เซียนธุรกิจชี้ปัญหาของช่อง 3 อยู่ที่ “เจตนา” หากต้องการเปลี่ยนผ่านไปพร้อมกันแก้ข้อจำกัดได้ทั้งซื้อรายการหรือใช้การควบรวมกิจการ ขณะที่เสียงข้างมาก กสท.พลิกกลับยึดเรื่องสถานะของบีอีซี มัลติมีเดียและบางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ แม้จะคนละนิติบุคคล แต่ตีความที่อำนาจควบคุม แนะผู้บริหารช่อง 3 ตัดสินใจให้ดีหากจอดำบนดาวเทียมกระเทือนรายได้หนัก
หลังจากที่ศาลปกครองมีคำสั่งทุเลาคำสั่งของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เมื่อ 26 กันยายน 2557 ที่ให้ช่อง 3 อนาล็อกออกอากาศผ่านดาวเทียมและเคเบิลทีวีต่อไปได้จนถึง 11 ตุลาคมนี้ โดยในระหว่างนี้ให้คู่กรณีแจ้งผลความคืบหน้าผลการหารือดังกล่าวให้ศาลทราบภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
แม้จะมีความพยายามจากฟากฝั่งของผู้คุมกฎอย่าง กสท. ที่มีมติเสียงข้างมาก 3:2 เมื่อ 29 กันยายนที่ผ่านมาว่า การที่บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ประสงค์จะนำรายการโทรทัศน์ของบริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด มาออกอากาศทางช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล
เมื่อบริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติถูกต้องครบถ้วนแล้ว ย่อมไม่ถือว่าบริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด ไม่ได้ประกอบกิจการด้วยตัวเอง จึงมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.มีหนังสือแจ้งบริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด ให้ดำเนินการยื่นผังรายการที่จะออกอากาศ เพื่อให้คณะกรรมการดำเนินการพิจารณาให้เป็นไปตามกฎหมายและเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาต
ขณะที่ฝ่ายช่อง 3 ได้นัดหารือร่วม 2 ฝ่าย ระหว่างผู้บริหารของช่อง 3 กับคณะกรรมการ กสท. เมื่อ 30 กันยายน แต่ยังไร้ข้อสรุปเช่นเดิม
สำหรับความพยายามในการหาทางออกให้กับช่อง 3 นอกจากเรื่องข้อกังวลในเรื่องกฎหมายที่ฝ่ายช่อง 3 นำมาหารือถึงเรื่องที่บริษัทที่ประมูลทีวีดิจิตอลได้ (บีอีซี มัลติมีเดีย) กับเจ้าของคอนเทนต์ในระบบอนาล็อก (บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นท์) เป็นคนละบริษัทกัน ได้ข้อสรุปไปจากมติของ กสท.เสียงข้างมากที่ให้บีอีซี มัลติมีเดีย นำเนื้อหารายการของช่อง 3 อนาล็อกมาออกอากาศได้
นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอที่จะให้แก้ไขสัดส่วนการเช่าช่วงเวลาสำหรับบีอีซี มัลติมีเดีย เพิ่มขึ้น จาก 40% เป็น 100% ซึ่งเป็นอีกข้อเสนอหนึ่งของกรรมการ กสท.เสียงข้างน้อย
แต่ดูเหมือนว่าผลการหารือระหว่างตัวแทนของช่อง 3 และกรรมการ กสท.จะออกมาในแนวที่แตกต่างไปจากก่อนหน้านี้ โดยก่อนหน้านี้มีการเสนอที่จะลดค่าธรรมเนียม 4% ให้กับช่อง 3 และผู้ประกอบการรายอื่นที่เป็นฟรีทีวีเดิมที่เข้าประมูลทีวีดิจิตอล พร้อมลดให้ 2% สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่
กสท.กลับลำยึดกฎ-ดูอำนาจควบคุม
