xs
xsm
sm
md
lg

เตรียมรับมือวิกฤตภัยแล้งมาแล้ว ขาดแคลนน้ำทั้งคนกรุง-ภาคการเกษตร

เผยแพร่:

กรมชลประทานฟันธง น้ำเหนือไม่ไหลบ่าท่วมกรุงแน่ เตรียมแผนบริหารจัดการน้ำ 2 แบบ คือ รับมือน้ำท่วมฉับพลันในจุดเสี่ยงบางจังหวัด และการขาดแคลนน้ำภาคการเกษตรที่อาจเข้าขั้นวิกฤต ในอนาคตถึงขั้นขาดน้ำกินและน้ำใช้ ด้าน ดร.รอยล มองปัญหาขาดแคลนน้ำในภาคเกษตร เป็นไปในเป็นทิศทางเดียวกัน และเห็นว่าในวันนี้ต้องเริ่มศึกษาและมองหาแนวทางในการวางนโยบาย เผยนำทีมสสนก.เตรียมข้อมูลสนับสนุนทุกหน่วยงานด้านบริหารจัดการน้ำ เพื่อสกัดน้ำท่วมใหญ่ และแนวโน้มภัยแล้ง ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีนี้
สภาพอากาศฝนฟ้าคะนองที่มีปริมาณน้ำฝนมาก ตั้งแต่เดือนกรกฏาคม สิงหาคม และกันยายน ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมในจังหวัดสุโขทัยและพิษณุโลก อีกทั้งกระแสข่าวการปล่อยน้ำจากเขื่อนลงสู่แม่น้ำโขงในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้สร้างความวิตกกังวลให้คนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ต้อง เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เนื่องจากกลัวจะเกิดอุทกภัยเช่นเดียวกับปี 2554สถานการณ์ดังกล่าวทำให้หน่วยงานที่ดูแลงานด้านบริหารจัดการน้ำ ได้ออกมาประเมินสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ รวมถึงที่จังหวัดสุโขทัยและเชียงรายว่า เป็นเรื่องปรกติตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ไว้ว่าอิทธิพลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กับร่องกดอากาศต่ำที่พัดผ่านทางภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานตอนบน จะส่งผลทำให้พื้นที่ทางตอนบนของประเทศไทยมีฝนตกมาก โดยเฉพาะในช่วงต้นฤดูฝนปีนี้ น้ำฝนจะมีปริมาณมาก และติดต่อกันหลายวัน จึงเกิดการสะสมทำให้การระบายน้ำไม่ทัน ส่งผลทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมแบบฉับพลัน
โดยเฉพาะกรณีอุทกภัยที่เกิดขึ้นในจังหวัดสุโขทัย นับว่าเป็นตัวอย่างของพื้นที่มีปริมาณน้ำฝนมากในช่วงต้นฤดูฝน อีกทั้งในบริเวณแม่น้ำยมยังมีลักษณะภูมิประเทศการระบายน้ำไม่ดี เพราะตอนบนจะมีลักษณะกว้างและตอนล่างแคบ เมื่อมีฝนตกปริมาณมากติดต่อกันหลายวัน จึงทำให้เกิดลักษณะของน้ำท่วมฉับพลัน

ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมายังไม่สร้างความเดือดร้อนในระดับรุนแรง แต่ข้อมูลจากกรมชลประทาน และสสนก. ( สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร) ต่างก็ให้ข้อมูลเป็นไปในทางทิศเดียวกันว่า ช่วงเวลาของฤดูฝนที่เหลืออีก 2 เดือนตั้งแต่กันยายนและตุลาคมนี้ ยังต้องติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด และหลังจากนั้นฝนจะทิ้งช่วง และเมื่อถึงเวลานั้นประเทศไทยกำลังจะเผชิญกับปัญหาภัยแล้งตามมาเป็นระลอกต่อไป
ขณะเดียวกัน น้ำเหนือจากเชียงราย สุโขทัย พิษณุโลก กำลังจะไหลมาบรรจบรวมกันผ่าน นครสวรรค์ อุทัยธานีและอยุธยาจนทำให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ เช่นเดียวกับสถานการณ์ปี 2554 ที่น้ำจากที่นี่ไหลไปอำเภอบางบัวทอง และพื้นที่ใกล้เคียงต่างๆจนทำให้เกิดวิกฤตหนักน้ำท่วมหนักนั้น นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวอย่างมั่นใจว่า ปีนี้น้ำไม่ท่วมกรุงเทพฯแน่นอน เพราะในพื้นที่รอยต่อน้ำท่วมที่สุโขทัย ยังมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ อย่างโครงการแก้มลิงบางระกำ ที่สามารถหน่วงน้ำไว้แล้วค่อยๆทะยอยไหลออกมา ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบในภาพรวมของการบริหารจัดการน้ำในลุ่มเจ้าพระยา

เตือนจุดเสี่ยงรับน้ำเหนือ

อย่างไรก็ตามผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบายน้ำในลักษณะดังกล่าวและปริมาณน้ำขนาดนี้ จะส่งผลต่อบ้านเรือนริมตลิ่งที่มีพื้นที่ต่ำ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน คือ คลองบางโผงเผง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง และคลองบางบาน ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา และอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งในระเบียบการปฏิบัติตามปรกติของกรมชลฯได้แจ้งเตือนล่วงหน้าก่อนที่น้ำจะมา อีกทั้งวิถีชุมชนของที่นี่ปลูกบ้านแบบมีเสาใต้ถุงสูงมานานแล้ว จึงไม่น่าจะมีผลกระทบมากนัก
ขณะเดียวกัน น้ำเหนือจากเชียงราย สุโขทัย พิษณุโลก กำลังจะไหลมาบรรจบรวมกันผ่าน นครสวรรค์ อุทัยธานีและอยุธยาจนทำให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ เช่นเดียวกับสถานการณ์ปี 2554 ที่น้ำจากที่นี่ไหลไปอำเภอบางบัวทอง และพื้นที่ใกล้เคียงต่างๆจนทำให้เกิดวิกฤตหนักน้ำท่วมหนักนั้น นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวอย่างมั่นใจว่า ปีนี้น้ำไม่ท่วมกรุงเทพฯแน่นอน เพราะในพื้นที่รอยต่อน้ำท่วมที่สุโขทัย ยังมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ อย่างโครงการแก้มลิงบางระกำ ที่สามารถหน่วงน้ำไว้แล้วค่อยๆทะยอยไหลออกมา ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบในภาพรวมของการบริหารจัดการน้ำในลุ่มเจ้าพระยา

เตือนจุดเสี่ยงรับน้ำเหนือ

อย่างไรก็ตามผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบายน้ำในลักษณะดังกล่าวและปริมาณน้ำขนาดนี้ จะส่งผลต่อบ้านเรือนริมตลิ่งที่มีพื้นที่ต่ำ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน คือ คลองบางโผงเผง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง และคลองบางบาน ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา และอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งในระเบียบการปฏิบัติตามปรกติของกรมชลฯได้แจ้งเตือนล่วงหน้าก่อนที่น้ำจะมา อีกทั้งวิถีชุมชนของที่นี่ปลูกบ้านแบบมีเสาใต้ถุงสูงมานานแล้ว จึงไม่น่าจะมีผลกระทบมากนัก
ขณะเดียวกัน ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลมีการสร้างกำแพงกันตลิ่งค่อนข้างสูง สามารถรับน้ำได้ 3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในปัจจุบันมีการระบายเพียง 1,000 ลูกบาศก์เมตร และคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาทั้งปี หากว่าไม่มีเงื่อนไขของพายุเข้ามา ประเมินว่าไม่น่าจะเกิน 1,800 ลูกบาศก์เมตร

