คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน
เมืองใดจะได้รับสิทธิเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน โอลิมปิค เกมส์ ครั้งที่ 31 ในปี 2016 นั้น อีก 2 วันก็คงได้ทราบกันแน่นอน เพราะเขาจะมีการลงคะแนนเสียงจากบรรดาสมาชิก 115 คนของคณะกรรมการโอลิมปิคสากล ( IOC ) ในการประชุมครั้งที่ 121 ( the 121st IOC Session ) ที่จัดขึ้นที่ กรุงโคเปนฮาเกน ประเทศเดนมาร์ค ในวันศุกร์ที่ 2 ตุลาคมนี้
กระบวนการเสนอตัวดังกล่าวได้เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2007 แล้ว ในที่สุดก็เหลือชิงสิทธิกัน 4 เมือง เริ่มที่ ตัวเต็งคือ ชิคาโก ( Chicago ) อิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ซึ่ง บารัค โอบามา ประธานาธิบดีเองก็เคยเป็นวุฒิสมาชิกของ อิลลินอยส์ มาตั้ง 3 สมัย และประกาศให้การสนับสนุนเต็มที่ ถ้าเขาไปปรากฏตัวที่ กรุงโคเปนเฮเกน ด้วย ก็น่าจะเป็นผลดีต่อคะแนนเสียง แต่ถ้าแพ้โหวท โอบามา ก็คงหน้าแตกยับเยินเช่นกัน จุดแข็งของ ชิคาโก ก็คือ หมู่บ้านโอลิมปิค ไปตั้งอยู่ริมทะเลสาบ มิชิแกน ทำให้นักกีฬาต่างก็ใช้เวลาเดินทางไปถึงสนามแข่งขันเพียงไม่เกิน 15 นาที นอกจากนั้น ชิคาโก ให้คนหนุ่มสาวเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมาก และยังชูเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังยืนยันจุดอ่อนของ ชิคาโก ตรงที่ สหรัฐฯ ได้เป็นเจ้าภาพ โอลิมปิค เกมส์ มาแล้วถึง 4 ครั้ง ถ้าไปรวมกับ โอลิมปิค ฤดูหนาว อีก 4 หน ก็ไปกันใหญ่เลย เอาเปรียบชาวบ้านครับ
ในขณะที่ กรุงโตเกียว ( Tokyo ) เมืองหลวงของ ญี่ปุ่น เคยเป็นเจ้าภาพมาแล้วในปี 1964 เขาก็ชูเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และมีหมู่บ้านโอลิมปิคที่รวมกระจุกชัดเจน นักกีฬาสามารถไปถึงสนามแข่งขันภายใน 10 นาทีเท่านั้น และที่ โคเปน คุณยูกิโอะ ฮาโตยามะ ( Yukio Hatoyama ) นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นไปร่วมด้วยแน่นอน เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม เทคนอลลอจี ของ ญี่ปุ่น นั้นล้ำหน้าไปไกล ผ่านสะดวกครับ แต่ผมว่า เขาน่าจะไปสะดุดเพราะเรื่องที่ IOC ต้องการให้เมืองเจ้าภาพมีการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนไปในทุกทวีปอย่างเท่าเทียมกัน เพราะปี 2008 จีนก็เพิ่งได้เป็นเจ้าภาพไปหยกๆ นอกจากนั้น ชาวเมืองยังตื่นตัวน้อยที่สุด จากการสำรวจเมื่อเร็วๆนี้ เพียง 56 เพอร์เซนท์เท่านั้นเอง
ส่วน กรุงมาดริด ( Madrid ) เมืองหลวงของ สเปน นั้น เคยเสนอตัวมาแล้วสำหรับ โอลิมปิค เกมส์ 2012 คราวนี้ทั้ง กษัตริย์ ฆวน การลอส ( Juan Carlos ) และ โฆเซ ลูอิส รอดริเกซ ซาปาเตโร ( Jose Luis Rodriguez Zapatero ) นายกรัฐมนตรี ไปผนึกกำลังที่ โคเปน ด้วย แต่ผมก็ยังว่า มาดริด ยิ่งติดปัญหาเรื่อง โรเทเชิน ( Rotation ) อย่างชัดเจน เพราะ กรุงลอนเดิน ก็เพิ่งจัดการแข่งขันในปี 2012 ถ้าครั้งถัดมาในปี 2016 ดันให้เมืองในทวีปยุโรปเป็นเจ้าภาพอีก IOC ก็เพี้ยนหนักเลย