แต่หากพิจารณาจากการแสดงความคิดเห็นของนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งใน กสท.เสียงข้างมากผ่าน twitter จะพบว่า การหาทางออกให้กับช่อง 3 ในครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่ประเด็นเรื่องนิติบุคคลที่ช่อง 3 นำมาเป็นประเด็นในการหารือ เนื่องจากบริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด เป็นผู้ประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอลได้ ขณะที่บริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เป็นผู้ได้รับอนุญาตผลิตรายการในช่อง 3 อนาล็อก ทำให้เกิดข้อถกเถียงกันในเรื่องดังกล่าวว่าจะขัดต่อกฎหมายหรือไม่
กรรมการ กสท.รายเดิมแสดงความคิดเห็นว่า ประเด็นหลักไม่ใช่เรื่องนิติบุคคลเดียวกันหรือไม่ แต่พิจารณาที่การกระทำ พฤติกรรมว่าการนำ content มาในกรณีนี้ ประกอบกิจการด้วยตนเองหรือไม่ การนำเนื้อหาจากช่อง analog มาเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ digital กรณีนี้ ยังไม่ใช่จุดที่จะตัดสินว่าไม่ได้ประกอบกิจการด้วยตนเอง
กสท.ต้องดูพฤติกรรมอื่นๆ ประกอบ เช่น อำนาจในการควบคุมกิจการ การปฏิบัติตามเงื่อนไขใบอนุญาต และ รับผิดชอบในทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ดังนั้นการจะใช้ดุลพินิจตัดสินว่า ผู้รับใบอนุญาตนั้น ประกอบกิจการด้วยตนเองหรือไม่ จึงจะพิจารณาที่อำนาจในการควบคุม บริหารจัดการเป็นสำคัญ
“กรณีนี้แม้ช่อง 3 อนาล็อกและช่อง 3 ดิจิตอลจะเป็นกิจการที่ใช้คลื่น แต่การไปนำ content มา ไม่ใช่การโอนสิทธิในคลื่นความถี่ให้ผู้อื่นบริหารแทน”
สรุป การประกอบกิจการด้วยตนเองหรือไม่ จะดูที่อำนาจในการควบคุม (control) องค์ประกอบสำคัญ และ การต้องรับผิดชอบกับการกระทำต่างๆ
ขณะเดียวกันยังแสดงความไม่เห็นด้วยในการจะไปแก้ประกาศตามมาตรา 9 ให้คนอื่นเช่าช่วงได้ถึง 100% ยิ่งขัดเจตนารมณ์ของมาตรา 9 จะกระทบภาพรวมกฎหมายทั้งหมด
“ช่อง 3 อนาล็อกมีทางออกบนช่อง 3 ดิจิตอล ถ้ายินยอมให้ช่อง 3 ดิจิตอลบริหารจัดการทั้งหมดตามเงื่อนไข โดยไม่ต้องหรือไม่ควรไปแก้ประกาศใดๆ ทั้งสิ้น”
ทุกปัญหามีทางออก แต่ถ้าไม่ประสงค์จะเดินออก ก็มิอาจบังคับใจ แต่ก็ต้องตกอยู่ในสภาพที่กติกากลางกำหนด ถ้าจะแหกกฎจะกระทบต่อคนอื่นๆ ทั้งหมด เขาก็คงไม่ยอมเช่นกัน
เสียงข้างน้อยมองต่าง
ดูเหมือนการหารือกันในรอบนี้ กรรมการ กสท.เลือกกลับมาตั้งหลักที่กฎหมายและกฎระเบียบเดิมที่มีอยู่ ไม่ได้คล้อยตามข้อท้วงติงของฝ่ายช่อง 3 โดยปมปัญหาที่ช่อง 3 ต่อสู้มาตลอดคือความเป็นนิติบุคคลคนละบริษัทนั้น ทาง กสท.ตีความไปที่เรื่องอำนาจในการควบคุมบริษัท ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าโครงสร้างของช่อง 3 เป็นลักษณะโฮลดิ้ง คอมพานี มีบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BEC เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด 99.99% และถือในบริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด 99.99% เช่นกัน โดยมีตระกูลมาลีนนท์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน BEC
กรรมการ กสท.เสียงข้างมากจึงให้น้ำหนักไปที่อำนาจในการควบคุมภายในบริษัทเป็นหลัก
