นักเศรษฐศาสตร์ชี้บาทอ่อน ดันส่งออกไม่ขึ้น เหตุหลายปัจจัย ต่างประเทศกำลังซื้อหดจากวิกฤตเศรษฐกิจ บาทไทยอ่อนช้ากว่าหลายประเทศ ทำให้ไม่ได้เปรียบ หวั่นแรงงานกลุ่มส่งออกเผชิญมรสุมเลิกจ้าง ยอมรับโชคร้ายประเทศไทยโดนหลายเด้ง เลิกหวังกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศหลังติดกับดักประชานิยมจากนักการเมือง ขณะที่สถาบันอนาคตไทยศึกษาแนะเพิ่มน้ำหนักคู่ค้าประเทศลุ่มน้ำโขงแทน
กลายเป็นตัวเลขที่ทำเอาช็อกเมื่อกระทรวงพาณิชย์รายงานมูลค่าการส่งออกของไทยเดือนมิถุนายน 2558
เดือนมิถุนายน 2558 ลดลง 7.87% ต่ำสุดในรอบ 3 ปี 6 เดือน ขณะที่ยอดส่งออกในครึ่งแรกของปี 2558 ติดลบ 4.84% ในรูปสกุลดอลลาร์ แม้จะมีการชี้แจงสาเหตุของยอดส่งออกที่ลดลงในเดือนนี้ว่า เนื่องจากการส่งออกยานยนต์และส่วนประกอบหดตัวสูงจากการเปลี่ยนรุ่นรถกระบะ ซึ่งเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว สินค้าเกี่ยวข้องกับน้ำมันมีมูลค่าส่งออกต่ำตามราคาน้ำมัน และสินค้าเกษตรมีมูลค่าส่งออกต่ำตามราคาในตลาดโลก
ท่ามกลางค่าเงินบาทปัจจุบันที่เกือบจะแตะระดับ 35 บาทต่อดอลลาร์ โดยที่ค่าเงินบาทเริ่มอ่อนค่ามาตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน 2558 จากระดับ 32.60 บาทเป็นต้นมา
สูตรสำเร็จของการกระตุ้นการส่งออกในทุกประเทศจะทำให้ค่าเงินของประเทศตนเองอ่อนลง เพื่อจูงใจให้คู่ค้าหันมาซื้อสินค้ามากขึ้น เพราะราคาสินค้าจะถูกลงตามการแข็งค่าของประเทศผู้ซื้อ แต่ตัวเลขการส่งออกของไทยกลับไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง แต่กระทรวงพาณิชย์ยังคงหวังว่าค่าเงินบาทแนวโน้มอ่อนค่าลง จะช่วยส่งเสริมภาคการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง
ส่งออกไม่ฟื้น-หลากปัจจัย
“ตัวเลขการส่งออกที่ติดลบในช่วงครึ่งปีแรก อาจเป็นคำสั่งซื้อที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า ค่าเงินบาทที่อ่อนลงจึงอาจยังไม่ส่งผลบวกต่อภาคการส่งออก โดยอาจต้องใช้เวลาอีกระยะกว่าค่าเงินบาทจะส่งผลดีต่อการส่งออก” นางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดไทยกล่าว
อีกทั้งสินค้าบางรายการไม่ได้อ่อนไหวไปตามค่าเงิน และยังมีปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบต่อตัวเลขการส่งออกอีก เช่น ภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า รวมไปถึงราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ แม้จะส่งออกได้มากขึ้นแต่มูลค่าที่ได้รับย่อมน้อยลงตามค่าเงิน
นักเศรษฐศาสตร์รายนี้ยังกล่าวถึงผลกระทบจากค่าเงินบาทอ่อนเพิ่มเติมอีกว่า ในทางตรงกันข้ามค่าเงินบาทที่อ่อนลงย่อมทำให้ต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้น เช่น การนำเข้าพลังงานและวัตถุดิบจากต่างประเทศหรือเครื่องจักร แต่ยังโชคดีที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงมามาก ทำให้ภาระของผู้นำเข้าไม่เพิ่มมากนัก
อีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อน คือการเคลื่อนย้ายเงินทุนกลับของนักลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนไว้ทั้งในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดซื้อขายพันธบัตรไทย โดยมีแรงขายของนักลงทุนต่างประเทศมากขึ้นในเดือนกรกฎาคม เฉพาะในตลาดหุ้นนักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิในเดือนกรกฎาคม 2.93 หมื่นล้านบาท รวมตั้งแต่ต้นปีขายสุทธิ 4.49 หมื่นล้านบาท
