น่าเอน็จอนาถใจอย่างยิ่ง เมื่อกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งทำหน้าที่ตรงไปตรงมาในการตรวจสอบสารพิษท้องทะเลรอบเกาะเสม็ดหลังเกิดเหตุน้ำมันดิบรั่วโดยสรุปผลพบบริเวณอ่าวพร้าวและอ่าวทับทิม มีค่าสารปรอทสูงเกินมาตรฐานเตือนหลีกเลี่ยงลงเล่นน้ำ แล้วกลับปรากฏว่านักการเมืองบางคนในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่างเช่น นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี และนพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข ดาหน้าออกมาแก้ต่างและปกป้องเครือปตท.อย่างน่าเกลียด จนนายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง อดไม่ได้ที่จะออกมาเรียกร้องรัฐบาลอย่าทำตัวเสมือนเป็นสุนัขรับใช้ปตท. เช่นเดียวกับผลสอบน้ำมันดิบรั่วจากคนกันเองที่อวยปตท.โกลบอลเคมีคอล (พีทีทีจีซี) ชนิดไม่ผิดคาด
ฟังกันชัดๆ อีกครั้ง จากกรมควบคุมมลพิษ นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แถลงเมื่อวันที่ 13 ส.ค. 56 ถึงผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล ชายหาดและอ่าวต่างๆ รอบเกาะเสม็ด จ.ระยอง จากการเฝ้าระวังเนื่องจากกรณีเหตุการณ์ท่อส่งน้ำมันดิบรั่วไหลในทะเล จังหวัดระยอง ผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งบริเวณรอบเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง จำนวน 12หาด ที่เก็บตัวอย่างในวันที่ 3 ส.ค. 56 ปรากฏว่า ค่าความเป็นกรด - ด่าง ค่าออกซิเจนละลายน้ำ มีค่าปกติไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้
ผลการตรวจวัดโลหะหนัก ทั้ง 12 หาด พบว่า สารหนูมีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลที่กำหนดไว้ที่ 10 ไมโครกรัมต่อลิตร แคดเมียมมีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลที่กำหนดไว้ที่ 0.5 ไมโครกรัมต่อลิตร และค่าปรอทส่วนใหญ่มีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลที่กำหนดไว้ 0.1 ไมโครกรัมต่อลิตร ยกเว้นอ่าวทับทิม มีค่า 0.25 ไมโครกรัมต่อลิตร และอ่าวพร้าวมีค่า 2.9 ไมโครกรัมต่อลิตร หรือ 29 เท่าจากค่ามาตรฐาน
ขณะที่ผลการตรวจวัดโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (PAHs) อยู่ในระดับค่าไม่เกินค่ามาตรฐาน (มาตรฐานของ USEPA ที่กำหนดไว้ ระดับต่ำสุดที่มีผลกระทบต่อสัตว์น้ำ 300 ไมโครกรัมต่อลิตร) สำหรับผลการตรวจวัดปิโตรเลียมไฮโครคาร์บอน (TPH) ในขณะนี้ยังวิเคราะห์ผลไม่แล้วเสร็จ ซึ่งคงจะสามารถรู้ผลและแถลงให้ทราบพร้อมผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างที่เก็บไว้ในวันที่ 8 ส.ค. 56
นี่เป็นแค่ผลการตรวจครั้งแรกเท่านั้น คพ.ยังจะติดตามเฝ้าระวังและเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำทะเลและคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และแถลงผลการตรวจสอบเป็นระยะๆ พร้อมกับออกคำเตือนประชาชนให้เฝ้าระวังและหลีกเลี่ยง ดังเช่นครั้งนี้ที่แนะนำประชาชนและนักท่องเที่ยวให้หลีกเลี่ยงการลงเล่นน้ำในพื้นที่อ่าวพร้าวและอ่าวทับทิมของเกาะเสม็ดจนกว่าผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทะเลจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
การทำหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษ ถือเป็นที่พึ่ง คุ้มครองของประชาชนให้ปลอดภัยจากสารพิษที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วกลางทะเลระยองของบริษัทพีทีทีจีซี เว้นเสียแต่ว่าหลังจากนี้จะมีใบสั่งจากเบื้องบนปิดปากอธิบดีและเจ้าหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษ หรือกดดันให้พวกเขาทรยศต่อการทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อม และชีวิตประชาชน จนทำให้ผลการสำรวจตรวจสอบและประเมินความเสียหายระบบนิเวศน์ท้องทะเลและชายหาดที่ต้องมีการติดตามอยู่เป็นระยะและเฝ้าระวังผลกระทบในระยะยาวด้วยนั้น ออกมาแบบไร้ปัญหา อย่างที่นักการเมืองที่มีพฤติกรรมรับใช้เครือปตท.อยากให้เป็น