ผมออกจะเชียร์ ริโอ เดอ จาไนโร ( Rio de Janeiro ) ของ บราซิว มากกว่า เพราะจะเป็นครั้งแรกจริงๆที่เมืองในทวีปอเมริกาใต้ได้รับโอกาสนี้ และนี่แหละคือจุดแข็งที่ ริโอ น่าจะได้รับชัยชนะในการโหวท ริโอ เฝ้าเสนอตัวมาหลายครั้งแล้ว ตั้งแต่ปี 2000, 2004 และ 2012 แต่ก็ชวดโอกาสไปทุกที ในการเสนอตัวคราวนี้ IOC ได้ทำการสำรวจและพบว่า ชาวเมืองรู้สึกตื่นตัวและให้การสนับสนุนเป็นพิเศษมากกว่า 80 เพอร์เซนท์ เป็นจำนวนที่สูงที่สุดในบรรดา 4 เมืองที่ชิงสิทธิการเป็นเจ้าภาพ อย่างไรก็ตาม จากเอกสารที่ทั้ง ลูลา ( Lula ) ประธานาธิบดีของ บราซิว และ เปเล ตำนานนักเตะของโลก ช่วยกันนำเสนอ ริโอ ยังมีจุดอ่อนตรงที่โครงสร้างพื้นฐานแย่มากๆ การคมนาคมสุดห่วย และปัญหาอาชญากรรมก็เต็มเมือง
ผมเป็นห่วงว่า 115 สมาชิก IOC ซึ่งรวมถึง ดร.ณัฐ อินทรปาณ ของไทย ที่มีสิทธิลงคะแนนจะมัวไปหลงระเริงกับการยื่นข้อเสนอ ผลประโยชน์ส่วนตนจากเมืองที่อยากเป็นเจ้าภาพ ซึ่งผิดกฎที่ IOC วางเอาไว้ เขาห้ามเมืองที่เสนอตัวหยิบยื่นผลประโยชน์ หรือสิ่งที่จะถือว่าเป็นของขวัญ ห้ามเชิญไปเยือน ห้ามเลี้ยงดูปูเสื่อ อันนี้มีเขียนเอาไว้ชัดเจน ที่สำคัญ การพิจารณาเมืองเจ้าภาพ ควรเป็นไปด้วยความเหมาะสม ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน อย่างเช่น ไปสัญญาว่าจะโหวทให้เมืองใด ก็เพื่อให้เมืองนั้นตอบแทนกลับในโอกาสต่อไป อันนี้ก็ผิดชัดเจนครับ อาจารย์ณัฐ
เมืองใดจะได้รับสิทธิเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน โอลิมปิค เกมส์ ครั้งที่ 31 ในปี 2016 นั้น อีก 2 วันก็คงได้ทราบกันแน่นอน เพราะเขาจะมีการลงคะแนนเสียงจากบรรดาสมาชิก 115 คนของคณะกรรมการโอลิมปิคสากล ( IOC ) ในการประชุมครั้งที่ 121 ( the 121st IOC Session ) ที่จัดขึ้นที่ กรุงโคเปนฮาเกน ประเทศเดนมาร์ค ในวันศุกร์ที่ 2 ตุลาคมนี้
กระบวนการเสนอตัวดังกล่าวได้เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2007 แล้ว ในที่สุดก็เหลือชิงสิทธิกัน 4 เมือง เริ่มที่ ตัวเต็งคือ ชิคาโก ( Chicago ) อิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ซึ่ง บารัค โอบามา ประธานาธิบดีเองก็เคยเป็นวุฒิสมาชิกของ อิลลินอยส์ มาตั้ง 3 สมัย และประกาศให้การสนับสนุนเต็มที่ ถ้าเขาไปปรากฏตัวที่ กรุงโคเปนเฮเกน ด้วย ก็น่าจะเป็นผลดีต่อคะแนนเสียง แต่ถ้าแพ้โหวท โอบามา ก็คงหน้าแตกยับเยินเช่นกัน จุดแข็งของ ชิคาโก ก็คือ หมู่บ้านโอลิมปิค ไปตั้งอยู่ริมทะเลสาบ มิชิแกน ทำให้นักกีฬาต่างก็ใช้เวลาเดินทางไปถึงสนามแข่งขันเพียงไม่เกิน 15 นาที นอกจากนั้น ชิคาโก ให้คนหนุ่มสาวเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมาก และยังชูเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังยืนยันจุดอ่อนของ ชิคาโก ตรงที่ สหรัฐฯ ได้เป็นเจ้าภาพ โอลิมปิค เกมส์ มาแล้วถึง 4 ครั้ง ถ้าไปรวมกับ โอลิมปิค ฤดูหนาว อีก 4 หน ก็ไปกันใหญ่เลย เอาเปรียบชาวบ้านครับ