วิกฤตขาดแคลนน้ำในอนาคต

อธิบดีกรมชล ย้ำด้วยว่า คนกรุงเทพและปริมณฑล ไม่ต้องกังวล เพราะในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นตามมา ไม่ใช่ปัญหา “น้ำท่วมฉับพลัน “ เฉพาะพื้นที่ในวันนี้ ซึ่งไม่น่ากลัวเมื่อเทียบเท่ากับวิกฤตที่กำลังตามมา ซึ่งเป็นเรื่องของ “น้ำ” สำหรับการเพาะปลูกประจำปี และที่น่าเป็นห่วงมากยิ่งขึ้นไปอีก ที่อาจต้องเจอกับสภาพของการไม่มีน้ำใช้ในอนาคต

โดยเฉพาะสถานการณ์การขาดแคลนน้ำสำหรับภาคเกษตรในวันนี้ มีแนวโน้มความเป็นไปได้ว่าอาจบานปลายไปถึงขั้นไม่มีน้ำใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค แนวทางเพื่อสร้างแหล่งน้ำ ทั้งเขื่อนหรืออ่างเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้จึงมีความจำเป็นอย่างมากซึ่งจากข้อมูลของกรมชลประทาน ที่ว่าวันนี้ประเทศไทยมีการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชลประทานเพียง 20%
ของพื้นที่เพาะปลูก ส่วนที่เหลืออีก 80% อาศัยน้ำที่มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งไม่สามารถจะบริหารจัดการได้ โดยชุมชนกลุ่มที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำก็ใช้น้ำหมด ขณะที่ชุมชนอยู่ไกลไม่มีใช้ ซึ่งยังเป็นปัญหาของประเทศอยู่

ทั้งนี้เมื่อถามถึงพื้นที่ต้องเริ่มสร้างอย่างเร่งด่วน “อธิบดีกรมชล ” กล่าวว่า เกือบทุกพื้นที่ เพราะประเทศไทยมีพื้นที่นอกเขตซึ่งไม่มีแหล่งน้ำถึง 80% ซึ่งมีอยู่ทั่วไป

“อยากให้ผู้เกี่ยวข้องไปสอบถามคนในพื้นที่จะรู้ว่าพวกเขารอการสร้างเขื่อนและอยากให้มีสร้างมากกว่าและพวกที่คัดค้านรองไปตรวจสอบดูซิใช่คนพื้นที่หรือไม่”

ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือปัญหาการขาดแคลนน้ำในอนาคต ที่เห็นได้ชัดเจนคือน้ำมีปริมาณน้อยกว่าจำนวนคนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งน้ำประปาในกรุงเทพฯและปริมณฑลใช้น้ำจากเขื่อนที่สร้างมาถึง 50 ปีแล้ว และวันนี้มีเขื่อนเพิ่มขึ้นคือเขื่อนป่าสักกับเขื่อนแควน้อยซึ่งเพิ่มปริมาณน้ำขึ้นมาได้ไม่มากเพียงพอกับจำนวนคน ทั้งการใช้ใน ภาคอุปโภคและ บริโภค ภาคการเกษตร
ภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นเรื่อยๆแต่น้ำมีเท่าเดิม และในวันข้างหน้าจะเพียงพอหรือไม่ หากประเทศไม่มีการวางแผนเพื่อรับมือกับวิกฤตที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไว้ล่วงหน้า

