กลายเป็นจำเลยหนีคดีไปอีกคนหนึ่งแล้ว สำหรับนายประชา มาลีนนท์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นัดฟังคำพิพากษาคดีทุจริตรถดับเพลิง วันที่ 6 ส.ค. 56 ที่ผ่านมา แล้วนายประชา เบี้ยวไม่มาฟังศาลตัดสิน เมื่อไม่มาโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลถือว่ามีเจตนาหลบเลี่ยงไม่มาฟังคำพิพากษา ศาลจึงมีคำสั่งให้ออกหมายจับและปรับเงินประกัน 2 ล้านบาท เต็มตามสัญญา พร้อมกับเลื่อนการฟังคำพิพากษาไปเป็นวันที่ 10 ก.ย. 56 นี้ ซึ่งเมื่อถึงวันนั้นแล้ว จำเลยคนใดไม่มาศาลก็จะไม่เลื่อนการตัดสินอีกแล้ว
เรียกว่า นายประชา เลือกเดินตามรอยนักโทษขาใหญ่ อย่าง นช. ทักษิณ ชินวัตร ในคดีที่ดินรัชดาฯ, นายวัฒนา อัศวเหม ในคดีทุจริตบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน และนายสมชาย คุณปลื้ม คดีที่ทิ้งขยะเขาไม้แก้ว ซึ่งคนหลังนี้ถูกจับและกลับมาติดคุกก่อนจะได้รับการประกันตัวออกไปรักษาพยาบาลตัวเองอยู่ในขณะนี้
เหตุที่นายประชา ไม่สนว่าจะตกอยู่ในฐานะนักโทษหนีคดี ก็อาจเป็นได้ว่า เพราะกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะการติดตามนักโทษมารับโทษทัณฑ์ไม่มีความศักดิ์สิทธิ์หลงเหลืออยู่แล้ว ดังเช่นกรณีนช.ทักษิณ ที่นอกจากจะไม่ได้ถูกนำตัวมารับโทษแล้ว ยังมีคนไปแห่แหนให้ติดยศให้ และยังได้รับการยกย่องในฐานะนายใหญ่ สามารถชี้นิ้วสั่งการบริหารประเทศได้ โดยที่คณะผู้บริหารบ้านเมืองไล่ตั้งแต่นายกรัฐมนตรี ผู้บริหารสูงสุด เสนาบดีกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ต่างกุลีกุจอทำตามคำสั่ง และทำมากกว่าที่สั่งเพื่อเอาอกเอาใจ จึงพาลทำให้กระบวนการยุติธรรมเกิดความบิดเบี้ยว และคนทำผิดไม่สะทกสะท้านที่หนีคดี หนีความผิด
ย้อนรอยคดีรถดับเพลิงที่เรียกได้ว่าเป็นมหากาพย์ไม่แพ้คดีอื่นๆ ที่อยู่ในแฟ้มคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คดีนี้ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายโภคิน พลกุล อดีต รมว.มหาดไทย, นายประชา มาลีนนท์ อดีต รมช.มหาดไทย, นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.พาณิชย์, พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ อดีตผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม., บริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ จำกัด และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นจำเลยที่ 1-6 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ. 2542 จากกรณีการจัดซื้อรถ และเรือดับเพลิง พร้อมอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย ตามโครงการพัฒนาระบบบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำนักป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยกทม. มูลค่า 6,687,489,000 บาท
คดีนี้เริ่มจากการออกมาแฉข้อมูลของนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส. มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย เมื่อครั้งสังกัดอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี 2547 โดยระบุว่านายสมัคร สุนทรเวช ในสมัยดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ได้เซ็นลงนามซื้อขายเรือและรถดับเพลิงเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 47 ขณะที่ดำรงตำแหน่งรักษาการในช่วงรอเลือกตั้งผู้ว่าฯ คนใหม่ ซึ่งเป็นการกระทำก่อนวันที่จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 29 ส.ค. 47 เพียงแค่วันเดียว ซึ่งถือเป็นความผิดปกติที่ไม่มีใครเขาทำกัน โดยศึกเลือกตั้งครั้งนั้น พรรคประชาธิปัตย์ ส่งนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ลงสมัครผู้ว่าฯ กทม.
