ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หนุนแนวทางเครือข่ายข้าราชการพลเรือน ที่ออกมาทวงศักดิ์ศรีคืน หลังถูกรัฐบาลชุดนี้ย่ำยี ข่มขู่ เรียกร้องออกมายิ่งมากยิ่งดี เผยทุกวันนี้ข้าราชการตกอยู่ในสถานะคนใช้ในบ้าน นักการเมืองสั่งอะไรก็ต้องทำ ใครที่ไม่เห็นด้วยโดนสารพัด ขณะที่ปลัด สธ. โดนเอ็ม 79 ยิงใส่บ้าน ย้ำรู้ดีว่าในทางปฏิบัติรัฐบาลไม่ชอบธรรม แต่ทางกฎหมายยังมีอำนาจอยู่ ชี้ทุกอย่างจะชัดเจนเมื่อ ป.ป.ช. หรือศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน เมื่อนั้นได้เห็นข้าราชการไม่เอาด้วยกับรัฐบาล ด้านเครือข่ายบุคลากรทางการแพทย์ เดินหน้าตอบโต้ ศอ.รส.!
แถลงการณ์ของเครือข่ายข้าราชการพลเรือนที่ออกมาตอบโต้การกระทำของ ศอ.รส. เมื่อ 18 เมษายน 2557 ที่ผ่านมา หลังจากที่กลุ่ม กปปส. เดินทางไปตามกระทรวงต่างๆ แล้วปลัดกระทรวงลงมาให้การต้อนรับ โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 8 เมษายน ที่ กปปส. เดินสายไปกระทรวงยุติธรรม และนายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ลงมาให้การต้อนรับ จึงทำให้ ศอ.รส. ออกจดหมายเชิญปลัดกระทรวงทุกกระทรวงประชุมในวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา และย้ำว่าปลัดต้องมาด้วยตัวเอง โดยในจดหมายดังกล่าวยังอ้างถึงปลัดกระทรวงยุติธรรมว่าการกระทำดังกล่าวไม่เหมาะสมและควรแก่การตำหนิ
นับเป็นวิธีการเช็กรายชื่อข้าราชการระดับสูงในกระทรวงต่างๆ ว่าพร้อมจะยืนอยู่ข้างรัฐบาลหรือไม่ มีใครบ้างที่แตกแถวไปยืนข้างฝ่ายตรงข้าม อีกทั้งยังเป็นการสกัดกั้นไม่ให้บรรดาข้าราชการเหล่านี้ไปร่วมมือกับกลุ่ม กปปส. แล้วหันมาให้ความร่วมมือกับรัฐบาล เพื่อไม่ให้กระแสนี้ลามไปในทุกกระทรวง
แม้ในวันดังกล่าวปลัดกระทรวงยุติธรรมจะไปตามนัดหมาย แต่นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่แสดงท่าทีชัดเจนมาตั้งแต่ต้นว่าเห็นด้วยกับแนวทางการปฏิรูป ไม่ได้ไปตามที่กล่าวไว้ล่วงหน้า ทำให้ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง ในฐานะผู้อำนวยการ ศอ.รส. ออกมากล่าวว่า “อยากให้ นพ.ณรงค์ ไปแสดงออกด้วยการขึ้นเวที กปปส. เผื่อจะได้เป็นรัฐมนตรีกับเขาในช่วงที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. เรืองอำนาจ นอกจากนี้ ขอเตือนอีกว่า อย่าใช้กระทรวงสาธารณสุขเป็นสถานที่ในการแสดงออกทางการเมือง เนื่องจากเป็นสมบัติของชาติ”
ข่มขู่ไม่สำเร็จ-ระเบิดลงบ้าน
นายแพทย์ณรงค์ ถือเป็นข้าราชการระดับสูงที่ชัดเจนว่าไม่เลือกเดินไปในทิศทางเดียวกับรัฐบาล ทั้งการขึ้นป้ายไม่เอารัฐบาลโกงทั้งที่กระทรวงสาธารณสุขและตามโรงพยาบาลต่างๆ ทำให้คนเสื้อแดงไม่พอใจ มีทั้งการไปเรียกร้องให้ปลดป้ายดังกล่าวลง พร้อมมีการทำร้ายข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุข และล่าสุดคือการยิง M79 ถล่มบ้านพักของนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ภายในซอยแจ้งวัฒนะ 14 เมื่อช่วงเช้าวันที่ 21 เมษายน 2557
นอกจากนี้ ยังใช้ถ้อยคำที่กล่าวถึงนายแพทย์ณรงค์ด้วยภาษาพ่อขุนรามคำแหงอย่างเช่น “แต่ถ้ามึงแทงหวยผิด รัฐบาลตั้งหลักได้ เขาก็ย้ายมึงหมดก็มีเท่านั้น อย่างปลัดกระทรวงสาธารณสุข ใครจะเอาไว้”
ไม่เพียงแค่ข้าราชการตามกระทรวงต่างๆ เท่านั้น แต่ข้าราชการอย่างศาลรัฐธรรมนูญ หรือหน่วยงานอย่าง ป.ป.ช. ทั้งนายกรัฐมนตรีและคนในรัฐบาลรวมถึง ศอ.รส. ก็ชี้ไปที่ข้าราชการเหล่านี้ว่าไม่มีความเป็นกลาง โดยระบุชื่อบุคคล ทั้งนายวิชา มหาคุณ จาก ป.ป.ช. และนายจรัญ ภักดีธนากุล ทั้ง 2 ท่านนี้ถูกหมายตาจากรัฐบาลชุดนี้เป็นพิเศษ เมื่อยังคงเดินหน้าที่จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไป บ้านพักของทั้ง 2 ท่านก็เกิดเหตุระเบิดทั้งคู่
โดย ศอ.รส. ยังออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 17 เมษายน เรียกร้องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาดำเนินคดีและมีคำวินิจฉัยต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในกรณีโครงการรับจำนำข้าวอย่างตรงไปตรงมาตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายโดยไม่เลือกปฏิบัติเป็น 2 มาตรฐาน และต้องปฏิบัติตามจริยธรรมอันเป็นมาตรฐานสำคัญของการปฏิบัติหน้าที่
สำหรับศาลรัฐธรรมนูญ ศอ.รส. ขอเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาและมีคำวินิจฉัยต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในกรณีการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี อย่างตรงไปตรงมา ประการสำคัญอย่างยิ่ง ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องไม่วินิจฉัยเกินเลยไปถึงขนาดว่าหากความเป็นนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงแล้ว รัฐมนตรีทั้งคณะจะต้องพ้นจากตำแหน่งไปตามมาตรา 180 โดยจะอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ตามมาตรา 181 อีกไม่ได้
หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเกินกว่ารัฐธรรมนูญตามที่กล่าวมาในข้อ 2 แล้ว คณะรัฐมนตรีจะต้องแก้ไขปัญหามิให้เกิดสุญญากาศ คณะรัฐมนตรีจะทูลเกล้าฯ ขอพระบรมราชวินิจฉัยว่าคณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากการอยู่ในตำแหน่งตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเกินจากรัฐธรรมนูญหรือไม่
นอกจากนี้ ศอ.รส. ขอเรียกร้องต่อหัวหน้าส่วนราชการระดับสูง อันได้แก่ ปลัดกระทรวง เลขาธิการ อธิบดี และหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออื่นๆ ได้ปฏิบัติหน้าที่ในราชการอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะการบริหารจัดการให้ส่วนราชการ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ สามารถปฏิบัติงานให้บริการประชาชนได้อย่างดีตามปกติ โดยไม่ถูกบุกรุกหรือปิดล้อมจนไม่สามารถให้บริการได้ รวมถึงการกำชับ ตักเตือน และดูแลให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่หลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกับกิจกรรมใดๆ ที่อาจเข้าข่ายสนับสนุนแกนนำของกลุ่มเรียกร้องที่กระทำผิดกฎหมายและอยู่ระหว่างถูกดำเนินคดี
นับเป็นครั้งแรกที่ฝ่ายรัฐบาลออกมาตำหนิข้าราชการในสังกัดอย่างรุนแรงและเปิดเผย รวมถึงก้าวก่ายไปยังองค์กรอิสระ แม้กระทั่งตุลาการ รัฐบาลก็ใช้อำนาจของฝ่ายบริหารไปก้าวก่ายอำนาจนิติบัญญัติ
ย้ายเพื่อญาติ-โยกคนขวางประโยชน์
ก่อนหน้านี้ รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีการโยกย้ายข้าราชการให้พ้นไปจากเส้นทาง อย่างนายแพทย์วิทิต อรรถเวชกุล คณะรัฐมนตรีเสนอพ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ตามที่นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ โดยอ้างความเสียหายมากขึ้นกรณีองค์การเภสัชกรรมสั่งซื้อวัตถุดิบพาราเซตามอลมาสำรองฯ และกรณีการก่อสร้างโรงงานผลิตยาพาราเซตามอลล่าช้า จึงเห็นควรเลิกจ้างนายแพทย์วิทิต
อีกทั้งยังโยกย้ายนางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว ฤดูกาล 2554/2555 ที่ประเมินว่ารัฐบาลจะขาดทุนในโครงการนี้ 2.6 แสนล้านบาท ทำให้ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลนำเอาข้อมูลดังกล่าวไปโจมตีรัฐบาล โดยได้เปลี่ยนสายงานให้นางสาวสุภาไปกำกับดูแลงานของสำนักปลัด กระทรวงการคลัง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) โดยเปลี่ยนตัวรองปลัดคนใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทน
ถือเป็นการใช้อำนาจของรัฐบาลรักษาการ มาบังคับให้ข้าราชการเหล่านี้ปฏิเสธการตอบรับกับแนวทางของกลุ่ม กปปส.ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล แม้รัฐบาลรักษาการของพรรคเพื่อไทยจะสุ่มเสี่ยงอาจต้องพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ จากการชี้มูลความผิดนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว และการปฏิบัติหน้าที่ที่อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญจากกรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ เมื่อต้นเดือนกันยายน 2554 เปิดทางให้ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รับตำแหน่งใน สมช.แทน แล้วดัน พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ พี่ชายคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภรรยาพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
นี่เป็นการโยกย้ายข้าราชการระดับสูง เพื่อให้เครือญาติของนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล ขึ้นมากุมอำนาจในช่วงที่คนในตระกูลชินวัตรกุมอำนาจบริหารประเทศ ไม่ได้เป็นการโอนย้ายเพื่อประโยชน์ของการบริหารราชการแผ่นดิน อีกทั้งศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเมื่อ 31 พฤษภาคม 2556 คำสั่งนายกรัฐมนตรีให้นายถวิลไปปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่สมเหตุสมผล ไม่ชอบด้วยกฎหมายและทำให้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่ให้นายถวิลพ้นจากเลขาฯ สมช.เป็นคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยให้มีผลย้อนหลังให้นายถวิลกลับมาดำรงตำแหน่งเลขาฯ สมช.ตั้งแต่ 7 กันยายน 2554
แต่รัฐบาลก็อุทธรณ์เรื่องดังกล่าวไว้ จนศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาเช่นเดียวกับศาลปกครอง ให้นายถวิลกลับเข้ารับตำแหน่งเดิมใน สมช. เมื่อ 7 มีนาคม 2557
จะเห็นได้ว่าในรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้โยกย้ายข้าราชการโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสมหรือเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ แต่เป็นไปเพื่อขจัดข้าราชการที่ขวางเส้นทางและนโยบายของรัฐบาล รวมไปถึงการโยกย้ายเพื่อให้เครือญาติของคนในตระกูลชินวัตรขึ้นมาดำรงตำแหน่งสำคัญอย่างตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ข้าราชการรวมตัวกู้ศักดิ์ศรี
ความหวั่นไหวของรัฐบาลนี้ที่เห็นบรรดาข้าราชการทั้งส่วนที่เกษียณอายุไปแล้วหรือข้าราชการในยุคปัจจุบันไปขึ้นเวทีร่วมกับกลุ่ม กปปส. หรือให้การต้อนรับเมื่อกลุ่ม กปปส.เดินทางมาเยี่ยมที่กระทรวง ยิ่งสร้างความไม่พอใจแก่รัฐบาลเป็นอย่างมาก เพราะเท่ากับเป็นการประกาศตัวเป็นศัตรูกับรัฐบาลโดยตรง
