คอลัมน์ Final Quarter โดย ลุงแซม
แม้เคยฟันธงว่าเกมการแข่งขันอเมริกัน ฟุตบอล เอ็นเอฟแอล (NFL) ฤดูกาล 2011/12 มีขึ้นแน่นอน ทว่ากรณีของศึกบาสเกตบอล เอ็นบีเอ (NBA) ผู้เขียนไม่กล้าที่จะชี้ชัดเช่นนั้น เพราะถึงวันนี้เห็นทีคงฝ่าวิกฤติ "ล็อกเอาท์" ไปได้ไม่ง่าย เมื่อผลประโยชน์ไม่เข้าใครออกใคร ในเมื่อทั้งฝ่ายสหภาพผู้เล่น (NBPA) กับลีกก็ไม่ยอมลดราวาศอกให้กัน
ผ่านไปสามเดือนเศษ เดวิด สเติร์น ประธานลีก NBA ยังไม่สามารถเจรจาต่อสัญญาฉบับใหม่ "ข้อตกลงสิทธิประโยชน์ร่วมกัน" (Collective Bargaining Agreement) กับทางสหภาพผู้เล่นได้ ซึ่งช่วงหนึ่งเดือนมานี้ ทั้งสองฝ่ายพยายามหันหน้ามาตั้งโต๊ะคุยกันถี่ยิบ แต่เท่าที่ผู้เขียนเช็คข่าวดูในแต่ละวัน กลับไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร เมื่อ สเติร์น ยันชัดต้องการปรับกฎ "เพดานเงินเดือน" มาใช้แบบ "ฮาร์ดแคป" คือไม่มีการผ่อนปรนเหมือน CBA ฉบับเก่า ทว่าผู้เล่นก็ต้องการส่วนแบ่งรายได้ที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่าเดิม (57 เปอร์เซ็นต์) เป็นการชดเชย
นี่ถือเป็นความละเอียดอ่อนที่เชื่อว่าคอยัดห่วงหลายคนชักรำคาญ แต่ผู้เขียนมองว่าสงครามระหว่าง "อภิมหาเศรษฐี" ครั้งนี้ ถ้าสงบศึกลงได้จะนำมาซึ่งการพัฒนาวงการ NBA ที่ยั่งยืน ซึ่งหากมองในแง่มุมที่ สเติร์น หยิบยกมาชี้แจงเรื่องภาวะการขาดทุนมหาศาลของบรรดาทีมเล็กก็น่าเห็นใจอยู่ โดยข้อดีของ "เพดานเงินเดือน" (Salary Cap) คือถ้าหากทีมใดวางแผนจัดสรรงบประมาณตามที่ลีกตั้งไว้ได้ดีในแต่ละปี ทีมเล็กย่อมมีโอกาสก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาลุ้นแชมป์กับทีมใหญ่ นี่คงเป็นเจตนาที่ดีของ สเติร์น ที่ไม่อยากให้มีการผูกขาดเกิดขึ้น แต่ด้วยการที่ลีกเปิดช่องให้มีการจ่ายเงินส่วนเกินจากแคปแบบเหรียญต่อเหรียญเข้ากงสี จึงเกิดกรณีทีมใหญ่พร้อมทุ่มเงินจ้างซูเปอร์สตาร์เข้าทีมโดยไม่หวั่นกระเป๋าฉีก
หลายคนทวงถามว่าในเมื่อทีมใหญ่ยอมทุ่ม แล้วทำไมทีมเล็กไม่ทุ่มบ้าง (แฟรนไชส์เล็กๆ หาใช่เจ้าของทีมไม่มีเงิน) ซึ่งถ้าคิดเช่นนั้น NBA จะมีซาลารีแคปไว้เพื่อ ?? หรือแม้แต่มีคนคิดแบบจำลองปรับมาคิดภาษีส่วนต่างแบบขั้นบันได ยกตัวอย่างเช่นหาก แอลเอ เลเกอร์ส เกินแคประหว่าง 1-10 ล้านเหรียญฯ ให้จ่ายในเกณฑ์เท่าเดิม ทว่าหากเกินสัก 20 ล้านเหรียญฯ เจ้าของทีมต้องยอมจ่ายแบบคูณ 1.5 หรือเกินสัก 30 ล้านเหรียญฯ ก็คูณไป 2 เท่าตัว ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวผู้เขียนเชื่อว่าก็ยังมีแฟรนไชส์ใหญ่ๆ พร้อมทุ่มทุนสร้างอยู่ต่อไป การบังคับใช้ "ฮาร์ดแคป" เหมือนกับ NFL น่าจะเป็นทางออกที่ดี
