มรดก “ยิ่งลักษณ์” รับจำนำข้าวยังปิดบัญชีไม่ลง TDRI คาดเจ๊ง 5.19 แสนล้าน ด้านนักวิชาการสถาบันคลังสมองเผย อาจเกินกว่านี้เหตุยังไม่รวมข้าวหายและต้นทุนอื่น รับแยกยากข้าวดี ข้าวไม่ได้มาตรฐาน ข้าวเสื่อมสภาพ ห่วงยิ่งนานข้าวยิ่งเสื่อมสภาพ ส่วนคนวงการข้าวชี้ผลขาดทุนคนจ่ายภาษีรับไป 1.59 แสนบาทต่อคน ยิ่งขาดทุนมากยิ่งต้องแบกภาระมาก ขณะที่นักกฎหมายยอมรับนักการเมืองรอดเสมอ มองยึดอำนาจเหมือนเข้ามาสางปัญหาให้ สุดท้ายหน้าเดิมกลับเข้ามาอีก แนะต้องแก้กฎหมายจริงจัง
แม้จะมีการเปลี่ยนรัฐบาลจากพรรคเพื่อไทย ที่มี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มาเป็นรัฐบาลชั่วคราวของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่ผลพวงจากการดำเนินนโยบายประชานิยมยังส่งผลมาถึงปัจจุบัน ที่ต้องตามแก้กันจนถึงวันนี้
พระเอกของนโยบายยุคยิ่งลักษณ์ คือ โครงการรับจำนำข้าว ที่ฝ่าเสียงทัดทานมาโดยไม่สนใจผลกระทบในอนาคต นอกจากจะทำให้พรรคเพื่อไทยกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกครั้งในปี 2554 แล้ว ยังซื้อใจชาวนาได้ทั้งประเทศ
สุดท้ายจากพระเอกกลายเป็นผู้ร้าย รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ไม่สามารถหาเงินมาจ่ายค่าข้าวที่เข้าโครงการรับจำนำข้าวได้มาเป็นเวลากว่า 6 เดือน ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2556 ตามมาด้วยผลการตรวจสอบของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ที่ดำเนินการเอาผิดกับนางสาวยิ่งลักษณ์และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้
ผลเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าวที่สาธารณชนรับทราบนั้น เป็นผลมาจากการปิดบัญชีจำนำข้าวเมื่อเดือนพฤษภาคม 2556 ที่มีนางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ครั้งนั้นบัญชีจำนำข้าวมีผลขาดทุนประมาณ 3.3 แสนล้านบาท โดยมีข้อสังเกตท้ายการปิดบัญชีว่า มีข้าวสารที่หายไปประมาณ 2 ล้านตัน และการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวมีความเสี่ยงทุจริตทุกขั้นตอน
นั่นคือตัวเลขล่าสุดที่ทำให้คนทั่วประเทศทราบว่าโครงการรับจำนำข้าวเป็นอย่างไร
ผ่านมาปีเศษมีรัฐบาลใหม่ แต่ผลการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวทั้ง 3 ฤดูกาล คือ 2554/55 2555/56 และ 2556/57 ของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ก็ยังไม่ออกมา
จน นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลังคนปัจจุบัน ในฐานะประธานอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว เปิดเผยว่า การปิดบัญชีจำนำข้าวไม่สามารถดำเนินการเสร็จได้ทันภายในเดือนตุลาคม 2557 ตามที่ตั้งเป้าไว้ มีการเลื่อนส่งข้อมูลมาตลอดจากองค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.)