ที่สำคัญรัฐบาลยังคงต้องพึ่งพากำลังของข้าราชการเป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อประคองสถานการณ์ให้รัฐบาลยังคงมีอำนาจต่อไป ข้าราชการหลายคนถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อเอาผิดจากการไปร่วมชุมนุมกับ กปปส. รวมไปถึงการข่มขู่ข้าราชการด้วยวิธีการต่างๆ
ดังนั้น จึงมีแถลงการณ์ออกมาของเครือข่ายข้าราชการพลเรือน ประกอบด้วย สมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย เครือข่ายกลุ่มข้าราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กลุ่มข้าราชการกระทรวงแรงงาน กลุ่มรักกระทรวงพาณิชย์ และเครือข่ายบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่แสดงความเห็นว่า
1. ปลัดกระทรวงทุกกระทรวง คือ ผู้บริหารสูงสุด ทำหน้าที่เป็นตัวแทนข้าราชการประจำ ที่ประกอบคุณงามความดี รับใช้แผ่นดินมายาวนาน มีเกียรติภูมิ มีศักดิ์ศรี และมีวิจารณญาณมากพอที่จะตัดสินใจได้ว่าสิ่งใดควรกระทำและไม่ควรกระทำ
2. การรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายท่ามกลางสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งรุนแรง เป็นสิ่งที่เหมาะสมและพึงกระทำที่สุด เหตุการณ์ที่ไม่ปกติทุกวันนี้ ล้วนเกิดจากการไม่เคารพความคิดเห็นต่างๆ โดยเฉพาะจากผู้มีอำนาจ และ
3. ในฐานะข้าราชการประจำ โดยเฉพาะผู้บริหารสูงสุด ถือเป็นหน้าที่ที่ต้องเป็นหลักและร่วมหาทางออกให้กับบ้านเมือง
การกระทำของ ศอ.รส. และผู้มีอำนาจ ถือเป็นการดูหมิ่นศักดิ์ศรีของข้าราชการอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เครือข่ายขอยืนยันว่า เราจักยึดหลักความเป็นกลางทางการเมือง ด้วยการปฏิบัติหน้าที่ให้บริการแก่ประชาชนทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม ไม่แบ่งแยกว่าเป็นฝ่ายใด สามารถทำงานร่วมกับพรรคการเมืองทุกพรรคที่ได้รับเลือกเข้ามาทำหน้าที่บริหารบ้านเมือง
ขณะเดียวกัน ก็ไม่เข้าข้างพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง จะปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ชอบด้วยกฎหมายและสอดคล้องกับหลักจริยธรรม ทั้งนี้ กลไกราชการเป็นกลไกสำคัญในการบริหารบ้านเมือง ไม่ได้เป็นของพรรคการเมืองใด หรือกลุ่มบุคคลใด ข้าราชการจึงต้องปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ จึงจะถือว่ามีความเป็นกลางทางการเมืองที่ถูกต้องและเป็นการแสดงความกตัญญูต่อแผ่นดิน
พร้อมทั้งเรียกร้องว่า ถึงเวลาแล้วที่พี่น้องข้าราชการทุกท่านต้องร่วมกันธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของข้าราชการ ยึดมั่นในการกระทำที่ถูกต้องโดยไม่เกรงกลัวต่ออำนาจ คำข่มขู่ และคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีเกียรติ สมศักดิ์ศรีของข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นี่คือปฏิกิริยาของข้าราชการที่ออกมาตอบโต้ ศอ.รส. หน่วยงานที่รัฐบาลตั้งขึ้นตามอำนาจของพระราชบัญญัติความมั่นคง เพื่อควบคุมสถานการณ์หลังจากที่กลุ่ม กปปส.ออกมาชุมนุมต่อต้านรัฐบาลพรรคเพื่อไทย
รัฐกับรัฐบาลไม่เหมือนกัน
อดีตข้าราชการระดับปลัดกระทรวงรายหนึ่งกล่าวว่า แถลงการณ์ของเครือข่ายข้าราชการพลเรือนที่ออกมานั้นถือเป็นเรื่องดี และอยากให้ข้าราชการต่างๆ แสดงออกในเรื่องเหล่านี้มากๆ โดยเฉพาะที่กระทรวงการต่างประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมานักการเมืองได้แสดงพฤติกรรมข่มขู่ คุกคาม ข้าราชการที่เห็นต่างกับรัฐบาลตลอดเวลา
ทั้งนี้ ต้องเข้าใจก่อนว่าความมั่นคงของรัฐบาลกับความมั่นคงของรัฐไม่เหมือนกัน เราจะให้ข้าราชการต่อสู้ในหน้าที่หรือต่อสู้เพื่อรัฐบาล ยกตัวอย่างจากการตั้งด่านของเจ้าหน้าที่ตำรวจในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมือง ข้าราชการตำรวจต้องเข้าใจว่า คนที่มาชุมนุมนั้นเขาทำได้ตามสิทธิรัฐธรรมนูญ การตั้งด่านนั้นมีหน้าที่ในการตรวจค้นอาวุธเพื่อไม่ให้มีการนำมาก่อเหตุร้าย แต่ไม่ใช่ไปสกัดกั้นไม่ให้พวกเขาเข้ามาร่วมชุมนุม
“ความไม่มั่นคงของรัฐบาลมีได้ในทางการเมือง แต่อย่าเอาข้าราชการมาเป็นเครื่องมือในการต่อสู้”
อย่าง กปปส. มาพบตามกระทรวงต่างๆ โดยมารยาทแล้วก็ต้องต้อนรับ เปิดโอกาสให้เขามาแสดงความคิดเห็น ต้องฟังเขา แต่ไม่จำเป็นต้องเชื่อ เพราะเขาไม่ใช่ฝ่ายตรงข้ามกับบ้านเมือง ไม่ได้เป็นศัตรูกับประเทศชาติ แค่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลในบางเรื่อง
ที่ผ่านมารัฐบาลตื่นกลัวเกินเหตุ รัฐต้องเชื่อในวิจารณญาณของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เหล่านี้ เพราะเขาเป็นผู้ใหญ่พอ ที่สำคัญรัฐบาลต้องทำในสิ่งที่ถูกต้องด้วย
ข้าราชการเป็นแค่คนใช้
การใช้อำนาจรัฐเข้าข่มขู่ข้าราชการ โยกย้ายตามอำเภอใจ หรือแม้กระทั่งการดึงเอาข้าราชการที่เป็นสายตรงของนักการเมืองข้ามห้วยเข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญในกระทรวงต่างๆ ด้วยฐานเสียงของพรรคเพื่อไทยที่เลือกตั้งกี่ครั้งก็กลับเข้ามาเป็นรัฐบาลได้ทุกครั้ง จึงทำให้การโยกย้ายข้าราชการที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของรัฐบาลกลายเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับรัฐบาลพรรคเพื่อไทย
