ยืดอายุ คสช.หลังร่างรัฐธรรมนูญถูกคว่ำใช่สบาย พลพรรคเพื่อไทยออกโรงจวกรัฐบาลมากขึ้น “สุริยะใส” ชี้เป็นทั้งวิกฤตและโอกาส พรรคใหญ่เริ่มเสื่อม แนะใช้ช่วงนี้ปฎิรูปพรรคให้ตอบสนองประชาชน ด้านประชาธิปัตย์สมาชิกในพรรคยังเหนียวแน่น ยกเว้นบางท่านที่มีความจำเป็น นักวิชาการประเมินจุดเสี่ยงคสช.อยู่ที่เศรษฐกิจ หากฟื้นไม่ได้อยู่ลำบาก แนะจับตาพรรคขั้วที่ 3 กำลังเติบโตฐานใหญ่โคราช-บุรีรัมย์
เป็นอันว่ากำหนดการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะคืนอำนาจให้ประชาชนได้เลือกตั้งในราวเดือนกันยายน 2559 มีอันต้องเลื่อนออกไป หลังจากร่างรัฐธรรมนูญใหม่ไม่ผ่านความเห็นชอบจากสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) เมื่อ 6 กันยายน 2558 ด้วยมติไม่เห็นชอบ 135 เสียง เห็นชอบ 105 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง
จากนี้ไปต้องกลับไปเริ่มต้นกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ ด้วยการเลือกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 21 คนขึ้นมาทำหน้าที่ โดย คสช.ต้องเลือกคณะกรรมการดังกล่าวใน 30 วันและให้กรรมการไปดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 180 วัน เพื่อให้มีการลงมติกันอีกครั้ง หากผ่านจะไปสู่ขั้นตอนการเผยแพร่และลงประชามติในระยะเวลา 120 วัน และอีก 6 เดือนกับการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ก่อนเปิดให้มีการเลือกตั้ง หากการลงมติครั้งต่อไปไม่ผ่านอีก ก็ต้องเริ่มต้นกันใหม่
ผลของการร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ผ่านความเห็นชอบจาก สปช. ทำให้รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องนั่งบริหารประเทศต่อและจัดการเพื่อให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้แทนฉบับชั่วคราว 2557 อย่างน้อยอีก 7 เดือนกว่าจะมีการคืนอำนาจและเปิดทางให้นักการเมืองอาชีพเดินตามเส้นทางปกติภายใต้กติกาที่ร่างขึ้นมาใหม่
แน่นอนว่าในฝ่ายการเมืองอาชีพย่อมอยากให้ คสช.เปิดให้มีการเลือกตั้งเร็วที่สุด บนกติกาของรัฐธรรมนูญที่ไม่ลิดรอนสิทธิ์ของพวกเขาจนเกินไป
นี่คือจุดต่างของนักการเมืองอาชีพกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่พลเอกประยุทธ์ย้ำว่า รัฐธรรมนูญยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่พรรคการเมือง ขณะที่นักการเมืองย่อมต้องยึดประโยชน์ในทางการเมืองเป็นหลัก
ปมปัญหาที่รัฐธรรมนูญถูกคว่ำไปนั้นมาจาก 3 เรื่องหลัก การเปิดทางให้คนนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ตามมาด้วยข้อกำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและปรองดองแห่งชาติ ที่อยู่ต่อไปได้อีก 5 ปี และสมาชิกวุฒิสภาชุดแรกที่ต้องให้คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันเป็นคนตั้งคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาชุดแรก 123 คนจาก 200 คน ที่เหลืออีก 77 คนมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด
กลายเป็นฝ่ายที่แม้จะเชียร์คณะรักษาความสงบแต่ยึดหลักประชาธิปไตย ก็ต้องลงมติไม่เห็นชอบ เนื่องจากเงื่อนไขดังกล่าวไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย ไม่ต้องนับถึง สปช.สายที่ยืนอยู่คนละฝั่งกับ คสช.ย่อมไม่เห็นด้วยกับสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ตามมาด้วยสายทหารและตำรวจส่วนใหญ่ต่างก็เทน้ำหนักไปที่ไม่เห็นชอบ
