คณะกรรมการอำนวยการ การแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 กำชับแต่ละสโมสรให้ยกระดับตัวเองขึ้นมาสู่ความเป็นมืออาชีพ ทั้งในส่วนของนักเตะ, ผู้ฝึกสอน, การบริหารจัดการ และสนามแข่งขัน พร้อมทั้งเผยว่าเตรียมปรับร่างระเบียบจัดการแข่งขันฉบับใหม่ที่จะออกมาในเดือนหน้า เพื่อรองรับจำนวนทีมที่อาจมีเพิ่มขึ้นเป็น 64 ทีม
เมื่อเวลา 15.00 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2552 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จัดการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ การแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ที่ห้องประชุม 3202 อาคารรัฐสภา 3 โดยมี วิมล กาญจนะ ประธานจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2, สามารถ มะลูลีม รองประธานคณะกรรมาธิการ การท่องเที่ยวและกีฬา, สมบัติ คุรุพันธ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ รวมถึงตัวแทนของสโมสรต่างๆ ในลีกภูมิภาคมาร่วมประชุม
สำหรับเนื้อหาสาระในการประชุมอยู่ที่การพัฒนาในด้านการจัดการแข่งขันและการบริหารสู่ความเป็นสโมสรอาชีพเฉกเช่นทีมในระดับไทยพรีเมียร์ลีก ซึ่งที่ผ่านมาบางทีมพึ่งงบอุดหนุนจากรัฐบาลในทุกๆ ปี แต่ไม่สามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตัวเอง โดยเน้นไปที่ทีมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นลำดับแรก ทั้งนี้คณะกรรมการเตรียมยื่นเรื่องเสนอต่อกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เพื่อของบด้านความมั่นคงนำมาพัฒนาการจัดแข่งขันของสโมสรจังหวัด ปัตตานี, ยะลา และ นราธิวาส
ซึ่งในที่ประชุมได้ยกตัวอย่างทีมที่ประสบความสำเร็จในด้านนี้ คือ “เรือกอและพิฆาต” นราธิวาส เอฟซี ที่มีแฟนบอลเข้ามาชมเกมอย่างล้นหลามถึงหลักหมื่นในทุกๆ นัด ทั้งที่ประสบปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยปัจจัยของความสำเร็จอยู่ที่การมีผู้บริหารสโมสรที่มีวิสัยทัศน์ วางรากฐานความเป็นสโมสรอาชีพในการดึงคนในจังหวัดเข้ามามีส่วนร่วมด้วยการชมเกมในสนาม มีการจัดตั้งชมรมแฟนคลับ เป็นต้น
ทั้งนี้ ผู้ร่วมประชุมได้เสนอเรื่องการส่งเสริมให้แต่ละสโมสรบริหารจัดการเพื่อหารายได้เลี้ยงตัวเองโดยไม่ยึดติดกับการใช้งบอุดหนุนทีมละ 1 ล้านบาทจากรัฐบาลเป็นหลักเหมือนที่ผ่านมา เพียงแต่ให้งบดังกล่าวนำมาใช้ปรับปรุงสนามแข่งขันของแต่ละทีม แต่ละจังหวัดให้มีมาตรฐานที่ดียิ่งขึ้นตามเกณฑ์ของสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) เพื่อให้พร้อมต่อการจัดการแข่งขัน ทั้งในส่วนของอัฒจันทร์ที่รองรับแฟนบอล รั้วรอบขอบชิด พื้นสนาม ไฟสนาม เป็นต้น