ขณะที่เสียงข้างน้อยอย่างพันเอกนที ศุกลรัตน์ ประธานกรรมการ กสท.ได้อ้างอิงความเห็นของที่ปรึกษาด้านกฎหมายส่วนตัวอย่างนายสวัสดิ์ โชติพานิช อดีตประธานศาลฎีกา ที่ให้ความเห็นว่า แม้บริษัททั้งสองจะเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน และมีผู้บริหารเป็นชุดเดียวกันก็ตาม ก็ไม่ทำให้บริษัททั้งสองเป็นบริษัทเดียวกันและมีผู้บริหารชุดเดียวกันก็ตาม ก็ไม่ทำให้บริษัททั้งสองเป็นบริษัทเดียวกันได้
“เมื่อมีมติออกมาผมก็ต้องปฏิบัติตามมติ แต่ก็เห็นแย้ง และไม่เห็นด้วยต่อการตีความตามกฎหมายลักษณะนี้ ผมเป็นเสียงข้างน้อย ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยผมก็ต้องเดินตาม”
นี่คือความเห็นต่างของกรรมการ กสท.ต่อกรณีของช่อง 3
เซียนธุรกิจชี้แก้ได้-ขึ้นกับเจตนา
ขณะที่ปัญหาในลักษณะที่คล้ายๆ กันนี้ เคยเกิดขึ้นในแวดวงธุรกิจมาไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ปัญหาให้กับภาคธุรกิจอย่างอาชีพวานิชธนกิจรายหนึ่งให้ความเห็นว่า
“เรียนตามตรงว่านี่เป็นวิธีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่นิยมทำกัน เนื่องจากในทางกฎหมายแล้วถือว่าเป็นคนละนิติบุคคลกัน ทั้งๆ ที่ผู้ถือหุ้นและผู้บริหารในบริษัททั้ง 2 เป็นชุดเดียวกัน นี่คือหลักการของการกระทำในลักษณะนอมินี”
เขากล่าวต่อไปว่า เรื่องทั้งหมดอยู่ที่เจตนาว่าต้องการอะไร หากต้องการยื้อเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจก็นำเอาเรื่องของคนละนิติบุคคลมาต่อสู้กัน เพราะในทางกฎหมายคนละบริษัทถือว่าเป็นคนละนิติบุคคล แม้จะมีผู้ถือหุ้นชุดเดียวกันก็ตาม แต่ในทางอำนาจการบริหารนั้นทราบกันดีว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน นี่เป็นจุดแข็งที่ฝ่ายช่อง 3 นำมาต่อสู้
หากต้องการที่จะร่วมเปลี่ยนผ่านวงการทีวีไปสู่ระบบดิจิตอลนั้นก็แก้ปัญหาได้ เช่น ดูกฎระเบียบของหน่วยงานที่ควบคุมว่าบีอีซี มัลติมีเดียซื้อรายการทั้งหมดของช่อง 3 อนาล็อกจากบางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ มาออกอากาศได้หรือไม่ หรือหารือกับ กสท. ถ้าไม่ขัดแล้วปัญหานี้ก็จบ
ส่วนจะชำระราคากันจริงหรือไม่ แพงเกินไปหรือถูกไปนั้นเป็นเรื่องทางบัญชี เพราะทั้งคู่เป็นลูกของบีอีซี เวิลด์
หรือถ้าขัดต่อกฎระเบียบจริงๆ ก็ยังมีทางออกเช่นให้บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย ซื้อหุ้นทั้งหมดหรือควบรวมกิจการกับบางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ รายการทั้งหมดในระบบอนาล็อกก็จะเป็นส่วนหนึ่งของบีอีซี มัลติมีเดีย โดยยังใช้ชื่อหลักเป็นบีอีซี มัลติมีเดีย เพื่อไม่ให้ขัดกับหลักเกณฑ์ในการประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอล
อย่างที่เรียนไว้ ขึ้นอยู่กับเจตนา
เดิมพันธุรกิจช่อง 3
แต่หากเกมนี้ยังถูกยืดออกไปจนครบกำหนดคือ 11 ตุลาคม 2557 คนที่เสียหายคือตัวของช่อง 3 เอง เพราะผู้ให้บริการในระบบดาวเทียมและเคเบิลทีวี คงไม่สามารถนำเอาสัญญาณช่อง 3 ระบบอนาล็อกออกอากาศบนโครงข่ายได้ นั่นคือจอดำ