เป็นทั้งวิกฤตและโอกาส
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านความเห็นชอบจาก สปช. รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ต้องอยู่บริหารประเทศต่อไปอีกนานขึ้น แม้หลายฝ่ายจะตั้งข้อสังเกตว่าเป็นความต้องการของรัฐบาลที่จะอยู่ยาวหรือไม่ เรื่องนี้ึคงไม่มีใครให้คำตอบได้
นายสุริยะใส กตะศิลา อาจารย์คณะนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย กล่าวว่า การที่รัฐธรรมนูญไม่ผ่านความเห็นชอบและต้องกลับไปเริ่มนับหนึ่งกันใหม่ ส่งผลกระทบต่อพรรคการเมืองทั้งเล็กและใหญ่ เท่ากับถูกดองไปโดยปริยาย
ช่วงระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นกว่าจะมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ ถือเป็นทั้งวิกฤตและโอกาสของนักการเมือง ด้านวิกฤตนักการเมืองตกงาน พรรคการเมืองทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ได้ ถูกกันออกในช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่าน ถือว่าเป็นผลกระทบที่รุนแรง
ด้านโอกาสในช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงที่ดี ที่พรรคการเมืองควรใช้ช่วงเวลานี้ในการปฏิรูปตัวเองให้เรียบร้อย สร้างและพัฒนาให้พรรคการเมืองเป็นสถาบันขึ้นมาเตรียมไว้สำหรับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น แต่ที่ผ่านมาแทบจะไม่เห็นมีพรรคใดปรับ ไม่เห็นมีพรรคใดเริ่มต้น
ผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่เราจะเห็นอีกในช่วงระยะเวลาที่ คสช.ยังต้องบริหารประเทศต่อไปนั้นคือ บรรดาคดีความต่างๆ ในทางการเมือง ทั้งคดีจำนำข้าวของคุณยิ่งลักษณ์ คดีของพรรคประชาธิปัตย์ คดีของเสื้อเหลือง คดีของเสื้อแดง เชื่อว่าน่าจะได้ข้อสรุปออกมา ถือว่าเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ
นอกจากนี้ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานออกไปสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ การเปลี่ยนแปลงในแต่ละพรรคการเมือง ทั้งประชาธิปัตย์และเพื่อไทย พรรคใหญ่อาจจะเริ่มเล็กลง ขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ของ คสช. และพรรคการเมืองเหล่านั้นจะยอมรับได้หรือไม่ และอาจเกิดพรรคการเมืองขั้วใหม่ขึ้นมา
ปชป.รับลำบากแต่เหนียวแน่น
นายวัชระ เพชรทอง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า แม้ระยะเวลาที่ยืดออกไปก่อนที่จะมีการเลือกตั้งนั้น ทางประชาธิปัตย์ไม่กระทบ ทุกวันนี้ก็ต้องลงไปพบปะพี่น้องประชาชนอยู่เป็นปกติ แม้จะไม่มีเงินเดือนเหมือนก่อน แต่เราเป็นนักการเมืองโดยสายเลือด ต้องดูแลประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย ทำหน้าที่เป็นปากเสียงแทนประชาชนตลอดเวลา
พร้อมทั้งกล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาว่า กติกาของประเทศยังไม่สมบูรณ์พอ จนต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ แม้ว่าระยะเวลาที่ยาวนานออกไปอาจทำให้มีสมาชิกในพรรคตัดสินใจเดินออกจากพรรคไปบ้าง แต่ถ้าเป็นสายเลือดของประชาธิปัตย์คงไม่ไปไหน เรายังเหนียวแน่นกันอยู่ เว้นแต่บางท่านที่อาจมีความจำเป็น
ยืดเวลาใช่ว่า คสช.สบาย
