รัฐบาล “ประยุทธ์” พลิกเกมเข้าหาจุดแข็งเดิม เน้นปราบคอร์รัปชัน หลังพยายามปั๊มฟื้นเศรษฐกิจแต่เลือนราง ดัชนีทุกตัวชี้ชัดไม่ฟื้น เน้นเป้าใหญ่บุกรุกที่ป่า เปิดตัวด้วย “โบนันซ่า” เตรียมลงตรวจสอบอีกหลายพื้นที่ ชี้งานนี้ได้ใจคน เชียร์ลุยต่อ เป็นผลงานที่จับต้องได้ ดันเป็นผลงานรัฐบาลรอบ 6 เดือน
ยิ่งใกล้วันแถลงผลงานรอบ 6 เดือนของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในวันที่ 17 เมษายนที่จะถึงนี้ ดูเหมือนสิ่งที่เห็นชัดที่สุดนับตั้งแต่การเข้ายึดอำนาจเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 นั่นคือการหยุดยั้งโอกาสที่กลุ่มการเมืองทั้ง 2 ฝ่ายจะเกิดการปะทะกัน บ้านเมืองสงบเรียบร้อย รวมไปถึงการถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่ค้างมาตั้งแต่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย
นับเป็นปัญหาสำหรับทุกรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศภายหลังการยึดอำนาจ ความบอบช้ำที่เกิดขึ้นจากการต่อสู้กันทางการเมืองรวมไปถึงสภาพเศรษฐกิจที่ชะงักงันตลอดช่วงที่มีการมีการต่อสู้กัน ทำให้ช่วงเวลาสั้นๆ ของการเข้ามาคั่นกลางก่อนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ภาวะปกติของระบอบประชาธิปไตยนั้น ยากต่อการสร้างผลงานที่ชัดเจน
ทุกรัฐบาลยังคงให้ความสำคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ข้อจำกัดเรื่องเวลาและบุคลากรที่มีความสามารถยังเป็นอุปสรรคใหญ่ ทำให้แผนที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นขึ้นมาจากเดิมทำได้ไม่ง่ายนัก อีกทั้งเศรษฐกิจทั่วโลกยังประสบปัญหาซบเซา
ขณะที่โครงการเมกะโปรเจกต์ ที่รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ให้ความสำคัญหวังว่าจะเป็นตัวกระตุ้นให้เศรษฐกิจของไทยเดินหน้าต่อไปได้จากเม็ดเงินของภาครัฐ แต่โครงการดังกล่าวยังเป็นการสานต่อจากนโยบายที่มีอยู่เดิมทั้งส่วนของรถไฟฟ้าและรถไฟชานเมือง มีปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมบ้างเล็กน้อย และต้องใช้เวลาอีกนาน
ส่วนการปรับโครงสร้างพลังงาน ถือเป็นการปรับลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน และลดภาษีของน้ำมันบางชนิดเพื่อความเท่าเทียม ทำให้ราคาน้ำมันปรับลดลงโดยเฉพาะกลุ่มน้ำมันเบนซินปรับลดลงราว 10 บาทต่อลิตร แลกกับการลดการอุดหนุนราคาแก๊สทั้ง LPG และ NGV
ทุกดัชนีชี้เศรษฐกิจถดถอย
อีกทั้งการเข้ามาของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ต่อจากพรรคเพื่อไทยนั้น 2 เรื่องใหญ่ที่พลเอกประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี ต้องเข้ามาแก้ปัญหาคือกำลังซื้อที่หายไปจากโครงการรถยนต์คันแรกที่มีผู้ใช้สิทธิ์ตามโครงการกว่าล้านคัน ตามมาด้วยการไม่สานต่อโครงการรับจำนำข้าวที่พรรคเพื่อไทยรับซื้อในราคาที่สูงกว่าตลาดและไม่สามารถระบายออกไปได้ จนทำให้เกิดความเสียหายกับประเทศเป็นจำนวนมาก ประกอบกับการบังคับใช้ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ทำให้ราคาสินค้าต่างๆ กลับเพิ่มขึ้นกันถ้วนหน้า
เมื่อทั้งคนชนชั้นกลางต้องมีภาระผ่อนรถยนต์และกลุ่มรากหญ้ารายได้จากการจำนำข้าวได้น้อยกว่าเดิม ช่วงรอยต่อดังกล่าวไม่ว่ารัฐบาลไหนจะเข้ามาก็หาทางแก้ลำบากภายใต้ระยะเวลาอันสั้น ผลพวงดังกล่าวยังทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจแทบทุกตัวออกมาในด้านลบต่อรัฐบาล
ตัวเลขหรือดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจแทบทุกตัวออกมาไม่ดี อย่างเงินเฟ้อ 3 เดือนแรกของปี 2558 ติดลบ 0.52% จนเกิดความกังวลว่าอาจเกิดภาวะเงินฝืด แต่หากพิจารณาแล้ว สถานการณ์ในขณะนี้ยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด การติดลบของเงินเฟ้อนั้นเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ลดลง การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนยังเป็นปกติ แต่ไม่ได้เพิ่มขึ้นเท่านั้น ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากภาระทั้งจากราคาสินค้าที่ขยับขึ้น หนี้สินที่มีหรือบางกลุ่ม เช่น เกษตรกรที่มีรายได้น้อยลงจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
โดยก่อนหน้านี้ตัวเลขการส่งออกของไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ติดลบร้อยละ 6.14 สูงที่สุดตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2557 ที่ติดลบร้อยละ 7.4 นับเป็นการถดถอยมากที่สุดในรอบ 6 เดือน ทั้งจากภาวะราคาสินค้าเกษตรตกต่ำและกำลังซื้อของประเทศต่างๆ ยังไม่ฟื้นตัว
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ลดลงมาอยู่ที่ 88.9 ลดลงจากระดับ 91.1 ในเดือนมกราคม เกิดจากการลดลงของค่าดัชนีโดยรวมของยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย ปริมาณการผลิต ต้นทุนและผลประกอบการลดลง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่น 3 เดือนข้างหน้าลดลงจาก 100.4 ในเดือนมกราคมเหลือ 99.2 นับเป็นค่าดัชนีลดลงต่ำกว่าระดับ 100 เป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน สะท้อนความเชื่อมั่นไม่ดีต่อเศรษฐกิจในอนาคต
หมายความว่ากำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมไม่เพิ่มขึ้น และไม่ขยายกำลังการผลิต ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังเลือกที่จะรอดูสถานการณ์ก่อน จึงทำให้แรงกระตุ้นในส่วนนี้หายไป แม้จะมีการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินบ้าง แต่วัตถุประสงค์หลักเป็นแค่เงินหมุนเวียนภายในกิจการไม่ใช่เพิ่มกำลังการผลิตหรือขยายกิจการ
กำลังซื้อที่ถดถอยของประชาชนเห็นได้จากงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 36 จัดขึ้นระหว่าง 25 มีนาคม - 5 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา ตลอด 12 วันของการจัดงาน มียอดจองรถยนต์ทั้งสิ้น 37,027 คัน และมียอดผู้เข้าชมงานอย่างไม่เป็นทางการสูงถึง 1.7 ล้านคน นับเป็นการลดลงจากปี 2557 ที่มียอดจอง 39,415 คัน
รวมไปถึงการทำตลาดเพื่อจูงใจกระตุ้นให้ซื้อรถยนต์ ตอนนี้ค่ายรถบางแห่งได้ลดจำนวนเงินดาวน์ลงเหลือ 5% จากเดิมที่ต้องดาวน์ขั้นต่ำ 20-25% เช่น รถยนต์ซูซูกิ CLERIO ดาวน์เริ่มต้นเพียง 17,950 บาทเท่านั้น ค่ายอื่นอย่างอีซูซูก็ลงมาเล่นเงินดาวน์ที่ 5% เช่นเดียวกัน หรือออกโปรโมชันดอกเบี้ย 0% กันหลายค่าย และยังมีผ่อนยาว 96 เดือนหรือ 8 ปี
งานหินฟื้นเศรษฐกิจ
นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์รายหนึ่งกล่าว “ภายใต้ระยะเวลาเพียง 1 ปีของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ คงไม่สามารถปลุกเศรษฐกิจให้กระเตื้องขึ้นมาได้มากนัก อีกทั้งคู่ค้าสำคัญของไทยยังมีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจภายใน ทั้งสหรัฐฯ ยุโรป จีน และญี่ปุ่น แถมยังต้องมาแบกรับกับปัญหาที่รัฐบาลชุดก่อนได้สร้างเอาไว้ ปัญหาจึงทับถมกันค่อนข้างมาก ทำให้ทุกอย่างยากขึ้นกว่าเดิม”
ประการต่อมาภายใต้คณะรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ ที่ขุนพลทางด้านเศรษฐกิจได้มอบหมายให้กับทีมงานของหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล เข้ามารับผิดชอบทั้งหมด ช่วงที่ผ่านมาแม้จะพยายามเร่งสร้างผลงาน แต่หลายนโยบายโดยเฉพาะส่วนที่มาจากกระทรวงการคลัง ที่เน้นการหารายได้เข้ารัฐด้วยสารพัดภาษีที่จะเรียกเก็บ กลับสร้างผลกระทบทางจิตวิทยาของประชาชนเป็นอย่างมาก จนนายกรัฐมนตรีต้องเบรกไว้