แต่ทว่า เมื่อนายอภิรักษ์ ได้รับการเลือกตั้ง นายอภิรักษ์ ก็เปิดแอลซีตามที่ได้ลงนามสัญญาไว้กับบริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุค สเปเชียล ฟาห์รซอยก์ จำกัด ก่อนที่จะแก้ไขใหม่เพื่อแก้ข้อกล่าวหาว่าเป็นสัญญาที่เสียเปรียบเอกชน ไม่นับว่าราคาซื้อรถดับเพลิงมีราคาแพง และมีการเรียกรับสินบน จากนั้นก็มีการกล่าวโทษกันไปมาระหว่างกทม.ที่อ้างว่า มหาดไทย (มท.) ในฐานะกำกับดูแลไปทำสัญญาระดับประเทศมาแล้ว จึงเร่งให้กมท.ลงนามเปิดแอลซี ขณะที่มท.ก็อ้างว่าถ้ากทม.เห็นว่าสัญญาเสียเปรียบ ผิดปกติก็ไม่ควรยอมเปิดแอลซีและยกเลิกโครงการไป
เมื่อเป็นข่าวโด่งดัง นายยุทธพงศ์ ก็ยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช. เมื่อเดือนต.ค. 48 ให้เข้ามาสอบสวนการทุจริตในโครงการนี้ และเมื่อเกิดรัฐประหาร ปี 49 คดีนี้เข้าไปอยู่ในการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) แต่ยังไม่ทันเสร็จสิ้น คตส.หมดวาระลง คดีจึงถูกโอนกลับมาอยู่ในมือของ ป.ป.ช. พร้อมกันนั้น กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ที่เข้ามาสอบสวนเรื่องนี้เช่นกัน ก็ส่งสำนวนที่สอบสวนคดีนี้มาให้ป.ป.ช.ดำเนินการต่อ โดยนายวิชา มหาคุณ เป็นประธานคณะอนุกรรมการไต่สวน
หลังจากนั้น คณะกรรม ป.ป.ช. มีมติเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ชี้มูลความผิด โดยมีผู้ถูกกล่าวหา ประกอบด้วย 1. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าฯ กทม. 2. นายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าฯ กทม. 3. นายโภคิน พลกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 4. นายประชา มาลีนนท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 5. นายวัฒนา เมืองสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 6. พล.ต.ต.อธิรักษ์ ตันชูเกียรติ อดีตผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. และ 7. บริษัทสไตเออร์ฯ คู่สัญญา จากออสเตรีย
โดยมีมติวินิจฉัยว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดในการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ กรณีสั่งเปิดแอลซี (L/C-Letter of Credit) กับธนาคารกรุงไทยเพื่อชำระเงินบริษัท สไตเออร์ฯ ของออสเตรียผู้ผลิตรถดับเพลิงและอุปกรณ์ดับเพลิง แต่ในปี 2552 นายสมัคร สุนทรเวช หนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาในสมัยดำรงตำแหน่งรักษาการผู้ว่าฯ กทม. ได้เสียชีวิตลงจึงเหลือผู้ถูกกล่าวหาเพียง 6 ราย เท่านั้น ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จากนั้น ป.ป.ช.ได้ส่งสำนวนคดีให้อัยการสูงสุดฟ้องต่อศาล แต่อัยการสูงสุด กลับมีความเห็นว่าสำนวนไม่สมบูรณ์ ยื้อกันอยู่นาน จนกระทั่ง ป.ป.ช.ตัดสินใจยื่นฟ้องคดีเองต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 54 เป็นคดีหมายเลขดำที่ อม.5/2554 และศาลฯได้รับคดีไว้พิจารณาเมื่อเดือนส.ค. 54