ระยะที่ผ่านมานักลงทุนต่างประเทศจะใช้การกู้เงินสกุลยูโร แล้วเข้ามาลงทุนในประเทศแถบเอเชีย หากมีการถอนเงินกลับ ก็จำเป็นต้องเทขายสินทรัพย์ที่ลงทุนไปก่อนหน้านี้ออกมา
“ยังโชคดีที่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนต่างประเทศมีการลงทุนในตลาดหุ้นและพันธบัตรไม่มากนัก เนื่องจากไปเน้นลงทุนหุ้นที่อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ส่วนพันธบัตรเน้นที่อินโดนีเซียและมาเลเซีย ดังนั้นประเทศไทยยังมีความเสี่ยงในเรื่องเงินทุนไหลออกฉับพลันน้อยกว่าประเทศอื่น”
เป็นทุกประเทศ
ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ได้สรุปสาเหตุที่การส่งออกของไทยหดตัวตั้งแต่ต้นปี 2558 พบว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลกและตลาดคู่ค้าหลักในปัจจุบันที่ชะลอตัว จากตัวเลขในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2558 โดยเฉพาะสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ส่งผลให้การนำเข้าของเกือบทุกประเทศทั่วโลกยังคงหดตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเข้าของประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ ญี่ปุ่น -21.2% จีน -21.0% ฝรั่งเศส -19.2% เกาหลีใต้ -16.0% สหราชอาณาจักร -8.6% สหรัฐฯ -3.9%
ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงชะลอตัวลง โดยในเดือนมิถุนายน 2558 ลดลงถึงร้อยละ -42.8 เทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2557 ส่งผลกระทบต่อมูลค่าส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ได้แก่ น้ามันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก แต่อย่างไรก็ดี ปริมาณการส่งออกน้ำมันยังคงขยายตัวสูงถึงร้อยละ 28.5
ราคาสินค้าเกษตรโลกปรับตัวลดลงมาก ทำให้มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรลดลง โดยเฉพาะยางพาราและน้ำตาลทราย ขณะที่ปริมาณการส่งออกยังคงขยายตัวร้อยละ 22.3 และ 6.4
การแข็งค่าของเงินบาทและการลดลงของค่าเงินของประเทศผู้ผลิตสำคัญ ส่งผลต่อราคาส่งออกสินค้าไทยและราคาสินค้าสำคัญในตลาดโลก โดยค่าเงินบาทนับตั้งแต่ต้นปี 2558 มีทิศทางแข็งค่าเมื่อเทียบกับคู่ค้าคู่แข่งเนื่องจากหลายประเทศมีการใช้นโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
การหดตัวของการส่งออกสินค้ากลุ่มรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ซึ่งเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว เนื่องจากอยู่ในช่วงการเปลี่ยนรุ่นรถกระบะ ขณะที่การส่งออกรถยนต์นั่ง และส่วนประกอบรถยนต์ยังคงขยายตัว คาดว่าการส่งออกสินค้ากลุ่มรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จะกลับมาขยายตัวได้ดีในช่วงไตรมาสที่ 3-4 ของปี 2558 โดยอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ เริ่มมีสัญญาณการขยายตัวที่ดีขึ้นจากการที่มูลค่านำเข้าสินค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ที่กลับมาขยายตัวในเดือนมิถุนายน 2558 ที่ร้อยละ 6.6
อย่างไรก็ตามอัตราการหดตัวของมูลค่าส่งออกของไทยยังจัดว่าอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยสถิติส่งออกล่าสุดถึงเดือนพฤษภาคม 2558 เกือบทุกประเทศทั่วโลกมีอัตราการขยายตัวของการส่งออกติดลบมากกว่าไทย อาทิ ออสเตรเลีย -21.9% ฝรั่งเศส -16.8% สิงคโปร์ -13.3% มาเลเซีย -13.1% ญี่ปุ่น -7.8% เกาหลีใต้ -5.7% สหรัฐฯ -5.2%
บาทอ่อน-ส่ง(ไม่)ออก