“ถือว่าเป็นเรื่องที่ลำบากสำหรับพลเอกประยุทธ์ หากจะมีการปรับเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เพราะบุคคลที่เข้ามารับหน้าที่ดังกล่าว เพราะท่านเป็นผู้เชิญมา การจะปรับออกไปย่อมกระทบต่อความสัมพันธ์ที่มีกับหัวหน้าทีมเศรษฐกิจอย่างหม่อมอุ๋ย”
หลายโครงการที่พยายามผลักดันต้องใช้เวลา ไม่สามารถเห็นได้ในระยะเวลาอันสั้น ทั้งการก่อสร้างรถไฟฟ้าและรถไฟชานเมือง หรือการกำหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษตามพื้นที่ต่างๆ แถมยังติดขัดในเรื่องของเม็ดเงินที่จะดำเนินการ รวมถึงความกังวลว่าโครงการเหล่านี้อาจมีเรื่องคอร์รัปชัน ทุกอย่างจึงเป็นไปอย่างล่าช้า
กลับสู่จุดแข็ง-ปราบคอร์รัปชัน
เมื่อความหวังที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้ฟื้นตัวขึ้น เพื่อให้เป็นผลงานของรัฐบาลชุดนี้ดูจะรางเลือน ดังนั้นการกลับไปหาจุดแข็งของรัฐบาลชุดนี้เพื่อให้เป็นผลงานที่จับต้องได้ถือเป็นเรื่องสำคัญในทางการเมือง
จุดแข็งของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์คือการตั้งเป้าที่จะปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติไว้ตั้งแต่ 12 กันยายน 2557 โดยกำหนดให้การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบในภาครัฐ และสอดรับกับคำสั่งที่ 69/2557 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2557 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ
ด้วยการจัดตั้งศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ขึ้นตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 226/2557 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2557 ศูนย์ดังกล่าว อยู่ภายในสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ทำหน้าที่เป็นองค์กรอำนวยการระดับชาติเพื่อให้การแก้ปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอยู่ภายใต้คณะกรรมการอำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน และพลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คสช. เป็นรองประธานกรรมการ
ผลงานที่ฮือฮาเป็นอย่างมากในเวลานี้นั่นคือการเข้าไปตรวจสอบสนามแข่งรถภายในโบนันซ่า รีสอร์ต ที่เขาใหญ่ พบว่ามีการบุกรุกพื้นที่ ส.ป.ก. 71 ไร่ และดำเนินการแจ้งความอาญาต่อผู้บริหารรีสอร์ตในข้อหาบุกรุกพื่อฟ้องขับไล่ยึดคืนพื้นที่ ฟ้องให้ชดใช้ค่าเสียหายที่เข้าทำลายทรัพย์สินของราชการ และให้ยึดคืนพื้นที่ ส.ป.ก.จากเจ้าของรีสอร์ต
ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าโบนันซ่า รีสอร์ต เขาใหญ่ เป็นของตระกูลเตชะณรงค์ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมืองจากพรรคเพื่อไทย โดยนายไพวงษ์ เตชะณรงค์ เจ้าของโบนันซ่าเขาใหญ่ เคยถูก คสช. สั่งให้เข้ารายงานตัวเมื่อ 25 พฤษภาคม 2557
ก่อนหน้านี้พื้นที่ของโบนันซ่า รีสอร์ต ถูกเลือกให้เป็นพื้นที่เป้าหมายในการรวมพลของกลุ่มคนเสื้อแดงมาโดยตลอด
พลิกเกมสร้างศรัทธา
นอกจากนี้ในส่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ เตรียมส่งรายชื่อข้าราชการกว่า 100 รายชื่อ ให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะประธานคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) พิจารณาปรับย้ายออกจากจุดที่มีปัญหาในขณะที่ดำเนินคดีทางอาญาและวินัย