ตามสำนวนคดีนี้ ที่ ป.ป.ช.ยื่นฟ้องต่อศาลฯ ระบุว่า ที่ประชุม ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดจำเลยทั้งหก โดยเห็นว่ากระทำของนายอภิรักษ์ ภายหลังที่เข้ารับตำแหน่งผู้ว่า กทม. เมื่อปี พ.ศ.2547 ได้ทราบข้อมูลการทุจริตเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมาตลอด เพราะมีการร้องเรียนมายังที่ ป.ป.ช. และหน่วยงานอื่นๆ รวมทั้งมีการพูดกันในหมู่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และพบว่าบันทึกข้อตกลงความเข้าใจไม่ได้ส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง และพบว่าการถอนเรื่องคืนมาจากสำนักงานอัยการสูงสุดมีเหตุผลที่ไม่น่ารับฟัง แต่กลับไม่ดำเนินการตรวจสอบโดยเร็วเพื่อทราบข้อเท็จจริงแล้วดำเนินการยกเลิกตามสัญญา แต่นายอภิรักษ์ เพียงแต่ตั้งกรรมการพิจารณาละเอียดการจัดซื้อรถยนต์ดับเพลิง และอุปกรณ์ ทำหน้าที่พิจารณาตรวจสอบรายละเอียดการจัดซื้อเท่านั้น
อีกทั้งการที่ได้ดำเนินการขอให้กระทรวงมหาดไทย พิจารณาทบทวนการจัดซื้อโครงการนี้ตลอดมา นายอภิรักษ์ ย่อมทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการซื้อรถและเรือดับเพลิงแล้วว่ามีความบกพร่อง และไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่กลับอ้างว่าอำนาจในการบริหารเงินทั้งหมดไม่ได้อยู่ที่ผู้ว่าฯ กทม. แต่เป็นอำนาจของนายโภคิน และอ้างว่าได้รับคำชี้แจงยืนยันจากกระทรวงมหาดไทยว่าการจัดซื้อครั้งนี้เป็นไปถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทุกประการ และแม้จะอ้างว่าได้รับการเร่งรัดให้ กทม. เปิดบริษัทแอลซี แก่บริษัท STEYRฯ อยู่เสมอก็ตาม ก็ไม่อาจฟังได้
ทั้งนี้ ข้อเท็จจริงทราบได้ว่าอำนาจในการบริหารเงินทั้งหมดอยู่ที่ผู้ว่าฯกทม. ไม่ได้เป็นอำนาจของกระทรวงมหาดไทยตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด เพราะว่างบอุดหนุนที่กระทรวงมหาดไทยจัดให้ กทม. เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการใช้จ่ายเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดให้ กทม.เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการใช้จ่ายเงินอุดหนุน พ.ศ.2533 ข้อ 6 ซึ่งถ้าหากได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงก็จะทราบว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดซื้อตามโครงการนี้ว่ามีความไม่ชอบอย่างไร แต่ปรากฏว่าวันที่ 10 ม.ค. 48 นายอภิรักษ์ กลับดำเนินการเปิดแอลซี และแก้ไขแอลซีให้กับบริษัท STEYR เป็นเหตุให้ข้อตกลงซื้อขายที่นายสมัคร สุนทรเวช ลงนามกับ บริษัท STEYR เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2547 มีผลผูกพันและบังคับใช้กับคู่สัญญาต่อไป ทั้งที่นายอภิรักษ์ทราบอยู่แล้วว่าการจัดซื้อตามโครงการนี้ได้มีการจัดซื้อตามเอ็มโอยูที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
นอกจากนี้ เมื่อได้รับแจ้งจากธนาคารกรุงไทยเพื่อให้แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขของแอลซี นายอภิรักษ์ ก็ดำเนินการแก้ไขโดยไม่ชักช้า และไม่ได้แก้ไขเพียงเงื่อนไขเพื่อส่งมอบในประเทศไทยเท่านั้นแต่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในเนื้อหาอื่นอีกหลายรายการ อันเป็นการทำให้ บริษัท STEYR ได้รับประโยชน์จากการเปิดแอลซีที่เกิดจากการทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นไปตามหลักสุจริตตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 และการแก้ไขดังกล่าวทำให้นายโภคิน กับพวกที่ได้กระทำไปแล้วในตอนแรก ยังไม่ได้ปรากฏเป็นมูลค่าความเสียหายที่เป็นตัวเงิน แต่โดยผลของการเปิดแอลซีดังกล่าวทำให้ กทม. ต้องจ่ายงบประมาณไปแล้วจำนวน 2,354 ล้านบาท โดยไม่ได้สินค้าตามวัตถุประสงค์ของการจัดหาพัสดุแต่อย่างใด การกระทำของอภิรักษ์ จึงมีมูลตามความผิดมาตรา 157