ท้ายสุด คณะกรรมการอำนวยการฯ ฟุตบอลลีกภูมิภาค ได้สรุปสาระสำคัญให้แต่ละทีมกลับไปยกระดับตัวเอง ดังนี้ 1.การเตรียมทีมสำหรับฤดูกาลหน้า โดยหลังจากจบฤดูกาล 2009 จะมีการพาทีมดิวิชัน 2 ไปศึกษาดูงานที่ประเทศมาเลเซีย อันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) หรือเจ-ลีก ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นลีกชั้นแนวหน้าของทวีปเอเชีย ขณะที่ทีมแชมป์อาจจะได้สิทธิ์ไปดูงานในลีกยุโรป
นอกจากนั้นจะมีการเปิดหลักสูตรอบรมโค้ชระดับซีไลเซนส์ตามระเบียบของ เอเอฟซี โดยจะจัดอบรมแบ่งตามภูมิภาค เช่น ตัวแทนในภาคเหนือก็จะมาเข้ารับการอบรมพร้อมกันในคราวเดียว
2.โครงสร้างการบริหารทีมแบบมืออาชีพและการสรรหางบประมาณทำทีมโดยไม่เน้นพึ่งเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ซึ่งแม้จะมีงบจำนวน 100 ล้านบาทจาก กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ รวมถึงโครงการต้นกล้าอาชีพคอยรองรับอยู่แล้ว แต่สโมสรจะต้องวางแผนการจัดการทีมด้วยตัวเอง ซึ่งหลังจบซีซันนี้ก็จะมีโครงการอบรมด้านบริหารการตลาดสำหรับทีมฟุตบอล (FIFA Marketing) แต่จะทำการคัดเลือกตัวแทนเพียง 20 จากทั้งหมด 53 ทีมที่มีมาตรฐานการจัดการเป็นแบบอย่าง และกลุ่มที่มีแผนการพัฒนาในส่วนนี้อย่างชัดเจน
ส่วนวาระสุดท้ายเป็นเรื่องการจัดระบบลีก โดยคณะกรรมการฯ เปิดเผยว่าจะมีการออกระเบียบจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ประจำปี 2553 ในเดือนธันวาคม ซึ่งวางกำหนดคร่าวๆ ว่าจะเปิดฤดูกาลใหม่ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ โดยคาดว่าจะมีทีมส่งเข้าร่วมฟาดแข้งเพิ่มเป็น 64 ทีมจากเดิมที่มีอยู่ 53 ทีม และจะจัดให้มีจำนวนทีมในแต่ละภูมิภาคใกล้เคียงกันด้วย
ในด้านของเกณฑ์การตัดสินหาทีมแชมป์จะเพิ่มโอกาสให้จากเดิมที่แชมป์ประจำภูมิภาครวม 5 ทีมเข้ามาเตะในระบบมินิลีกหา 3 ทีมอันดับดีที่สุดเลื่อนชั้น ก็จะเปิดโอกาสให้ทีมรองแชมป์ของทุกภาคเข้ามาดวลเกือกด้วย รวมทั้งสิ้น 10 ทีม ก่อนนำมาแบ่งเป็นมินิลีก2 สาย เล่นในระบบพบกันหมด แต่มีเพียง 3 ทีมเลื่อนชั้นเหมือนเดิม จากนั้นแชมป์ของแต่ละสายก็จะได้เลื่อนชั้นสู่ดิวิชัน 1 และจะแข่งกันอีกนัดเพื่อตัดสินหาแชมป์ดิวิชัน 2 ที่แท้จริงในภายหลัง ส่วนทีมรองแชมป์มินิลีกทั้ง 2 สาย ก็จะมาเตะรอบเพลย์ออฟ ชิงตั๋วเลื่อนชั้นใบสุดท้ายกันต่อไป ซึ่งคณะกรรมการคาดว่าจะขยายช่วงเวลาจัดการแข่งขันเพิ่มขึ้นจากเดิม 6-7 เดือนก็จะเป็น 7-8 เดือน
อนึ่ง นายวิมล กาญจนะ ประธานจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ยังคงแบ่งรับแบ่งสู้ในเรื่องการรวมฝ่ายจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพของประเทศไทยทั้งระบบให้ขึ้นตรงในหน่วยงานเดียว หลังจาก บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด มีหน้าที่ดูแลเพียงแค่ลีกสูงสุดกับ ดิวิชัน 1 เท่านั้น ส่วนดิวิชัน 2 ก็มีฝ่ายจัดที่แยกออกมาเป็นเอกเทศ โดยบอกแต่เพียงว่าต้องขึ้นอยู่กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ว่าจะมีมติเห็นชอบด้วยหรือไม่ ก่อนร่างระเบียบรวมฝ่ายจัดเข้าด้วยกันในภายหลัง ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ แต่อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี เพื่อให้ลีกอาชีพทั้งระบบเข้าที่เข้าทางเสียก่อน