ขณะนี้มีทีมงานที่ลงไปตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนในอีกหลายพื้นที่ หนึ่งในนั้นเป็นของนักธุรกิจรายใหญ่ ที่เคยมีปัญหาเรื่องการบุกรุกมาก่อน เพื่อดำเนินการให้เกิดความถูกต้องในการใช้พื้นที่ ตรงนี้น่าจะเป็นผลงานที่โดนใจประชาชนมากกว่าการสร้างผลงานด้านเศรษฐกิจที่มีข้อจำกัดมากกว่า
“การพลิกเกมหันกลับมาทำงานตรวจสอบในด้านการทุจริตคอร์รัปชันของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ตรวจสอบเรื่องการบุกรุกป่า ถือเป็นเรื่องที่ได้ใจคนและเป็นรูปธรรม ถือเป็นทางเดินที่ถูกต้องภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด” นักสังเกตการณ์ทางการเมืองกล่าว
ในสังคมไทยล้วนแล้วแต่สงสัยบรรดาเหล่านายทุนเหล่านี้มาตลอดว่า มีการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากที่ผ่านมาเมื่อนายทุนเหล่านี้แอบอิงกับนักการเมือง การตรวจสอบมักดำเนินการได้ยาก การที่ คสช.ดำเนินการตรวจสอบอย่างจริงจังนับเป็นเรื่องที่ดี
จริงๆ แล้วการตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชัน เรามีหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงาน ทั้งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (ส.ต.ง.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ส่วนภาคเอกชนมีองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ร่วมกันตรวจสอบอยู่แล้ว เพียงแต่การดำเนินงานยังล่าช้า
การที่รัฐบาลนี้มีศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ขึ้นมาอีก แม้จะดูเหมือนซ้ำซ้อนกับหน่วยงานเดิม แต่ภายใต้รัฐบาลนี้การสั่งการต่างๆ ทำได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งในส่วนของคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติที่มีพลเอกประยุทธ์ เป็นประธาน นับเป็นการให้ความสำคัญกับการเข้ามาแก้ไขเรื่องปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ถือเป็นสิ่งที่จับต้องได้มากที่สุดสำหรับผลงานของรัฐบาลในรอบ 6 เดือน
ยิ่งใกล้วันแถลงผลงานรอบ 6 เดือนของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในวันที่ 17 เมษายนที่จะถึงนี้ ดูเหมือนสิ่งที่เห็นชัดที่สุดนับตั้งแต่การเข้ายึดอำนาจเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 นั่นคือการหยุดยั้งโอกาสที่กลุ่มการเมืองทั้ง 2 ฝ่ายจะเกิดการปะทะกัน บ้านเมืองสงบเรียบร้อย รวมไปถึงการถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่ค้างมาตั้งแต่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย
นับเป็นปัญหาสำหรับทุกรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศภายหลังการยึดอำนาจ ความบอบช้ำที่เกิดขึ้นจากการต่อสู้กันทางการเมืองรวมไปถึงสภาพเศรษฐกิจที่ชะงักงันตลอดช่วงที่มีการมีการต่อสู้กัน ทำให้ช่วงเวลาสั้นๆ ของการเข้ามาคั่นกลางก่อนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ภาวะปกติของระบอบประชาธิปไตยนั้น ยากต่อการสร้างผลงานที่ชัดเจน
ทุกรัฐบาลยังคงให้ความสำคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ข้อจำกัดเรื่องเวลาและบุคลากรที่มีความสามารถยังเป็นอุปสรรคใหญ่ ทำให้แผนที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นขึ้นมาจากเดิมทำได้ไม่ง่ายนัก อีกทั้งเศรษฐกิจทั่วโลกยังประสบปัญหาซบเซา
ขณะที่โครงการเมกะโปรเจกต์ ที่รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ให้ความสำคัญหวังว่าจะเป็นตัวกระตุ้นให้เศรษฐกิจของไทยเดินหน้าต่อไปได้จากเม็ดเงินของภาครัฐ แต่โครงการดังกล่าวยังเป็นการสานต่อจากนโยบายที่มีอยู่เดิมทั้งส่วนของรถไฟฟ้าและรถไฟชานเมือง มีปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมบ้างเล็กน้อย และต้องใช้เวลาอีกนาน