ด้วยโครงสร้างการรับชมทีวีในประเทศไทยแล้วกว่า 70% ชมผ่านดาวเทียมและเคเบิลทีวี ที่เหลือยังรับชมแบบเดิมคือเสาอากาศแบบหนวดกุ้งหรือก้างปลา เมื่อฐานของผู้ชมช่อง 3 หายไป 70% ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก และจะกระทบกับฐานรายได้ของช่อง 3 โดยเฉพาะเรื่องของโฆษณา ซึ่งบริษัทเอเยนซีคงต้องหันไปหาช่องอื่น และผู้บริหารช่อง 3 เคยแจ้งว่าหากเกิดสภาพดังกล่าว จะคืนเงินให้กับบริษัทที่มาลงโฆษณากลับไป 70% ตรงนี้จะกระทบต่อรายได้และผลการดำเนินงานของช่อง 3 และจะกระทบกับราคาหุ้นของ BEC ด้วย
หากช่อง 3 จะแก้ปัญหาเพื่อให้ออกอากาศบนดาวเทียมและเคเบิลทีวีได้เหมือนเดิม โดยที่ยังไม่ออกอากาศแบบคู่ขนานที่ กสท.ให้สิทธิ์ในการนำเอารายการจากระบบอนาล็อกออกอากาศบนโครงข่ายดาวเทียมและเคเบิลได้ โดยยังได้สิทธิ์โฆษณา 12 นาทีตามเดิม ทางช่อง 3 ก็ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ดาวเทียมแทน แต่ก็จะติดปัญหาที่ใบอนุญาตนี้กำหนดให้โฆษณาได้ไม่เกิน 6 นาทีต่อชั่วโมง ขณะที่ฟรีทีวีได้สิทธิ์ขายโฆษณา 12 นาทีต่อชั่วโมง รายได้จะหายไปนับสิบล้านบาทต่อวัน และส่งผลต่อราคาโฆษณาที่อาจต้องปรับลดลง
เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากกับการนำเอารายการจากฟรีทีวีอนาล็อก โฆษณาได้ 12 นาที เมื่อนำมาออกอากาศบนดาวเทียมหรือเคเบิลแล้วจะตัดโฆษณาให้เหลือ 6 นาทีตามหลักเกณฑ์
ละครแข็งแต่มีทางเลือก
ตอนนี้ผู้บริหารช่อง 3 คงต้องทบทวนให้ดี แม้ในเรื่องข้อกฎหมายจะเป็นการตีความมาจากกรรมการ กสท. 3 ท่าน ซึ่งเปิดทางไว้แล้ว หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นจริงๆ กรรมการทั้ง 3 ท่านก็ต้องรับผิดชอบ
การจะพึ่งความเมตตาของศาลปกครองอีกครั้ง ก็ยังนับว่าเสี่ยงต่อสภาพจอดำบนโครงข่ายดาวเทียมและเคเบิล
แม้ช่อง 3 จะมีฐานผู้ชมเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนกรุงเทพฯ และคนเมืองตามต่างจังหวัด คนกลุ่มนี้มีการศึกษา มีวุฒิภาวะเข้าถึงเทคโนโลยี และจำนวนไม่น้อยที่ตัดสินใจได้ว่าอะไรเป็นเหตุเป็นผล จุดแข็งของช่อง 3 ตอนนี้อยู่ที่ละครเท่านั้น อีกทั้งหากต้องจอดำจริง ๆ แฟนละครของช่อง 3 ยังสามารถหาชมได้ตาม Youtube ที่ทุกเรื่องจะมีการนำมาลงไว้ให้ดูย้อนหลังได้ นี่จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้บริหารช่อง 3 ต้องนำไปไตร่ตรอง
ที่ผ่านมาเราก็เห็นปัญหาเรื่องความหละหลวมของกฎระเบียบของ กสท.เช่นกัน แม้จะมีเจตนาดี แต่บางครั้งก็เปิดช่องว่างให้มีการต่อสู้กันในทางกฎหมายได้ หรือการเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านที่ดำเนินการอย่างรวดเร็วจากการเริ่มออกอากาศเดือนเมษายน 2557 แต่ก็เหลือเพียงรายของช่อง 3 เท่านั้นที่ยังเป็นปัญหากันอยู่
การกลับมายืนที่จุดของหลักทางกฎหมายนับว่าเป็นเรื่องดี เพราะการให้สิทธิในเรื่องค่าธรรมเนียมกับผู้ได้รับใบอนุญาตสุ่มเสี่ยงต่อการฟ้องร้องจากผู้เสียประโยชน์ แต่ยังกังวลในเรื่องการตีความเรื่องของบริษัท บีอีซี มัลติมีเดียกับบางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ว่ากระทำได้ภายใต้อำนาจของ กสท.หรือไม่