ขณะที่นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์รายหนึ่ง กล่าวว่า เรื่องร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกคว่ำไปนั้น ไม่น่าเป็นเรื่องความจงใจจาก คสช. เนื่องจากอยู่ในความรับผิดชอบของอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ซึ่งหลายฝ่ายไม่เห็นด้วยตั้งแต่แรกแล้ว
แน่นอนว่าก่อนจะมีการเลือกตั้งด้วยระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น ย่อมทำให้พรรคการเมืองทั้งหลายอ่อนแอลง แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องดีสำหรับ คสช. เพราะด้วยระยะเวลาที่นานขึ้น ก็เกิดข้อครหาว่าต้องการจะอยู่ต่อเพื่อสืบทอดอำนาจ เพราะทำให้ฝ่ายนักการเมืองเสียประโยชน์
คนในเพื่อไทยออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญนี้ตั้งแต่ยังไม่ลงมติ และหลังจากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านนักการเมืองจากพรรคเพื่อไทยต่างออกมาแสดงความคิดเห็นกันมากขึ้น จน คสช.ต้องมีการเชิญนายพิชัย นริพทพันธ์และนายการุณ โหสกุล เข้าไปปรับทัศนคติอีกรอบ นอกจากนี้ยังมีการออกมาตอบโต้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กันมากขึ้น เมื่อมีการพาดพิงถึงนโยบายรถคันแรกและจำนำข้าวของพรรคเพื่อไทยโดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
จะเห็นได้ว่าเมื่อยืดเวลาการเลือกตั้งออกไป คสช.ต้องเผชิญกับแรงกดดันจากอดีตนักการเมืองเหล่านี้มากขึ้น อีกทั้งต้องเตรียมรับมือกับนานาชาติ โดยเฉพาะชาติมหาอำนาจที่ท่องคัมภีร์ประชาธิปไตยบังหน้า แต่อาจมีประโยชน์ร่วมกับนักการเมืองบางพรรค อาจออกโรงมากดดันประเทศไทยมากขึ้น ที่ผ่านมาเราโดนทั้งเรื่องประมง เรื่องความปลอดภัยของสายการบินสัญชาติไทย โดนทั้งเรื่องอุยกูร์
นอกจากนี้ คสช.จะต้องพิสูจน์ในเรื่องของการบริหารเศรษฐกิจด้วย ด้านหนึ่งเป็นการให้โอกาสทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีที่เข้ามารับหน้าที่แทนทีมของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ให้มีระยะเวลาแก้ปัญหาและประคองเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้นหรือไม่แย่ลงไปกว่าเดิม เพราะแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจต้องใช้เวลา
แต่หากผลของการแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ดีขึ้น รากหญ้าที่เป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคเพื่อไทยที่เคยเงียบก็อาจลุกขึ้นมาเรียกร้องมากขึ้น นับเป็นการเข้าทางกับนักการเมืองที่ไม่ต้องออกหน้ามาถล่มรัฐบาลปัจจุบัน หากมีกลุ่มต่างๆ ออกมาเรียกร้องเรื่องปากท้องมากขึ้น นั่นคือแรงบีบสำคัญที่จะทำให้รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์อยู่ยากขึ้น
“ถือว่าไม่ง่ายกับการประคับประคองเศรษฐกิจในเวลานี้ เพราะสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ทั่วโลก กำลังซื้อในต่างประเทศหายไปมาก เห็นได้จากยอดส่งออกที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ทีมเศรษฐกิจชุดใหม่จะออกมาตรการฉีดเงินเข้าระบบ แต่ก็ถูกวิจารณ์ในเรื่องวิธีการที่เป็นไปในแนวทางประชานิยม ซึ่งตอนนี้เน้นไปที่การกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศระดับฐานรากเป็นหลัก หากทุกอย่างไม่เอื้ออำนวย ฟื้นเศรษฐกิจไม่ได้ แรงกดดันก็ตีกลับไปที่ คสช.”