สถานะของข้าราชการไทยในวันนี้คือต้องเลือกเอาว่าจะเลือกความอยู่รอดหรือเลือกความถูกต้อง ถ้าเลือกความถูกต้องก็ต้องพร้อมรับกับสิ่งที่จะตามมา นั่นคือการถูกย้ายไปในหน่วยงานอื่นหรือย้ายไปอยู่ในพื้นที่กันดาร ส่วนที่เลือกความอยู่รอดก็ต้องทำตามที่นักการเมืองต้องการ แลกกับลาภ ยศ ตำแหน่งที่จะได้ต่อไป
เขายอมรับว่า ข้าราชการในยุคนี้ถูกลดบทบาทลง จากเดิมที่เคยเป็นผู้ให้คำแนะนำรัฐบาล เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความชำนาญเป็นการเฉพาะในแต่ละกระทรวง เหลือเพียงแต่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลนี้เท่านั้น ข้อท้วงติงต่างๆ ถูกเพิกเฉยจากรัฐบาล ด้วยข้ออ้างที่ว่าคิดโครงการมาดีแล้ว หากไม่ปฏิบัติตามที่รัฐบาลต้องการก็จะโยกย้ายข้าราชการเหล่านั้นออกไป
“ที่ผ่านมาเรารู้เพียงการโยกย้ายข้าราชการระดับสูง ตามที่เป็นข่าวเท่านั้น แต่ข้าราชการในระดับรองๆ ลงมาหรือระดับปฏิบัติงานนั้น ใครที่ขวางทางรัฐบาลถูกย้ายทั้งนั้น ตอนนี้ข้าราชการจึงไม่ต่างอะไรกับคนใช้ภายในบ้าน สั่งอะไรก็ต้องทำ ไม่งั้นถูกโยกย้ายให้พ้นทาง”
ก่อนหน้านี้ หน่วยงานอย่างสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่วางแผนในเรื่องทิศทางเศรษฐกิจของประเทศมาเป็นเวลานาน หากมีการทักท้วงรัฐบาลว่าโครงการนั้นไม่เหมาะสม ส่วนใหญ่รัฐบาลจะรับฟัง แต่ยุคนี้ไม่ฟัง อีกทั้งบางหน่วยงานยังวางตัวข้าราชการที่อยู่ในสังกัดของพรรครัฐบาลเข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญในกระทรวงนั้น ทำให้ไม่มีการคัดค้านนโยบายที่ไม่เป็นประโยชน์กับประเทศชาติจากนักการเมือง
จับตาข้าราชการเมินรัฐบาล
สอดคล้องกับข้าราชการระดับสูงอีกรายที่มองสถานการณ์ในเวลานี้ว่า ข้าราชการถูกฝ่ายการเมืองย่ำยีและดูหมิ่นศักดิ์ศรีมาโดยตลอด ดังนั้นจึงทำให้เกิดปฏิกิริยาที่จะต่อต้านการกระทำที่ไม่ถูกต้องของฝ่ายการเมือง และถ้าไม่เลิกคุกคาม ข่มขู่ บวกกับความไม่พอใจรัฐบาลเป็นทุนเดิม จะเป็นแรงกระตุ้นให้ข้าราชการแสดงออกในเรื่องเหล่านี้มากขึ้น
สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำกับข้าราชการอยู่ในเวลานี้ถือเป็นการสร้างศัตรูให้กับตัวเอง จากเดิมที่ข้าราชการเหล่านี้ก็ก้มหน้าก้มตาทำงาน ทั้งๆ ที่รู้ว่ารัฐบาลนี้ทั้งโกงและทุจริต ตอนนี้คงต้องรอให้มีการชี้มูลจาก ป.ป.ช. จากการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวออกมา หรือรอศาลรัฐธรรมนูญตัดสินกรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เราจะได้เห็นทิศทางการปฏิบัติตัวของข้าราชการต่อรัฐบาลชุดนี้ชัดเจนขึ้น
‘ป.ป.ช.-ศาลฯ’ ตัดสินทุกอย่างชัด
วัฒนธรรมของข้าราชการไทยถูกปลูกฝังมาให้ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา แต่ไม่ได้ถูกฝึกมาให้พิจารณาเรื่องต่างๆ ก่อนว่าถูกหรือผิด ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติตามคำสั่งของนักการเมือง ในการปฏิบัติตัวของข้าราชการที่ดีนั้นต้องมีการทักท้วงในเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสมหรือไม่เกิดประโยชน์กับประเทศชาติ หากฝ่ายการเมืองไม่ฟังการทักท้วงดังกล่าว ก็ต้องให้นักการเมืองนั้นสั่งการมาเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งจะเป็นการปกป้องตัวเองของข้าราชการได้ทางหนึ่ง
นาทีนี้ยอมรับว่าข้าราชการวางตัวลำบาก เพราะอยู่ในสถานการณ์ที่ยังไม่มีอะไรชัดเจน ข้าราชการทุกคนรู้ดีว่าในทางพฤตินัยนั้นรัฐบาลนี้เป็นอย่างไร ไม่มีความชอบธรรม มีเรื่องของการทุจริต คอร์รัปชัน แต่ในทางนิตินัยแล้วรัฐบาลยังเป็นรัฐบาลรักษาการอยู่ ตราบใดที่ยังไม่มีคำตัดสินจาก ป.ป.ช. หรือศาลรัฐธรรมนูญออกมา
ถ้าคำตัดสินของทั้ง 2 องค์กรนี้ออกมาอย่างชัดเจนแล้ว เราจะได้เห็นการปฏิบัติตัวของข้าราชการชัดเจนขึ้น ว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลรักษาการนี้ต่อไปอีกหรือไม่
แม้ว่าฝ่ายรัฐบาลจะอ้างว่ารัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะพ้นสภาพไปแล้วจากการยุบสภาเมื่อ 9 ธันวาคม 2556 หากมีคำตัดสินออกมาก็ไม่มีผล เพราะรัฐบาลนี้เป็นเพียงรัฐบาลรักษาการ ซึ่งเป็นเรื่องของการเล่นคำกันทางกฎหมายเพื่อให้รัฐบาลนี้กุมอำนาจต่อไปได้อีก หากถึงเวลานั้นจริงๆ แม้รัฐบาลจะอ้างความชอบธรรมที่เข้าข้างตัวเอง แต่ถ้าข้าราชการทุกกระทรวงไม่ให้ความร่วมมือกับนักการเมืองเหล่านี้ รัฐบาลก็จะอยู่ในอำนาจต่อไปลำบาก และอาจเป็นการเพิ่มเงื่อนไขให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับบ้านเมืองต้องตัดสินใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้
ที่สำคัญจะได้เห็นเครือข่ายบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกที่ออกแถลงการณ์ตอบโต้ ศอ.รส. ที่ใช้อำนาจบาตรใหญ่ ข่มขู่ข้าราชการ โดยเฉพาะการใช้วิธีข่มขู่ด้วยการยิงเอ็ม 79 ใส่บ้าน นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ประกาศชัดปฏิเสธคำสั่ง ศอ.รส. ที่ผ่านมา!