“วันนี้เรายังมีน้ำกินน้ำใช้สำหรับช่วงเวลาสั้นๆ แต่พอถึงยุคต่อไปเราอาจจะต้องผลัดกันอาบน้ำ ผลัดกันล้างรถ โดยจัดรอบเวรเป็นซอยคู่วันนี้ ซอยคี่อีกวัน อาจจะต้องสลับกันทำอะไรที่เกี่ยวกับการใช้น้ำหลายอย่าง ซึ่งมีความเป็นไปได้ เพราะวันนี้การเพาะปลูกยังต้องสลับการส่งน้ำเป็นรอบเวร “อธิบดีกรมชลประทาน จำลองภาพเหตุการณ์การขาดแคลนน้ำในอนาคต
ที่สำคัญกรมชลประทานได้มีสร้างอ่างเก็บน้ำ และสร้างเขื่อน หรือระบบกรมชลประทานมาเป็น 100 ปี และพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการสร้าง 2 เขื่อนหลัก คือ เขื่อนภูมิพลกับเขื่อนสิริกิตต์ ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยมีประชากร 30 ล้านคน มีพื้นที่เพาะปลูกไม่เกิน 2 ล้านไร่ และทำนาหน้าฝนอย่างเดียว ในปัจจุบันคนทั่วประเทศมี 70 ล้านคน โดยใน 22 จังหวัดที่ใช้น้ำจากลุ่มน้ำเจ้าพระยามีคนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านคน มีพื้นที่การเพาะปลูก 10 ล้านไร่ที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และทำนา 2 ครั้งรวมเป็น 20 ล้านไร่

ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหานั้น กรมชลฯกำลังดำเนินการให้กระทรวงเกษตรผลักดันในเรื่องการสร้างระบบชลประทานในรูปต่าง ๆ รวมถึงขณะนี้ยังมีโครงการที่อยู่ในแผนเร่งด่วนที่จะให้ คสช.อนุมัติเป็นพิเศษอยู่บางโครงการ และบางโครงการต้องผ่านคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นเรื่องที่คณะกรรมการต้องตรวจสอบแนวทางแก้ไขนั้นมีผลกระทบ มีความพร้อม และมีมาตรฐานสากลเหมาะสมหรือไม่

“ที่เร่งด่วนตอนนี้คือมีคณะกรรมการที่จะต้องไปจัดสรรการใช้น้ำในเรื่องการเพราะปลูก ให้เหมาะสมเพียงพอ ไม่ใช่แห่ปลูกแล้วแย้งการใช้น้ำ ใครอยู่ใกล้แหล่งน้ำก็ดึงไว้ก่อน จะทำให้กระทบพืชผลทางการเกษตรทั้งระบบ และคนกรุงก็จะกระทบเพราะการประปาก็ใช้น้ำจากเขื่อนเหมือนกัน ซึ่งน้ำประปาก็จะเค็ม รวมทั้งคนใช้น้ำเพื่ออุปโภค บริโภค ในพื้นที่ต่าง ๆ ด้วย
ไม่วิตกสถานการณ์น้ำท่วม

ด้าน ดร. รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือสสนก. ซึ่งมีบทบาทในการนำเสนอข้อมูล ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องการบริหารจัดการน้ำและเป็นผู้จัดทำแผนพัฒนา กล่าวว่า หัวใจของการบริการจัดการน้ำในปี 57 คือ “ไม่ให้ท่วม กับไม่ให้แล้งมีน้ำใช้” โดยระยะเวลาสำคัญอยู่ที่เดือนกันยายนจนถึงสิ้นเดือน และเมื่อย่างเข้าเดือนตุลาคมปริมาณฝนจะลดลงทันที
ไม่วิตกสถานการณ์น้ำท่วม

ด้าน ดร. รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือสสนก. ซึ่งมีบทบาทในการนำเสนอข้อมูล ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องการบริหารจัดการน้ำและเป็นผู้จัดทำแผนพัฒนา กล่าวว่า หัวใจของการบริการจัดการน้ำในปี 57 คือ “ไม่ให้ท่วม กับไม่ให้แล้งมีน้ำใช้” โดยระยะเวลาสำคัญอยู่ที่เดือนกันยายนจนถึงสิ้นเดือน และเมื่อย่างเข้าเดือนตุลาคมปริมาณฝนจะลดลงทันที
กำลังโหลดความคิดเห็น