ด้วยการกด 17 แต้มในควอเตอร์ที่สี่ จากทั้งหมด 36 แต้ม ที่ทำได้ในเกมแรกเมื่อวันพุธที่ 13 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทำให้ ธันเดอร์ ออกนำก่อน 1-0 โดยเกมประเดิมชิงแชมป์ประเทศ ทีมดาวรุ่งอย่าง "โอเคซี" มีลูกตื่นให้เห็นเหมือนกัน แต่เมื่อแม่ทัพใหญ่จุดประกายได้ถูกที่ถูกเวลา ความมั่นใจของเพื่อนๆ ย่อมเพิ่มทวี พลิกสถานการณ์จากเป็นรองในครึ่งแรก แซงกลับมานำ 74-73 ปลายควอเตอร์สาม จากทรีพอยท์นเพลย์ของ รัสเซล เวสต์บรูก การ์ดคู่หูที่ขนาด ดีเวย์น เหว็ด ยังซูฮกว่าเป็นผู้เล่นแบ็กคอร์ตระดับหัวแถวของ NBA ไปแล้ว
จากเกมแรกที่ผ่านไป ดูแรนท์ กับ เวสต์บรูก ทำแต้มได้ตามมาตรฐาน เจมส์ ฮาร์เดน ดีกรีสำรองยอดเยี่ยมฟอร์มลดไปเยอะ มีเพียง 5 แต้ม แต่ลูกชู้ตสามแต้มทีเด็ดปลายครึ่งแรกช่วยให้เจ้าถิ่นไล่หลังเพียง 7 แต้ม ซึ่งความบ้อท่าของ "เคราเฟิ้ม" สะท้อนให้เห็นชัดว่า "โอเคซี" มีตัวสอดขึ้นมาช่วยตลอดและก็แบ่งหน้าที่กันดีเยี่ยม เซิร์จ อิบากา กับ เคนดริก เพอร์กินส์ รับสัมประทานใต้แป้น หาก คริส บอช ฟื้นตัวถึง 100 เปอร์เซ็นต์ช้าเท่าไหร่ ไม่แน่ใจว่า "สมอลบอล" แท็คติกที่ เอริค สโปเอลสตรา พยายามใช้ชะลอเกมเร็วซึ่งเป็นทีเด็ดของธันเดอร์ จะยืนหยัดได้นานแค่ไหน
ส่วน ฮีท ถึงแม้ปราชัยประเดิม แต่มีสัญญาณที่ดีดังขึ้นหลายอย่าง บอช ที่ยังไม่เต็มถังจากอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อท้องตั้งแต่ซีรีส์รอบสองกับ อินเดียนา เพเซอร์ส ลงสนามได้นานถึงครึ่งชั่วโมงเศษ ด้าน มาริโอ ชาลเมอร์ส ถึงจะต่อกรกับ เวสต์บรูก แต่ก็ได้ไป 12 แต้ม 6 แอสซิสต์ ขณะที่ เชน เบ็ตติเยร์ ฟอร์เวิร์ดที่ขึ้นชื่อเรื่องเกมรับ กลับปล่อยอาวุธเกมรุกให้เห็นเสียอย่างนั้น ส่องสามแต้มลงไป 4 จาก 6 หน เบ็ดเสร็จมี 17 แต้ม เหล่านี้เป็นสิ่งที่แฟนๆ ฮีท เพรียกหามาตลอด ตัวช่วยที่นอกเหนือจาก "ดี-เหว็ด" นั่นเอง
อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่ากังวลใจสำหรับ ฮีท คือ เลอบรอน แม้ผลงาน 30 แต้มที่ได้มา ถือว่ามากสุดในบรรดา 11 เกมที่ลงเล่นในซีรีส์รอบชิง แต่ "อาการเจมส์" ที่ชอบเสียทรงในช่วงสำคัญของเกมใหญ่ระดับประเทศเริ่มมีให้เห็นอีกแล้ว ควอเตอร์สี่เกมแรกได้แค่ 7 แต้ม กว่าจะหาห่วงเจอต้องรอถึงกลางควอเตอร์ที่เดียว ปีก่อนที่ฮีทเข้าชิงและพ่าย ดัลลัส แมฟเวอร์ริกส์ 2-4 เกม "คิงเจมส์" เฉลี่ยควอเตอร์สุดท้ายแค่ 3 แต้ม หากแก้อาการเรื้อรังดังกล่าวไม่หาย เกรงว่า "Third Time" คงไม่ "Lucky" และมันคงสะกิดต่อมสงสัยของใครอีกหลายคนที่ว่า ฤดูกาลนี้ MVP มันน่าจะใช่ ดูแรนท์ มากกว่าหรือไม่ แต่ถ้า เลอบรอน ผู้คร่ำวอดในลีกอาชีพระดับโลกมา 9 ปี ได้สัมผัส "แลร์รี โอไบรอัน โทรฟี" ในท้ายที่สุด คงไม่มีใครคาใจกับเกียรติยศที่ไหลมาเทมาในปีนี้แน่นอน