แถลงการณ์ของเครือข่ายข้าราชการพลเรือนที่ออกมาตอบโต้การกระทำของ ศอ.รส. เมื่อ 18 เมษายน 2557 ที่ผ่านมา หลังจากที่กลุ่ม กปปส. เดินทางไปตามกระทรวงต่างๆ แล้วปลัดกระทรวงลงมาให้การต้อนรับ โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 8 เมษายน ที่ กปปส. เดินสายไปกระทรวงยุติธรรม และนายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ลงมาให้การต้อนรับ จึงทำให้ ศอ.รส. ออกจดหมายเชิญปลัดกระทรวงทุกกระทรวงประชุมในวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา และย้ำว่าปลัดต้องมาด้วยตัวเอง โดยในจดหมายดังกล่าวยังอ้างถึงปลัดกระทรวงยุติธรรมว่าการกระทำดังกล่าวไม่เหมาะสมและควรแก่การตำหนิ
นับเป็นวิธีการเช็กรายชื่อข้าราชการระดับสูงในกระทรวงต่างๆ ว่าพร้อมจะยืนอยู่ข้างรัฐบาลหรือไม่ มีใครบ้างที่แตกแถวไปยืนข้างฝ่ายตรงข้าม อีกทั้งยังเป็นการสกัดกั้นไม่ให้บรรดาข้าราชการเหล่านี้ไปร่วมมือกับกลุ่ม กปปส. แล้วหันมาให้ความร่วมมือกับรัฐบาล เพื่อไม่ให้กระแสนี้ลามไปในทุกกระทรวง
แม้ในวันดังกล่าวปลัดกระทรวงยุติธรรมจะไปตามนัดหมาย แต่นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่แสดงท่าทีชัดเจนมาตั้งแต่ต้นว่าเห็นด้วยกับแนวทางการปฏิรูป ไม่ได้ไปตามที่กล่าวไว้ล่วงหน้า ทำให้ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง ในฐานะผู้อำนวยการ ศอ.รส. ออกมากล่าวว่า “อยากให้ นพ.ณรงค์ ไปแสดงออกด้วยการขึ้นเวที กปปส. เผื่อจะได้เป็นรัฐมนตรีกับเขาในช่วงที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. เรืองอำนาจ นอกจากนี้ ขอเตือนอีกว่า อย่าใช้กระทรวงสาธารณสุขเป็นสถานที่ในการแสดงออกทางการเมือง เนื่องจากเป็นสมบัติของชาติ”
ข่มขู่ไม่สำเร็จ-ระเบิดลงบ้าน
นายแพทย์ณรงค์ ถือเป็นข้าราชการระดับสูงที่ชัดเจนว่าไม่เลือกเดินไปในทิศทางเดียวกับรัฐบาล ทั้งการขึ้นป้ายไม่เอารัฐบาลโกงทั้งที่กระทรวงสาธารณสุขและตามโรงพยาบาลต่างๆ ทำให้คนเสื้อแดงไม่พอใจ มีทั้งการไปเรียกร้องให้ปลดป้ายดังกล่าวลง พร้อมมีการทำร้ายข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุข และล่าสุดคือการยิง M79 ถล่มบ้านพักของนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ภายในซอยแจ้งวัฒนะ 14 เมื่อช่วงเช้าวันที่ 21 เมษายน 2557
นอกจากนี้ ยังใช้ถ้อยคำที่กล่าวถึงนายแพทย์ณรงค์ด้วยภาษาพ่อขุนรามคำแหงอย่างเช่น “แต่ถ้ามึงแทงหวยผิด รัฐบาลตั้งหลักได้ เขาก็ย้ายมึงหมดก็มีเท่านั้น อย่างปลัดกระทรวงสาธารณสุข ใครจะเอาไว้”
ไม่เพียงแค่ข้าราชการตามกระทรวงต่างๆ เท่านั้น แต่ข้าราชการอย่างศาลรัฐธรรมนูญ หรือหน่วยงานอย่าง ป.ป.ช. ทั้งนายกรัฐมนตรีและคนในรัฐบาลรวมถึง ศอ.รส. ก็ชี้ไปที่ข้าราชการเหล่านี้ว่าไม่มีความเป็นกลาง โดยระบุชื่อบุคคล ทั้งนายวิชา มหาคุณ จาก ป.ป.ช. และนายจรัญ ภักดีธนากุล ทั้ง 2 ท่านนี้ถูกหมายตาจากรัฐบาลชุดนี้เป็นพิเศษ เมื่อยังคงเดินหน้าที่จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไป บ้านพักของทั้ง 2 ท่านก็เกิดเหตุระเบิดทั้งคู่
โดย ศอ.รส. ยังออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 17 เมษายน เรียกร้องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาดำเนินคดีและมีคำวินิจฉัยต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในกรณีโครงการรับจำนำข้าวอย่างตรงไปตรงมาตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายโดยไม่เลือกปฏิบัติเป็น 2 มาตรฐาน และต้องปฏิบัติตามจริยธรรมอันเป็นมาตรฐานสำคัญของการปฏิบัติหน้าที่
สำหรับศาลรัฐธรรมนูญ ศอ.รส. ขอเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาและมีคำวินิจฉัยต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในกรณีการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี อย่างตรงไปตรงมา ประการสำคัญอย่างยิ่ง ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องไม่วินิจฉัยเกินเลยไปถึงขนาดว่าหากความเป็นนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงแล้ว รัฐมนตรีทั้งคณะจะต้องพ้นจากตำแหน่งไปตามมาตรา 180 โดยจะอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ตามมาตรา 181 อีกไม่ได้
หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเกินกว่ารัฐธรรมนูญตามที่กล่าวมาในข้อ 2 แล้ว คณะรัฐมนตรีจะต้องแก้ไขปัญหามิให้เกิดสุญญากาศ คณะรัฐมนตรีจะทูลเกล้าฯ ขอพระบรมราชวินิจฉัยว่าคณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากการอยู่ในตำแหน่งตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเกินจากรัฐธรรมนูญหรือไม่