จากนี้ไปคงต้องกลับไปที่ฝ่ายบริหารของช่อง 3 ว่าจะตัดสินใจอย่างไร จะยอมตามข้อเสนอของกรรมการ กสท.หรือจะต่อสู้ตามกระบวนการทางกฎหมายต่อไป
หลังจากที่ศาลปกครองมีคำสั่งทุเลาคำสั่งของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เมื่อ 26 กันยายน 2557 ที่ให้ช่อง 3 อนาล็อกออกอากาศผ่านดาวเทียมและเคเบิลทีวีต่อไปได้จนถึง 11 ตุลาคมนี้ โดยในระหว่างนี้ให้คู่กรณีแจ้งผลความคืบหน้าผลการหารือดังกล่าวให้ศาลทราบภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
แม้จะมีความพยายามจากฟากฝั่งของผู้คุมกฎอย่าง กสท. ที่มีมติเสียงข้างมาก 3:2 เมื่อ 29 กันยายนที่ผ่านมาว่า การที่บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ประสงค์จะนำรายการโทรทัศน์ของบริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด มาออกอากาศทางช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล
เมื่อบริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติถูกต้องครบถ้วนแล้ว ย่อมไม่ถือว่าบริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด ไม่ได้ประกอบกิจการด้วยตัวเอง จึงมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.มีหนังสือแจ้งบริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด ให้ดำเนินการยื่นผังรายการที่จะออกอากาศ เพื่อให้คณะกรรมการดำเนินการพิจารณาให้เป็นไปตามกฎหมายและเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาต
ขณะที่ฝ่ายช่อง 3 ได้นัดหารือร่วม 2 ฝ่าย ระหว่างผู้บริหารของช่อง 3 กับคณะกรรมการ กสท. เมื่อ 30 กันยายน แต่ยังไร้ข้อสรุปเช่นเดิม
สำหรับความพยายามในการหาทางออกให้กับช่อง 3 นอกจากเรื่องข้อกังวลในเรื่องกฎหมายที่ฝ่ายช่อง 3 นำมาหารือถึงเรื่องที่บริษัทที่ประมูลทีวีดิจิตอลได้ (บีอีซี มัลติมีเดีย) กับเจ้าของคอนเทนต์ในระบบอนาล็อก (บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นท์) เป็นคนละบริษัทกัน ได้ข้อสรุปไปจากมติของ กสท.เสียงข้างมากที่ให้บีอีซี มัลติมีเดีย นำเนื้อหารายการของช่อง 3 อนาล็อกมาออกอากาศได้
นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอที่จะให้แก้ไขสัดส่วนการเช่าช่วงเวลาสำหรับบีอีซี มัลติมีเดีย เพิ่มขึ้น จาก 40% เป็น 100% ซึ่งเป็นอีกข้อเสนอหนึ่งของกรรมการ กสท.เสียงข้างน้อย
แต่ดูเหมือนว่าผลการหารือระหว่างตัวแทนของช่อง 3 และกรรมการ กสท.จะออกมาในแนวที่แตกต่างไปจากก่อนหน้านี้ โดยก่อนหน้านี้มีการเสนอที่จะลดค่าธรรมเนียม 4% ให้กับช่อง 3 และผู้ประกอบการรายอื่นที่เป็นฟรีทีวีเดิมที่เข้าประมูลทีวีดิจิตอล พร้อมลดให้ 2% สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่
กสท.กลับลำยึดกฎ-ดูอำนาจควบคุม
