หากพูดถึงตำนานควอเตอร์แบ็กแห่งศึกอเมริกัน ฟุตบอล เอ็นเอฟแอล (NFL) ชื่อของ โจ มอนทานา (ซานฟรานซิสโก โฟร์ตีไนเนอร์ส) หรือ จิม พลันเกตต์ (โอคแลนด์ เรดเดอร์ส) คงต้องผุดขึ้นมาในหัวคอคนชนคนเป็นลำดับแรกๆ เช่นเดียวกับ โรเจอร์ สตอว์บัคช์ (ดัลลัส คาวบอยส์) และเทอร์รี แบรดชอว์ (พิตต์สเบิร์ก สตีลเลอร์ส)
ซึ่งถ้าสังเกตให้ดีสุดยอดผู้เล่นในอดีตเหล่านี้สวมใส่ยูนิฟอร์มหมายเลข 16 (มอนทานา และพลันเกตต์) ขณะที่ สตอว์บัคช์ กับ แบรดชอว์ สวมเสื้อแข่งเบอร์ 12 ลงประกาศความเกรียงไกร ณ เวลานี้ “ทอม เบรดี” ก็เป็นอีกหนึ่งจอมทัพ (12) ที่เตรียมลงสนามนำทัพ นิวอิงแลนด์ แพทริออตส์ ตามหาแชมป์สมัยที่ 4 ในรอบ 7 ปีพร้อมประกาศศักดา “เพอร์เฟกต์ ซีซั่น” แต่ทัพ “นักรบกู้ชาติ” ต้องผ่านด่าน อีลาย แมนนิง ควอเตอร์แบ็กหมายเลข 10 พร้อมผองพวก นิวยอร์ก ไจแอนท์ส ไปให้ได้เสียก่อนในซูเปอร์โบว์ล ครั้งที่ 42 ที่เกลนเดล อริโซนา
สำหรับ อีลาย แมนนิง ถ้าพลิกล็อกนำขุนพล “ยักษ์ใหญ่” คว้าแชมป์ ตระกูล “แมนนิง” จะถูกจารึกลงในหน้าประวัติศาสตร์เอ็นเอฟแอลที่มีควอเตอร์แบ็กพี่-น้องครองแชมป์ซูเปอร์โบว์ลติดต่อกัน หลังจากที่ เพย์ตัน (แมนนิง) เพิ่งพาทัพ “เกือกม้า” อินเดียนาโปลิส โคลต์ส ชู “วินซ์ ลอมบาร์ดี โทรฟี” เมื่อปีที่ผ่านมา
แต่ตามชื่อชั้นแล้วต้องยอมรับว่า ไจแอนท์ส ดูเป็นรอง แพทริออตส์ เช่นเดียวกับ อีลาย (แมนนิง) ซึ่งเพิ่งเข้าสู่เกมชิงแชมป์ระดับประเทศเป็นครั้งแรกในชีวิต ดังนั้นเรื่องประสบการณ์และการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าย่อมดูเป็นรอง เบรดี ที่มีแหวนแชมป์อยู่แล้วถึง 3 วงอยู่หลายขุม และถ้าพูดถึงเรื่องของโชคลาง ควอเตอร์แบ็กหมายเลข 10 ไม่เคยโค่นจอมทัพเบอร์ 12 ในซูเปอร์โบว์ลได้เลย ดังนั้นจึงเหมือนเป็นอาถรรพ์ ???
ย้อนกลับไปในซูเปอร์โบว์ล ครั้งที่ 8 ปี 1974 ฟราน ทาร์เคนตัน กลับมาสู่ มินเนโซตา อีกครั้งหลังไปนำทัพ นิวยอร์ก ไจแอนท์ส อยู่ช่วงหนึ่ง และควอเตอร์แบ็กหมายเลข 10 สามารถพาทีมเข้าชิงซูเปอร์โบว์ลกับ ไมอามี ดอลฟินส์ ที่มีสุดยอดจอมทัพอย่าง บ็อบ กรีซีย์ คุมบอลในเกมบุก และเกมนั้นปรากฏว่า “โลมามหาภัย” ชนะไวกิงส์ 24-7 กรีซีย์ พาทีมคว้าแชมป์เป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกัน (เข้าชิงสามปีติด) และนั่นก็เป็นชัยชนะครั้งแรกของ QB (12) ที่มีต่อเบอร์ 10
ให้หลังอีกแค่ปีเดียว ทาร์เคนตัน นำพลพรรค “ไวกิงส์” กรุยทางเข้าสู่เกมชิงแชมป์ประเทศอีกครั้ง แต่ด้วยความยอดเยี่ยมของ เทอร์รี แบรดชอว์ ควอเตอร์แบ็กหมายเลข 12 และความแข็งแกร่งของขุนพล พิตต์สเบิร์ก สตีลเลอร์ส ทำให้จอมทัพเบอร์ 10 ต้องผิดหวังไปอีกคราวด้วยสกอร์ 6-16 และนี่ก็ถือเป็นการเปิดตำนานยุค “คนเหล็ก” แบรดชอว์ พาทีมคว้าได้ถึง 4 ซูเปอร์โบว์ล
ในซูเปอร์โบว์ล ครั้งที่ 11 ปี 1977 สังเวียน “โรส โบว์ล” ก็ไม่ได้โรยกลีบกุหลาบให้ ทาร์เคนตัน กับความพยายามล่าแชมป์ครั้งที่ 3 เมื่อ ไวกิงส์ เสียทีต่อ โอคแลนด์ เรดเดอร์ส อย่างราบคาบ 14-32 ทาร์เคนตัน ถือเป็นยอดควอเตอร์แบ็กต้องอาถรรพ์ปราศจากแชมป์ยุคบุกเบิกเลยก็ว่าได้ (ในเวลาต่อมาก็มี แดน มาริโน ของดอลฟินส์) ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ทาร์เคนตัน ปราชัยให้แก่จอมทัพเบอร์ 10 (อีกแล้ว) อย่าง เคน สตับเลอร์