ไม่เพียงแค่ผลตรวจสอบจากกรมควบคุมมลพิษ เท่านั้น ที่น่าวิตกกังวล การตรวจสอบด้านทรัพยากรทางทะเลก็ออกมาไม่แตกต่างกัน โดยนายนิพนธ์ พงษ์สุวรรณ นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ให้ข้อมูลว่า ทาง ทช. สำรวจพบปะการังเกิดการฟอกขาวใน 4 จุด คือ อ่าวน้อยหน่า ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ อ่าวพร้าวด้านเหนือ 5-10 เปอร์เซ็น อ่าวพร้าวด้านใต้ 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นจุดที่น้ำมันมากองรวมกันมากที่สุดในช่วง 2-3 วันแรก และบริเวณอ่าวปลาต้ม 10-20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทางกรมจะตรวจสอบอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยเป็นเวลาอีก 1 ปี เพื่อดูว่าปะการังที่ฟอกขาวเหล่านี้จะตายลงหรือไม่
“ฟันธงว่าการฟอกขาวครั้งนี้เกิดจากน้ำมันรั่วแน่นอน ซึ่งการฟอกขาวเกิดจากปะการังมีภาวะเครียด และมีฟองน้ำบางส่วนตาย”
หากไม่แกล้งโง่ดักดานเกินไปนัก นักการเมืองสุนัขรับใช้ปตท. ก็ควรรู้ว่า น้ำมันดิบนั้นมีสารที่เป็นพิษต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อม ดังเช่นที่ดร.อาภา หวังเกียรติ อาจารย์วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต บอกว่า น้ำมันดิบมีองค์ประกอบที่เป็นสารพิษอยู่หลายตัว มีสารอินทรีย์ระเหยง่าย อย่างเบนซิน โทลูอีน ไซลีน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ชาวบ้านมาบตาพุดเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก จากการที่มีโรงกลั่นน้ำมันตั้งอยู่ และมีโลหะหนักบางตัว เช่น นิกเกิล โครเมียม ปรอท หรืออาจมีสารบางตัว เช่น ซัลไฟด์ องค์ประกอบพวกโลหะหนักนั้นมันจะเพิ่มขยายเท่าตัวในสิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์ตัวใหญ่กินตัวเล็กสารพิษก็จะเพิ่มเท่าตัว แล้วคนก็เป็นอันดับสุดท้ายในห่วงโซ่อาหาร ฉะนั้นคนก็จะได้รับสารพิษในระดับเข้มข้นมากที่สุด การที่สารเคมีตกค้างในห่วงโซ่อาหารเป็นผลกระทบระยะยาวมาก ด้วยตัวน้ำมันดิบเองก็อันตรายอยู่แล้ว นี่ยังไปเพิ่มสารอันตรายคือสารที่ใช้สลายคราบน้ำมันเข้าไปอีก
สารพิษจากน้ำมันดิบและสารเคมีสลายคราบน้ำมัน มีอันตรายแน่นอน และเมื่อเกิดการสะสมมากเข้าก็จะมีปัญหาต่อชีวิต อาจไม่ใช่การตายอย่างปัจจุบันทันด่วนอย่างที่นักการเมืองบางคนออกมาแสดงความโง่เขลา เพื่อหลอกหลวงประชาชน เล่นละครดราม่ากันถึงขั้นถอดเสื้อผ้าใส่ชุดว่ายน้ำลงเล่นน้ำทะเลที่อ่าวพร้าวพร้อมขุดทรายโชว์
พฤติกรรมเฉกเช่นนักลวงโลกเช่นนี้ แน่นอนย่อมเป็นเจ้าเก่า นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ที่ลงมาติดตามกู้คราบน้ำมันดิบเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 56 ที่ลงเล่นน้ำทะเลพร้อมกับนายบวร วงศ์สินอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ พีทีทีจีซี โดยยืนยันว่าน้ำทะเลและหาดทรายที่อ่าวพร้าวใสสะอาดปลอดภัยแล้ว
ต่อมา เมื่อคพ.แถลงว่า อ่าวพร้าวมีสารปรอทเกินค่ามาตรฐาน นายปลอดประสพ ก็แสดงอาการยั๊วะตามนิสัยเพื่อกลบเกลื่อนความจริง “เรื่องสารปรอทที่ว่ามี มันมีเมื่อน้ำมันยังดำอยู่ เมื่อ 9 วันที่แล้ว ไม่ใช่วันนี้ วันนี้มันไม่มีอะไรแล้ว และผมก็ไปว่ายน้ำมา 3-4 วัน ถ้าตายผมก็ตายไปเรียบร้อยแล้ว” คำสัมภาษณ์ของนายปลอดประสพ ที่สะท้อนรอยหยักในสมองได้เป็นอย่างดี
สารปรอทมีผลต่อสุขภาพอย่างไร ฟังจากหมอที่มีจรรยาบรรณวิชาชีพครบถ้วน อย่าง นพ.ปรีชา เปรมปรี ผอ.สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค ก็ยังแนะนำให้นักการเมืองที่ลงเล่นน้ำโชว์ทั้งนายปลอดประสพ สุรัสวดี และนายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ มาตรวจร่างกายเพื่อความปลอดภัยทั้งการตรวจเลือดและปัสสาวะหาสารปรอทตกค้าง
ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) ซึ่งบอกว่า โดยปกติสารปรอทจะเข้าสู่ร่างกายได้ทางการหายใจและรับประทานเข้าไป กรณีการสัมผัสทางผิวหนังโดยปกติไม่ถึงขั้นอันตรายแต่ต้องดูปริมาณของสารปรอทด้วย แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดควรหลีกเหลี่ยงการลงเล่นน้ำในบริเวณที่มีปัญหาในช่วงนี้ ส่วนพิษของสารปรอทนั้นมีทั้งเฉียบพลันและระยะยาว หากสะสมนานๆ ในปริมาณมากๆ โอกาสเกิดพิษปรอทจนก่อให้เกิดมะเร็งมีความเป็นไปได้ และการจะทราบว่ามีสารปรอทในร่างการหรือไม่ ต้องตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการเท่านั้น เนื่องจากอาการบ่งชี้แทบไม่มีสัญญาณใดๆ นอกจากกรณีสูดหายใจเข้าไปเป็นจำนวนมากทันทีทันใดจะทำให้เกิดอาการไอและปวดศรีษะอย่างแรง
ประเด็นความเป็นพิษของสารปรอทที่เกินค่ามาตรฐานนั้น ไม่ใช่อันตรายจากการสัมผัสลงเล่นน้ำทะเล หรือการเกิดพิษเฉียบพลันแต่ประการใด แต่อยู่ที่การปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหารของสัตว์น้ำ ดังเช่นที่ดร.อาภา กล่าวไว้ข้างต้น
และ นพ.วินัย วนานุกูล ผอ.ศูนย์พิษวิทยา รพ.รามาธิบดี ที่บอกว่า ผลกระทบจากการเล่นน้ำ ไม่น่าห่วงเท่ากับการปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหารของสัตว์น้ำ เพราะทำให้ร่างกายของปลาหรือสัตว์น้ำมีสารตกค้าง คนรับประทานก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยสารที่คาดว่าจะตกค้างในอาหารทะเลที่น่าจะพบมากที่สุด ได้แก่ เนื้อปลา หน่วยงานของรัฐจึงควรเร่งสำรวจสารตกค้างในอาหารทะเลในพื้นที่ดังกล่าว
นั่นเป็นความเห็นและข้อแนะนำของคุณหมอที่มีจรรยาบรรณวิชาชีพ แต่สำหรับคุณหมอนักการเมือง อย่างเช่น นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข แล้ว กลับออกมาเล่นลิ้นว่า สารปรอทที่กรมควบคุมมลพิษตรวจพบเกินค่ามาตรฐานนั้น ต้องดูก่อนว่าการมีสารปรอทปนเปื้อนในทะเลนั้นเป็นปัญหาดั้งเดิมของพื้นที่อยู่แล้วหรือไม่ อย่าเพิ่งสรุปว่าเป็นการเกิดจากปัญหาคราบน้ำมัน
ก่อนที่คุณหมอนักการเมืองคนเดิมนี้ จะตบท้ายด้วยลีลาที่ทำราวกับเป็นผู้บริหารเครือปตท.ว่า ในเรื่องของความรับผิดชอบ ปตท.ก็ยืนยันให้ความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ โดยยินดีตั้งกองทุนให้ และอาจจะตั้งโรงพยาบาลขึ้นมาดูแลสถานการณ์ฉุกเฉินบริเวณนั้น ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดจาก ปตท.รวมถึงออกค่าใช้จ่ายในการตรวจปัสสาวะและสารตกค้างในสัตว์ทะเล
ประชาชนเราท่านจึงได้แต่มึนงงสับสนว่า ขณะนี้เครือปตท.มีรัฐมนตรีประจำสำนักงานที่คอยแก้ต่างแก้ข่าวอยู่หลายคนทีเดียว
เช่นเดียวกับคุณหญิงทองทิพ รัตนะรัต ผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ที่นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานพีทีทีจีซี แต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่ว ที่ออกมาบอกว่า เหตุที่เกิดนั้นเป็นเพราะท่อผิด คนไม่ผิดหรือพูดชัดๆ ก็คือ ปตท.โกลบอลเคมีคอล ไม่ผิด ก็จะให้บอกว่าผิดได้อย่างไรเพราะคนตั้งตนเองขึ้นมาเป็นประธานสอบหาใช่ใครที่ไหนแต่เป็น “บิ๊กไฝ” ประธานพีทีทีซีซี แถมหลังจากนี้จะมีการสอบท่อแตกพีทีทีจีซีก็จะใช้นักวิชาการจากรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งคณาจารย์และศิษย์เก่าจุฬาฯ ถือว่าเครือปตท.นั้นเป็นเสมือนบ้านที่สอง
ถ้อยแถลงของคุณหญิงทองทิพ สรุปว่า ผลจากการตรวจสอบเหตุที่ทำให้น้ำมันรั่วไหลในทะเลเกิดจากท่อรั่ว หรือ Material Error และไม่พบปัจจัยภายนอกที่ทำให้ท่อแตก ขณะที่การปฏิบัติงานของพนักงานก่อนการเกิดเหตุเป็นไปตามกระบวนการทุกขั้นตอน จึงไม่ใช่ความผิดพลาดของคนหรือ Human Error