แต่หากพิจารณาจากการแสดงความคิดเห็นของนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งใน กสท.เสียงข้างมากผ่าน twitter จะพบว่า การหาทางออกให้กับช่อง 3 ในครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่ประเด็นเรื่องนิติบุคคลที่ช่อง 3 นำมาเป็นประเด็นในการหารือ เนื่องจากบริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด เป็นผู้ประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอลได้ ขณะที่บริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เป็นผู้ได้รับอนุญาตผลิตรายการในช่อง 3 อนาล็อก ทำให้เกิดข้อถกเถียงกันในเรื่องดังกล่าวว่าจะขัดต่อกฎหมายหรือไม่
กรรมการ กสท.รายเดิมแสดงความคิดเห็นว่า ประเด็นหลักไม่ใช่เรื่องนิติบุคคลเดียวกันหรือไม่ แต่พิจารณาที่การกระทำ พฤติกรรมว่าการนำ content มาในกรณีนี้ ประกอบกิจการด้วยตนเองหรือไม่ การนำเนื้อหาจากช่อง analog มาเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ digital กรณีนี้ ยังไม่ใช่จุดที่จะตัดสินว่าไม่ได้ประกอบกิจการด้วยตนเอง
กสท.ต้องดูพฤติกรรมอื่นๆ ประกอบ เช่น อำนาจในการควบคุมกิจการ การปฏิบัติตามเงื่อนไขใบอนุญาต และ รับผิดชอบในทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ดังนั้นการจะใช้ดุลพินิจตัดสินว่า ผู้รับใบอนุญาตนั้น ประกอบกิจการด้วยตนเองหรือไม่ จึงจะพิจารณาที่อำนาจในการควบคุม บริหารจัดการเป็นสำคัญ
“กรณีนี้แม้ช่อง 3 อนาล็อกและช่อง 3 ดิจิตอลจะเป็นกิจการที่ใช้คลื่น แต่การไปนำ content มา ไม่ใช่การโอนสิทธิในคลื่นความถี่ให้ผู้อื่นบริหารแทน”
สรุป การประกอบกิจการด้วยตนเองหรือไม่ จะดูที่อำนาจในการควบคุม (control) องค์ประกอบสำคัญ และ การต้องรับผิดชอบกับการกระทำต่างๆ
ขณะเดียวกันยังแสดงความไม่เห็นด้วยในการจะไปแก้ประกาศตามมาตรา 9 ให้คนอื่นเช่าช่วงได้ถึง 100% ยิ่งขัดเจตนารมณ์ของมาตรา 9 จะกระทบภาพรวมกฎหมายทั้งหมด
“ช่อง 3 อนาล็อกมีทางออกบนช่อง 3 ดิจิตอล ถ้ายินยอมให้ช่อง 3 ดิจิตอลบริหารจัดการทั้งหมดตามเงื่อนไข โดยไม่ต้องหรือไม่ควรไปแก้ประกาศใดๆ ทั้งสิ้น”
ทุกปัญหามีทางออก แต่ถ้าไม่ประสงค์จะเดินออก ก็มิอาจบังคับใจ แต่ก็ต้องตกอยู่ในสภาพที่กติกากลางกำหนด ถ้าจะแหกกฎจะกระทบต่อคนอื่นๆ ทั้งหมด เขาก็คงไม่ยอมเช่นกัน
เสียงข้างน้อยมองต่าง
ดูเหมือนการหารือกันในรอบนี้ กรรมการ กสท.เลือกกลับมาตั้งหลักที่กฎหมายและกฎระเบียบเดิมที่มีอยู่ ไม่ได้คล้อยตามข้อท้วงติงของฝ่ายช่อง 3 โดยปมปัญหาที่ช่อง 3 ต่อสู้มาตลอดคือความเป็นนิติบุคคลคนละบริษัทนั้น ทาง กสท.ตีความไปที่เรื่องอำนาจในการควบคุมบริษัท ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าโครงสร้างของช่อง 3 เป็นลักษณะโฮลดิ้ง คอมพานี มีบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BEC เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด 99.99% และถือในบริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด 99.99% เช่นกัน โดยมีตระกูลมาลีนนท์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน BEC
กรรมการ กสท.เสียงข้างมากจึงให้น้ำหนักไปที่อำนาจในการควบคุมภายในบริษัทเป็นหลัก