เมื่อเวลา 15.00 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2552 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จัดการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ การแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ที่ห้องประชุม 3202 อาคารรัฐสภา 3 โดยมี วิมล กาญจนะ ประธานจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2, สามารถ มะลูลีม รองประธานคณะกรรมาธิการ การท่องเที่ยวและกีฬา, สมบัติ คุรุพันธ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ รวมถึงตัวแทนของสโมสรต่างๆ ในลีกภูมิภาคมาร่วมประชุม
สำหรับเนื้อหาสาระในการประชุมอยู่ที่การพัฒนาในด้านการจัดการแข่งขันและการบริหารสู่ความเป็นสโมสรอาชีพเฉกเช่นทีมในระดับไทยพรีเมียร์ลีก ซึ่งที่ผ่านมาบางทีมพึ่งงบอุดหนุนจากรัฐบาลในทุกๆ ปี แต่ไม่สามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตัวเอง โดยเน้นไปที่ทีมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นลำดับแรก ทั้งนี้คณะกรรมการเตรียมยื่นเรื่องเสนอต่อกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เพื่อของบด้านความมั่นคงนำมาพัฒนาการจัดแข่งขันของสโมสรจังหวัด ปัตตานี, ยะลา และ นราธิวาส
ซึ่งในที่ประชุมได้ยกตัวอย่างทีมที่ประสบความสำเร็จในด้านนี้ คือ “เรือกอและพิฆาต” นราธิวาส เอฟซี ที่มีแฟนบอลเข้ามาชมเกมอย่างล้นหลามถึงหลักหมื่นในทุกๆ นัด ทั้งที่ประสบปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยปัจจัยของความสำเร็จอยู่ที่การมีผู้บริหารสโมสรที่มีวิสัยทัศน์ วางรากฐานความเป็นสโมสรอาชีพในการดึงคนในจังหวัดเข้ามามีส่วนร่วมด้วยการชมเกมในสนาม มีการจัดตั้งชมรมแฟนคลับ เป็นต้น
ทั้งนี้ ผู้ร่วมประชุมได้เสนอเรื่องการส่งเสริมให้แต่ละสโมสรบริหารจัดการเพื่อหารายได้เลี้ยงตัวเองโดยไม่ยึดติดกับการใช้งบอุดหนุนทีมละ 1 ล้านบาทจากรัฐบาลเป็นหลักเหมือนที่ผ่านมา เพียงแต่ให้งบดังกล่าวนำมาใช้ปรับปรุงสนามแข่งขันของแต่ละทีม แต่ละจังหวัดให้มีมาตรฐานที่ดียิ่งขึ้นตามเกณฑ์ของสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) เพื่อให้พร้อมต่อการจัดการแข่งขัน ทั้งในส่วนของอัฒจันทร์ที่รองรับแฟนบอล รั้วรอบขอบชิด พื้นสนาม ไฟสนาม เป็นต้น
ท้ายสุด คณะกรรมการอำนวยการฯ ฟุตบอลลีกภูมิภาค ได้สรุปสาระสำคัญให้แต่ละทีมกลับไปยกระดับตัวเอง ดังนี้ 1.การเตรียมทีมสำหรับฤดูกาลหน้า โดยหลังจากจบฤดูกาล 2009 จะมีการพาทีมดิวิชัน 2 ไปศึกษาดูงานที่ประเทศมาเลเซีย อันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) หรือเจ-ลีก ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นลีกชั้นแนวหน้าของทวีปเอเชีย ขณะที่ทีมแชมป์อาจจะได้สิทธิ์ไปดูงานในลีกยุโรป
