“บิ๊กอ๊อด” พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา ได้รับเสียงเอกฉันท์จากคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ให้นั่งแท่นประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยอีกสมัย พร้อมผลักดันวงการกีฬาไทยให้ได้โอกาสในระดับชาติมากยิ่งขึ้น
เมื่อช่วงบ่ายวันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2552 คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย มีการจัดประชุมสมัชชาใหญ่สามัญ ประจำปี 2551 ครั้งที่ 1/2552 ที่โรงแรมเรดิสัน โดยมีวาระสำคัญในการคัดเลือกคณะกรรมการฯ ที่หมดวาระการทำงานไป รวมถึงการเลือกประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยคนใหม่เพื่อสานงานต่อในปี 2552-2556
โดยผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีทั้งหมด 46 เสียง แบ่งเป็นเสียงจากโควตาสมาคมกีฬา 33 เสียง, ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 เสียง, คณะกรรมการโอลิมปิกสากลของไทย (ไอโอซี เมมเบอร์) ซึ่งก็ได้แก่ ดร.ณัฐ อินทรปาน 1 เสียง และชมรมอดีตนักกีฬาโอลิมปิกเกมส์ 2 เสียงจาก เกษราภรณ์ สุตา อดีตนักยกน้ำหนัก และ สมจิตร จงจอหอ อดีตนักชกมวยสากลสมัครเล่น ทว่าการประชุมครั้งนี้ ดร.ณัฐ ติดราชการไม่ได้เข้าร่วม เช่นเดียวกับ ร้อยตำรวจตรี เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ ที่เป็นหนึ่งในผู้ทรงคุณวุฒิ เท่ากับเหลือเพียง 44 เสียง
ซึ่ง พลเอกทวีป จันทรโรจน์ นายกสมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยได้รับเกียรติจากที่ประชุมในการเป็นประธานจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยชุดใหม่ 25 คน โดยโควตา 2 ที่เป็นของ ดร.ณัฐ และชมรมอดีตนักกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ทำให้ต้องคัดเลือกใหม่เพียง 23 คน ผลปรากฏว่าที่ประชุมเลือกสรรพอดี 23 คนนำโดย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา, พ.ต.จารึก อารีราชการัณย์, พลเอกทวีป, ศาตราจารย์ เจริญ วรรธนะสิน, นายธนา ไชยประสิทธิ์, นายวรวีร์ มะกูดี หรือว่า นายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์
จากนั้นคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยชุดใหม่ดำเนินการประชุมเสนอชื่อ ประธานคณะกรรมการฯ คนใหม่ ปรากฏว่าที่ประชุมเสนอเพียงชื่อเดียวคือ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา จากนั้น “บิ๊กอ๊อด” ได้แต่งตั้งให้ พล.ต.จารึก อารีราชการัณย์ นั่งแท่นเลขาธิการและรองประธาน (1 จากทั้งหมด 6 ตำแหน่ง) นายธนา ไชยประสิทธิ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเหรัญญิก ซึ่งรายชื่อทั้งหมดนี้ “บิ๊กอ๊อด” จะส่งให้ไอโอซีรับทราบต่อไปภายใน 7 วัน อย่างไรก็ตาม ในส่วนตำแหน่งรองประธานที่เหลืออีก 5 ตำแหน่งนั้น พล.อ.ยุทธศักดิ์ จะได้หารือกับ พล.ต.จารึก ต่อไปเพื่อไม่ให้ตำแหน่งทับซ้อน เนื่องจากยังต้องสรรหาบุคคลที่เหมาะสมเข้ามาเป็นรองเลขาธิการฯ อีก 4 คน รองเหรัญญิก อีกหนึ่งคน
ภายหลังได้รับเลือกให้นั่งตำแหน่งประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยอีกสมัย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ให้สัมภาษณ์ “ก่อนอื่นก็ต้องขอบคุณทางคณะกรรมการทุกคนที่เลือกให้ผมนั่งเป็นประธานโอลิมปิกฯ สมัยที่ 3 ต้องขอบคุณอย่างยิ่งสำหรับความไว้วางใจ และก็ต้องขอขอบคุณแทนรองประธานกับเหรัญญิกด้วยที่ได้รับเลือกตั้งในวันนี้”