ขณะที่เสียงข้างน้อยอย่างพันเอกนที ศุกลรัตน์ ประธานกรรมการ กสท.ได้อ้างอิงความเห็นของที่ปรึกษาด้านกฎหมายส่วนตัวอย่างนายสวัสดิ์ โชติพานิช อดีตประธานศาลฎีกา ที่ให้ความเห็นว่า แม้บริษัททั้งสองจะเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน และมีผู้บริหารเป็นชุดเดียวกันก็ตาม ก็ไม่ทำให้บริษัททั้งสองเป็นบริษัทเดียวกันและมีผู้บริหารชุดเดียวกันก็ตาม ก็ไม่ทำให้บริษัททั้งสองเป็นบริษัทเดียวกันได้
“เมื่อมีมติออกมาผมก็ต้องปฏิบัติตามมติ แต่ก็เห็นแย้ง และไม่เห็นด้วยต่อการตีความตามกฎหมายลักษณะนี้ ผมเป็นเสียงข้างน้อย ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยผมก็ต้องเดินตาม”
นี่คือความเห็นต่างของกรรมการ กสท.ต่อกรณีของช่อง 3
เซียนธุรกิจชี้แก้ได้-ขึ้นกับเจตนา
ขณะที่ปัญหาในลักษณะที่คล้ายๆ กันนี้ เคยเกิดขึ้นในแวดวงธุรกิจมาไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ปัญหาให้กับภาคธุรกิจอย่างอาชีพวานิชธนกิจรายหนึ่งให้ความเห็นว่า
“เรียนตามตรงว่านี่เป็นวิธีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่นิยมทำกัน เนื่องจากในทางกฎหมายแล้วถือว่าเป็นคนละนิติบุคคลกัน ทั้งๆ ที่ผู้ถือหุ้นและผู้บริหารในบริษัททั้ง 2 เป็นชุดเดียวกัน นี่คือหลักการของการกระทำในลักษณะนอมินี”
เขากล่าวต่อไปว่า เรื่องทั้งหมดอยู่ที่เจตนาว่าต้องการอะไร หากต้องการยื้อเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจก็นำเอาเรื่องของคนละนิติบุคคลมาต่อสู้กัน เพราะในทางกฎหมายคนละบริษัทถือว่าเป็นคนละนิติบุคคล แม้จะมีผู้ถือหุ้นชุดเดียวกันก็ตาม แต่ในทางอำนาจการบริหารนั้นทราบกันดีว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน นี่เป็นจุดแข็งที่ฝ่ายช่อง 3 นำมาต่อสู้
หากต้องการที่จะร่วมเปลี่ยนผ่านวงการทีวีไปสู่ระบบดิจิตอลนั้นก็แก้ปัญหาได้ เช่น ดูกฎระเบียบของหน่วยงานที่ควบคุมว่าบีอีซี มัลติมีเดียซื้อรายการทั้งหมดของช่อง 3 อนาล็อกจากบางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ มาออกอากาศได้หรือไม่ หรือหารือกับ กสท. ถ้าไม่ขัดแล้วปัญหานี้ก็จบ
ส่วนจะชำระราคากันจริงหรือไม่ แพงเกินไปหรือถูกไปนั้นเป็นเรื่องทางบัญชี เพราะทั้งคู่เป็นลูกของบีอีซี เวิลด์
หรือถ้าขัดต่อกฎระเบียบจริงๆ ก็ยังมีทางออกเช่นให้บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย ซื้อหุ้นทั้งหมดหรือควบรวมกิจการกับบางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ รายการทั้งหมดในระบบอนาล็อกก็จะเป็นส่วนหนึ่งของบีอีซี มัลติมีเดีย โดยยังใช้ชื่อหลักเป็นบีอีซี มัลติมีเดีย เพื่อไม่ให้ขัดกับหลักเกณฑ์ในการประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอล
อย่างที่เรียนไว้ ขึ้นอยู่กับเจตนา
เดิมพันธุรกิจช่อง 3
แต่หากเกมนี้ยังถูกยืดออกไปจนครบกำหนดคือ 11 ตุลาคม 2557 คนที่เสียหายคือตัวของช่อง 3 เอง เพราะผู้ให้บริการในระบบดาวเทียมและเคเบิลทีวี คงไม่สามารถนำเอาสัญญาณช่อง 3 ระบบอนาล็อกออกอากาศบนโครงข่ายได้ นั่นคือจอดำ