สำหรับแนวทางการตรวจสอบได้ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่น้ำมันดิบรั่วเวลา 06.30 น.ของวันที่ 27 ก.ค. และมีการสั่งปิดวาล์ทั้งหมดในเวลา 06.45 น. ทำให้น้ำมันในเรือไม่สามารถรั่วไหลอีก และท่อใต้ทะเลก็ไม่ไหลย้อนกลับมา มีเพียงน้ำมันที่ค้างอยู่ระหว่างจุดเชื่อมต่อท่อน้ำมันบนเรือและทุ่นเท่านั้น ดังนั้น ได้กำหนดให้ท่อ 24 นิ้วยาว 245 เมตร โดยตั้งสมมติฐานให้น้ำมันไหลออก 60% และท่อ 16 นิ้วยาว 55 เมตร ให้น้ำมันไหลออกทั้งหมด ซึ่งถือเป็นกรณีที่เลวร้ายสุด และประมาณการน้ำมันไหลออกขณะปิดวาล์ว เวลา 20 วินาที ให้อัตราการสูบถ่ายเมื่อวาล์วเปิดเต็มที่ 1,111 ลิตรต่อวินาทีต่อท่อแล้ว พบว่าน้ำมันที่คาดว่าจะรั่วไหลมีปริมาณทั้งสิ้น 54,341 ลิตร
ส่วนการใช้สารกำจัดคราบน้ำมัน มีการใช้ 2 ชนิด คือ Slickgone NS 30,612 ลิตร โดย 12,000 ลิตรทางอากาศ และ 18,612 ลิตรทางเรือ และ 2.Super-dispersant 25 จำนวน 6,930 ลิตร ซึ่งสารทั้ง 2 อยู่ภายใต้การควบคุมของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งถือว่ามีพิษน้อยสุด โดยการขจัดคราบน้ำมันวันที่ 28 ก.ค. มีการขจัดคราบน้ำมันรวมทั้งสิ้น 42,568 ลิตร สันนิฐานว่าจะขึ้นอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด 11,773 ลิตร และสาเหตุที่จำเป็นต้องใช้สารเคมีดังกล่าว โดยเฉพาะSuper dispersant เนื่องจากแสคลื่นขณะนั้นสูงถึง 2 เมตร ไม่สามารถใช้บูมกั้นได้ และการใช้สาร ก็เพื่อให้ไปย่อยโมเลกุลน้ำมันให้เล็ก เพื่อให้แบคทีเรียและแสงแดดกำจัดไปโดยธรรมชาติได้ง่ายขึ้น
คุณหญิงทองทิพ ยอมรับว่าปริมาณสารเคมีที่ใช้สลายคราบน้ำมันเกิดการใช้มากกว่ามาตรฐานที่กำหนด ตามสัดส่วนใช้สารเคมี 1 ส่วนต่อน้ำมัน 10 ส่วน หรือควรจะใช้สารเคมีเพียงแค่ 5,000 ลิตรต่อปริมาณน้ำมันที่รั่วกว่า 50,000 ลิตร แต่เนื่องจากสภาพคลื่นทะเลในเวลาเกิดเหตุมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ความเร็วลมแรงกว่าปกติที่ 15-35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้จำเป็นต้องเร่งใช้สารเคมีกำจัดน้ำมันโดยเร็ว แต่ยืนยันว่าสารเคมีดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ เพราะสารเคมีที่ใช้ได้ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลกว่าปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดมะเร็งหรือการขยายพันธุ์สัตว์น้ำแต่อย่างใด
“เวลา 15.40 น. ของวันที่ 27 ก.ค. มีการรายงานว่าน้ำมันกำลังเคลื่อนตัวไปทางใต้ของเกาะเสม็ด หากไม่ทำอะไรจะขึ้นเกาะมันนอก วันที่ 30 ก.ค. และขึ้นฝั่งอ่าวทุ่งกระเบน 31 ก.ค. ซึ่งการทำงานไม่ต้องการให้ขึ้นฝั่ง เพราะจะอันตรายกว่ามาก เพราะไม่สามารถจะใช้สารเคมีใดๆ ได้ เพราะจะอันตรายกว่า จึงแจ้งนำเครื่องบินจากสิงคโปร์มาโปรยสารเคมีเพิ่ม เพราะเรืออย่างเดียวไม่พอแต่เครื่องบินก็มาช้ากว่าแผน และเมื่อรวมขั้นตอนศุลกากรเลยช้าไปถึง 9 ชั่วโมงกว่า และมาถึงก็เริ่มปฏิบัติงาน แต่ก็ยังมีน้ำมันเล็ดลอยขึ้นอ่าวพร้าว ส่วนการตรวจสอบท่อก็เป็นไปตามมาตรฐานอุตาหกรรมทุกด้าน” คุณหญิงทองทิพ กล่าว
ไม่ว่าคณะกรรมการฯ ชุดคนกันเองของพีทีทีจีซี จะรับประกันเช่นใด เครือปตท.ก็ไม่อาจสร้างความไว้วางใจต่อสาธารณชนได้อีกต่อไปแล้ว ยิ่งรัฐบาลและเครือปตท.ต้องการกลบเกลื่อนให้เรื่องนี้จบลงโดยเร็ว และ