ดังนั้นผลงานของทีมเศรษฐกิจชุดใหม่จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง หากไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องปากท้องของคนในประเทศไทย อายุงานของ คสช.ก็จะสั้นลง
พรรคใหญ่ยวบ-พรรคขั้วที่ 3 โต
สมาชิกของพรรคเพื่อไทยรายหนึ่งประเมินสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ว่า ยิ่ง คสช.อยู่นาน พรรคการเมืองใหญ่ยิ่งแย่ลง ในเพื่อไทยเองตอนนี้ก็ระส่ำระสาย ไม่รู้ว่าครั้งต่อไปนายใหญ่จะเลือกใครมาเป็นผู้นำทัพ เพราะคนในตระกูลชินวัตร ติดคดีเกือบทุกคน
ส่วนคนนอกที่มองกันว่ามีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกนั้น ต้องรอดูคดีสลายการชุมนุมพันธมิตรปี 2551 ที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นกำลังถูกดำเนินคดี และในคดีเดียวกันก็มีชื่อของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รวมอยู่ด้วย หากบิ๊กจิ๋วถูกดำเนินคดีด้วย ตัวเลือกที่มีอยู่จะหมดลง
ประการต่อมาสมาชิกหลายคนกังวลใจว่า หากเดินต่อไปในนามของพรรคเพื่อไทย ไม่รู้ว่าในอนาคตจะโดนเรื่องอะไรอีก เพราะพรรคนี้ถูกจับตาเป็นพิเศษจากทุกฝ่าย
สำคัญที่สุดคือการตัดสินใจของนายทักษิณ ชินวัตร ว่าจะสู้ต่อหรือไม่หรือว่าถอดใจ คุณทักษิณเป็นนักธุรกิจย่อมต้องประเมินออกว่าคุ้มหรือไม่กับการเดินต่อในทางการเมือง คนในตระกูลที่ถูกเลือกมาใช้งานติดคดีกันเกือบทุกคน รัฐธรรมนูญใหม่จะออกมาอย่างไร กำลังทรัพย์ที่มีพอหรือไม่ วันนี้แม้จะมีฐานเสียงที่ศรัทธาในเพื่อไทยอยู่ แต่ก็ลดน้อยลงไปมาก อีกทั้งกติกาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอาจทำให้ทางเดินในสายการเมืองของทักษิณ ไม่ราบรื่นเหมือนเดิม
สมาชิกในพรรคจำนวนหนึ่งที่เป็นนักการเมืองอาชีพ เริ่มหาทางเลือกใหม่ๆ กันบ้างแล้ว นั่นหมายถึงในอนาคตพรรคเพื่อไทยอาจได้ ส.ส.น้อยลง
เช่นเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์ก็มีปัญหาเช่นกัน ตั้งแต่มีการแยกทีมในช่วงปลายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เลือกเดินในระบบ สุเทพ เทือกสุบรรณและสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์จำนวนหนึ่งเลือกเคลื่อนไหวบนถนน อดีตเลขาธิการพรรคอย่างเฉลิมชัย ศรีอ่อน หรืออลงกรณ์ พลบุตร คงจะเดินร่วมกับประชาธิปัตย์ยาก
เมื่อ 2 พรรคใหญ่ต่างก็มีปัญหาในพรรค ดังนั้นอดีต ส.ส.ของแต่ละพรรคจึงมองหาทางเลือกที่ตรงกับความต้องการของตัวเอง อาจมีการย้ายสังกัดไปยังพรรคอื่นๆ
ทั้งนี้คงต้องรอดูองค์ประกอบอื่นอย่างเช่นสาระของรัฐธรรมนูญใหม่ที่จะร่างขึ้น หรือดูสภาพแวดล้อมในทางการเมืองว่าจะเป็นอย่างไร รวมไปถึงกระแสความนิยมจะเป็นไปในทางใด ดังนั้นคนที่เป็นนักเลือกตั้งมืออาชีพคงต้องรอบคอบในการตัดสินใจว่าจะเลือกเส้นทางใด
“ตอนนี้ทุกคนกำลังจับตาไปที่ตัวเลือกอื่นที่ไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งในทางการเมืองอย่างประชาธิปัตย์และเพื่อไทย นั่นคือพรรคการเมืองที่มีฐานใหญ่ที่นครราชสีมาอย่างสุวัจน์ ลิปตพัลลภ และที่บุรีรัมย์ฐานใหญ่ของพรรคภูมิใจไทย ที่เนวิน ชิดชอบ ยังคงมีบารมีและมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใหญ่ในบ้านเมืองนี้ จะเป็นตัวเลือกที่น่าจะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต แม้จะไม่ได้กลายมาเป็นแกนนำใหญ่มากนัก แต่จะมีพรรคอื่นที่พร้อมเข้ามาจับมือกันอย่างพรรคชาติไทยพัฒนาของบรรหาร ศิลปอาชา”