นักเศรษฐศาสตร์อีกรายกล่าวว่า สำหรับประเทศไทยแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลานี้ถือว่าสาหัสมากกับภาวะเศรษฐกิจ ตัวเลขการส่งออกที่ลดลงไปนั้นยิ่งจะทำให้แนวทางที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยทำได้ยากขึ้นไปอีก เพราะค่าเงินบาทอ่อนไม่ได้ช่วยให้ภาคการส่งออกดีขึ้นเหมือนในอดีต
แม้ว่าไทยจะพยายามทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงทั้งจากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการผ่อนคลายมาตรการเคลื่อนย้ายเงินทุนของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่เราทำช้ากว่าหลายประเทศ นั่นคือค่าเงินหลายประเทศอ่อนมาก่อนหน้าเราหลายเดือน เมื่อเราทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงจึงไม่เกิดผลบวกในด้านตัวเลขการส่งออก
อีกทั้งสินค้าหลายรายการราคาในตลาดโลกปรับลดลง อย่างเช่น น้ำมัน ทองคำ ที่ไทยก็ส่งออกไปต่างประเทศด้วยเช่นกัน หรือสินค้าเกษตร ในหลายรายการเราส่งออกได้มากขึ้นในแง่ปริมาณ แต่ลดลงในรูปมูลค่า
หากพิจารณาเฉพาะปัจจัยจากต่างประเทศตอนนี้คู่ค้าสำคัญของไทยเจอปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจทั้งสิ้น แม้ราคาสินค้าจะลดลงด้วยผลของค่าเงิน แต่ไม่ได้ช่วยให้การส่งออกของไทยดีขึ้นมากนัก และที่ผ่านมาเราพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก เมื่อเศรษฐกิจโลกตกต่ำลงการจะปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขในระยะเวลาอันสั้นจึงทำได้ยาก
อีกทั้งสินค้าออกของไทยในหลายรายการเรามีคู่แข่งไม่น้อย ในแง่ของผู้ซื้อเมื่อสินค้าจากเราแพงก็เปลี่ยนไปซื้อสินค้าราคาที่ต่ำกว่าจากไทย รวมถึงวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศคู่ค้าย่อมทำให้ความต้องการซื้อสินค้าลดน้อยลงตามไปด้วย
เมื่อตลาดส่งออกไม่ดี การจะหันกลับมากระตุ้นเศรษฐกิจจากภายในประเทศ เราก็ทำได้ลำบาก อย่างที่ทราบกำลังซื้อของคนในประเทศถูกล็อกด้วยนโยบายประชานิยมของรัฐบาลชุดก่อน รวมไปถึงต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท จนโรงงานหลายแห่งปิดตัวลง ย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน บวกด้วยค่าครองชีพที่สูงขึ้น หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ทำให้การจะใช้แนวทางนี้กระตุ้นเศรษฐกิจทำได้ยากเช่นกัน
อาจจะยังมีช่องทางที่เหลืออย่างเช่นเรื่องการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาประเทศไทย แต่เราก็เจอปัญหาเรื่องของมาตรฐานการบินที่ถูกลดระดับลง จนบางประเทศจำกัดเที่ยวบินและไม่อนุญาตให้สายการบินที่จดทะเบียนในประเทศไทยบินเข้าประเทศ เช่น เครื่องบินเช่าเหมาลำ หากเราถูกลงโทษถึงขั้นห้ามทุกสายการบินจากไทยเข้าในหลายประเทศ ยิ่งจะทำให้ทุกอย่างแย่ลงกว่าที่เป็นอยู่
แรงงานกลุ่มส่งออก-เสี่ยง
สิ่งที่จะตามมาจากภาวการณ์ส่งออกที่หดตัวนั่นคือภาวะดุลการค้าของไทยที่อาจจะขาดดุลมากขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายก็จะไปกดให้ค่าเงินบาทอ่อนลงไปอีก เมื่อส่งออกได้น้อยลงผู้ผลิตอาจประสบปัญหาด้านรายได้ ย่อมต้องหันมาลดต้นทุนเพื่อประคองให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไป ต้นทุนค่าแรงที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญย่อมต้องถูกปรับลด โบนัส การทำงานล่วงเวลา ย่อมเป็นสิ่งแรกที่พนักงานในอุตสาหกรรมเหล่านี้ต้องเผชิญ หากเลวร้ายกว่านั้นถือเป็นการปิดกิจการนั่นคือเกิดภาวการณ์เลิกจ้างขึ้นมา พนักงานที่ทำงานในอุตสาหกรรมเหล่านี้จึงต้องเผชิญกับความเสี่ยง เห็นได้จากโรงงานซัมซุงที่นครราชสีมาได้ปิดกิจการไป