ในขณะที่ กรุงโตเกียว ( Tokyo ) เมืองหลวงของ ญี่ปุ่น เคยเป็นเจ้าภาพมาแล้วในปี 1964 เขาก็ชูเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และมีหมู่บ้านโอลิมปิคที่รวมกระจุกชัดเจน นักกีฬาสามารถไปถึงสนามแข่งขันภายใน 10 นาทีเท่านั้น และที่ โคเปน คุณยูกิโอะ ฮาโตยามะ ( Yukio Hatoyama ) นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นไปร่วมด้วยแน่นอน เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม เทคนอลลอจี ของ ญี่ปุ่น นั้นล้ำหน้าไปไกล ผ่านสะดวกครับ แต่ผมว่า เขาน่าจะไปสะดุดเพราะเรื่องที่ IOC ต้องการให้เมืองเจ้าภาพมีการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนไปในทุกทวีปอย่างเท่าเทียมกัน เพราะปี 2008 จีนก็เพิ่งได้เป็นเจ้าภาพไปหยกๆ นอกจากนั้น ชาวเมืองยังตื่นตัวน้อยที่สุด จากการสำรวจเมื่อเร็วๆนี้ เพียง 56 เพอร์เซนท์เท่านั้นเอง
ส่วน กรุงมาดริด ( Madrid ) เมืองหลวงของ สเปน นั้น เคยเสนอตัวมาแล้วสำหรับ โอลิมปิค เกมส์ 2012 คราวนี้ทั้ง กษัตริย์ ฆวน การลอส ( Juan Carlos ) และ โฆเซ ลูอิส รอดริเกซ ซาปาเตโร ( Jose Luis Rodriguez Zapatero ) นายกรัฐมนตรี ไปผนึกกำลังที่ โคเปน ด้วย แต่ผมก็ยังว่า มาดริด ยิ่งติดปัญหาเรื่อง โรเทเชิน ( Rotation ) อย่างชัดเจน เพราะ กรุงลอนเดิน ก็เพิ่งจัดการแข่งขันในปี 2012 ถ้าครั้งถัดมาในปี 2016 ดันให้เมืองในทวีปยุโรปเป็นเจ้าภาพอีก IOC ก็เพี้ยนหนักเลย
ผมออกจะเชียร์ ริโอ เดอ จาไนโร ( Rio de Janeiro ) ของ บราซิว มากกว่า เพราะจะเป็นครั้งแรกจริงๆที่เมืองในทวีปอเมริกาใต้ได้รับโอกาสนี้ และนี่แหละคือจุดแข็งที่ ริโอ น่าจะได้รับชัยชนะในการโหวท ริโอ เฝ้าเสนอตัวมาหลายครั้งแล้ว ตั้งแต่ปี 2000, 2004 และ 2012 แต่ก็ชวดโอกาสไปทุกที ในการเสนอตัวคราวนี้ IOC ได้ทำการสำรวจและพบว่า ชาวเมืองรู้สึกตื่นตัวและให้การสนับสนุนเป็นพิเศษมากกว่า 80 เพอร์เซนท์ เป็นจำนวนที่สูงที่สุดในบรรดา 4 เมืองที่ชิงสิทธิการเป็นเจ้าภาพ อย่างไรก็ตาม จากเอกสารที่ทั้ง ลูลา ( Lula ) ประธานาธิบดีของ บราซิว และ เปเล ตำนานนักเตะของโลก ช่วยกันนำเสนอ ริโอ ยังมีจุดอ่อนตรงที่โครงสร้างพื้นฐานแย่มากๆ การคมนาคมสุดห่วย และปัญหาอาชญากรรมก็เต็มเมือง
ผมเป็นห่วงว่า 115 สมาชิก IOC ซึ่งรวมถึง ดร.ณัฐ อินทรปาณ ของไทย ที่มีสิทธิลงคะแนนจะมัวไปหลงระเริงกับการยื่นข้อเสนอ ผลประโยชน์ส่วนตนจากเมืองที่อยากเป็นเจ้าภาพ ซึ่งผิดกฎที่ IOC วางเอาไว้ เขาห้ามเมืองที่เสนอตัวหยิบยื่นผลประโยชน์ หรือสิ่งที่จะถือว่าเป็นของขวัญ ห้ามเชิญไปเยือน ห้ามเลี้ยงดูปูเสื่อ อันนี้มีเขียนเอาไว้ชัดเจน ที่สำคัญ การพิจารณาเมืองเจ้าภาพ ควรเป็นไปด้วยความเหมาะสม ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน อย่างเช่น ไปสัญญาว่าจะโหวทให้เมืองใด ก็เพื่อให้เมืองนั้นตอบแทนกลับในโอกาสต่อไป อันนี้ก็ผิดชัดเจนครับ อาจารย์ณัฐ