สวัสดีครับท่านนักกอล์ฟและแฟนๆ เว็บไซต์ manager.co.th
ต่อเนื่องจากบทเรียนที่แล้ว พอจะบอกท่านนักกอล์ฟได้ว่า ไฟลท์บอลในกอล์ฟสวิงนั้นมีทั้งหมด 9 ไฟลท์บอลด้วยกัน (Lesson 45)
ดังนั้นการทำงานในกอล์ฟสวิง จึงมีคำพูดที่ว่า “ควรหาระยะก่อนการหาทิศทาง” เพราะท่านนักกอล์ฟควรทำการจัดระบบการทำงานกับร่างกายของท่านนักกอล์ฟให้มีการสร้างลำดับการเคลื่อนของร่างกายที่ช่วยให้สร้างระยะทางของลูก จากนั้นจึงค่อยมาทำการหาลักษณะการเดินทางของลูกหรือที่เรียกกันติดปากครับว่า ไฟลท์บอล ซึ่งท่านนักกอล์ฟสามารถหาวิธีการเพิ่มระยะของท่านจากบทเรียนแรกๆ ที่ได้เคยเสนอไว้ก่อนแล้วก่อนหน้านี้แล้วครับ ส่วนในเรื่องที่ช่วยทำให้ท่านนักกอล์ฟสามารถส่งลูกให้เข้า เป้าหมายก็คือ ในหลักก็คือ
1. Path
2. Face
ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดต่อการตีเข้าเป้าหมายก็คือ Face (หน้าไม้) ณ จุดที่หน้าไม้ทำการปะทะลูก หน้าไม้จะทำการขนานกับเป้าหมาย ซึ่งด้วยเหตุผลหลักนี้ก็จะมีผลคือส่งให้ลูกเดินทางเข้าเป้าหมาย
ปรมาจารย์สอนกอล์ฟท่านหนึ่งที่ได้ให้ความสำคัญต่อในเรื่องมากที่สุดคนหนึ่ง คือ แฮงค์ ฮานีย์ (Hank Haney) บอกไว้ครับว่าในกอล์ฟมีอยู่เพียง 9 สวิงเท่านั้น ซึ่งในความหมายของ แฮงค์ ฮานีย์ น่าจะเป็นในเรื่องของ ไฟลท์บอลที่นักกอล์ฟแต่ละท่านมีเพื่อไปปรับให้เข้ากับลักษณะของเกมและความชอบส่วนตัว (Lesson 17) ส่วนลักษณะของ Swing Plane ของท่านนักกอล์ฟก็จะส่งผลโดยตรงต่อการเดินทางของไม้ (Path) เช่น วงสวิงที่ค่อนข้างแบน (Flat) ก็จะส่งผลที่ทำให้ไม้มีลักษณะการเดินทาง ที่เรียกว่า Inside out
ส่วนวงสวิงที่ค่อนข้างตั้งชัน (Upright) ก็จะส่งผลทำให้ไม้มีลักษณะการเดินทางที่เรียกว่า Outside in เป็นต้น
จากบทเรียนที่แล้ว เรื่องของ Ball Flight Laws จะมีภาพที่แสดงการเดินทางในลักษณะที่มีความแตกต่างกัน ไฟล์บอลที่ท่านนักกอล์ฟโดยส่วนใหญ่ชอบหรือต้องการน่าจะเป็น “ไฟลท์บอลที่ 5” แต่ปัญหาหลักของไฟล์บอลชนิดนี้คือ ท่านนักกอล์ฟสามารถสร้างข้อผิดพลาดได้ทั้งซ้ายและขวา เพราะไฟล์บอลที่ 5 มีลักษณะที่พิเศษ คือท่านนักกอล์ฟต้องการองค์ประกอบ 2 สิ่งที่มีที่เรียกว่า ต้องเป๊ะ คือ
1.ทางเดินของไม้ขนานกับเป้าหมาย (Path)
2. การจัดการกับหน้าไม้ (Face) ณ จุดที่ทำการปะทะ ต้องขนานกับเป้าหมาย
ดังนั้นไฟลท์บอลของผู้เล่นในทัวร์ส่วนใหญ่ที่เล่นกันอยู่จึง ไม่เป็น “ไฟลท์บอลที่ 3” ก็เป็น “ไฟลท์บอลที่ 7” คือ ดรอว์ (Draw) หรือ เฟด (Fade)
ยกตัวอย่าง วงสวิงของ แซค จอห์นสัน (Zach Johnson) รูปทรงทางบอลของเขาเป็นไปในลักษณะดรอว์ ดังนั้นเวลาแซค จอห์นสัน จะทำการสร้างช็อตขึ้นกรีนเขาจะทำการเล็งตรงบริเวณทางขวาของ Pin (ธง) ซึ่งเขาพยายามบังคับให้การเดินทางของลูกบอลมาจากขวาไปซ้าย ดังนั้น แซค จอห์นสัน จะตีเข้าเป้าด้วยการสั่งดรอว์ ครับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะไม่มีข้อผิดพลาด ซึ่งข้อผิดพลาดของดรอว์โดยส่วนใหญ่จะเป็น “ไฟลท์บอลที่ 8” คือ พุช (Push) หรือ ผิดที่หน้าไม้ เท่านั้นครับ หรือพยายามผิดทางเดียว
ชมวงสวิงแบบสโลว์โมชันของแซค จอห์นสัน
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาแชมป์รายการ ฟาร์เมอร์ส อินชัวรันซ์ โอเพนที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ตกเป็นของบับบา วัตสัน (Bubba Watson) ซึ่งลักษณะไฟลท์บอลของบับบานั้นผมสังเกตว่ามีอยู่ 2 ไฟลท์ โดยจากเมื่อครั้งหนึ่งผมเคยได้ออกรอบกับ CEO Cleveland Golf USA ซึ่งในตอนนั้นคือ เกร็ก ฮอปกินส์ (Greg Hopskins) โดยเกร็กเล่าให้ผมฟังครับว่า บับบามีไฟลท์บอลที่ค่อนข้างมีการทำงานที่ชดเชยสูง คือใช้มือชดเชยมาก ดังนั้นบับบาจะมีไฟลท์บอลที่ 3และ 7 แต่แนวไม้จะมากกว่านั้น จากความเร็วของหัวไม้และเหล็กที่สูง ซึ่งบางครั้งอาจเรียกได้ครับว่า ฮุค (Hook) หรือ สไลซ์ (Slice) ครับ
ชมวงสวิงแบบสโลว์โมชันของบับบา วัตสัน แชมป์พีจีเอรายการล่าสุด
“โปรเอก” ม.ล.โอรัส เทวกุล, Certified Golf Teaching Professional
Email :orusjaa@yahoo.com