ตรงนี้จะทำให้กำลังซื้อภายในประเทศหายไปอีกส่วนหนึ่ง รวมไปถึงฐานธุรกิจ SME ที่มีกว่า 2.9 ล้านราย เจอทั้งกำลังซื้อภายในประเทศและต่างประเทศที่ลดลง ย่อมประสบปัญหาเรื่องสภาพคล่องแน่ ขณะที่การพิจารณาของธนาคารพาณิชย์ในระยะนี้มีความเข้มงวดมาก ตรงนี้รัฐบาลต้องเร่งเข้ามาช่วยเหลือ
“ยอมรับว่าสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในเวลานี้แก้ไขยากมาก เพราะประเทศคู่ค้าประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ ในประเทศเราขยับทุกอย่างยาก เพราะฐานใหญ่อย่างกลุ่มเกษตรกรเจอทั้งราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เจอเรื่องภัยแล้งไม่สามารถเพาะปลูกได้”
นอกจากนี้ค่าเงินบาทมีสิทธิ์ที่จะอ่อนลงได้อีกจากการเคลื่อนย้ายเงินทุน ยอดขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติหรืออัตราผลตอบแทนจากพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น หลังจากที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวและอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ทำให้มีเงินทุนจำนวนไม่น้อยไหลกลับไปยังสหรัฐฯ
ผลที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุน หากเป็นในส่วนของตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร จะกระทบคือกลุ่มนักลงทุน ไม่ลงไปถึงกลุ่มอื่นๆ อีกกลุ่มจะเป็นกลุ่มนำเข้า รวมถึงกลุ่มที่มีภาระหนี้เป็นสกุลดอลลาร์ ที่ต้องหาทางลดความผันผวนจากค่าเงิน
แนะเพิ่มน้ำหนัก “ลุ่มน้ำโขง”
ขณะที่ผลการศึกษาเรื่อง “เศรษฐกิจไทยภายใต้บริบทใหม่” ของสถาบันอนาคตไทยศึกษา พบว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวอย่างช้าๆ ในอัตราที่ต่ำลง และช้าลงกว่าเมื่อก่อน เพราะเรากำลังเข้าสู่บริบทใหม่ เช่น เศรษฐกิจไทยจากที่เคยโตเฉลี่ย 5% ในทศวรรษนี้จะเฉลี่ยเหลือ 3% ต่อปีเท่านั้น งบประมาณจากที่เคยใช้งบประชานิยมได้เต็มที่ก็กลายเป็นรัฐที่ต้องรัดเข็มขัดมากขึ้น ทิศทางการลงทุนจะเปลี่ยนไปจากเงินลงทุน “จาก” ต่างประเทศ ก็เปลี่ยนเป็นนำเงินลงทุน “ไปยัง” ต่างประเทศมากขึ้น
ด้วยโครงสร้างที่เปลี่ยนไปและทำให้เกิดบริบทใหม่ คือการส่งออกที่ชะลอตัว หลายฝ่ายเชื่อว่าเกิดจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้คิดไปว่าน่าจะเกิดขึ้นชั่วคราว แต่ความจริงการส่งออกมีปัญหาเชิงโครงสร้าง ด้วยรูปแบบการค้าโลกก็เปลี่ยนไป ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะกลับมาโตเท่าเดิมก็จะไม่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นมากเหมือนก่อน นอกจากนี้ยังเจอสภาพการแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้าน และปัจจัยเฉพาะของประเทศ เช่น ปัญหาค่าแรง ทำให้ภาคส่งออกที่เคยโต 12% ต่อไปก็จะเหลือไม่ถึง 4% ต่อปีในทศวรรษนี้
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันอนาคตไทยศึกษา กล่าวว่า ลุ่มแม่น้ำโขงเป็นพื้นที่ที่เติบโตเร็วมาก ส่วนไทยเองก็มีบทบาทสำคัญในพื้นที่นี้ เราส่งออกสินค้าไปที่กัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม ด้วยมูลค่ามากใกล้เคียงกับที่ส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นแล้ว
นี่คือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย แม้ค่าเงินบาทจะอ่อนลงไปเกือบแตะระดับ 35 บาทต่อดอลลาร์ แต่กลับไม่สามารถสร้างผลเชิงบวกในทางการค้าได้ อีกทั้งแนวทางในการแก้ไขยังเต็มไปด้วยอุปสรรคทั้งจากกำลังซื้อในต่างประเทศที่ลดน้อยลง และกำลังซื้อในประเทศที่ติดกับนโยบายประชานิยมของนักการเมืองในช่วงที่ผ่านมา กลายเป็นภาระที่รัฐบาลปัจจุบันต้องเข้ามาแบกรับที่สามารถทำได้เพียงประคองสถานการณ์ที่เป็นอยู่เท่านั้น