ล่าสุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกมาเปิดเผยข้อมูลเบื้องต้นของการตรวจสอบสต๊อกข้าว 18 ล้านตันว่ามีข้าวคุณภาพดีราว 1.8 ล้านตัน ข้าวคุณภาพต่ำ 12.6 ล้านตัน และข้าวเสื่อมสภาพราว 9 แสนต้น โดยมีข้าวที่หายไป 1 แสนตัน
หากรวมจำนวนข้าวที่นายกรัฐมนตรีชี้แจงมาจะมียอดรวม 15.4 ล้านตัน เทียบกับ 18 ล้านตันแล้วตัวเลขขาดไป 2.6 ล้านตัน
TDRI ประเมินเจ๊ง 5 แสนล้าน
แต่ถึงอย่างไรก็มีการประเมินความเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าวจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ว่า โครงการรับจำนำข้าว 5 ฤดูของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีการรับจำนำข้าวเปลือก 54.35 ล้านตัน มีค่าใช้จ่ายรวม 9.85 แสนล้าน เป็นเงินซื้อข้าว 8.57 แสนล้านบาท โครงการนี้มีการขาดทุนทางบัญชีสูงถึง 5.19 แสนล้านบาท หรือเกือบ 53% ของค่าใช้จ่าย
ชาวนาทั่วประเทศได้รับผลประโยชน์ส่วนเกินสุทธิสูงถึง 5.6 แสนล้านบาทจากโครงการรับจำนำข้าว แต่ประโยชน์ส่วนใหญ่ตกเป็นของชาวนารายกลางและใหญ่ ซึ่งอาศัยในเขตชลประทานของภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง
ในรายงานประเมินผลไว้ว่า มูลค่าการทุจริตในการระบายข้าวที่เกิดจากการจำนำราคาสูงขายข้าวในราคาต่ำกว่าตลาด คิดเป็นเงิน 84,476.20 ล้านบาท มีการทุจริตข้าวหาย 2.9 ล้านตัน รวมมูลค่าทุจริตทั้งการค้าข้าวรัฐต่อรัฐ การเสนอซื้อข้าวราคาต่ำ ข้าวถุง ข้าวหายจะคิดเป็นเงิน 1.11 แสนล้านบาท
5 แสนล้านยังไม่รวมข้าวหาย
รศ.สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ กล่าวว่า ปัญหาเรื่องการปิดบัญชีจำนำข้าวไม่ลง มาจากข้าวในสต๊อกที่มีนั้นแยกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ ข้าวที่ยังมีคุณภาพดี ข้าวที่ไม่ได้มาตรฐาน สามารถนำมาปรับปรุงใหม่ได้ และข้าวเสื่อมสภาพที่คนบริโภคไม่ได้ ซึ่งตรงนี้ต้องมีการแยกข้าวในสต๊อกออกมาก่อน ทำให้เป็นเรื่องยากในการประเมิน จึงทำให้การปิดบัญชีจำนำข้าวต้องล่าช้าออกไป
สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโครงการรับจำนำข้าวนั้น นักวิชาการจากสถาบันคลังสมองประเมินว่า คงไม่ต่ำกว่า 5 แสนล้านบาท โดยคิดจากราคารับซื้อข้าวเปลือกที่ 15,000 บาทต่อตัน เมื่อแปรสภาพเป็นข้าวสารแล้วต้นทุนจะอยู่ที่ 23,000 บาทต่อตัน หรือ 23 บาทต่อกิโลกรัม แต่การขายในช่วงรัฐบาลก่อนหน้านี้ขายที่ราคา 11 - 12 บาทต่อกิโลกรัม
หากคิดส่วนต่างของราคาที่ 11 บาท คูณด้วยยอดรับจำนำที่ 54 ล้านตันข้าวเปลือก หรือ 36 ล้านตันข้าวสาร ความเสียหายเกินกว่า 5 แสนล้านบาทแน่นอน ยังไม่รวมถึงเรื่องค่าใช้จ่ายอื่นๆ ระหว่างการดำเนินโครงการทั้งค่ารับฝาก โกดัง ดอกเบี้ยกับ ธ.ก.ส.อีกปีละ 4 หมื่นล้านบาท หากรวมเอาข้าวที่เสียหรือเสื่อมสภาพและข้าวที่หายไป 3 ล้านตันเข้าไปด้วยความเสียหายก็จะเพิ่มขึ้นไปอีก
สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือข้าวในสต๊อกนั้นหากปล่อยไว้จะเสื่อมคุณภาพลงเรื่อยๆ ราคาขายก็จะลดลง ซึ่งต่างประเทศทราบเรื่องนี้ดี ราคาขายข้าวของไทยจึงทำได้ต่ำกว่าข้าวจากเวียดนามและอินเดีย
นี่จึงเป็นที่มาของการออกพันธบัตรรัฐบาล 8 แสนล้านบาท เพื่อชดเชยผลขาดทุนจากการจำนำข้าว ที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ กำลังดำเนินการอยู่ แต่คงต้องรอให้มีการปิดบัญชีจำนำข้าวให้เสร็จสิ้นก่อน
คนเสียภาษีหนี้เพิ่ม 1.59 แสน
แหล่งข่าวจากวงการค้าข้าว กล่าวว่า ยอดขาดทุนจากโครงการรับจำนำข้าวช่วงของรัฐบาลยิ่งลักษณ์นั้นอาจจะสูงกว่า 5 แสนล้านบาท ส่วนจะเป็นเท่าไหร่นั้น 6 แสนล้าน หรือ 7 แสนล้านบาทคงต้องรอผลของการปิดบัญชีอีกครั้ง แต่ภาระขาดทุนดังกล่าวผู้ที่รับผิดชอบจริงๆ คงไม่ใช่แค่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรือนักการเมืองจากพรรคเพื่อไทย แต่เป็นประชาชนคนไทยที่ต้องเสียภาษี
หากประเมินจากผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้โดยตรงที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีในประเทศไทยจะเริ่มที่มีรายได้เกินกว่า 150,000 บาทต่อปีขึ้นไป ผู้ที่ต้องเสียภาษีในกลุ่มนี้จะมีราว 3.25 ล้านคน คนกลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบโดยตรง ถ้าเป็นไปตามที่ TDRI ประเมินไว้ 5.19 แสนล้านบาทนั้น หารออกมาแล้วผู้เสียภาษีต้องรับผิดชอบกันคนละ 159,692 บาท ถ้าเสียหาย 6 แสนล้านบาท เฉลี่ยต่อคน 184,615 บาท และถ้าเสียหาย 7 แสนล้านบาท เฉลี่ยที่ 215,384 บาทต่อคน
นั่นเป็นเพียงการคำนวณให้เห็นภาพที่คนเสียภาษีต้องร่วมกันรับผิดชอบ ไม่ว่าท่านจะเห็นด้วยหรือไม่กับโครงการรับจำนำข้าวก็ตาม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้วภาระดังกล่าวถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของคนไทยทั้งประเทศ เนื่องจากการเสียภาษีของคนไทยนั้นมีทั้งทางตรงและทางอ้อม เงินที่รัฐบาลใหม่จะนำมาชดเชยความเสียหายนั้นก็มาจากภาษีอากรทั้งสิ้น
ชอบไม่ชอบต้องร่วมใช้หนี้
ขณะที่ความรับผิดชอบของนักการเมืองที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศนั้น นักกฎหมายรายหนึ่งกล่าวว่า ส่วนใหญ่เป็นเพียงการดำเนินการได้ตามมาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากคดีดังกล่าวขึ้นสู่การพิจารณาคดีโดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อย่างมากก็แค่ถูกพิพากษาให้ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ส่วนคำพิพากษาให้จำคุกนั้นในทางปฏิบัติแล้วคงยากที่จะดำเนินการนักการเมืองเหล่านี้ได้จนถึงขั้นจำคุก พวกเขาก็คงไม่อยู่รอให้มีการจับกุม