ส่วนการปรับโครงสร้างพลังงาน ถือเป็นการปรับลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน และลดภาษีของน้ำมันบางชนิดเพื่อความเท่าเทียม ทำให้ราคาน้ำมันปรับลดลงโดยเฉพาะกลุ่มน้ำมันเบนซินปรับลดลงราว 10 บาทต่อลิตร แลกกับการลดการอุดหนุนราคาแก๊สทั้ง LPG และ NGV
ทุกดัชนีชี้เศรษฐกิจถดถอย
อีกทั้งการเข้ามาของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ต่อจากพรรคเพื่อไทยนั้น 2 เรื่องใหญ่ที่พลเอกประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี ต้องเข้ามาแก้ปัญหาคือกำลังซื้อที่หายไปจากโครงการรถยนต์คันแรกที่มีผู้ใช้สิทธิ์ตามโครงการกว่าล้านคัน ตามมาด้วยการไม่สานต่อโครงการรับจำนำข้าวที่พรรคเพื่อไทยรับซื้อในราคาที่สูงกว่าตลาดและไม่สามารถระบายออกไปได้ จนทำให้เกิดความเสียหายกับประเทศเป็นจำนวนมาก ประกอบกับการบังคับใช้ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ทำให้ราคาสินค้าต่างๆ กลับเพิ่มขึ้นกันถ้วนหน้า
เมื่อทั้งคนชนชั้นกลางต้องมีภาระผ่อนรถยนต์และกลุ่มรากหญ้ารายได้จากการจำนำข้าวได้น้อยกว่าเดิม ช่วงรอยต่อดังกล่าวไม่ว่ารัฐบาลไหนจะเข้ามาก็หาทางแก้ลำบากภายใต้ระยะเวลาอันสั้น ผลพวงดังกล่าวยังทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจแทบทุกตัวออกมาในด้านลบต่อรัฐบาล
ตัวเลขหรือดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจแทบทุกตัวออกมาไม่ดี อย่างเงินเฟ้อ 3 เดือนแรกของปี 2558 ติดลบ 0.52% จนเกิดความกังวลว่าอาจเกิดภาวะเงินฝืด แต่หากพิจารณาแล้ว สถานการณ์ในขณะนี้ยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด การติดลบของเงินเฟ้อนั้นเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ลดลง การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนยังเป็นปกติ แต่ไม่ได้เพิ่มขึ้นเท่านั้น ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากภาระทั้งจากราคาสินค้าที่ขยับขึ้น หนี้สินที่มีหรือบางกลุ่ม เช่น เกษตรกรที่มีรายได้น้อยลงจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
โดยก่อนหน้านี้ตัวเลขการส่งออกของไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ติดลบร้อยละ 6.14 สูงที่สุดตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2557 ที่ติดลบร้อยละ 7.4 นับเป็นการถดถอยมากที่สุดในรอบ 6 เดือน ทั้งจากภาวะราคาสินค้าเกษตรตกต่ำและกำลังซื้อของประเทศต่างๆ ยังไม่ฟื้นตัว
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ลดลงมาอยู่ที่ 88.9 ลดลงจากระดับ 91.1 ในเดือนมกราคม เกิดจากการลดลงของค่าดัชนีโดยรวมของยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย ปริมาณการผลิต ต้นทุนและผลประกอบการลดลง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่น 3 เดือนข้างหน้าลดลงจาก 100.4 ในเดือนมกราคมเหลือ 99.2 นับเป็นค่าดัชนีลดลงต่ำกว่าระดับ 100 เป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน สะท้อนความเชื่อมั่นไม่ดีต่อเศรษฐกิจในอนาคต
หมายความว่ากำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมไม่เพิ่มขึ้น และไม่ขยายกำลังการผลิต ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังเลือกที่จะรอดูสถานการณ์ก่อน จึงทำให้แรงกระตุ้นในส่วนนี้หายไป แม้จะมีการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินบ้าง แต่วัตถุประสงค์หลักเป็นแค่เงินหมุนเวียนภายในกิจการไม่ใช่เพิ่มกำลังการผลิตหรือขยายกิจการ