หากมีการบังคับใช้ "ฮาร์ดแคป" ย่อมหมายความว่าผู้เล่นจะมีโอกาสรับทรัพย์กันน้อยลง ดังนั้นลีกควรชดเชยด้วยการเพิ่มส่วนแบ่งรายได้ให้เพิ่มหรือไม่น้อยกว่าเดิม ซึ่งทางผู้เล่นยอมที่ตัวเลข 53 เปอร์เซ็นต์ แต่ลีกเอ่ยปากแบ่งกัน 50-50 ตายตัว จึงยังคุยกันยาก จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเราคงไม่มามองว่าใครผิดใครถูก แต่หากวิเคราะห์ตามข้อเท็จจริง ต้องนำสุภาษิต "น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า" มาใช้ NBA อ้างได้ว่าต้องการชดเชยการขาดทุนทีมเล็ก แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าหากไม่มีซูเปอร์สตาร์ในลีก สปอนเซอร์ รายได้ต่างๆ คงลดน้อยถอยลง ขณะเดียวกันผู้เล่นก็บ่นมากไม่ได้เช่นกัน เนื่องจากหากไม่มีเวทีให้แจ้งเกิดระดับโลก โอกาสที่คุณจะรับทรัพย์ก้อนโตจากค่าจ้างหรือสปอนเซอร์ก็คงไม่เกิดเช่นกัน
ในเมื่อไม่ยอมถอยคนละก้าว สเติร์น จึงงัดหลักจิตวิทยามาเล่น เริ่มจากลดเกมพรีซีซัน รวมถึงขู่หากการเจรจา CBA ล่าช้า ฤดูกาลปกติช่วง 2 สัปดาห์แรกคงหายไป ส่อส่งผลไปถึงการล็อกเอาท์ยาวดั่งฤดูกาล 1998-99 ที่ลุยเรคกูลา ซีซัน กันแค่ 50 เกม หรือแม้แต่การสร้างประวัติศาสตร์ยกเลิกมันทั้งฤดูกาลไปเลย อย่างไรก็ดี สหภาพฯ บ่ยั่นเรียกว่าเอาไงเอากัน ถึงจะไม่มีซีซันแต่เหล่าผู้เล่นยังมีช่องทางหากินโยกไปเล่นต่างแดน ซึ่งเข้าทำนอง "ผึ้งแตกรัง"
เมื่อสตาร์ NBA เริ่มเผ่น เดอรอน วิลเลียมส์ ตัดสินใจเร็วไปอยู่กับ เบซิคตัส ในลีกตุรกี แอนดรูว์ โบกัต เซ็นเตอร์ออสซีกลับไปเล่นอาชีพที่บ้านเกิด อังเดร คิริเลนโก ฟอร์เวิร์ดฝีมือดีเซ็น 3 ปีกับ ซีเอสเคเอ มอสโค ขณะที่ โคบี ไบรอันท์ แม่ทัพเลเกอร์ส เตรียมจรดปากการ่วมทัพ เวอร์ตุส โบโลญญา ในอิตาลี ซึ่งผู้เขียนเชื่อเหลือเกินว่าถ้า โคบี เปิดประเด็นยัดห่วงต่างแดน สตาร์รายอื่นจะทยอยกันออกจากสหรัฐฯ ระดับ เลอบรอน เจมส์, ดีเวย์น เหว็ด, คาร์เมโล แอนโธนีย์, เควิน ดูแรนท์, คริส พอล หรือ เดอร์ริค โรส ขายได้แน่ในจีน ทว่าลีก CBA อาจต้องผ่อนปรนกฎ ยอมให้สตาร์ NBA กลับบ้านได้กรณีล็อกเอาท์ถูกปลด ส่วนพี่น้อง "กาซอล" (เพา-มาร์ค) ใช้เวลาว่างร่วมซ้อมกับ บาร์เซโลนา การกลับไปเล่นในสเปน ลีกซึ่งแข็งแกร่งที่สุดของยุโรปถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เมื่อมีวันนั้นเกิดขึ้น สเติร์น คงต้องมาทบทวนอะไรกันใหม่เช่นกัน