เมินเฉยไม่ใส่ใจข้อเรียกร้องของประชาชนที่ต้องการให้มีการตั้งคณะกรรมการที่เป็นกลาง มีตัวแทนมาจากหลายภาคส่วนเข้ามาตรวจสอบให้สิ้นสงสัย และวางแผนแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้น กลาง และระยะยาว ก็เท่ากับว่า เครือปตท.กำลังเดินเข้าสู่ประตูแห่งความไร้ธรรมาภิบาลใกล้เข้าไปเรื่อย ซึ่งเวลานี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็สั่งชะลอรางวัล “องค์กรโปร่งใส เกียรติยศแห่งคุณธรรมและจริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต” ประจำปี 2555 ที่พีทีทีซีจี เป็น 1 ใน 17 บริษัทที่ได้รับรางวัลนี้ ออกไปก่อนเพื่อรอดูความรับผิดชอบของพีทีทีจีซีต่อสังคมว่ายังสมควรที่จะได้รับรางวัลนี้อยู่หรือไม่
(15 ส.ค. 56)
ฟังกันชัดๆ อีกครั้ง จากกรมควบคุมมลพิษ นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แถลงเมื่อวันที่ 13 ส.ค. 56 ถึงผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล ชายหาดและอ่าวต่างๆ รอบเกาะเสม็ด จ.ระยอง จากการเฝ้าระวังเนื่องจากกรณีเหตุการณ์ท่อส่งน้ำมันดิบรั่วไหลในทะเล จังหวัดระยอง ผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งบริเวณรอบเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง จำนวน 12หาด ที่เก็บตัวอย่างในวันที่ 3 ส.ค. 56 ปรากฏว่า ค่าความเป็นกรด - ด่าง ค่าออกซิเจนละลายน้ำ มีค่าปกติไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้
ผลการตรวจวัดโลหะหนัก ทั้ง 12 หาด พบว่า สารหนูมีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลที่กำหนดไว้ที่ 10 ไมโครกรัมต่อลิตร แคดเมียมมีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลที่กำหนดไว้ที่ 0.5 ไมโครกรัมต่อลิตร และค่าปรอทส่วนใหญ่มีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลที่กำหนดไว้ 0.1 ไมโครกรัมต่อลิตร ยกเว้นอ่าวทับทิม มีค่า 0.25 ไมโครกรัมต่อลิตร และอ่าวพร้าวมีค่า 2.9 ไมโครกรัมต่อลิตร หรือ 29 เท่าจากค่ามาตรฐาน
ขณะที่ผลการตรวจวัดโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (PAHs) อยู่ในระดับค่าไม่เกินค่ามาตรฐาน (มาตรฐานของ USEPA ที่กำหนดไว้ ระดับต่ำสุดที่มีผลกระทบต่อสัตว์น้ำ 300 ไมโครกรัมต่อลิตร) สำหรับผลการตรวจวัดปิโตรเลียมไฮโครคาร์บอน (TPH) ในขณะนี้ยังวิเคราะห์ผลไม่แล้วเสร็จ ซึ่งคงจะสามารถรู้ผลและแถลงให้ทราบพร้อมผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างที่เก็บไว้ในวันที่ 8 ส.ค. 56
นี่เป็นแค่ผลการตรวจครั้งแรกเท่านั้น คพ.ยังจะติดตามเฝ้าระวังและเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำทะเลและคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และแถลงผลการตรวจสอบเป็นระยะๆ พร้อมกับออกคำเตือนประชาชนให้เฝ้าระวังและหลีกเลี่ยง ดังเช่นครั้งนี้ที่แนะนำประชาชนและนักท่องเที่ยวให้หลีกเลี่ยงการลงเล่นน้ำในพื้นที่อ่าวพร้าวและอ่าวทับทิมของเกาะเสม็ดจนกว่าผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทะเลจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
การทำหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษ ถือเป็นที่พึ่ง คุ้มครองของประชาชนให้ปลอดภัยจากสารพิษที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วกลางทะเลระยองของบริษัทพีทีทีจีซี เว้นเสียแต่ว่าหลังจากนี้จะมีใบสั่งจากเบื้องบนปิดปากอธิบดีและเจ้าหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษ หรือกดดันให้พวกเขาทรยศต่อการทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อม และชีวิตประชาชน จนทำให้ผลการสำรวจตรวจสอบและประเมินความเสียหายระบบนิเวศน์ท้องทะเลและชายหาดที่ต้องมีการติดตามอยู่เป็นระยะและเฝ้าระวังผลกระทบในระยะยาวด้วยนั้น ออกมาแบบไร้ปัญหา อย่างที่นักการเมืองที่มีพฤติกรรมรับใช้เครือปตท.อยากให้เป็น