ซึ่งถ้าสังเกตให้ดีสุดยอดผู้เล่นในอดีตเหล่านี้สวมใส่ยูนิฟอร์มหมายเลข 16 (มอนทานา และพลันเกตต์) ขณะที่ สตอว์บัคช์ กับ แบรดชอว์ สวมเสื้อแข่งเบอร์ 12 ลงประกาศความเกรียงไกร ณ เวลานี้ “ทอม เบรดี” ก็เป็นอีกหนึ่งจอมทัพ (12) ที่เตรียมลงสนามนำทัพ นิวอิงแลนด์ แพทริออตส์ ตามหาแชมป์สมัยที่ 4 ในรอบ 7 ปีพร้อมประกาศศักดา “เพอร์เฟกต์ ซีซั่น” แต่ทัพ “นักรบกู้ชาติ” ต้องผ่านด่าน อีลาย แมนนิง ควอเตอร์แบ็กหมายเลข 10 พร้อมผองพวก นิวยอร์ก ไจแอนท์ส ไปให้ได้เสียก่อนในซูเปอร์โบว์ล ครั้งที่ 42 ที่เกลนเดล อริโซนา
สำหรับ อีลาย แมนนิง ถ้าพลิกล็อกนำขุนพล “ยักษ์ใหญ่” คว้าแชมป์ ตระกูล “แมนนิง” จะถูกจารึกลงในหน้าประวัติศาสตร์เอ็นเอฟแอลที่มีควอเตอร์แบ็กพี่-น้องครองแชมป์ซูเปอร์โบว์ลติดต่อกัน หลังจากที่ เพย์ตัน (แมนนิง) เพิ่งพาทัพ “เกือกม้า” อินเดียนาโปลิส โคลต์ส ชู “วินซ์ ลอมบาร์ดี โทรฟี” เมื่อปีที่ผ่านมา
แต่ตามชื่อชั้นแล้วต้องยอมรับว่า ไจแอนท์ส ดูเป็นรอง แพทริออตส์ เช่นเดียวกับ อีลาย (แมนนิง) ซึ่งเพิ่งเข้าสู่เกมชิงแชมป์ระดับประเทศเป็นครั้งแรกในชีวิต ดังนั้นเรื่องประสบการณ์และการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าย่อมดูเป็นรอง เบรดี ที่มีแหวนแชมป์อยู่แล้วถึง 3 วงอยู่หลายขุม และถ้าพูดถึงเรื่องของโชคลาง ควอเตอร์แบ็กหมายเลข 10 ไม่เคยโค่นจอมทัพเบอร์ 12 ในซูเปอร์โบว์ลได้เลย ดังนั้นจึงเหมือนเป็นอาถรรพ์ ???
ย้อนกลับไปในซูเปอร์โบว์ล ครั้งที่ 8 ปี 1974 ฟราน ทาร์เคนตัน กลับมาสู่ มินเนโซตา อีกครั้งหลังไปนำทัพ นิวยอร์ก ไจแอนท์ส อยู่ช่วงหนึ่ง และควอเตอร์แบ็กหมายเลข 10 สามารถพาทีมเข้าชิงซูเปอร์โบว์ลกับ ไมอามี ดอลฟินส์ ที่มีสุดยอดจอมทัพอย่าง บ็อบ กรีซีย์ คุมบอลในเกมบุก และเกมนั้นปรากฏว่า “โลมามหาภัย” ชนะไวกิงส์ 24-7 กรีซีย์ พาทีมคว้าแชมป์เป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกัน (เข้าชิงสามปีติด) และนั่นก็เป็นชัยชนะครั้งแรกของ QB (12) ที่มีต่อเบอร์ 10
ให้หลังอีกแค่ปีเดียว ทาร์เคนตัน นำพลพรรค “ไวกิงส์” กรุยทางเข้าสู่เกมชิงแชมป์ประเทศอีกครั้ง แต่ด้วยความยอดเยี่ยมของ เทอร์รี แบรดชอว์ ควอเตอร์แบ็กหมายเลข 12 และความแข็งแกร่งของขุนพล พิตต์สเบิร์ก สตีลเลอร์ส ทำให้จอมทัพเบอร์ 10 ต้องผิดหวังไปอีกคราวด้วยสกอร์ 6-16 และนี่ก็ถือเป็นการเปิดตำนานยุค “คนเหล็ก” แบรดชอว์ พาทีมคว้าได้ถึง 4 ซูเปอร์โบว์ล
ในซูเปอร์โบว์ล ครั้งที่ 11 ปี 1977 สังเวียน “โรส โบว์ล” ก็ไม่ได้โรยกลีบกุหลาบให้ ทาร์เคนตัน กับความพยายามล่าแชมป์ครั้งที่ 3 เมื่อ ไวกิงส์ เสียทีต่อ โอคแลนด์ เรดเดอร์ส อย่างราบคาบ 14-32 ทาร์เคนตัน ถือเป็นยอดควอเตอร์แบ็กต้องอาถรรพ์ปราศจากแชมป์ยุคบุกเบิกเลยก็ว่าได้ (ในเวลาต่อมาก็มี แดน มาริโน ของดอลฟินส์) ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ทาร์เคนตัน ปราชัยให้แก่จอมทัพเบอร์ 10 (อีกแล้ว) อย่าง เคน สตับเลอร์