คอลัมน์ "The Golf Touch" โดย "วันปีย์ สัจจมาร์ค"
ระหว่างที่เจริญเติบโตมาภายใต้การสั่งสอนของบรรพบุรุษและบิดามารดาที่เคารพ ผมเข้าใจมาตลอดว่า “ผู้ใหญ่”เป็นผู้ที่ปฏิบัติตัวเป็นเยี่ยงอย่างที่ดี และคู่ควรแก่การเคารพนับถือ ส่วนคำว่า “เจ้าถิ่น”ก็เป็นกลุ่มคนที่รู้ดีกว่าเรา ความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมทำให้พวกเขาปฏิบัติตัวเข้ากับสถานที่และสถานการณ์ได้เหมาะสมกว่าเรา แต่ผมไม่เคยทราบเลยว่า 2คำนี้ เมื่อนำมาใช้ในกีฬากอล์ฟบ้านเราแล้ว จะมีความหมายที่กินลึกและกินใจผู้ที่ได้สัมผัสอย่างมากมาย จนแทบจะทำให้เราสำลักความน่าอิจฉาพวกเขาตายคาสนามได้
ความที่เราเป็นนักกอล์ฟธรรมดาไม่ใช่ก๊วน”ผู้ใหญ่” เราจึงจำเป็นต้องเดินทางไปงานกอล์ฟตามเวลา เช่น ถึงสนาม 11โมง เมื่อเขานัดช๊อตกันเที่ยง เราเด็กเกินไปกว่าที่จะสามารถไปถึงเที่ยงพอดี ขอกินข้าวก่อนแล้วค่อยร่วมพิธีเปิดงาน ซึ่งคณะผู้จัดและอีก 160ชีวิต ก็ยิ้มแย้มแจ่มใสและยินดีที่จะรอ เท่ห์ไปยิ่งกว่านั้นก็คือ ในวันที่“ผู้ใหญ่”ถึงสนามเร็วก็สามารถเริ่มเล่นได้เลย โดยไม่ต้องรอสัญญาณช๊อตกันจากคณะกรรมการ
ส่วนเด็กๆอย่างเราต้องคำนึงถึงกฎและมารยาทของกอล์ฟและเริ่มตามเวลา ต่อให้เลี่ยงและไม่ไปร่วมงานกอล์ฟก็ยังอุตส่าห์เจอได้อยู่ดี เพราะก๊วน”ผู้ใหญ่”หรือ”เจ้าถิ่น”มักจะเป็นก๊วนที่เล่นกอล์ฟได้อย่างรวดเร็วมากๆ โดยตามติดเราได้ทุกช๊อตเมื่อเล่นตามหลังเรา แต่เมื่อให้แซงไปเมื่อไหร่ พวกเขามักจะแปลงสภาพเป็นกลุ่มนักกอล์ฟตาฟาง ดูไลน์ไม่ออก อ่านกรีนแล้วอ่านกรีนอีก และบางครั้งรวมถึงมีการประชุมผู้ถือหุ้นก่อนลงมติว่ามีไลน์ซ้ายในหลุม ตามด้วยพัตต์ที่ไม่ลง
ก๊วนนักกอล์ฟ “เจ้าถิ่น”นั้นจริงๆแล้วเป็นกลุ่มนักกอล์ฟที่น่าอิจฉาเช่นกัน เพราะเป็นกลุ่มคนที่จัดสรรเวลาส่วนตัวและเวลาทำงานได้ดี มีอันจะกิน ตีกอล์ฟได้ทุกวัน ผนวกกับความที่พวกเขาเล่นสนามเดิมกันเป็นประจำ บางก๊วนสนามเดิมทุกวัน ทำให้พวกเขาเป็นผู้มีพระคุณของทางสนาม ส่งผลให้พวกเขาสามารถออก 6-7คนในก๊วนเดียวกันได้ (มาตรฐานสากลก๊วนละ 4คนนะครับพี่น้อง)
ความที่เจ้าถิ่นคุ้นเคยกับสนามมากจนแทบจะเรียกได้ว่าเป็นสนามหลังบ้าน เขาสามารถใส่เสื้อคอกลม หรือกางเกงยีนส์ ลงมาเดินเล่นได้ โดยบางสนามไม่บังคับให้เปลี่ยนชุด ต่างจากนักกอล์ฟทั่วๆไป พวกเขาสามารถส่งเสียงดังได้อย่างไม่มีขีดจำกัดเวลาลุ้นพัตต์ของเพื่อนๆ โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงก๊วนอื่นๆ ที่ยืนทีออฟอยู่บนแท่นถัดไปจากพวกเขา ถ้าบังเอิญก๊วนถัดไปคิดว่าถูกรบกวน “เจ้าถึ่น”สามารถใช้คำว่า “ขวัญอ่อน”อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและไม่จำเป็นที่จะต้องรู้สึกผิดได้ทันที
อาจจะเป็นเพราะว่าเรายังเด็กอยู่เลยควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ จึงรู้สึกอิจฉาความพิเศษของคนอื่น ต่อไปจะพยายามพัฒนาสันดานตัวเองให้ดีขึ้นนะครับ ผมสัญญา!!