นี่จะเป็นขั้วการเมืองใหม่ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเลือกตั้งครั้งหน้า
เป็นอันว่ากำหนดการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะคืนอำนาจให้ประชาชนได้เลือกตั้งในราวเดือนกันยายน 2559 มีอันต้องเลื่อนออกไป หลังจากร่างรัฐธรรมนูญใหม่ไม่ผ่านความเห็นชอบจากสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) เมื่อ 6 กันยายน 2558 ด้วยมติไม่เห็นชอบ 135 เสียง เห็นชอบ 105 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง
จากนี้ไปต้องกลับไปเริ่มต้นกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ ด้วยการเลือกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 21 คนขึ้นมาทำหน้าที่ โดย คสช.ต้องเลือกคณะกรรมการดังกล่าวใน 30 วันและให้กรรมการไปดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 180 วัน เพื่อให้มีการลงมติกันอีกครั้ง หากผ่านจะไปสู่ขั้นตอนการเผยแพร่และลงประชามติในระยะเวลา 120 วัน และอีก 6 เดือนกับการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ก่อนเปิดให้มีการเลือกตั้ง หากการลงมติครั้งต่อไปไม่ผ่านอีก ก็ต้องเริ่มต้นกันใหม่
ผลของการร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ผ่านความเห็นชอบจาก สปช. ทำให้รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องนั่งบริหารประเทศต่อและจัดการเพื่อให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้แทนฉบับชั่วคราว 2557 อย่างน้อยอีก 7 เดือนกว่าจะมีการคืนอำนาจและเปิดทางให้นักการเมืองอาชีพเดินตามเส้นทางปกติภายใต้กติกาที่ร่างขึ้นมาใหม่
แน่นอนว่าในฝ่ายการเมืองอาชีพย่อมอยากให้ คสช.เปิดให้มีการเลือกตั้งเร็วที่สุด บนกติกาของรัฐธรรมนูญที่ไม่ลิดรอนสิทธิ์ของพวกเขาจนเกินไป
นี่คือจุดต่างของนักการเมืองอาชีพกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่พลเอกประยุทธ์ย้ำว่า รัฐธรรมนูญยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่พรรคการเมือง ขณะที่นักการเมืองย่อมต้องยึดประโยชน์ในทางการเมืองเป็นหลัก
ปมปัญหาที่รัฐธรรมนูญถูกคว่ำไปนั้นมาจาก 3 เรื่องหลัก การเปิดทางให้คนนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ตามมาด้วยข้อกำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและปรองดองแห่งชาติ ที่อยู่ต่อไปได้อีก 5 ปี และสมาชิกวุฒิสภาชุดแรกที่ต้องให้คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันเป็นคนตั้งคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาชุดแรก 123 คนจาก 200 คน ที่เหลืออีก 77 คนมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด
กลายเป็นฝ่ายที่แม้จะเชียร์คณะรักษาความสงบแต่ยึดหลักประชาธิปไตย ก็ต้องลงมติไม่เห็นชอบ เนื่องจากเงื่อนไขดังกล่าวไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย ไม่ต้องนับถึง สปช.สายที่ยืนอยู่คนละฝั่งกับ คสช.ย่อมไม่เห็นด้วยกับสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ตามมาด้วยสายทหารและตำรวจส่วนใหญ่ต่างก็เทน้ำหนักไปที่ไม่เห็นชอบ