กลายเป็นตัวเลขที่ทำเอาช็อกเมื่อกระทรวงพาณิชย์รายงานมูลค่าการส่งออกของไทยเดือนมิถุนายน 2558
เดือนมิถุนายน 2558 ลดลง 7.87% ต่ำสุดในรอบ 3 ปี 6 เดือน ขณะที่ยอดส่งออกในครึ่งแรกของปี 2558 ติดลบ 4.84% ในรูปสกุลดอลลาร์ แม้จะมีการชี้แจงสาเหตุของยอดส่งออกที่ลดลงในเดือนนี้ว่า เนื่องจากการส่งออกยานยนต์และส่วนประกอบหดตัวสูงจากการเปลี่ยนรุ่นรถกระบะ ซึ่งเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว สินค้าเกี่ยวข้องกับน้ำมันมีมูลค่าส่งออกต่ำตามราคาน้ำมัน และสินค้าเกษตรมีมูลค่าส่งออกต่ำตามราคาในตลาดโลก
ท่ามกลางค่าเงินบาทปัจจุบันที่เกือบจะแตะระดับ 35 บาทต่อดอลลาร์ โดยที่ค่าเงินบาทเริ่มอ่อนค่ามาตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน 2558 จากระดับ 32.60 บาทเป็นต้นมา
สูตรสำเร็จของการกระตุ้นการส่งออกในทุกประเทศจะทำให้ค่าเงินของประเทศตนเองอ่อนลง เพื่อจูงใจให้คู่ค้าหันมาซื้อสินค้ามากขึ้น เพราะราคาสินค้าจะถูกลงตามการแข็งค่าของประเทศผู้ซื้อ แต่ตัวเลขการส่งออกของไทยกลับไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง แต่กระทรวงพาณิชย์ยังคงหวังว่าค่าเงินบาทแนวโน้มอ่อนค่าลง จะช่วยส่งเสริมภาคการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง
ส่งออกไม่ฟื้น-หลากปัจจัย
“ตัวเลขการส่งออกที่ติดลบในช่วงครึ่งปีแรก อาจเป็นคำสั่งซื้อที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า ค่าเงินบาทที่อ่อนลงจึงอาจยังไม่ส่งผลบวกต่อภาคการส่งออก โดยอาจต้องใช้เวลาอีกระยะกว่าค่าเงินบาทจะส่งผลดีต่อการส่งออก” นางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดไทยกล่าว
อีกทั้งสินค้าบางรายการไม่ได้อ่อนไหวไปตามค่าเงิน และยังมีปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบต่อตัวเลขการส่งออกอีก เช่น ภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า รวมไปถึงราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ แม้จะส่งออกได้มากขึ้นแต่มูลค่าที่ได้รับย่อมน้อยลงตามค่าเงิน
นักเศรษฐศาสตร์รายนี้ยังกล่าวถึงผลกระทบจากค่าเงินบาทอ่อนเพิ่มเติมอีกว่า ในทางตรงกันข้ามค่าเงินบาทที่อ่อนลงย่อมทำให้ต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้น เช่น การนำเข้าพลังงานและวัตถุดิบจากต่างประเทศหรือเครื่องจักร แต่ยังโชคดีที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงมามาก ทำให้ภาระของผู้นำเข้าไม่เพิ่มมากนัก
อีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อน คือการเคลื่อนย้ายเงินทุนกลับของนักลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนไว้ทั้งในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดซื้อขายพันธบัตรไทย โดยมีแรงขายของนักลงทุนต่างประเทศมากขึ้นในเดือนกรกฎาคม เฉพาะในตลาดหุ้นนักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิในเดือนกรกฎาคม 2.93 หมื่นล้านบาท รวมตั้งแต่ต้นปีขายสุทธิ 4.49 หมื่นล้านบาท
ระยะที่ผ่านมานักลงทุนต่างประเทศจะใช้การกู้เงินสกุลยูโร แล้วเข้ามาลงทุนในประเทศแถบเอเชีย หากมีการถอนเงินกลับ ก็จำเป็นต้องเทขายสินทรัพย์ที่ลงทุนไปก่อนหน้านี้ออกมา