ไม่เพียงแค่ผลตรวจสอบจากกรมควบคุมมลพิษ เท่านั้น ที่น่าวิตกกังวล การตรวจสอบด้านทรัพยากรทางทะเลก็ออกมาไม่แตกต่างกัน โดยนายนิพนธ์ พงษ์สุวรรณ นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ให้ข้อมูลว่า ทาง ทช. สำรวจพบปะการังเกิดการฟอกขาวใน 4 จุด คือ อ่าวน้อยหน่า ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ อ่าวพร้าวด้านเหนือ 5-10 เปอร์เซ็น อ่าวพร้าวด้านใต้ 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นจุดที่น้ำมันมากองรวมกันมากที่สุดในช่วง 2-3 วันแรก และบริเวณอ่าวปลาต้ม 10-20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทางกรมจะตรวจสอบอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยเป็นเวลาอีก 1 ปี เพื่อดูว่าปะการังที่ฟอกขาวเหล่านี้จะตายลงหรือไม่
“ฟันธงว่าการฟอกขาวครั้งนี้เกิดจากน้ำมันรั่วแน่นอน ซึ่งการฟอกขาวเกิดจากปะการังมีภาวะเครียด และมีฟองน้ำบางส่วนตาย”
หากไม่แกล้งโง่ดักดานเกินไปนัก นักการเมืองสุนัขรับใช้ปตท. ก็ควรรู้ว่า น้ำมันดิบนั้นมีสารที่เป็นพิษต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อม ดังเช่นที่ดร.อาภา หวังเกียรติ อาจารย์วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต บอกว่า น้ำมันดิบมีองค์ประกอบที่เป็นสารพิษอยู่หลายตัว มีสารอินทรีย์ระเหยง่าย อย่างเบนซิน โทลูอีน ไซลีน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ชาวบ้านมาบตาพุดเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก จากการที่มีโรงกลั่นน้ำมันตั้งอยู่ และมีโลหะหนักบางตัว เช่น นิกเกิล โครเมียม ปรอท หรืออาจมีสารบางตัว เช่น ซัลไฟด์ องค์ประกอบพวกโลหะหนักนั้นมันจะเพิ่มขยายเท่าตัวในสิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์ตัวใหญ่กินตัวเล็กสารพิษก็จะเพิ่มเท่าตัว แล้วคนก็เป็นอันดับสุดท้ายในห่วงโซ่อาหาร ฉะนั้นคนก็จะได้รับสารพิษในระดับเข้มข้นมากที่สุด การที่สารเคมีตกค้างในห่วงโซ่อาหารเป็นผลกระทบระยะยาวมาก ด้วยตัวน้ำมันดิบเองก็อันตรายอยู่แล้ว นี่ยังไปเพิ่มสารอันตรายคือสารที่ใช้สลายคราบน้ำมันเข้าไปอีก
สารพิษจากน้ำมันดิบและสารเคมีสลายคราบน้ำมัน มีอันตรายแน่นอน และเมื่อเกิดการสะสมมากเข้าก็จะมีปัญหาต่อชีวิต อาจไม่ใช่การตายอย่างปัจจุบันทันด่วนอย่างที่นักการเมืองบางคนออกมาแสดงความโง่เขลา เพื่อหลอกหลวงประชาชน เล่นละครดราม่ากันถึงขั้นถอดเสื้อผ้าใส่ชุดว่ายน้ำลงเล่นน้ำทะเลที่อ่าวพร้าวพร้อมขุดทรายโชว์
พฤติกรรมเฉกเช่นนักลวงโลกเช่นนี้ แน่นอนย่อมเป็นเจ้าเก่า นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ที่ลงมาติดตามกู้คราบน้ำมันดิบเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 56 ที่ลงเล่นน้ำทะเลพร้อมกับนายบวร วงศ์สินอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ พีทีทีจีซี โดยยืนยันว่าน้ำทะเลและหาดทรายที่อ่าวพร้าวใสสะอาดปลอดภัยแล้ว
ต่อมา เมื่อคพ.แถลงว่า อ่าวพร้าวมีสารปรอทเกินค่ามาตรฐาน นายปลอดประสพ ก็แสดงอาการยั๊วะตามนิสัยเพื่อกลบเกลื่อนความจริง “เรื่องสารปรอทที่ว่ามี มันมีเมื่อน้ำมันยังดำอยู่ เมื่อ 9 วันที่แล้ว ไม่ใช่วันนี้ วันนี้มันไม่มีอะไรแล้ว และผมก็ไปว่ายน้ำมา 3-4 วัน ถ้าตายผมก็ตายไปเรียบร้อยแล้ว” คำสัมภาษณ์ของนายปลอดประสพ ที่สะท้อนรอยหยักในสมองได้เป็นอย่างดี
สารปรอทมีผลต่อสุขภาพอย่างไร ฟังจากหมอที่มีจรรยาบรรณวิชาชีพครบถ้วน อย่าง นพ.ปรีชา เปรมปรี ผอ.สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค ก็ยังแนะนำให้นักการเมืองที่ลงเล่นน้ำโชว์ทั้งนายปลอดประสพ สุรัสวดี และนายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ มาตรวจร่างกายเพื่อความปลอดภัยทั้งการตรวจเลือดและปัสสาวะหาสารปรอทตกค้าง
ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) ซึ่งบอกว่า โดยปกติสารปรอทจะเข้าสู่ร่างกายได้ทางการหายใจและรับประทานเข้าไป กรณีการสัมผัสทางผิวหนังโดยปกติไม่ถึงขั้นอันตรายแต่ต้องดูปริมาณของสารปรอทด้วย แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดควรหลีกเหลี่ยงการลงเล่นน้ำในบริเวณที่มีปัญหาในช่วงนี้ ส่วนพิษของสารปรอทนั้นมีทั้งเฉียบพลันและระยะยาว หากสะสมนานๆ ในปริมาณมากๆ โอกาสเกิดพิษปรอทจนก่อให้เกิดมะเร็งมีความเป็นไปได้ และการจะทราบว่ามีสารปรอทในร่างการหรือไม่ ต้องตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการเท่านั้น เนื่องจากอาการบ่งชี้แทบไม่มีสัญญาณใดๆ นอกจากกรณีสูดหายใจเข้าไปเป็นจำนวนมากทันทีทันใดจะทำให้เกิดอาการไอและปวดศรีษะอย่างแรง
ประเด็นความเป็นพิษของสารปรอทที่เกินค่ามาตรฐานนั้น ไม่ใช่อันตรายจากการสัมผัสลงเล่นน้ำทะเล หรือการเกิดพิษเฉียบพลันแต่ประการใด แต่อยู่ที่การปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหารของสัตว์น้ำ ดังเช่นที่ดร.อาภา กล่าวไว้ข้างต้น
และ นพ.วินัย วนานุกูล ผอ.ศูนย์พิษวิทยา รพ.รามาธิบดี ที่บอกว่า ผลกระทบจากการเล่นน้ำ ไม่น่าห่วงเท่ากับการปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหารของสัตว์น้ำ เพราะทำให้ร่างกายของปลาหรือสัตว์น้ำมีสารตกค้าง คนรับประทานก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยสารที่คาดว่าจะตกค้างในอาหารทะเลที่น่าจะพบมากที่สุด ได้แก่ เนื้อปลา หน่วยงานของรัฐจึงควรเร่งสำรวจสารตกค้างในอาหารทะเลในพื้นที่ดังกล่าว
นั่นเป็นความเห็นและข้อแนะนำของคุณหมอที่มีจรรยาบรรณวิชาชีพ แต่สำหรับคุณหมอนักการเมือง อย่างเช่น นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข แล้ว กลับออกมาเล่นลิ้นว่า สารปรอทที่กรมควบคุมมลพิษตรวจพบเกินค่ามาตรฐานนั้น ต้องดูก่อนว่าการมีสารปรอทปนเปื้อนในทะเลนั้นเป็นปัญหาดั้งเดิมของพื้นที่อยู่แล้วหรือไม่ อย่าเพิ่งสรุปว่าเป็นการเกิดจากปัญหาคราบน้ำมัน
ก่อนที่คุณหมอนักการเมืองคนเดิมนี้ จะตบท้ายด้วยลีลาที่ทำราวกับเป็นผู้บริหารเครือปตท.ว่า ในเรื่องของความรับผิดชอบ ปตท.ก็ยืนยันให้ความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ โดยยินดีตั้งกองทุนให้ และอาจจะตั้งโรงพยาบาลขึ้นมาดูแลสถานการณ์ฉุกเฉินบริเวณนั้น ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดจาก ปตท.รวมถึงออกค่าใช้จ่ายในการตรวจปัสสาวะและสารตกค้างในสัตว์ทะเล
ประชาชนเราท่านจึงได้แต่มึนงงสับสนว่า ขณะนี้เครือปตท.มีรัฐมนตรีประจำสำนักงานที่คอยแก้ต่างแก้ข่าวอยู่หลายคนทีเดียว
เช่นเดียวกับคุณหญิงทองทิพ รัตนะรัต ผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ที่นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานพีทีทีจีซี แต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่ว ที่ออกมาบอกว่า เหตุที่เกิดนั้นเป็นเพราะท่อผิด คนไม่ผิดหรือพูดชัดๆ ก็คือ ปตท.โกลบอลเคมีคอล ไม่ผิด ก็จะให้บอกว่าผิดได้อย่างไรเพราะคนตั้งตนเองขึ้นมาเป็นประธานสอบหาใช่ใครที่ไหนแต่เป็น “บิ๊กไฝ” ประธานพีทีทีซีซี แถมหลังจากนี้จะมีการสอบท่อแตกพีทีทีจีซีก็จะใช้นักวิชาการจากรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งคณาจารย์และศิษย์เก่าจุฬาฯ ถือว่าเครือปตท.นั้นเป็นเสมือนบ้านที่สอง
ถ้อยแถลงของคุณหญิงทองทิพ สรุปว่า ผลจากการตรวจสอบเหตุที่ทำให้น้ำมันรั่วไหลในทะเลเกิดจากท่อรั่ว หรือ Material Error และไม่พบปัจจัยภายนอกที่ทำให้ท่อแตก ขณะที่การปฏิบัติงานของพนักงานก่อนการเกิดเหตุเป็นไปตามกระบวนการทุกขั้นตอน จึงไม่ใช่ความผิดพลาดของคนหรือ Human Error