นี่จึงเป็นกรรมของคนไทย ที่ต้องมาแบกรับภาระแทนนักการเมืองที่ปั้นโครงการที่มีทั้งผลประโยชน์เข้าตัวเองและสร้างฐานเสียงสำหรับการเลือกตั้งไปในตัว สุดท้ายเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นมาภาระจึงถูกโยนมาที่คนทั้งประเทศ ไม่ว่าคุณจะเลือกพรรคดังกล่าวเข้ามาหรือไม่ก็ตาม
ยึดอำนาจ:แก้ปัญหา:หน้าเดิมกลับมา
นักกฎหมายรายเดิมกล่าวต่อไปว่า สิ่งเหล่านี้จะเป็นวงจรไปเรื่อยๆ ที่ไม่มีวันจบสิ้น เมื่อนักการเมืองที่เข้ามาบริหารประเทศจนเกิดปัญหา มีการทุจริตคอร์รัปชัน ทหารต้องเข้ามายึดอำนาจ ตั้งรัฐบาลชั่วคราวระดมคนมีความรู้ความสามารถเข้ามาแก้ปัญหา เพื่อให้สถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้น จากนั้นคืนอำนาจให้ประชาชนเลือกตั้งกันใหม่ สุดท้ายก็ได้นักการเมืองหน้าเดิมที่เคยทำประเทศชาติเสียหายกลับเข้ามาบริหารประเทศอีกครั้ง
เรียนตามตรงว่าการที่ทหารเข้ามายึดอำนาจจากนักการเมือง แล้วต้องเข้ามาแก้ปัญหาให้กับบ้านเมืองแทน จึงไม่ต่างอะไรกับการที่ต้องเข้ามาช่วยแก้ปัญหาให้กับนักการเมืองเหล่านั้น อย่างสมัยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีก็ต้องเข้ามาระบายสต๊อกข้าวที่มีอยู่ราว 8 - 9 ล้านต้น จนเหลือเพียงล้านกว่าตัน จากนั้นพรรคการเมืองเดิมก็กลับเข้ามาอีกครั้ง
แม้ว่านักการเมืองในพรรคนั้นๆ จะถูกบทลงโทษทางการเมือง ทั้งยุบพรรคหรือห้ามเล่นการเมือง แต่กรรมวิธีในการหลีกเลี่ยงก็ยังมีอยู่มาก ซื้อพรรคการเมืองเดิมที่มีอยู่หรือจัดตั้งพรรคใหม่ ปั้นคนใหม่ๆ ขึ้นมาเป็นกรรมการบริหารพรรค หรือหาตัวชูโรงที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีอดีตนักการเมืองคนดังที่คนไทยรู้จักดีให้การการันตี เท่านี้พรรคใหม่ที่เกิดขึ้นหรือผู้นำพรรคคนใหม่ ก็มีสถานะไม่แตกต่างไปจากพรรคการเมืองเดิมที่เคยถูกยุบซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากบทลงโทษของนักการเมืองที่ยังมีจุดอ่อน บทลงโทษเบาและมีทางหลีกเลี่ยงได้หลายช่องทาง อีกอย่างหากจะหวังให้คณะที่เข้ามายึดอำนาจดำเนินการนั้นคงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากการเข้ามาเป็นเพียงการระงับเหตุและเข้ามาเพียงชั่วคราว ดังนั้นนักการเมืองที่สร้างปัญหาก็ถูกโยนให้ไปดำเนินการตามกฎหมายเดิม
ที่สำคัญกว่านั้นคือคนไทยเองยังยึดติดกับเรื่องอามิสสินจ้าง ประโยชน์ที่ตัวเองจะได้รับ ยึดกับตัวพรรคหรือตัวบุคคลที่ชื่นชอบ โดยไม่ได้แยกแยะเรื่องความถูกต้อง ดังนั้น จึงต้องแก้ไขกันในเรื่องกฎหมายที่เข้มงวด อย่างในเกาหลีหรืออินโดนีเซียตอนนี้สภาพการเมืองของพวกเขาดีขึ้นมาก อันเนื่องมาจากความเอาจริงเอาจังในเรื่องการตีกรอบนักการเมือง