“ยังโชคดีที่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนต่างประเทศมีการลงทุนในตลาดหุ้นและพันธบัตรไม่มากนัก เนื่องจากไปเน้นลงทุนหุ้นที่อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ส่วนพันธบัตรเน้นที่อินโดนีเซียและมาเลเซีย ดังนั้นประเทศไทยยังมีความเสี่ยงในเรื่องเงินทุนไหลออกฉับพลันน้อยกว่าประเทศอื่น”
เป็นทุกประเทศ
ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ได้สรุปสาเหตุที่การส่งออกของไทยหดตัวตั้งแต่ต้นปี 2558 พบว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลกและตลาดคู่ค้าหลักในปัจจุบันที่ชะลอตัว จากตัวเลขในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2558 โดยเฉพาะสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ส่งผลให้การนำเข้าของเกือบทุกประเทศทั่วโลกยังคงหดตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเข้าของประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ ญี่ปุ่น -21.2% จีน -21.0% ฝรั่งเศส -19.2% เกาหลีใต้ -16.0% สหราชอาณาจักร -8.6% สหรัฐฯ -3.9%
ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงชะลอตัวลง โดยในเดือนมิถุนายน 2558 ลดลงถึงร้อยละ -42.8 เทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2557 ส่งผลกระทบต่อมูลค่าส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ได้แก่ น้ามันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก แต่อย่างไรก็ดี ปริมาณการส่งออกน้ำมันยังคงขยายตัวสูงถึงร้อยละ 28.5
ราคาสินค้าเกษตรโลกปรับตัวลดลงมาก ทำให้มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรลดลง โดยเฉพาะยางพาราและน้ำตาลทราย ขณะที่ปริมาณการส่งออกยังคงขยายตัวร้อยละ 22.3 และ 6.4
การแข็งค่าของเงินบาทและการลดลงของค่าเงินของประเทศผู้ผลิตสำคัญ ส่งผลต่อราคาส่งออกสินค้าไทยและราคาสินค้าสำคัญในตลาดโลก โดยค่าเงินบาทนับตั้งแต่ต้นปี 2558 มีทิศทางแข็งค่าเมื่อเทียบกับคู่ค้าคู่แข่งเนื่องจากหลายประเทศมีการใช้นโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
การหดตัวของการส่งออกสินค้ากลุ่มรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ซึ่งเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว เนื่องจากอยู่ในช่วงการเปลี่ยนรุ่นรถกระบะ ขณะที่การส่งออกรถยนต์นั่ง และส่วนประกอบรถยนต์ยังคงขยายตัว คาดว่าการส่งออกสินค้ากลุ่มรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จะกลับมาขยายตัวได้ดีในช่วงไตรมาสที่ 3-4 ของปี 2558 โดยอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ เริ่มมีสัญญาณการขยายตัวที่ดีขึ้นจากการที่มูลค่านำเข้าสินค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ที่กลับมาขยายตัวในเดือนมิถุนายน 2558 ที่ร้อยละ 6.6
อย่างไรก็ตามอัตราการหดตัวของมูลค่าส่งออกของไทยยังจัดว่าอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยสถิติส่งออกล่าสุดถึงเดือนพฤษภาคม 2558 เกือบทุกประเทศทั่วโลกมีอัตราการขยายตัวของการส่งออกติดลบมากกว่าไทย อาทิ ออสเตรเลีย -21.9% ฝรั่งเศส -16.8% สิงคโปร์ -13.3% มาเลเซีย -13.1% ญี่ปุ่น -7.8% เกาหลีใต้ -5.7% สหรัฐฯ -5.2%
บาทอ่อน-ส่ง(ไม่)ออก
นักเศรษฐศาสตร์อีกรายกล่าวว่า สำหรับประเทศไทยแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลานี้ถือว่าสาหัสมากกับภาวะเศรษฐกิจ ตัวเลขการส่งออกที่ลดลงไปนั้นยิ่งจะทำให้แนวทางที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยทำได้ยากขึ้นไปอีก เพราะค่าเงินบาทอ่อนไม่ได้ช่วยให้ภาคการส่งออกดีขึ้นเหมือนในอดีต