แม้เคยฟันธงว่าเกมการแข่งขันอเมริกัน ฟุตบอล เอ็นเอฟแอล (NFL) ฤดูกาล 2011/12 มีขึ้นแน่นอน ทว่ากรณีของศึกบาสเกตบอล เอ็นบีเอ (NBA) ผู้เขียนไม่กล้าที่จะชี้ชัดเช่นนั้น เพราะถึงวันนี้เห็นทีคงฝ่าวิกฤติ "ล็อกเอาท์" ไปได้ไม่ง่าย เมื่อผลประโยชน์ไม่เข้าใครออกใคร ในเมื่อทั้งฝ่ายสหภาพผู้เล่น (NBPA) กับลีกก็ไม่ยอมลดราวาศอกให้กัน
ผ่านไปสามเดือนเศษ เดวิด สเติร์น ประธานลีก NBA ยังไม่สามารถเจรจาต่อสัญญาฉบับใหม่ "ข้อตกลงสิทธิประโยชน์ร่วมกัน" (Collective Bargaining Agreement) กับทางสหภาพผู้เล่นได้ ซึ่งช่วงหนึ่งเดือนมานี้ ทั้งสองฝ่ายพยายามหันหน้ามาตั้งโต๊ะคุยกันถี่ยิบ แต่เท่าที่ผู้เขียนเช็คข่าวดูในแต่ละวัน กลับไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร เมื่อ สเติร์น ยันชัดต้องการปรับกฎ "เพดานเงินเดือน" มาใช้แบบ "ฮาร์ดแคป" คือไม่มีการผ่อนปรนเหมือน CBA ฉบับเก่า ทว่าผู้เล่นก็ต้องการส่วนแบ่งรายได้ที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่าเดิม (57 เปอร์เซ็นต์) เป็นการชดเชย
นี่ถือเป็นความละเอียดอ่อนที่เชื่อว่าคอยัดห่วงหลายคนชักรำคาญ แต่ผู้เขียนมองว่าสงครามระหว่าง "อภิมหาเศรษฐี" ครั้งนี้ ถ้าสงบศึกลงได้จะนำมาซึ่งการพัฒนาวงการ NBA ที่ยั่งยืน ซึ่งหากมองในแง่มุมที่ สเติร์น หยิบยกมาชี้แจงเรื่องภาวะการขาดทุนมหาศาลของบรรดาทีมเล็กก็น่าเห็นใจอยู่ โดยข้อดีของ "เพดานเงินเดือน" (Salary Cap) คือถ้าหากทีมใดวางแผนจัดสรรงบประมาณตามที่ลีกตั้งไว้ได้ดีในแต่ละปี ทีมเล็กย่อมมีโอกาสก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาลุ้นแชมป์กับทีมใหญ่ นี่คงเป็นเจตนาที่ดีของ สเติร์น ที่ไม่อยากให้มีการผูกขาดเกิดขึ้น แต่ด้วยการที่ลีกเปิดช่องให้มีการจ่ายเงินส่วนเกินจากแคปแบบเหรียญต่อเหรียญเข้ากงสี จึงเกิดกรณีทีมใหญ่พร้อมทุ่มเงินจ้างซูเปอร์สตาร์เข้าทีมโดยไม่หวั่นกระเป๋าฉีก
หลายคนทวงถามว่าในเมื่อทีมใหญ่ยอมทุ่ม แล้วทำไมทีมเล็กไม่ทุ่มบ้าง (แฟรนไชส์เล็กๆ หาใช่เจ้าของทีมไม่มีเงิน) ซึ่งถ้าคิดเช่นนั้น NBA จะมีซาลารีแคปไว้เพื่อ ?? หรือแม้แต่มีคนคิดแบบจำลองปรับมาคิดภาษีส่วนต่างแบบขั้นบันได ยกตัวอย่างเช่นหาก แอลเอ เลเกอร์ส เกินแคประหว่าง 1-10 ล้านเหรียญฯ ให้จ่ายในเกณฑ์เท่าเดิม ทว่าหากเกินสัก 20 ล้านเหรียญฯ เจ้าของทีมต้องยอมจ่ายแบบคูณ 1.5 หรือเกินสัก 30 ล้านเหรียญฯ ก็คูณไป 2 เท่าตัว ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวผู้เขียนเชื่อว่าก็ยังมีแฟรนไชส์ใหญ่ๆ พร้อมทุ่มทุนสร้างอยู่ต่อไป การบังคับใช้ "ฮาร์ดแคป" เหมือนกับ NFL น่าจะเป็นทางออกที่ดี