“โดยนโยบายที่ได้ให้ทีมชุดใหม่คร่าวๆ มี 3-4 ประการ ข้อแรกอยากให้คณะกรรมการฯ ทุกคนได้ศึกษานโยบายเดิมในรอบ 4-8 ปีที่ผ่านมาว่ามีอะไรควรเพิ่มเติม ปรับปรุง หรือยกเลิกบ้าง ในการประชุมครั้งต่อไปคงได้มาแสดงความคิดเห็นในเรื่องจัดทำนโยบายของคณะกรรมการฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่อไป เรื่องที่ 2 คือจะได้มอบงานให้กับคณะกรรมการโอลิมปิกฯ ทุกคนได้ทำงานให้เกิดประโยชน์ โดยตั้งเป็นกรรมาธิการขึ้น เรื่องใดที่ดีก็ให้คงไว้ อะไรที่ไม่เกิดประโยชน์ก็ต้องตัดทิ้ง รวมถึงคิดหาวิธีการพัฒนาใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เรื่องที่ 3 คือในส่วนของการแก้ไขธรรมนูญของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2546 มีหลายเรื่องที่คงต้องแก้ไข ให้เตรียมการเรื่องนี้ไว้ด้วย ส่วนอีกเรื่องการสนับสนุนให้ทุกสมาคมที่อยู่ในความรับผิดชอบของเราได้มีโอกาสเข้าไปเป็นกรรมการ เป็นเจ้าหน้าที่ต่างๆ ในระดับนานาชาติหรือระดับโลก เพื่อสร้างควาวก้าวหน้าให้แก่วงการกีฬาไทย สำหรับการที่คณะกรรมการฯ ไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล ดังนั้นเราจะตั้งคณะกรรมการอีกชุดเพื่อดูแลสิทธิประโยชน์เพื่อให้มีงบเข้ามาดูแลวงการกีฬาของเราให้ดีขึ้นกว่าเดิม” บิ๊กอ๊อด ทิ้งท้าย
ส่วนวาระเร่งด่วนคือ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ต้องเตรียมแถลงนโยบายของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ทุกคนต้องมาช่วยกันก่อน คงมีการประชุมกลุ่มย่อยอีกทีหนึ่งแล้วมีการแถลงอย่างเป็นทางการอีกครั้งในการประชุมครั้งต่อไปที่คาดว่าคงต้องหลังเสร็จงาน “เอเชียนมาเชียลอาร์ทเกมส์” ครั้งที่ 1 ซึ่งไทยได้รับเกียรติจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) ให้เป็นเจ้าภาพระหว่างวันที่ 25 เมษายน ถึง 3 พฤษภาคม 2552
นอกจากระบวนการสรรหาประธานและคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ที่ประชุมยังได้มีการโหวตเลือกคณะผู้ทรงคุณวุฒิหรือบุคคลผู้มีประสบการณ์ด้านกีฬาอีก 10 คน อาทิเช่น นายปิติ ภิรมย์ภักดี, นายธรรมนูญ หวั่งหลี, นายเรวัต ฉ่ำเฉลิม หรือ นายฐาปน สิริวัฒนภักดี เป็นต้น
เมื่อช่วงบ่ายวันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2552 คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย มีการจัดประชุมสมัชชาใหญ่สามัญ ประจำปี 2551 ครั้งที่ 1/2552 ที่โรงแรมเรดิสัน โดยมีวาระสำคัญในการคัดเลือกคณะกรรมการฯ ที่หมดวาระการทำงานไป รวมถึงการเลือกประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยคนใหม่เพื่อสานงานต่อในปี 2552-2556
โดยผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีทั้งหมด 46 เสียง แบ่งเป็นเสียงจากโควตาสมาคมกีฬา 33 เสียง, ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 เสียง, คณะกรรมการโอลิมปิกสากลของไทย (ไอโอซี เมมเบอร์) ซึ่งก็ได้แก่ ดร.ณัฐ อินทรปาน 1 เสียง และชมรมอดีตนักกีฬาโอลิมปิกเกมส์ 2 เสียงจาก เกษราภรณ์ สุตา อดีตนักยกน้ำหนัก และ สมจิตร จงจอหอ อดีตนักชกมวยสากลสมัครเล่น ทว่าการประชุมครั้งนี้ ดร.ณัฐ ติดราชการไม่ได้เข้าร่วม เช่นเดียวกับ ร้อยตำรวจตรี เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ ที่เป็นหนึ่งในผู้ทรงคุณวุฒิ เท่ากับเหลือเพียง 44 เสียง
ซึ่ง พลเอกทวีป จันทรโรจน์ นายกสมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยได้รับเกียรติจากที่ประชุมในการเป็นประธานจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยชุดใหม่ 25 คน โดยโควตา 2 ที่เป็นของ ดร.ณัฐ และชมรมอดีตนักกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ทำให้ต้องคัดเลือกใหม่เพียง 23 คน ผลปรากฏว่าที่ประชุมเลือกสรรพอดี 23 คนนำโดย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา, พ.ต.จารึก อารีราชการัณย์, พลเอกทวีป, ศาตราจารย์ เจริญ วรรธนะสิน, นายธนา ไชยประสิทธิ์, นายวรวีร์ มะกูดี หรือว่า นายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์