แม้ว่าไทยจะพยายามทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงทั้งจากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการผ่อนคลายมาตรการเคลื่อนย้ายเงินทุนของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่เราทำช้ากว่าหลายประเทศ นั่นคือค่าเงินหลายประเทศอ่อนมาก่อนหน้าเราหลายเดือน เมื่อเราทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงจึงไม่เกิดผลบวกในด้านตัวเลขการส่งออก
อีกทั้งสินค้าหลายรายการราคาในตลาดโลกปรับลดลง อย่างเช่น น้ำมัน ทองคำ ที่ไทยก็ส่งออกไปต่างประเทศด้วยเช่นกัน หรือสินค้าเกษตร ในหลายรายการเราส่งออกได้มากขึ้นในแง่ปริมาณ แต่ลดลงในรูปมูลค่า
หากพิจารณาเฉพาะปัจจัยจากต่างประเทศตอนนี้คู่ค้าสำคัญของไทยเจอปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจทั้งสิ้น แม้ราคาสินค้าจะลดลงด้วยผลของค่าเงิน แต่ไม่ได้ช่วยให้การส่งออกของไทยดีขึ้นมากนัก และที่ผ่านมาเราพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก เมื่อเศรษฐกิจโลกตกต่ำลงการจะปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขในระยะเวลาอันสั้นจึงทำได้ยาก
อีกทั้งสินค้าออกของไทยในหลายรายการเรามีคู่แข่งไม่น้อย ในแง่ของผู้ซื้อเมื่อสินค้าจากเราแพงก็เปลี่ยนไปซื้อสินค้าราคาที่ต่ำกว่าจากไทย รวมถึงวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศคู่ค้าย่อมทำให้ความต้องการซื้อสินค้าลดน้อยลงตามไปด้วย
เมื่อตลาดส่งออกไม่ดี การจะหันกลับมากระตุ้นเศรษฐกิจจากภายในประเทศ เราก็ทำได้ลำบาก อย่างที่ทราบกำลังซื้อของคนในประเทศถูกล็อกด้วยนโยบายประชานิยมของรัฐบาลชุดก่อน รวมไปถึงต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท จนโรงงานหลายแห่งปิดตัวลง ย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน บวกด้วยค่าครองชีพที่สูงขึ้น หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ทำให้การจะใช้แนวทางนี้กระตุ้นเศรษฐกิจทำได้ยากเช่นกัน
อาจจะยังมีช่องทางที่เหลืออย่างเช่นเรื่องการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาประเทศไทย แต่เราก็เจอปัญหาเรื่องของมาตรฐานการบินที่ถูกลดระดับลง จนบางประเทศจำกัดเที่ยวบินและไม่อนุญาตให้สายการบินที่จดทะเบียนในประเทศไทยบินเข้าประเทศ เช่น เครื่องบินเช่าเหมาลำ หากเราถูกลงโทษถึงขั้นห้ามทุกสายการบินจากไทยเข้าในหลายประเทศ ยิ่งจะทำให้ทุกอย่างแย่ลงกว่าที่เป็นอยู่
แรงงานกลุ่มส่งออก-เสี่ยง
สิ่งที่จะตามมาจากภาวการณ์ส่งออกที่หดตัวนั่นคือภาวะดุลการค้าของไทยที่อาจจะขาดดุลมากขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายก็จะไปกดให้ค่าเงินบาทอ่อนลงไปอีก เมื่อส่งออกได้น้อยลงผู้ผลิตอาจประสบปัญหาด้านรายได้ ย่อมต้องหันมาลดต้นทุนเพื่อประคองให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไป ต้นทุนค่าแรงที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญย่อมต้องถูกปรับลด โบนัส การทำงานล่วงเวลา ย่อมเป็นสิ่งแรกที่พนักงานในอุตสาหกรรมเหล่านี้ต้องเผชิญ หากเลวร้ายกว่านั้นถือเป็นการปิดกิจการนั่นคือเกิดภาวการณ์เลิกจ้างขึ้นมา พนักงานที่ทำงานในอุตสาหกรรมเหล่านี้จึงต้องเผชิญกับความเสี่ยง เห็นได้จากโรงงานซัมซุงที่นครราชสีมาได้ปิดกิจการไป
ตรงนี้จะทำให้กำลังซื้อภายในประเทศหายไปอีกส่วนหนึ่ง รวมไปถึงฐานธุรกิจ SME ที่มีกว่า 2.9 ล้านราย เจอทั้งกำลังซื้อภายในประเทศและต่างประเทศที่ลดลง ย่อมประสบปัญหาเรื่องสภาพคล่องแน่ ขณะที่การพิจารณาของธนาคารพาณิชย์ในระยะนี้มีความเข้มงวดมาก ตรงนี้รัฐบาลต้องเร่งเข้ามาช่วยเหลือ