นอกจากนี้ ศอ.รส. ขอเรียกร้องต่อหัวหน้าส่วนราชการระดับสูง อันได้แก่ ปลัดกระทรวง เลขาธิการ อธิบดี และหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออื่นๆ ได้ปฏิบัติหน้าที่ในราชการอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะการบริหารจัดการให้ส่วนราชการ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ สามารถปฏิบัติงานให้บริการประชาชนได้อย่างดีตามปกติ โดยไม่ถูกบุกรุกหรือปิดล้อมจนไม่สามารถให้บริการได้ รวมถึงการกำชับ ตักเตือน และดูแลให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่หลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกับกิจกรรมใดๆ ที่อาจเข้าข่ายสนับสนุนแกนนำของกลุ่มเรียกร้องที่กระทำผิดกฎหมายและอยู่ระหว่างถูกดำเนินคดี
นับเป็นครั้งแรกที่ฝ่ายรัฐบาลออกมาตำหนิข้าราชการในสังกัดอย่างรุนแรงและเปิดเผย รวมถึงก้าวก่ายไปยังองค์กรอิสระ แม้กระทั่งตุลาการ รัฐบาลก็ใช้อำนาจของฝ่ายบริหารไปก้าวก่ายอำนาจนิติบัญญัติ
ย้ายเพื่อญาติ-โยกคนขวางประโยชน์
ก่อนหน้านี้ รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีการโยกย้ายข้าราชการให้พ้นไปจากเส้นทาง อย่างนายแพทย์วิทิต อรรถเวชกุล คณะรัฐมนตรีเสนอพ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ตามที่นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ โดยอ้างความเสียหายมากขึ้นกรณีองค์การเภสัชกรรมสั่งซื้อวัตถุดิบพาราเซตามอลมาสำรองฯ และกรณีการก่อสร้างโรงงานผลิตยาพาราเซตามอลล่าช้า จึงเห็นควรเลิกจ้างนายแพทย์วิทิต
อีกทั้งยังโยกย้ายนางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว ฤดูกาล 2554/2555 ที่ประเมินว่ารัฐบาลจะขาดทุนในโครงการนี้ 2.6 แสนล้านบาท ทำให้ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลนำเอาข้อมูลดังกล่าวไปโจมตีรัฐบาล โดยได้เปลี่ยนสายงานให้นางสาวสุภาไปกำกับดูแลงานของสำนักปลัด กระทรวงการคลัง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) โดยเปลี่ยนตัวรองปลัดคนใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทน
ถือเป็นการใช้อำนาจของรัฐบาลรักษาการ มาบังคับให้ข้าราชการเหล่านี้ปฏิเสธการตอบรับกับแนวทางของกลุ่ม กปปส.ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล แม้รัฐบาลรักษาการของพรรคเพื่อไทยจะสุ่มเสี่ยงอาจต้องพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ จากการชี้มูลความผิดนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว และการปฏิบัติหน้าที่ที่อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญจากกรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ เมื่อต้นเดือนกันยายน 2554 เปิดทางให้ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รับตำแหน่งใน สมช.แทน แล้วดัน พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ พี่ชายคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภรรยาพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
นี่เป็นการโยกย้ายข้าราชการระดับสูง เพื่อให้เครือญาติของนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล ขึ้นมากุมอำนาจในช่วงที่คนในตระกูลชินวัตรกุมอำนาจบริหารประเทศ ไม่ได้เป็นการโอนย้ายเพื่อประโยชน์ของการบริหารราชการแผ่นดิน อีกทั้งศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเมื่อ 31 พฤษภาคม 2556 คำสั่งนายกรัฐมนตรีให้นายถวิลไปปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่สมเหตุสมผล ไม่ชอบด้วยกฎหมายและทำให้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่ให้นายถวิลพ้นจากเลขาฯ สมช.เป็นคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยให้มีผลย้อนหลังให้นายถวิลกลับมาดำรงตำแหน่งเลขาฯ สมช.ตั้งแต่ 7 กันยายน 2554
แต่รัฐบาลก็อุทธรณ์เรื่องดังกล่าวไว้ จนศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาเช่นเดียวกับศาลปกครอง ให้นายถวิลกลับเข้ารับตำแหน่งเดิมใน สมช. เมื่อ 7 มีนาคม 2557
จะเห็นได้ว่าในรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้โยกย้ายข้าราชการโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสมหรือเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ แต่เป็นไปเพื่อขจัดข้าราชการที่ขวางเส้นทางและนโยบายของรัฐบาล รวมไปถึงการโยกย้ายเพื่อให้เครือญาติของคนในตระกูลชินวัตรขึ้นมาดำรงตำแหน่งสำคัญอย่างตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ข้าราชการรวมตัวกู้ศักดิ์ศรี
ความหวั่นไหวของรัฐบาลนี้ที่เห็นบรรดาข้าราชการทั้งส่วนที่เกษียณอายุไปแล้วหรือข้าราชการในยุคปัจจุบันไปขึ้นเวทีร่วมกับกลุ่ม กปปส. หรือให้การต้อนรับเมื่อกลุ่ม กปปส.เดินทางมาเยี่ยมที่กระทรวง ยิ่งสร้างความไม่พอใจแก่รัฐบาลเป็นอย่างมาก เพราะเท่ากับเป็นการประกาศตัวเป็นศัตรูกับรัฐบาลโดยตรง
ที่สำคัญรัฐบาลยังคงต้องพึ่งพากำลังของข้าราชการเป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อประคองสถานการณ์ให้รัฐบาลยังคงมีอำนาจต่อไป ข้าราชการหลายคนถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อเอาผิดจากการไปร่วมชุมนุมกับ กปปส. รวมไปถึงการข่มขู่ข้าราชการด้วยวิธีการต่างๆ