หากเราไม่ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง สุดท้ายคนที่เสียภาษีและคนไทยทั้งประเทศ ก็ต้องเข้ามาร่วมแบกภาระแทนนักการเมืองที่ไม่สุจริตเหล่านี้ และจะวนเวียนเป็นแบบนี้เรื่อยไป
แม้จะมีการเปลี่ยนรัฐบาลจากพรรคเพื่อไทย ที่มี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มาเป็นรัฐบาลชั่วคราวของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่ผลพวงจากการดำเนินนโยบายประชานิยมยังส่งผลมาถึงปัจจุบัน ที่ต้องตามแก้กันจนถึงวันนี้
พระเอกของนโยบายยุคยิ่งลักษณ์ คือ โครงการรับจำนำข้าว ที่ฝ่าเสียงทัดทานมาโดยไม่สนใจผลกระทบในอนาคต นอกจากจะทำให้พรรคเพื่อไทยกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกครั้งในปี 2554 แล้ว ยังซื้อใจชาวนาได้ทั้งประเทศ
สุดท้ายจากพระเอกกลายเป็นผู้ร้าย รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ไม่สามารถหาเงินมาจ่ายค่าข้าวที่เข้าโครงการรับจำนำข้าวได้มาเป็นเวลากว่า 6 เดือน ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2556 ตามมาด้วยผลการตรวจสอบของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ที่ดำเนินการเอาผิดกับนางสาวยิ่งลักษณ์และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้
ผลเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าวที่สาธารณชนรับทราบนั้น เป็นผลมาจากการปิดบัญชีจำนำข้าวเมื่อเดือนพฤษภาคม 2556 ที่มีนางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ครั้งนั้นบัญชีจำนำข้าวมีผลขาดทุนประมาณ 3.3 แสนล้านบาท โดยมีข้อสังเกตท้ายการปิดบัญชีว่า มีข้าวสารที่หายไปประมาณ 2 ล้านตัน และการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวมีความเสี่ยงทุจริตทุกขั้นตอน
นั่นคือตัวเลขล่าสุดที่ทำให้คนทั่วประเทศทราบว่าโครงการรับจำนำข้าวเป็นอย่างไร
ผ่านมาปีเศษมีรัฐบาลใหม่ แต่ผลการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวทั้ง 3 ฤดูกาล คือ 2554/55 2555/56 และ 2556/57 ของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ก็ยังไม่ออกมา
จน นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลังคนปัจจุบัน ในฐานะประธานอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว เปิดเผยว่า การปิดบัญชีจำนำข้าวไม่สามารถดำเนินการเสร็จได้ทันภายในเดือนตุลาคม 2557 ตามที่ตั้งเป้าไว้ มีการเลื่อนส่งข้อมูลมาตลอดจากองค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.)