“ยอมรับว่าสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในเวลานี้แก้ไขยากมาก เพราะประเทศคู่ค้าประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ ในประเทศเราขยับทุกอย่างยาก เพราะฐานใหญ่อย่างกลุ่มเกษตรกรเจอทั้งราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เจอเรื่องภัยแล้งไม่สามารถเพาะปลูกได้”
นอกจากนี้ค่าเงินบาทมีสิทธิ์ที่จะอ่อนลงได้อีกจากการเคลื่อนย้ายเงินทุน ยอดขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติหรืออัตราผลตอบแทนจากพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น หลังจากที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวและอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ทำให้มีเงินทุนจำนวนไม่น้อยไหลกลับไปยังสหรัฐฯ
ผลที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุน หากเป็นในส่วนของตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร จะกระทบคือกลุ่มนักลงทุน ไม่ลงไปถึงกลุ่มอื่นๆ อีกกลุ่มจะเป็นกลุ่มนำเข้า รวมถึงกลุ่มที่มีภาระหนี้เป็นสกุลดอลลาร์ ที่ต้องหาทางลดความผันผวนจากค่าเงิน
แนะเพิ่มน้ำหนัก “ลุ่มน้ำโขง”
ขณะที่ผลการศึกษาเรื่อง “เศรษฐกิจไทยภายใต้บริบทใหม่” ของสถาบันอนาคตไทยศึกษา พบว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวอย่างช้าๆ ในอัตราที่ต่ำลง และช้าลงกว่าเมื่อก่อน เพราะเรากำลังเข้าสู่บริบทใหม่ เช่น เศรษฐกิจไทยจากที่เคยโตเฉลี่ย 5% ในทศวรรษนี้จะเฉลี่ยเหลือ 3% ต่อปีเท่านั้น งบประมาณจากที่เคยใช้งบประชานิยมได้เต็มที่ก็กลายเป็นรัฐที่ต้องรัดเข็มขัดมากขึ้น ทิศทางการลงทุนจะเปลี่ยนไปจากเงินลงทุน “จาก” ต่างประเทศ ก็เปลี่ยนเป็นนำเงินลงทุน “ไปยัง” ต่างประเทศมากขึ้น
ด้วยโครงสร้างที่เปลี่ยนไปและทำให้เกิดบริบทใหม่ คือการส่งออกที่ชะลอตัว หลายฝ่ายเชื่อว่าเกิดจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้คิดไปว่าน่าจะเกิดขึ้นชั่วคราว แต่ความจริงการส่งออกมีปัญหาเชิงโครงสร้าง ด้วยรูปแบบการค้าโลกก็เปลี่ยนไป ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะกลับมาโตเท่าเดิมก็จะไม่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นมากเหมือนก่อน นอกจากนี้ยังเจอสภาพการแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้าน และปัจจัยเฉพาะของประเทศ เช่น ปัญหาค่าแรง ทำให้ภาคส่งออกที่เคยโต 12% ต่อไปก็จะเหลือไม่ถึง 4% ต่อปีในทศวรรษนี้
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันอนาคตไทยศึกษา กล่าวว่า ลุ่มแม่น้ำโขงเป็นพื้นที่ที่เติบโตเร็วมาก ส่วนไทยเองก็มีบทบาทสำคัญในพื้นที่นี้ เราส่งออกสินค้าไปที่กัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม ด้วยมูลค่ามากใกล้เคียงกับที่ส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นแล้ว
นี่คือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย แม้ค่าเงินบาทจะอ่อนลงไปเกือบแตะระดับ 35 บาทต่อดอลลาร์ แต่กลับไม่สามารถสร้างผลเชิงบวกในทางการค้าได้ อีกทั้งแนวทางในการแก้ไขยังเต็มไปด้วยอุปสรรคทั้งจากกำลังซื้อในต่างประเทศที่ลดน้อยลง และกำลังซื้อในประเทศที่ติดกับนโยบายประชานิยมของนักการเมืองในช่วงที่ผ่านมา กลายเป็นภาระที่รัฐบาลปัจจุบันต้องเข้ามาแบกรับที่สามารถทำได้เพียงประคองสถานการณ์ที่เป็นอยู่เท่านั้น