เป็นทั้งวิกฤตและโอกาส
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านความเห็นชอบจาก สปช. รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ต้องอยู่บริหารประเทศต่อไปอีกนานขึ้น แม้หลายฝ่ายจะตั้งข้อสังเกตว่าเป็นความต้องการของรัฐบาลที่จะอยู่ยาวหรือไม่ เรื่องนี้ึคงไม่มีใครให้คำตอบได้
นายสุริยะใส กตะศิลา อาจารย์คณะนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย กล่าวว่า การที่รัฐธรรมนูญไม่ผ่านความเห็นชอบและต้องกลับไปเริ่มนับหนึ่งกันใหม่ ส่งผลกระทบต่อพรรคการเมืองทั้งเล็กและใหญ่ เท่ากับถูกดองไปโดยปริยาย
ช่วงระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นกว่าจะมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ ถือเป็นทั้งวิกฤตและโอกาสของนักการเมือง ด้านวิกฤตนักการเมืองตกงาน พรรคการเมืองทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ได้ ถูกกันออกในช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่าน ถือว่าเป็นผลกระทบที่รุนแรง
ด้านโอกาสในช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงที่ดี ที่พรรคการเมืองควรใช้ช่วงเวลานี้ในการปฏิรูปตัวเองให้เรียบร้อย สร้างและพัฒนาให้พรรคการเมืองเป็นสถาบันขึ้นมาเตรียมไว้สำหรับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น แต่ที่ผ่านมาแทบจะไม่เห็นมีพรรคใดปรับ ไม่เห็นมีพรรคใดเริ่มต้น
ผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่เราจะเห็นอีกในช่วงระยะเวลาที่ คสช.ยังต้องบริหารประเทศต่อไปนั้นคือ บรรดาคดีความต่างๆ ในทางการเมือง ทั้งคดีจำนำข้าวของคุณยิ่งลักษณ์ คดีของพรรคประชาธิปัตย์ คดีของเสื้อเหลือง คดีของเสื้อแดง เชื่อว่าน่าจะได้ข้อสรุปออกมา ถือว่าเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ
นอกจากนี้ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานออกไปสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ การเปลี่ยนแปลงในแต่ละพรรคการเมือง ทั้งประชาธิปัตย์และเพื่อไทย พรรคใหญ่อาจจะเริ่มเล็กลง ขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ของ คสช. และพรรคการเมืองเหล่านั้นจะยอมรับได้หรือไม่ และอาจเกิดพรรคการเมืองขั้วใหม่ขึ้นมา
ปชป.รับลำบากแต่เหนียวแน่น
นายวัชระ เพชรทอง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า แม้ระยะเวลาที่ยืดออกไปก่อนที่จะมีการเลือกตั้งนั้น ทางประชาธิปัตย์ไม่กระทบ ทุกวันนี้ก็ต้องลงไปพบปะพี่น้องประชาชนอยู่เป็นปกติ แม้จะไม่มีเงินเดือนเหมือนก่อน แต่เราเป็นนักการเมืองโดยสายเลือด ต้องดูแลประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย ทำหน้าที่เป็นปากเสียงแทนประชาชนตลอดเวลา
พร้อมทั้งกล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาว่า กติกาของประเทศยังไม่สมบูรณ์พอ จนต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ แม้ว่าระยะเวลาที่ยาวนานออกไปอาจทำให้มีสมาชิกในพรรคตัดสินใจเดินออกจากพรรคไปบ้าง แต่ถ้าเป็นสายเลือดของประชาธิปัตย์คงไม่ไปไหน เรายังเหนียวแน่นกันอยู่ เว้นแต่บางท่านที่อาจมีความจำเป็น
ยืดเวลาใช่ว่า คสช.สบาย