ด้วยโครงสร้างการรับชมทีวีในประเทศไทยแล้วกว่า 70% ชมผ่านดาวเทียมและเคเบิลทีวี ที่เหลือยังรับชมแบบเดิมคือเสาอากาศแบบหนวดกุ้งหรือก้างปลา เมื่อฐานของผู้ชมช่อง 3 หายไป 70% ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก และจะกระทบกับฐานรายได้ของช่อง 3 โดยเฉพาะเรื่องของโฆษณา ซึ่งบริษัทเอเยนซีคงต้องหันไปหาช่องอื่น และผู้บริหารช่อง 3 เคยแจ้งว่าหากเกิดสภาพดังกล่าว จะคืนเงินให้กับบริษัทที่มาลงโฆษณากลับไป 70% ตรงนี้จะกระทบต่อรายได้และผลการดำเนินงานของช่อง 3 และจะกระทบกับราคาหุ้นของ BEC ด้วย
หากช่อง 3 จะแก้ปัญหาเพื่อให้ออกอากาศบนดาวเทียมและเคเบิลทีวีได้เหมือนเดิม โดยที่ยังไม่ออกอากาศแบบคู่ขนานที่ กสท.ให้สิทธิ์ในการนำเอารายการจากระบบอนาล็อกออกอากาศบนโครงข่ายดาวเทียมและเคเบิลได้ โดยยังได้สิทธิ์โฆษณา 12 นาทีตามเดิม ทางช่อง 3 ก็ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ดาวเทียมแทน แต่ก็จะติดปัญหาที่ใบอนุญาตนี้กำหนดให้โฆษณาได้ไม่เกิน 6 นาทีต่อชั่วโมง ขณะที่ฟรีทีวีได้สิทธิ์ขายโฆษณา 12 นาทีต่อชั่วโมง รายได้จะหายไปนับสิบล้านบาทต่อวัน และส่งผลต่อราคาโฆษณาที่อาจต้องปรับลดลง
เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากกับการนำเอารายการจากฟรีทีวีอนาล็อก โฆษณาได้ 12 นาที เมื่อนำมาออกอากาศบนดาวเทียมหรือเคเบิลแล้วจะตัดโฆษณาให้เหลือ 6 นาทีตามหลักเกณฑ์
ละครแข็งแต่มีทางเลือก
ตอนนี้ผู้บริหารช่อง 3 คงต้องทบทวนให้ดี แม้ในเรื่องข้อกฎหมายจะเป็นการตีความมาจากกรรมการ กสท. 3 ท่าน ซึ่งเปิดทางไว้แล้ว หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นจริงๆ กรรมการทั้ง 3 ท่านก็ต้องรับผิดชอบ
การจะพึ่งความเมตตาของศาลปกครองอีกครั้ง ก็ยังนับว่าเสี่ยงต่อสภาพจอดำบนโครงข่ายดาวเทียมและเคเบิล
แม้ช่อง 3 จะมีฐานผู้ชมเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนกรุงเทพฯ และคนเมืองตามต่างจังหวัด คนกลุ่มนี้มีการศึกษา มีวุฒิภาวะเข้าถึงเทคโนโลยี และจำนวนไม่น้อยที่ตัดสินใจได้ว่าอะไรเป็นเหตุเป็นผล จุดแข็งของช่อง 3 ตอนนี้อยู่ที่ละครเท่านั้น อีกทั้งหากต้องจอดำจริง ๆ แฟนละครของช่อง 3 ยังสามารถหาชมได้ตาม Youtube ที่ทุกเรื่องจะมีการนำมาลงไว้ให้ดูย้อนหลังได้ นี่จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้บริหารช่อง 3 ต้องนำไปไตร่ตรอง
ที่ผ่านมาเราก็เห็นปัญหาเรื่องความหละหลวมของกฎระเบียบของ กสท.เช่นกัน แม้จะมีเจตนาดี แต่บางครั้งก็เปิดช่องว่างให้มีการต่อสู้กันในทางกฎหมายได้ หรือการเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านที่ดำเนินการอย่างรวดเร็วจากการเริ่มออกอากาศเดือนเมษายน 2557 แต่ก็เหลือเพียงรายของช่อง 3 เท่านั้นที่ยังเป็นปัญหากันอยู่
การกลับมายืนที่จุดของหลักทางกฎหมายนับว่าเป็นเรื่องดี เพราะการให้สิทธิในเรื่องค่าธรรมเนียมกับผู้ได้รับใบอนุญาตสุ่มเสี่ยงต่อการฟ้องร้องจากผู้เสียประโยชน์ แต่ยังกังวลในเรื่องการตีความเรื่องของบริษัท บีอีซี มัลติมีเดียกับบางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ว่ากระทำได้ภายใต้อำนาจของ กสท.หรือไม่
จากนี้ไปคงต้องกลับไปที่ฝ่ายบริหารของช่อง 3 ว่าจะตัดสินใจอย่างไร จะยอมตามข้อเสนอของกรรมการ กสท.หรือจะต่อสู้ตามกระบวนการทางกฎหมายต่อไป