ล่าสุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกมาเปิดเผยข้อมูลเบื้องต้นของการตรวจสอบสต๊อกข้าว 18 ล้านตันว่ามีข้าวคุณภาพดีราว 1.8 ล้านตัน ข้าวคุณภาพต่ำ 12.6 ล้านตัน และข้าวเสื่อมสภาพราว 9 แสนต้น โดยมีข้าวที่หายไป 1 แสนตัน
หากรวมจำนวนข้าวที่นายกรัฐมนตรีชี้แจงมาจะมียอดรวม 15.4 ล้านตัน เทียบกับ 18 ล้านตันแล้วตัวเลขขาดไป 2.6 ล้านตัน
TDRI ประเมินเจ๊ง 5 แสนล้าน
แต่ถึงอย่างไรก็มีการประเมินความเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าวจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ว่า โครงการรับจำนำข้าว 5 ฤดูของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีการรับจำนำข้าวเปลือก 54.35 ล้านตัน มีค่าใช้จ่ายรวม 9.85 แสนล้าน เป็นเงินซื้อข้าว 8.57 แสนล้านบาท โครงการนี้มีการขาดทุนทางบัญชีสูงถึง 5.19 แสนล้านบาท หรือเกือบ 53% ของค่าใช้จ่าย
ชาวนาทั่วประเทศได้รับผลประโยชน์ส่วนเกินสุทธิสูงถึง 5.6 แสนล้านบาทจากโครงการรับจำนำข้าว แต่ประโยชน์ส่วนใหญ่ตกเป็นของชาวนารายกลางและใหญ่ ซึ่งอาศัยในเขตชลประทานของภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง
ในรายงานประเมินผลไว้ว่า มูลค่าการทุจริตในการระบายข้าวที่เกิดจากการจำนำราคาสูงขายข้าวในราคาต่ำกว่าตลาด คิดเป็นเงิน 84,476.20 ล้านบาท มีการทุจริตข้าวหาย 2.9 ล้านตัน รวมมูลค่าทุจริตทั้งการค้าข้าวรัฐต่อรัฐ การเสนอซื้อข้าวราคาต่ำ ข้าวถุง ข้าวหายจะคิดเป็นเงิน 1.11 แสนล้านบาท
5 แสนล้านยังไม่รวมข้าวหาย
รศ.สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ กล่าวว่า ปัญหาเรื่องการปิดบัญชีจำนำข้าวไม่ลง มาจากข้าวในสต๊อกที่มีนั้นแยกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ ข้าวที่ยังมีคุณภาพดี ข้าวที่ไม่ได้มาตรฐาน สามารถนำมาปรับปรุงใหม่ได้ และข้าวเสื่อมสภาพที่คนบริโภคไม่ได้ ซึ่งตรงนี้ต้องมีการแยกข้าวในสต๊อกออกมาก่อน ทำให้เป็นเรื่องยากในการประเมิน จึงทำให้การปิดบัญชีจำนำข้าวต้องล่าช้าออกไป
สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโครงการรับจำนำข้าวนั้น นักวิชาการจากสถาบันคลังสมองประเมินว่า คงไม่ต่ำกว่า 5 แสนล้านบาท โดยคิดจากราคารับซื้อข้าวเปลือกที่ 15,000 บาทต่อตัน เมื่อแปรสภาพเป็นข้าวสารแล้วต้นทุนจะอยู่ที่ 23,000 บาทต่อตัน หรือ 23 บาทต่อกิโลกรัม แต่การขายในช่วงรัฐบาลก่อนหน้านี้ขายที่ราคา 11 - 12 บาทต่อกิโลกรัม
หากคิดส่วนต่างของราคาที่ 11 บาท คูณด้วยยอดรับจำนำที่ 54 ล้านตันข้าวเปลือก หรือ 36 ล้านตันข้าวสาร ความเสียหายเกินกว่า 5 แสนล้านบาทแน่นอน ยังไม่รวมถึงเรื่องค่าใช้จ่ายอื่นๆ ระหว่างการดำเนินโครงการทั้งค่ารับฝาก โกดัง ดอกเบี้ยกับ ธ.ก.ส.อีกปีละ 4 หมื่นล้านบาท หากรวมเอาข้าวที่เสียหรือเสื่อมสภาพและข้าวที่หายไป 3 ล้านตันเข้าไปด้วยความเสียหายก็จะเพิ่มขึ้นไปอีก
สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือข้าวในสต๊อกนั้นหากปล่อยไว้จะเสื่อมคุณภาพลงเรื่อยๆ ราคาขายก็จะลดลง ซึ่งต่างประเทศทราบเรื่องนี้ดี ราคาขายข้าวของไทยจึงทำได้ต่ำกว่าข้าวจากเวียดนามและอินเดีย
นี่จึงเป็นที่มาของการออกพันธบัตรรัฐบาล 8 แสนล้านบาท เพื่อชดเชยผลขาดทุนจากการจำนำข้าว ที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ กำลังดำเนินการอยู่ แต่คงต้องรอให้มีการปิดบัญชีจำนำข้าวให้เสร็จสิ้นก่อน
คนเสียภาษีหนี้เพิ่ม 1.59 แสน
แหล่งข่าวจากวงการค้าข้าว กล่าวว่า ยอดขาดทุนจากโครงการรับจำนำข้าวช่วงของรัฐบาลยิ่งลักษณ์นั้นอาจจะสูงกว่า 5 แสนล้านบาท ส่วนจะเป็นเท่าไหร่นั้น 6 แสนล้าน หรือ 7 แสนล้านบาทคงต้องรอผลของการปิดบัญชีอีกครั้ง แต่ภาระขาดทุนดังกล่าวผู้ที่รับผิดชอบจริงๆ คงไม่ใช่แค่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรือนักการเมืองจากพรรคเพื่อไทย แต่เป็นประชาชนคนไทยที่ต้องเสียภาษี
หากประเมินจากผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้โดยตรงที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีในประเทศไทยจะเริ่มที่มีรายได้เกินกว่า 150,000 บาทต่อปีขึ้นไป ผู้ที่ต้องเสียภาษีในกลุ่มนี้จะมีราว 3.25 ล้านคน คนกลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบโดยตรง ถ้าเป็นไปตามที่ TDRI ประเมินไว้ 5.19 แสนล้านบาทนั้น หารออกมาแล้วผู้เสียภาษีต้องรับผิดชอบกันคนละ 159,692 บาท ถ้าเสียหาย 6 แสนล้านบาท เฉลี่ยต่อคน 184,615 บาท และถ้าเสียหาย 7 แสนล้านบาท เฉลี่ยที่ 215,384 บาทต่อคน
นั่นเป็นเพียงการคำนวณให้เห็นภาพที่คนเสียภาษีต้องร่วมกันรับผิดชอบ ไม่ว่าท่านจะเห็นด้วยหรือไม่กับโครงการรับจำนำข้าวก็ตาม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้วภาระดังกล่าวถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของคนไทยทั้งประเทศ เนื่องจากการเสียภาษีของคนไทยนั้นมีทั้งทางตรงและทางอ้อม เงินที่รัฐบาลใหม่จะนำมาชดเชยความเสียหายนั้นก็มาจากภาษีอากรทั้งสิ้น
ชอบไม่ชอบต้องร่วมใช้หนี้
ขณะที่ความรับผิดชอบของนักการเมืองที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศนั้น นักกฎหมายรายหนึ่งกล่าวว่า ส่วนใหญ่เป็นเพียงการดำเนินการได้ตามมาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากคดีดังกล่าวขึ้นสู่การพิจารณาคดีโดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อย่างมากก็แค่ถูกพิพากษาให้ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ส่วนคำพิพากษาให้จำคุกนั้นในทางปฏิบัติแล้วคงยากที่จะดำเนินการนักการเมืองเหล่านี้ได้จนถึงขั้นจำคุก พวกเขาก็คงไม่อยู่รอให้มีการจับกุม