ขณะที่นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์รายหนึ่ง กล่าวว่า เรื่องร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกคว่ำไปนั้น ไม่น่าเป็นเรื่องความจงใจจาก คสช. เนื่องจากอยู่ในความรับผิดชอบของอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ซึ่งหลายฝ่ายไม่เห็นด้วยตั้งแต่แรกแล้ว
แน่นอนว่าก่อนจะมีการเลือกตั้งด้วยระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น ย่อมทำให้พรรคการเมืองทั้งหลายอ่อนแอลง แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องดีสำหรับ คสช. เพราะด้วยระยะเวลาที่นานขึ้น ก็เกิดข้อครหาว่าต้องการจะอยู่ต่อเพื่อสืบทอดอำนาจ เพราะทำให้ฝ่ายนักการเมืองเสียประโยชน์
คนในเพื่อไทยออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญนี้ตั้งแต่ยังไม่ลงมติ และหลังจากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านนักการเมืองจากพรรคเพื่อไทยต่างออกมาแสดงความคิดเห็นกันมากขึ้น จน คสช.ต้องมีการเชิญนายพิชัย นริพทพันธ์และนายการุณ โหสกุล เข้าไปปรับทัศนคติอีกรอบ นอกจากนี้ยังมีการออกมาตอบโต้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กันมากขึ้น เมื่อมีการพาดพิงถึงนโยบายรถคันแรกและจำนำข้าวของพรรคเพื่อไทยโดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
จะเห็นได้ว่าเมื่อยืดเวลาการเลือกตั้งออกไป คสช.ต้องเผชิญกับแรงกดดันจากอดีตนักการเมืองเหล่านี้มากขึ้น อีกทั้งต้องเตรียมรับมือกับนานาชาติ โดยเฉพาะชาติมหาอำนาจที่ท่องคัมภีร์ประชาธิปไตยบังหน้า แต่อาจมีประโยชน์ร่วมกับนักการเมืองบางพรรค อาจออกโรงมากดดันประเทศไทยมากขึ้น ที่ผ่านมาเราโดนทั้งเรื่องประมง เรื่องความปลอดภัยของสายการบินสัญชาติไทย โดนทั้งเรื่องอุยกูร์
นอกจากนี้ คสช.จะต้องพิสูจน์ในเรื่องของการบริหารเศรษฐกิจด้วย ด้านหนึ่งเป็นการให้โอกาสทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีที่เข้ามารับหน้าที่แทนทีมของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ให้มีระยะเวลาแก้ปัญหาและประคองเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้นหรือไม่แย่ลงไปกว่าเดิม เพราะแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจต้องใช้เวลา
แต่หากผลของการแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ดีขึ้น รากหญ้าที่เป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคเพื่อไทยที่เคยเงียบก็อาจลุกขึ้นมาเรียกร้องมากขึ้น นับเป็นการเข้าทางกับนักการเมืองที่ไม่ต้องออกหน้ามาถล่มรัฐบาลปัจจุบัน หากมีกลุ่มต่างๆ ออกมาเรียกร้องเรื่องปากท้องมากขึ้น นั่นคือแรงบีบสำคัญที่จะทำให้รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์อยู่ยากขึ้น
“ถือว่าไม่ง่ายกับการประคับประคองเศรษฐกิจในเวลานี้ เพราะสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ทั่วโลก กำลังซื้อในต่างประเทศหายไปมาก เห็นได้จากยอดส่งออกที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ทีมเศรษฐกิจชุดใหม่จะออกมาตรการฉีดเงินเข้าระบบ แต่ก็ถูกวิจารณ์ในเรื่องวิธีการที่เป็นไปในแนวทางประชานิยม ซึ่งตอนนี้เน้นไปที่การกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศระดับฐานรากเป็นหลัก หากทุกอย่างไม่เอื้ออำนวย ฟื้นเศรษฐกิจไม่ได้ แรงกดดันก็ตีกลับไปที่ คสช.”