หากมีการบังคับใช้ "ฮาร์ดแคป" ย่อมหมายความว่าผู้เล่นจะมีโอกาสรับทรัพย์กันน้อยลง ดังนั้นลีกควรชดเชยด้วยการเพิ่มส่วนแบ่งรายได้ให้เพิ่มหรือไม่น้อยกว่าเดิม ซึ่งทางผู้เล่นยอมที่ตัวเลข 53 เปอร์เซ็นต์ แต่ลีกเอ่ยปากแบ่งกัน 50-50 ตายตัว จึงยังคุยกันยาก จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเราคงไม่มามองว่าใครผิดใครถูก แต่หากวิเคราะห์ตามข้อเท็จจริง ต้องนำสุภาษิต "น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า" มาใช้ NBA อ้างได้ว่าต้องการชดเชยการขาดทุนทีมเล็ก แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าหากไม่มีซูเปอร์สตาร์ในลีก สปอนเซอร์ รายได้ต่างๆ คงลดน้อยถอยลง ขณะเดียวกันผู้เล่นก็บ่นมากไม่ได้เช่นกัน เนื่องจากหากไม่มีเวทีให้แจ้งเกิดระดับโลก โอกาสที่คุณจะรับทรัพย์ก้อนโตจากค่าจ้างหรือสปอนเซอร์ก็คงไม่เกิดเช่นกัน
ในเมื่อไม่ยอมถอยคนละก้าว สเติร์น จึงงัดหลักจิตวิทยามาเล่น เริ่มจากลดเกมพรีซีซัน รวมถึงขู่หากการเจรจา CBA ล่าช้า ฤดูกาลปกติช่วง 2 สัปดาห์แรกคงหายไป ส่อส่งผลไปถึงการล็อกเอาท์ยาวดั่งฤดูกาล 1998-99 ที่ลุยเรคกูลา ซีซัน กันแค่ 50 เกม หรือแม้แต่การสร้างประวัติศาสตร์ยกเลิกมันทั้งฤดูกาลไปเลย อย่างไรก็ดี สหภาพฯ บ่ยั่นเรียกว่าเอาไงเอากัน ถึงจะไม่มีซีซันแต่เหล่าผู้เล่นยังมีช่องทางหากินโยกไปเล่นต่างแดน ซึ่งเข้าทำนอง "ผึ้งแตกรัง"
เมื่อสตาร์ NBA เริ่มเผ่น เดอรอน วิลเลียมส์ ตัดสินใจเร็วไปอยู่กับ เบซิคตัส ในลีกตุรกี แอนดรูว์ โบกัต เซ็นเตอร์ออสซีกลับไปเล่นอาชีพที่บ้านเกิด อังเดร คิริเลนโก ฟอร์เวิร์ดฝีมือดีเซ็น 3 ปีกับ ซีเอสเคเอ มอสโค ขณะที่ โคบี ไบรอันท์ แม่ทัพเลเกอร์ส เตรียมจรดปากการ่วมทัพ เวอร์ตุส โบโลญญา ในอิตาลี ซึ่งผู้เขียนเชื่อเหลือเกินว่าถ้า โคบี เปิดประเด็นยัดห่วงต่างแดน สตาร์รายอื่นจะทยอยกันออกจากสหรัฐฯ ระดับ เลอบรอน เจมส์, ดีเวย์น เหว็ด, คาร์เมโล แอนโธนีย์, เควิน ดูแรนท์, คริส พอล หรือ เดอร์ริค โรส ขายได้แน่ในจีน ทว่าลีก CBA อาจต้องผ่อนปรนกฎ ยอมให้สตาร์ NBA กลับบ้านได้กรณีล็อกเอาท์ถูกปลด ส่วนพี่น้อง "กาซอล" (เพา-มาร์ค) ใช้เวลาว่างร่วมซ้อมกับ บาร์เซโลนา การกลับไปเล่นในสเปน ลีกซึ่งแข็งแกร่งที่สุดของยุโรปถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เมื่อมีวันนั้นเกิดขึ้น สเติร์น คงต้องมาทบทวนอะไรกันใหม่เช่นกัน