ระหว่างที่เจริญเติบโตมาภายใต้การสั่งสอนของบรรพบุรุษและบิดามารดาที่เคารพ ผมเข้าใจมาตลอดว่า “ผู้ใหญ่”เป็นผู้ที่ปฏิบัติตัวเป็นเยี่ยงอย่างที่ดี และคู่ควรแก่การเคารพนับถือ ส่วนคำว่า “เจ้าถิ่น”ก็เป็นกลุ่มคนที่รู้ดีกว่าเรา ความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมทำให้พวกเขาปฏิบัติตัวเข้ากับสถานที่และสถานการณ์ได้เหมาะสมกว่าเรา แต่ผมไม่เคยทราบเลยว่า 2คำนี้ เมื่อนำมาใช้ในกีฬากอล์ฟบ้านเราแล้ว จะมีความหมายที่กินลึกและกินใจผู้ที่ได้สัมผัสอย่างมากมาย จนแทบจะทำให้เราสำลักความน่าอิจฉาพวกเขาตายคาสนามได้
ความที่เราเป็นนักกอล์ฟธรรมดาไม่ใช่ก๊วน”ผู้ใหญ่” เราจึงจำเป็นต้องเดินทางไปงานกอล์ฟตามเวลา เช่น ถึงสนาม 11โมง เมื่อเขานัดช๊อตกันเที่ยง เราเด็กเกินไปกว่าที่จะสามารถไปถึงเที่ยงพอดี ขอกินข้าวก่อนแล้วค่อยร่วมพิธีเปิดงาน ซึ่งคณะผู้จัดและอีก 160ชีวิต ก็ยิ้มแย้มแจ่มใสและยินดีที่จะรอ เท่ห์ไปยิ่งกว่านั้นก็คือ ในวันที่“ผู้ใหญ่”ถึงสนามเร็วก็สามารถเริ่มเล่นได้เลย โดยไม่ต้องรอสัญญาณช๊อตกันจากคณะกรรมการ
ส่วนเด็กๆอย่างเราต้องคำนึงถึงกฎและมารยาทของกอล์ฟและเริ่มตามเวลา ต่อให้เลี่ยงและไม่ไปร่วมงานกอล์ฟก็ยังอุตส่าห์เจอได้อยู่ดี เพราะก๊วน”ผู้ใหญ่”หรือ”เจ้าถิ่น”มักจะเป็นก๊วนที่เล่นกอล์ฟได้อย่างรวดเร็วมากๆ โดยตามติดเราได้ทุกช๊อตเมื่อเล่นตามหลังเรา แต่เมื่อให้แซงไปเมื่อไหร่ พวกเขามักจะแปลงสภาพเป็นกลุ่มนักกอล์ฟตาฟาง ดูไลน์ไม่ออก อ่านกรีนแล้วอ่านกรีนอีก และบางครั้งรวมถึงมีการประชุมผู้ถือหุ้นก่อนลงมติว่ามีไลน์ซ้ายในหลุม ตามด้วยพัตต์ที่ไม่ลง
ก๊วนนักกอล์ฟ “เจ้าถิ่น”นั้นจริงๆแล้วเป็นกลุ่มนักกอล์ฟที่น่าอิจฉาเช่นกัน เพราะเป็นกลุ่มคนที่จัดสรรเวลาส่วนตัวและเวลาทำงานได้ดี มีอันจะกิน ตีกอล์ฟได้ทุกวัน ผนวกกับความที่พวกเขาเล่นสนามเดิมกันเป็นประจำ บางก๊วนสนามเดิมทุกวัน ทำให้พวกเขาเป็นผู้มีพระคุณของทางสนาม ส่งผลให้พวกเขาสามารถออก 6-7คนในก๊วนเดียวกันได้ (มาตรฐานสากลก๊วนละ 4คนนะครับพี่น้อง)
ความที่เจ้าถิ่นคุ้นเคยกับสนามมากจนแทบจะเรียกได้ว่าเป็นสนามหลังบ้าน เขาสามารถใส่เสื้อคอกลม หรือกางเกงยีนส์ ลงมาเดินเล่นได้ โดยบางสนามไม่บังคับให้เปลี่ยนชุด ต่างจากนักกอล์ฟทั่วๆไป พวกเขาสามารถส่งเสียงดังได้อย่างไม่มีขีดจำกัดเวลาลุ้นพัตต์ของเพื่อนๆ โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงก๊วนอื่นๆ ที่ยืนทีออฟอยู่บนแท่นถัดไปจากพวกเขา ถ้าบังเอิญก๊วนถัดไปคิดว่าถูกรบกวน “เจ้าถึ่น”สามารถใช้คำว่า “ขวัญอ่อน”อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและไม่จำเป็นที่จะต้องรู้สึกผิดได้ทันที
อาจจะเป็นเพราะว่าเรายังเด็กอยู่เลยควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ จึงรู้สึกอิจฉาความพิเศษของคนอื่น ต่อไปจะพยายามพัฒนาสันดานตัวเองให้ดีขึ้นนะครับ ผมสัญญา!!