กำลังซื้อที่ถดถอยของประชาชนเห็นได้จากงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 36 จัดขึ้นระหว่าง 25 มีนาคม - 5 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา ตลอด 12 วันของการจัดงาน มียอดจองรถยนต์ทั้งสิ้น 37,027 คัน และมียอดผู้เข้าชมงานอย่างไม่เป็นทางการสูงถึง 1.7 ล้านคน นับเป็นการลดลงจากปี 2557 ที่มียอดจอง 39,415 คัน
รวมไปถึงการทำตลาดเพื่อจูงใจกระตุ้นให้ซื้อรถยนต์ ตอนนี้ค่ายรถบางแห่งได้ลดจำนวนเงินดาวน์ลงเหลือ 5% จากเดิมที่ต้องดาวน์ขั้นต่ำ 20-25% เช่น รถยนต์ซูซูกิ CLERIO ดาวน์เริ่มต้นเพียง 17,950 บาทเท่านั้น ค่ายอื่นอย่างอีซูซูก็ลงมาเล่นเงินดาวน์ที่ 5% เช่นเดียวกัน หรือออกโปรโมชันดอกเบี้ย 0% กันหลายค่าย และยังมีผ่อนยาว 96 เดือนหรือ 8 ปี
งานหินฟื้นเศรษฐกิจ
นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์รายหนึ่งกล่าว “ภายใต้ระยะเวลาเพียง 1 ปีของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ คงไม่สามารถปลุกเศรษฐกิจให้กระเตื้องขึ้นมาได้มากนัก อีกทั้งคู่ค้าสำคัญของไทยยังมีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจภายใน ทั้งสหรัฐฯ ยุโรป จีน และญี่ปุ่น แถมยังต้องมาแบกรับกับปัญหาที่รัฐบาลชุดก่อนได้สร้างเอาไว้ ปัญหาจึงทับถมกันค่อนข้างมาก ทำให้ทุกอย่างยากขึ้นกว่าเดิม”
ประการต่อมาภายใต้คณะรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ ที่ขุนพลทางด้านเศรษฐกิจได้มอบหมายให้กับทีมงานของหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล เข้ามารับผิดชอบทั้งหมด ช่วงที่ผ่านมาแม้จะพยายามเร่งสร้างผลงาน แต่หลายนโยบายโดยเฉพาะส่วนที่มาจากกระทรวงการคลัง ที่เน้นการหารายได้เข้ารัฐด้วยสารพัดภาษีที่จะเรียกเก็บ กลับสร้างผลกระทบทางจิตวิทยาของประชาชนเป็นอย่างมาก จนนายกรัฐมนตรีต้องเบรกไว้
“ถือว่าเป็นเรื่องที่ลำบากสำหรับพลเอกประยุทธ์ หากจะมีการปรับเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เพราะบุคคลที่เข้ามารับหน้าที่ดังกล่าว เพราะท่านเป็นผู้เชิญมา การจะปรับออกไปย่อมกระทบต่อความสัมพันธ์ที่มีกับหัวหน้าทีมเศรษฐกิจอย่างหม่อมอุ๋ย”
หลายโครงการที่พยายามผลักดันต้องใช้เวลา ไม่สามารถเห็นได้ในระยะเวลาอันสั้น ทั้งการก่อสร้างรถไฟฟ้าและรถไฟชานเมือง หรือการกำหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษตามพื้นที่ต่างๆ แถมยังติดขัดในเรื่องของเม็ดเงินที่จะดำเนินการ รวมถึงความกังวลว่าโครงการเหล่านี้อาจมีเรื่องคอร์รัปชัน ทุกอย่างจึงเป็นไปอย่างล่าช้า
กลับสู่จุดแข็ง-ปราบคอร์รัปชัน
เมื่อความหวังที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้ฟื้นตัวขึ้น เพื่อให้เป็นผลงานของรัฐบาลชุดนี้ดูจะรางเลือน ดังนั้นการกลับไปหาจุดแข็งของรัฐบาลชุดนี้เพื่อให้เป็นผลงานที่จับต้องได้ถือเป็นเรื่องสำคัญในทางการเมือง
จุดแข็งของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์คือการตั้งเป้าที่จะปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติไว้ตั้งแต่ 12 กันยายน 2557 โดยกำหนดให้การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบในภาครัฐ และสอดรับกับคำสั่งที่ 69/2557 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2557 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ
ด้วยการจัดตั้งศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ขึ้นตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 226/2557 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2557 ศูนย์ดังกล่าว อยู่ภายในสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ทำหน้าที่เป็นองค์กรอำนวยการระดับชาติเพื่อให้การแก้ปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอยู่ภายใต้คณะกรรมการอำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน และพลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คสช. เป็นรองประธานกรรมการ
ผลงานที่ฮือฮาเป็นอย่างมากในเวลานี้นั่นคือการเข้าไปตรวจสอบสนามแข่งรถภายในโบนันซ่า รีสอร์ต ที่เขาใหญ่ พบว่ามีการบุกรุกพื้นที่ ส.ป.ก. 71 ไร่ และดำเนินการแจ้งความอาญาต่อผู้บริหารรีสอร์ตในข้อหาบุกรุกพื่อฟ้องขับไล่ยึดคืนพื้นที่ ฟ้องให้ชดใช้ค่าเสียหายที่เข้าทำลายทรัพย์สินของราชการ และให้ยึดคืนพื้นที่ ส.ป.ก.จากเจ้าของรีสอร์ต
ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าโบนันซ่า รีสอร์ต เขาใหญ่ เป็นของตระกูลเตชะณรงค์ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมืองจากพรรคเพื่อไทย โดยนายไพวงษ์ เตชะณรงค์ เจ้าของโบนันซ่าเขาใหญ่ เคยถูก คสช. สั่งให้เข้ารายงานตัวเมื่อ 25 พฤษภาคม 2557
ก่อนหน้านี้พื้นที่ของโบนันซ่า รีสอร์ต ถูกเลือกให้เป็นพื้นที่เป้าหมายในการรวมพลของกลุ่มคนเสื้อแดงมาโดยตลอด
พลิกเกมสร้างศรัทธา
นอกจากนี้ในส่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ เตรียมส่งรายชื่อข้าราชการกว่า 100 รายชื่อ ให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะประธานคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) พิจารณาปรับย้ายออกจากจุดที่มีปัญหาในขณะที่ดำเนินคดีทางอาญาและวินัย
ขณะนี้มีทีมงานที่ลงไปตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนในอีกหลายพื้นที่ หนึ่งในนั้นเป็นของนักธุรกิจรายใหญ่ ที่เคยมีปัญหาเรื่องการบุกรุกมาก่อน เพื่อดำเนินการให้เกิดความถูกต้องในการใช้พื้นที่ ตรงนี้น่าจะเป็นผลงานที่โดนใจประชาชนมากกว่าการสร้างผลงานด้านเศรษฐกิจที่มีข้อจำกัดมากกว่า
“การพลิกเกมหันกลับมาทำงานตรวจสอบในด้านการทุจริตคอร์รัปชันของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ตรวจสอบเรื่องการบุกรุกป่า ถือเป็นเรื่องที่ได้ใจคนและเป็นรูปธรรม ถือเป็นทางเดินที่ถูกต้องภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด” นักสังเกตการณ์ทางการเมืองกล่าว
ในสังคมไทยล้วนแล้วแต่สงสัยบรรดาเหล่านายทุนเหล่านี้มาตลอดว่า มีการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากที่ผ่านมาเมื่อนายทุนเหล่านี้แอบอิงกับนักการเมือง การตรวจสอบมักดำเนินการได้ยาก การที่ คสช.ดำเนินการตรวจสอบอย่างจริงจังนับเป็นเรื่องที่ดี
จริงๆ แล้วการตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชัน เรามีหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงาน ทั้งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (ส.ต.ง.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ส่วนภาคเอกชนมีองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ร่วมกันตรวจสอบอยู่แล้ว เพียงแต่การดำเนินงานยังล่าช้า
การที่รัฐบาลนี้มีศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ขึ้นมาอีก แม้จะดูเหมือนซ้ำซ้อนกับหน่วยงานเดิม แต่ภายใต้รัฐบาลนี้การสั่งการต่างๆ ทำได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งในส่วนของคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติที่มีพลเอกประยุทธ์ เป็นประธาน นับเป็นการให้ความสำคัญกับการเข้ามาแก้ไขเรื่องปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ถือเป็นสิ่งที่จับต้องได้มากที่สุดสำหรับผลงานของรัฐบาลในรอบ 6 เดือน