จากนั้นคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยชุดใหม่ดำเนินการประชุมเสนอชื่อ ประธานคณะกรรมการฯ คนใหม่ ปรากฏว่าที่ประชุมเสนอเพียงชื่อเดียวคือ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา จากนั้น “บิ๊กอ๊อด” ได้แต่งตั้งให้ พล.ต.จารึก อารีราชการัณย์ นั่งแท่นเลขาธิการและรองประธาน (1 จากทั้งหมด 6 ตำแหน่ง) นายธนา ไชยประสิทธิ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเหรัญญิก ซึ่งรายชื่อทั้งหมดนี้ “บิ๊กอ๊อด” จะส่งให้ไอโอซีรับทราบต่อไปภายใน 7 วัน อย่างไรก็ตาม ในส่วนตำแหน่งรองประธานที่เหลืออีก 5 ตำแหน่งนั้น พล.อ.ยุทธศักดิ์ จะได้หารือกับ พล.ต.จารึก ต่อไปเพื่อไม่ให้ตำแหน่งทับซ้อน เนื่องจากยังต้องสรรหาบุคคลที่เหมาะสมเข้ามาเป็นรองเลขาธิการฯ อีก 4 คน รองเหรัญญิก อีกหนึ่งคน
ภายหลังได้รับเลือกให้นั่งตำแหน่งประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยอีกสมัย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ให้สัมภาษณ์ “ก่อนอื่นก็ต้องขอบคุณทางคณะกรรมการทุกคนที่เลือกให้ผมนั่งเป็นประธานโอลิมปิกฯ สมัยที่ 3 ต้องขอบคุณอย่างยิ่งสำหรับความไว้วางใจ และก็ต้องขอขอบคุณแทนรองประธานกับเหรัญญิกด้วยที่ได้รับเลือกตั้งในวันนี้”
“โดยนโยบายที่ได้ให้ทีมชุดใหม่คร่าวๆ มี 3-4 ประการ ข้อแรกอยากให้คณะกรรมการฯ ทุกคนได้ศึกษานโยบายเดิมในรอบ 4-8 ปีที่ผ่านมาว่ามีอะไรควรเพิ่มเติม ปรับปรุง หรือยกเลิกบ้าง ในการประชุมครั้งต่อไปคงได้มาแสดงความคิดเห็นในเรื่องจัดทำนโยบายของคณะกรรมการฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่อไป เรื่องที่ 2 คือจะได้มอบงานให้กับคณะกรรมการโอลิมปิกฯ ทุกคนได้ทำงานให้เกิดประโยชน์ โดยตั้งเป็นกรรมาธิการขึ้น เรื่องใดที่ดีก็ให้คงไว้ อะไรที่ไม่เกิดประโยชน์ก็ต้องตัดทิ้ง รวมถึงคิดหาวิธีการพัฒนาใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เรื่องที่ 3 คือในส่วนของการแก้ไขธรรมนูญของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2546 มีหลายเรื่องที่คงต้องแก้ไข ให้เตรียมการเรื่องนี้ไว้ด้วย ส่วนอีกเรื่องการสนับสนุนให้ทุกสมาคมที่อยู่ในความรับผิดชอบของเราได้มีโอกาสเข้าไปเป็นกรรมการ เป็นเจ้าหน้าที่ต่างๆ ในระดับนานาชาติหรือระดับโลก เพื่อสร้างควาวก้าวหน้าให้แก่วงการกีฬาไทย สำหรับการที่คณะกรรมการฯ ไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล ดังนั้นเราจะตั้งคณะกรรมการอีกชุดเพื่อดูแลสิทธิประโยชน์เพื่อให้มีงบเข้ามาดูแลวงการกีฬาของเราให้ดีขึ้นกว่าเดิม” บิ๊กอ๊อด ทิ้งท้าย
ส่วนวาระเร่งด่วนคือ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ต้องเตรียมแถลงนโยบายของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ทุกคนต้องมาช่วยกันก่อน คงมีการประชุมกลุ่มย่อยอีกทีหนึ่งแล้วมีการแถลงอย่างเป็นทางการอีกครั้งในการประชุมครั้งต่อไปที่คาดว่าคงต้องหลังเสร็จงาน “เอเชียนมาเชียลอาร์ทเกมส์” ครั้งที่ 1 ซึ่งไทยได้รับเกียรติจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) ให้เป็นเจ้าภาพระหว่างวันที่ 25 เมษายน ถึง 3 พฤษภาคม 2552
นอกจากระบวนการสรรหาประธานและคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ที่ประชุมยังได้มีการโหวตเลือกคณะผู้ทรงคุณวุฒิหรือบุคคลผู้มีประสบการณ์ด้านกีฬาอีก 10 คน อาทิเช่น นายปิติ ภิรมย์ภักดี, นายธรรมนูญ หวั่งหลี, นายเรวัต ฉ่ำเฉลิม หรือ นายฐาปน สิริวัฒนภักดี เป็นต้น