สำหรับแนวทางการตรวจสอบได้ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่น้ำมันดิบรั่วเวลา 06.30 น.ของวันที่ 27 ก.ค. และมีการสั่งปิดวาล์ทั้งหมดในเวลา 06.45 น. ทำให้น้ำมันในเรือไม่สามารถรั่วไหลอีก และท่อใต้ทะเลก็ไม่ไหลย้อนกลับมา มีเพียงน้ำมันที่ค้างอยู่ระหว่างจุดเชื่อมต่อท่อน้ำมันบนเรือและทุ่นเท่านั้น ดังนั้น ได้กำหนดให้ท่อ 24 นิ้วยาว 245 เมตร โดยตั้งสมมติฐานให้น้ำมันไหลออก 60% และท่อ 16 นิ้วยาว 55 เมตร ให้น้ำมันไหลออกทั้งหมด ซึ่งถือเป็นกรณีที่เลวร้ายสุด และประมาณการน้ำมันไหลออกขณะปิดวาล์ว เวลา 20 วินาที ให้อัตราการสูบถ่ายเมื่อวาล์วเปิดเต็มที่ 1,111 ลิตรต่อวินาทีต่อท่อแล้ว พบว่าน้ำมันที่คาดว่าจะรั่วไหลมีปริมาณทั้งสิ้น 54,341 ลิตร
ส่วนการใช้สารกำจัดคราบน้ำมัน มีการใช้ 2 ชนิด คือ Slickgone NS 30,612 ลิตร โดย 12,000 ลิตรทางอากาศ และ 18,612 ลิตรทางเรือ และ 2.Super-dispersant 25 จำนวน 6,930 ลิตร ซึ่งสารทั้ง 2 อยู่ภายใต้การควบคุมของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งถือว่ามีพิษน้อยสุด โดยการขจัดคราบน้ำมันวันที่ 28 ก.ค. มีการขจัดคราบน้ำมันรวมทั้งสิ้น 42,568 ลิตร สันนิฐานว่าจะขึ้นอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด 11,773 ลิตร และสาเหตุที่จำเป็นต้องใช้สารเคมีดังกล่าว โดยเฉพาะSuper dispersant เนื่องจากแสคลื่นขณะนั้นสูงถึง 2 เมตร ไม่สามารถใช้บูมกั้นได้ และการใช้สาร ก็เพื่อให้ไปย่อยโมเลกุลน้ำมันให้เล็ก เพื่อให้แบคทีเรียและแสงแดดกำจัดไปโดยธรรมชาติได้ง่ายขึ้น
คุณหญิงทองทิพ ยอมรับว่าปริมาณสารเคมีที่ใช้สลายคราบน้ำมันเกิดการใช้มากกว่ามาตรฐานที่กำหนด ตามสัดส่วนใช้สารเคมี 1 ส่วนต่อน้ำมัน 10 ส่วน หรือควรจะใช้สารเคมีเพียงแค่ 5,000 ลิตรต่อปริมาณน้ำมันที่รั่วกว่า 50,000 ลิตร แต่เนื่องจากสภาพคลื่นทะเลในเวลาเกิดเหตุมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ความเร็วลมแรงกว่าปกติที่ 15-35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้จำเป็นต้องเร่งใช้สารเคมีกำจัดน้ำมันโดยเร็ว แต่ยืนยันว่าสารเคมีดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ เพราะสารเคมีที่ใช้ได้ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลกว่าปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดมะเร็งหรือการขยายพันธุ์สัตว์น้ำแต่อย่างใด
“เวลา 15.40 น. ของวันที่ 27 ก.ค. มีการรายงานว่าน้ำมันกำลังเคลื่อนตัวไปทางใต้ของเกาะเสม็ด หากไม่ทำอะไรจะขึ้นเกาะมันนอก วันที่ 30 ก.ค. และขึ้นฝั่งอ่าวทุ่งกระเบน 31 ก.ค. ซึ่งการทำงานไม่ต้องการให้ขึ้นฝั่ง เพราะจะอันตรายกว่ามาก เพราะไม่สามารถจะใช้สารเคมีใดๆ ได้ เพราะจะอันตรายกว่า จึงแจ้งนำเครื่องบินจากสิงคโปร์มาโปรยสารเคมีเพิ่ม เพราะเรืออย่างเดียวไม่พอแต่เครื่องบินก็มาช้ากว่าแผน และเมื่อรวมขั้นตอนศุลกากรเลยช้าไปถึง 9 ชั่วโมงกว่า และมาถึงก็เริ่มปฏิบัติงาน แต่ก็ยังมีน้ำมันเล็ดลอยขึ้นอ่าวพร้าว ส่วนการตรวจสอบท่อก็เป็นไปตามมาตรฐานอุตาหกรรมทุกด้าน” คุณหญิงทองทิพ กล่าว
ไม่ว่าคณะกรรมการฯ ชุดคนกันเองของพีทีทีจีซี จะรับประกันเช่นใด เครือปตท.ก็ไม่อาจสร้างความไว้วางใจต่อสาธารณชนได้อีกต่อไปแล้ว ยิ่งรัฐบาลและเครือปตท.ต้องการกลบเกลื่อนให้เรื่องนี้จบลงโดยเร็ว และ
เมินเฉยไม่ใส่ใจข้อเรียกร้องของประชาชนที่ต้องการให้มีการตั้งคณะกรรมการที่เป็นกลาง มีตัวแทนมาจากหลายภาคส่วนเข้ามาตรวจสอบให้สิ้นสงสัย และวางแผนแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้น กลาง และระยะยาว ก็เท่ากับว่า เครือปตท.กำลังเดินเข้าสู่ประตูแห่งความไร้ธรรมาภิบาลใกล้เข้าไปเรื่อย ซึ่งเวลานี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็สั่งชะลอรางวัล “องค์กรโปร่งใส เกียรติยศแห่งคุณธรรมและจริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต” ประจำปี 2555 ที่พีทีทีซีจี เป็น 1 ใน 17 บริษัทที่ได้รับรางวัลนี้ ออกไปก่อนเพื่อรอดูความรับผิดชอบของพีทีทีจีซีต่อสังคมว่ายังสมควรที่จะได้รับรางวัลนี้อยู่หรือไม่
(15 ส.ค. 56)