นอกจากนั้นจะมีการเปิดหลักสูตรอบรมโค้ชระดับซีไลเซนส์ตามระเบียบของ เอเอฟซี โดยจะจัดอบรมแบ่งตามภูมิภาค เช่น ตัวแทนในภาคเหนือก็จะมาเข้ารับการอบรมพร้อมกันในคราวเดียว
2.โครงสร้างการบริหารทีมแบบมืออาชีพและการสรรหางบประมาณทำทีมโดยไม่เน้นพึ่งเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ซึ่งแม้จะมีงบจำนวน 100 ล้านบาทจาก กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ รวมถึงโครงการต้นกล้าอาชีพคอยรองรับอยู่แล้ว แต่สโมสรจะต้องวางแผนการจัดการทีมด้วยตัวเอง ซึ่งหลังจบซีซันนี้ก็จะมีโครงการอบรมด้านบริหารการตลาดสำหรับทีมฟุตบอล (FIFA Marketing) แต่จะทำการคัดเลือกตัวแทนเพียง 20 จากทั้งหมด 53 ทีมที่มีมาตรฐานการจัดการเป็นแบบอย่าง และกลุ่มที่มีแผนการพัฒนาในส่วนนี้อย่างชัดเจน
ส่วนวาระสุดท้ายเป็นเรื่องการจัดระบบลีก โดยคณะกรรมการฯ เปิดเผยว่าจะมีการออกระเบียบจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ประจำปี 2553 ในเดือนธันวาคม ซึ่งวางกำหนดคร่าวๆ ว่าจะเปิดฤดูกาลใหม่ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ โดยคาดว่าจะมีทีมส่งเข้าร่วมฟาดแข้งเพิ่มเป็น 64 ทีมจากเดิมที่มีอยู่ 53 ทีม และจะจัดให้มีจำนวนทีมในแต่ละภูมิภาคใกล้เคียงกันด้วย
ในด้านของเกณฑ์การตัดสินหาทีมแชมป์จะเพิ่มโอกาสให้จากเดิมที่แชมป์ประจำภูมิภาครวม 5 ทีมเข้ามาเตะในระบบมินิลีกหา 3 ทีมอันดับดีที่สุดเลื่อนชั้น ก็จะเปิดโอกาสให้ทีมรองแชมป์ของทุกภาคเข้ามาดวลเกือกด้วย รวมทั้งสิ้น 10 ทีม ก่อนนำมาแบ่งเป็นมินิลีก2 สาย เล่นในระบบพบกันหมด แต่มีเพียง 3 ทีมเลื่อนชั้นเหมือนเดิม จากนั้นแชมป์ของแต่ละสายก็จะได้เลื่อนชั้นสู่ดิวิชัน 1 และจะแข่งกันอีกนัดเพื่อตัดสินหาแชมป์ดิวิชัน 2 ที่แท้จริงในภายหลัง ส่วนทีมรองแชมป์มินิลีกทั้ง 2 สาย ก็จะมาเตะรอบเพลย์ออฟ ชิงตั๋วเลื่อนชั้นใบสุดท้ายกันต่อไป ซึ่งคณะกรรมการคาดว่าจะขยายช่วงเวลาจัดการแข่งขันเพิ่มขึ้นจากเดิม 6-7 เดือนก็จะเป็น 7-8 เดือน
อนึ่ง นายวิมล กาญจนะ ประธานจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ยังคงแบ่งรับแบ่งสู้ในเรื่องการรวมฝ่ายจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพของประเทศไทยทั้งระบบให้ขึ้นตรงในหน่วยงานเดียว หลังจาก บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด มีหน้าที่ดูแลเพียงแค่ลีกสูงสุดกับ ดิวิชัน 1 เท่านั้น ส่วนดิวิชัน 2 ก็มีฝ่ายจัดที่แยกออกมาเป็นเอกเทศ โดยบอกแต่เพียงว่าต้องขึ้นอยู่กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ว่าจะมีมติเห็นชอบด้วยหรือไม่ ก่อนร่างระเบียบรวมฝ่ายจัดเข้าด้วยกันในภายหลัง ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ แต่อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี เพื่อให้ลีกอาชีพทั้งระบบเข้าที่เข้าทางเสียก่อน