นี่จึงเป็นกรรมของคนไทย ที่ต้องมาแบกรับภาระแทนนักการเมืองที่ปั้นโครงการที่มีทั้งผลประโยชน์เข้าตัวเองและสร้างฐานเสียงสำหรับการเลือกตั้งไปในตัว สุดท้ายเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นมาภาระจึงถูกโยนมาที่คนทั้งประเทศ ไม่ว่าคุณจะเลือกพรรคดังกล่าวเข้ามาหรือไม่ก็ตาม
ยึดอำนาจ:แก้ปัญหา:หน้าเดิมกลับมา
นักกฎหมายรายเดิมกล่าวต่อไปว่า สิ่งเหล่านี้จะเป็นวงจรไปเรื่อยๆ ที่ไม่มีวันจบสิ้น เมื่อนักการเมืองที่เข้ามาบริหารประเทศจนเกิดปัญหา มีการทุจริตคอร์รัปชัน ทหารต้องเข้ามายึดอำนาจ ตั้งรัฐบาลชั่วคราวระดมคนมีความรู้ความสามารถเข้ามาแก้ปัญหา เพื่อให้สถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้น จากนั้นคืนอำนาจให้ประชาชนเลือกตั้งกันใหม่ สุดท้ายก็ได้นักการเมืองหน้าเดิมที่เคยทำประเทศชาติเสียหายกลับเข้ามาบริหารประเทศอีกครั้ง
เรียนตามตรงว่าการที่ทหารเข้ามายึดอำนาจจากนักการเมือง แล้วต้องเข้ามาแก้ปัญหาให้กับบ้านเมืองแทน จึงไม่ต่างอะไรกับการที่ต้องเข้ามาช่วยแก้ปัญหาให้กับนักการเมืองเหล่านั้น อย่างสมัยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีก็ต้องเข้ามาระบายสต๊อกข้าวที่มีอยู่ราว 8 - 9 ล้านต้น จนเหลือเพียงล้านกว่าตัน จากนั้นพรรคการเมืองเดิมก็กลับเข้ามาอีกครั้ง
แม้ว่านักการเมืองในพรรคนั้นๆ จะถูกบทลงโทษทางการเมือง ทั้งยุบพรรคหรือห้ามเล่นการเมือง แต่กรรมวิธีในการหลีกเลี่ยงก็ยังมีอยู่มาก ซื้อพรรคการเมืองเดิมที่มีอยู่หรือจัดตั้งพรรคใหม่ ปั้นคนใหม่ๆ ขึ้นมาเป็นกรรมการบริหารพรรค หรือหาตัวชูโรงที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีอดีตนักการเมืองคนดังที่คนไทยรู้จักดีให้การการันตี เท่านี้พรรคใหม่ที่เกิดขึ้นหรือผู้นำพรรคคนใหม่ ก็มีสถานะไม่แตกต่างไปจากพรรคการเมืองเดิมที่เคยถูกยุบซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากบทลงโทษของนักการเมืองที่ยังมีจุดอ่อน บทลงโทษเบาและมีทางหลีกเลี่ยงได้หลายช่องทาง อีกอย่างหากจะหวังให้คณะที่เข้ามายึดอำนาจดำเนินการนั้นคงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากการเข้ามาเป็นเพียงการระงับเหตุและเข้ามาเพียงชั่วคราว ดังนั้นนักการเมืองที่สร้างปัญหาก็ถูกโยนให้ไปดำเนินการตามกฎหมายเดิม
ที่สำคัญกว่านั้นคือคนไทยเองยังยึดติดกับเรื่องอามิสสินจ้าง ประโยชน์ที่ตัวเองจะได้รับ ยึดกับตัวพรรคหรือตัวบุคคลที่ชื่นชอบ โดยไม่ได้แยกแยะเรื่องความถูกต้อง ดังนั้น จึงต้องแก้ไขกันในเรื่องกฎหมายที่เข้มงวด อย่างในเกาหลีหรืออินโดนีเซียตอนนี้สภาพการเมืองของพวกเขาดีขึ้นมาก อันเนื่องมาจากความเอาจริงเอาจังในเรื่องการตีกรอบนักการเมือง
หากเราไม่ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง สุดท้ายคนที่เสียภาษีและคนไทยทั้งประเทศ ก็ต้องเข้ามาร่วมแบกภาระแทนนักการเมืองที่ไม่สุจริตเหล่านี้ และจะวนเวียนเป็นแบบนี้เรื่อยไป