ดังนั้นผลงานของทีมเศรษฐกิจชุดใหม่จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง หากไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องปากท้องของคนในประเทศไทย อายุงานของ คสช.ก็จะสั้นลง
พรรคใหญ่ยวบ-พรรคขั้วที่ 3 โต
สมาชิกของพรรคเพื่อไทยรายหนึ่งประเมินสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ว่า ยิ่ง คสช.อยู่นาน พรรคการเมืองใหญ่ยิ่งแย่ลง ในเพื่อไทยเองตอนนี้ก็ระส่ำระสาย ไม่รู้ว่าครั้งต่อไปนายใหญ่จะเลือกใครมาเป็นผู้นำทัพ เพราะคนในตระกูลชินวัตร ติดคดีเกือบทุกคน
ส่วนคนนอกที่มองกันว่ามีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกนั้น ต้องรอดูคดีสลายการชุมนุมพันธมิตรปี 2551 ที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นกำลังถูกดำเนินคดี และในคดีเดียวกันก็มีชื่อของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รวมอยู่ด้วย หากบิ๊กจิ๋วถูกดำเนินคดีด้วย ตัวเลือกที่มีอยู่จะหมดลง
ประการต่อมาสมาชิกหลายคนกังวลใจว่า หากเดินต่อไปในนามของพรรคเพื่อไทย ไม่รู้ว่าในอนาคตจะโดนเรื่องอะไรอีก เพราะพรรคนี้ถูกจับตาเป็นพิเศษจากทุกฝ่าย
สำคัญที่สุดคือการตัดสินใจของนายทักษิณ ชินวัตร ว่าจะสู้ต่อหรือไม่หรือว่าถอดใจ คุณทักษิณเป็นนักธุรกิจย่อมต้องประเมินออกว่าคุ้มหรือไม่กับการเดินต่อในทางการเมือง คนในตระกูลที่ถูกเลือกมาใช้งานติดคดีกันเกือบทุกคน รัฐธรรมนูญใหม่จะออกมาอย่างไร กำลังทรัพย์ที่มีพอหรือไม่ วันนี้แม้จะมีฐานเสียงที่ศรัทธาในเพื่อไทยอยู่ แต่ก็ลดน้อยลงไปมาก อีกทั้งกติกาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอาจทำให้ทางเดินในสายการเมืองของทักษิณ ไม่ราบรื่นเหมือนเดิม
สมาชิกในพรรคจำนวนหนึ่งที่เป็นนักการเมืองอาชีพ เริ่มหาทางเลือกใหม่ๆ กันบ้างแล้ว นั่นหมายถึงในอนาคตพรรคเพื่อไทยอาจได้ ส.ส.น้อยลง
เช่นเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์ก็มีปัญหาเช่นกัน ตั้งแต่มีการแยกทีมในช่วงปลายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เลือกเดินในระบบ สุเทพ เทือกสุบรรณและสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์จำนวนหนึ่งเลือกเคลื่อนไหวบนถนน อดีตเลขาธิการพรรคอย่างเฉลิมชัย ศรีอ่อน หรืออลงกรณ์ พลบุตร คงจะเดินร่วมกับประชาธิปัตย์ยาก
เมื่อ 2 พรรคใหญ่ต่างก็มีปัญหาในพรรค ดังนั้นอดีต ส.ส.ของแต่ละพรรคจึงมองหาทางเลือกที่ตรงกับความต้องการของตัวเอง อาจมีการย้ายสังกัดไปยังพรรคอื่นๆ
ทั้งนี้คงต้องรอดูองค์ประกอบอื่นอย่างเช่นสาระของรัฐธรรมนูญใหม่ที่จะร่างขึ้น หรือดูสภาพแวดล้อมในทางการเมืองว่าจะเป็นอย่างไร รวมไปถึงกระแสความนิยมจะเป็นไปในทางใด ดังนั้นคนที่เป็นนักเลือกตั้งมืออาชีพคงต้องรอบคอบในการตัดสินใจว่าจะเลือกเส้นทางใด
“ตอนนี้ทุกคนกำลังจับตาไปที่ตัวเลือกอื่นที่ไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งในทางการเมืองอย่างประชาธิปัตย์และเพื่อไทย นั่นคือพรรคการเมืองที่มีฐานใหญ่ที่นครราชสีมาอย่างสุวัจน์ ลิปตพัลลภ และที่บุรีรัมย์ฐานใหญ่ของพรรคภูมิใจไทย ที่เนวิน ชิดชอบ ยังคงมีบารมีและมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใหญ่ในบ้านเมืองนี้ จะเป็นตัวเลือกที่น่าจะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต แม้จะไม่ได้กลายมาเป็นแกนนำใหญ่มากนัก แต่จะมีพรรคอื่นที่พร้อมเข้ามาจับมือกันอย่างพรรคชาติไทยพัฒนาของบรรหาร ศิลปอาชา”
นี่จะเป็นขั้วการเมืองใหม่ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเลือกตั้งครั้งหน้า