ดังนั้น จึงมีแถลงการณ์ออกมาของเครือข่ายข้าราชการพลเรือน ประกอบด้วย สมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย เครือข่ายกลุ่มข้าราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กลุ่มข้าราชการกระทรวงแรงงาน กลุ่มรักกระทรวงพาณิชย์ และเครือข่ายบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่แสดงความเห็นว่า
1. ปลัดกระทรวงทุกกระทรวง คือ ผู้บริหารสูงสุด ทำหน้าที่เป็นตัวแทนข้าราชการประจำ ที่ประกอบคุณงามความดี รับใช้แผ่นดินมายาวนาน มีเกียรติภูมิ มีศักดิ์ศรี และมีวิจารณญาณมากพอที่จะตัดสินใจได้ว่าสิ่งใดควรกระทำและไม่ควรกระทำ
2. การรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายท่ามกลางสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งรุนแรง เป็นสิ่งที่เหมาะสมและพึงกระทำที่สุด เหตุการณ์ที่ไม่ปกติทุกวันนี้ ล้วนเกิดจากการไม่เคารพความคิดเห็นต่างๆ โดยเฉพาะจากผู้มีอำนาจ และ
3. ในฐานะข้าราชการประจำ โดยเฉพาะผู้บริหารสูงสุด ถือเป็นหน้าที่ที่ต้องเป็นหลักและร่วมหาทางออกให้กับบ้านเมือง
การกระทำของ ศอ.รส. และผู้มีอำนาจ ถือเป็นการดูหมิ่นศักดิ์ศรีของข้าราชการอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เครือข่ายขอยืนยันว่า เราจักยึดหลักความเป็นกลางทางการเมือง ด้วยการปฏิบัติหน้าที่ให้บริการแก่ประชาชนทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม ไม่แบ่งแยกว่าเป็นฝ่ายใด สามารถทำงานร่วมกับพรรคการเมืองทุกพรรคที่ได้รับเลือกเข้ามาทำหน้าที่บริหารบ้านเมือง
ขณะเดียวกัน ก็ไม่เข้าข้างพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง จะปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ชอบด้วยกฎหมายและสอดคล้องกับหลักจริยธรรม ทั้งนี้ กลไกราชการเป็นกลไกสำคัญในการบริหารบ้านเมือง ไม่ได้เป็นของพรรคการเมืองใด หรือกลุ่มบุคคลใด ข้าราชการจึงต้องปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ จึงจะถือว่ามีความเป็นกลางทางการเมืองที่ถูกต้องและเป็นการแสดงความกตัญญูต่อแผ่นดิน
พร้อมทั้งเรียกร้องว่า ถึงเวลาแล้วที่พี่น้องข้าราชการทุกท่านต้องร่วมกันธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของข้าราชการ ยึดมั่นในการกระทำที่ถูกต้องโดยไม่เกรงกลัวต่ออำนาจ คำข่มขู่ และคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีเกียรติ สมศักดิ์ศรีของข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นี่คือปฏิกิริยาของข้าราชการที่ออกมาตอบโต้ ศอ.รส. หน่วยงานที่รัฐบาลตั้งขึ้นตามอำนาจของพระราชบัญญัติความมั่นคง เพื่อควบคุมสถานการณ์หลังจากที่กลุ่ม กปปส.ออกมาชุมนุมต่อต้านรัฐบาลพรรคเพื่อไทย
รัฐกับรัฐบาลไม่เหมือนกัน
อดีตข้าราชการระดับปลัดกระทรวงรายหนึ่งกล่าวว่า แถลงการณ์ของเครือข่ายข้าราชการพลเรือนที่ออกมานั้นถือเป็นเรื่องดี และอยากให้ข้าราชการต่างๆ แสดงออกในเรื่องเหล่านี้มากๆ โดยเฉพาะที่กระทรวงการต่างประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมานักการเมืองได้แสดงพฤติกรรมข่มขู่ คุกคาม ข้าราชการที่เห็นต่างกับรัฐบาลตลอดเวลา
ทั้งนี้ ต้องเข้าใจก่อนว่าความมั่นคงของรัฐบาลกับความมั่นคงของรัฐไม่เหมือนกัน เราจะให้ข้าราชการต่อสู้ในหน้าที่หรือต่อสู้เพื่อรัฐบาล ยกตัวอย่างจากการตั้งด่านของเจ้าหน้าที่ตำรวจในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมือง ข้าราชการตำรวจต้องเข้าใจว่า คนที่มาชุมนุมนั้นเขาทำได้ตามสิทธิรัฐธรรมนูญ การตั้งด่านนั้นมีหน้าที่ในการตรวจค้นอาวุธเพื่อไม่ให้มีการนำมาก่อเหตุร้าย แต่ไม่ใช่ไปสกัดกั้นไม่ให้พวกเขาเข้ามาร่วมชุมนุม
“ความไม่มั่นคงของรัฐบาลมีได้ในทางการเมือง แต่อย่าเอาข้าราชการมาเป็นเครื่องมือในการต่อสู้”
อย่าง กปปส. มาพบตามกระทรวงต่างๆ โดยมารยาทแล้วก็ต้องต้อนรับ เปิดโอกาสให้เขามาแสดงความคิดเห็น ต้องฟังเขา แต่ไม่จำเป็นต้องเชื่อ เพราะเขาไม่ใช่ฝ่ายตรงข้ามกับบ้านเมือง ไม่ได้เป็นศัตรูกับประเทศชาติ แค่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลในบางเรื่อง
ที่ผ่านมารัฐบาลตื่นกลัวเกินเหตุ รัฐต้องเชื่อในวิจารณญาณของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เหล่านี้ เพราะเขาเป็นผู้ใหญ่พอ ที่สำคัญรัฐบาลต้องทำในสิ่งที่ถูกต้องด้วย
ข้าราชการเป็นแค่คนใช้
การใช้อำนาจรัฐเข้าข่มขู่ข้าราชการ โยกย้ายตามอำเภอใจ หรือแม้กระทั่งการดึงเอาข้าราชการที่เป็นสายตรงของนักการเมืองข้ามห้วยเข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญในกระทรวงต่างๆ ด้วยฐานเสียงของพรรคเพื่อไทยที่เลือกตั้งกี่ครั้งก็กลับเข้ามาเป็นรัฐบาลได้ทุกครั้ง จึงทำให้การโยกย้ายข้าราชการที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของรัฐบาลกลายเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับรัฐบาลพรรคเพื่อไทย
สถานะของข้าราชการไทยในวันนี้คือต้องเลือกเอาว่าจะเลือกความอยู่รอดหรือเลือกความถูกต้อง ถ้าเลือกความถูกต้องก็ต้องพร้อมรับกับสิ่งที่จะตามมา นั่นคือการถูกย้ายไปในหน่วยงานอื่นหรือย้ายไปอยู่ในพื้นที่กันดาร ส่วนที่เลือกความอยู่รอดก็ต้องทำตามที่นักการเมืองต้องการ แลกกับลาภ ยศ ตำแหน่งที่จะได้ต่อไป
เขายอมรับว่า ข้าราชการในยุคนี้ถูกลดบทบาทลง จากเดิมที่เคยเป็นผู้ให้คำแนะนำรัฐบาล เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความชำนาญเป็นการเฉพาะในแต่ละกระทรวง เหลือเพียงแต่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลนี้เท่านั้น ข้อท้วงติงต่างๆ ถูกเพิกเฉยจากรัฐบาล ด้วยข้ออ้างที่ว่าคิดโครงการมาดีแล้ว หากไม่ปฏิบัติตามที่รัฐบาลต้องการก็จะโยกย้ายข้าราชการเหล่านั้นออกไป
“ที่ผ่านมาเรารู้เพียงการโยกย้ายข้าราชการระดับสูง ตามที่เป็นข่าวเท่านั้น แต่ข้าราชการในระดับรองๆ ลงมาหรือระดับปฏิบัติงานนั้น ใครที่ขวางทางรัฐบาลถูกย้ายทั้งนั้น ตอนนี้ข้าราชการจึงไม่ต่างอะไรกับคนใช้ภายในบ้าน สั่งอะไรก็ต้องทำ ไม่งั้นถูกโยกย้ายให้พ้นทาง”
ก่อนหน้านี้ หน่วยงานอย่างสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่วางแผนในเรื่องทิศทางเศรษฐกิจของประเทศมาเป็นเวลานาน หากมีการทักท้วงรัฐบาลว่าโครงการนั้นไม่เหมาะสม ส่วนใหญ่รัฐบาลจะรับฟัง แต่ยุคนี้ไม่ฟัง อีกทั้งบางหน่วยงานยังวางตัวข้าราชการที่อยู่ในสังกัดของพรรครัฐบาลเข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญในกระทรวงนั้น ทำให้ไม่มีการคัดค้านนโยบายที่ไม่เป็นประโยชน์กับประเทศชาติจากนักการเมือง
จับตาข้าราชการเมินรัฐบาล
สอดคล้องกับข้าราชการระดับสูงอีกรายที่มองสถานการณ์ในเวลานี้ว่า ข้าราชการถูกฝ่ายการเมืองย่ำยีและดูหมิ่นศักดิ์ศรีมาโดยตลอด ดังนั้นจึงทำให้เกิดปฏิกิริยาที่จะต่อต้านการกระทำที่ไม่ถูกต้องของฝ่ายการเมือง และถ้าไม่เลิกคุกคาม ข่มขู่ บวกกับความไม่พอใจรัฐบาลเป็นทุนเดิม จะเป็นแรงกระตุ้นให้ข้าราชการแสดงออกในเรื่องเหล่านี้มากขึ้น
สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำกับข้าราชการอยู่ในเวลานี้ถือเป็นการสร้างศัตรูให้กับตัวเอง จากเดิมที่ข้าราชการเหล่านี้ก็ก้มหน้าก้มตาทำงาน ทั้งๆ ที่รู้ว่ารัฐบาลนี้ทั้งโกงและทุจริต ตอนนี้คงต้องรอให้มีการชี้มูลจาก ป.ป.ช. จากการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวออกมา หรือรอศาลรัฐธรรมนูญตัดสินกรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เราจะได้เห็นทิศทางการปฏิบัติตัวของข้าราชการต่อรัฐบาลชุดนี้ชัดเจนขึ้น
‘ป.ป.ช.-ศาลฯ’ ตัดสินทุกอย่างชัด
วัฒนธรรมของข้าราชการไทยถูกปลูกฝังมาให้ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา แต่ไม่ได้ถูกฝึกมาให้พิจารณาเรื่องต่างๆ ก่อนว่าถูกหรือผิด ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติตามคำสั่งของนักการเมือง ในการปฏิบัติตัวของข้าราชการที่ดีนั้นต้องมีการทักท้วงในเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสมหรือไม่เกิดประโยชน์กับประเทศชาติ หากฝ่ายการเมืองไม่ฟังการทักท้วงดังกล่าว ก็ต้องให้นักการเมืองนั้นสั่งการมาเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งจะเป็นการปกป้องตัวเองของข้าราชการได้ทางหนึ่ง
นาทีนี้ยอมรับว่าข้าราชการวางตัวลำบาก เพราะอยู่ในสถานการณ์ที่ยังไม่มีอะไรชัดเจน ข้าราชการทุกคนรู้ดีว่าในทางพฤตินัยนั้นรัฐบาลนี้เป็นอย่างไร ไม่มีความชอบธรรม มีเรื่องของการทุจริต คอร์รัปชัน แต่ในทางนิตินัยแล้วรัฐบาลยังเป็นรัฐบาลรักษาการอยู่ ตราบใดที่ยังไม่มีคำตัดสินจาก ป.ป.ช. หรือศาลรัฐธรรมนูญออกมา
ถ้าคำตัดสินของทั้ง 2 องค์กรนี้ออกมาอย่างชัดเจนแล้ว เราจะได้เห็นการปฏิบัติตัวของข้าราชการชัดเจนขึ้น ว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลรักษาการนี้ต่อไปอีกหรือไม่
แม้ว่าฝ่ายรัฐบาลจะอ้างว่ารัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะพ้นสภาพไปแล้วจากการยุบสภาเมื่อ 9 ธันวาคม 2556 หากมีคำตัดสินออกมาก็ไม่มีผล เพราะรัฐบาลนี้เป็นเพียงรัฐบาลรักษาการ ซึ่งเป็นเรื่องของการเล่นคำกันทางกฎหมายเพื่อให้รัฐบาลนี้กุมอำนาจต่อไปได้อีก หากถึงเวลานั้นจริงๆ แม้รัฐบาลจะอ้างความชอบธรรมที่เข้าข้างตัวเอง แต่ถ้าข้าราชการทุกกระทรวงไม่ให้ความร่วมมือกับนักการเมืองเหล่านี้ รัฐบาลก็จะอยู่ในอำนาจต่อไปลำบาก และอาจเป็นการเพิ่มเงื่อนไขให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับบ้านเมืองต้องตัดสินใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้
ที่สำคัญจะได้เห็นเครือข่ายบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกที่ออกแถลงการณ์ตอบโต้ ศอ.รส. ที่ใช้อำนาจบาตรใหญ่ ข่มขู่ข้าราชการ โดยเฉพาะการใช้วิธีข่มขู่ด้วยการยิงเอ็ม 79 ใส่บ้าน นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ประกาศชัดปฏิเสธคำสั่ง ศอ.รส. ที่ผ่านมา!