ส่วนความผิดของนายโภคิน นายประชา นายวัฒนา พล.ต.ต.อธิลักษณ์ และบริษัท STEYR มีพฤติการณ์มิชอบเกี่ยวกับการจัดซื้อโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่และอุบายหลอกลวง ตั้งแต่ขั้นตอนการเริ่มโครงการจนไปถึงการอนุมัติโครงการ โดยเฉพาะการทำข้อตกลงทำความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลออสเตรียที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายคือ 1.ร่างบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องด้านกฎหมายจากหน่วยงานที่รับผิดชอบประกอบ ด้วยกระทรวงมหาดไทย สำนักงานอัยการสูงสุด และกระทรวงการต่างประเทศ 2.ขัดต่อมติ ครม.เมื่อวันที่ 1 ก.ย.35 เรื่องหลักเกณฑ์การส่งร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาเนื่อง จากไม่ได้ส่งร่างบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ ให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา
3.ขัดต่อมติ ครม.เมื่อวันที่ 21 ก.ค.35 , 1 ต.ค.45 , 7 ม.ค.46 และวันที่ 30 ธ.ค.46 เรื่องการติดต่อทำความตกลงกับต่างประเทศ การทำอนุสัญญาและสนธิสัญญาต่างๆ ซึ่งมติ ครม.ดังกล่าวกำหนดไว้ว่า หลักปฏิบัติในการติดต่อทำอนุสัญญา และสนธิสัญญาต้องมอบให้กระทรวงต่างประเทศเป็นเจ้าของเรื่องดำเนินการ และก่อนนำเรื่องเสนอ ครม. ให้กระทรวง ทบวง กรม ส่งเรื่องให้กระทรวงต่างประเทศพิจารณาเสนอความเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาของ ครม.ทุกครั้ง
4.ขัดมติ ครม. 22 มิ.ย.47 ที่กำหนดว่าส่วนที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศให้นำเข้าเฉพาะที่จำเป็น และเป็นส่วนที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศไทยเท่านั้น และต้องดำเนินการเรื่องการค้าต่างตอบแทน แต่ปรากฏว่า บันทึกข้อตกลงความเข้าใจ ไม่ระบุเรื่องการค้าต่างตอบแทน และไม่ระบุเรื่องความช่วยเหลือใดๆ จากรัฐบาลออสเตรีย คือ ยานพาหนะดับเพลิงและยานบรรเทาสาธารณภัย ปรากฏว่าเรือดับเพลิงและโครงประธานรถดับเพลิงชนิด 4×4 มิตซูบิชิ L200 เป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย
5.ขัดต่อข้อบัญญัติกทม.เรื่องการพัสดุ พ.ศ. 2538 โดยมีการกำหนดตัวผู้ขายและสินค้าไว้ล่วงหน้าโดยไม่มีการจัดประกวดราคา พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่าเป็นการอาศัยข้อตกลงระหว่างรัฐกับรัฐ เพื่อกำหนดความผูกพันในเรื่องการขายสินค้า คุณลักษณะของสินค้า และเงื่อนไขอื่น ซึ่งผิดวิสัยการทำข้อตกลงระหว่างรัฐกับรัฐ ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเชื่อว่าเกิดผลผูกพันรัฐบาลและเกิดสิทธิหน้าที่ต่างๆ โดยต้องทำข้อตกลงซื้อขายต่อไป และผูกพันให้รัฐบาลมีภาระหนี้ที่มากถึง 6,687 ล้านบาทเศษ
นอกจากนี้ บันทึกข้อตกลงความเข้าใจดังกล่าวเมื่อมีการลงนามแล้ว ได้มีการเสนอ ครม.เพื่อทราบ มิใช่เพื่ออนุมัติ ซึ่งพยานบุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารในสำนักเลขา ครม.ที่รับผิดชอบดูแลการประชุม ครม.ว่า การทำความเข้าใจของไทยกับต่างประเทศมีกระบวนการและขั้นตอน มีหลักต้องปฏิบัติตามมติ ครม.และหากมีการยกเว้นมติดังกล่าว ต้องมีมติยกเว้นที่ชัดเจน
6.บริษัท STEYR ได้จ้างบริษัทในเครือบริษัทเอกชนใหญ่ ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับนายวัฒนา เป็นผู้ดำเนินการตามข้อตกลงว่าด้วยการซื้อต่างตอบแทนกับกรมการค้าต่างประเทศ โดยจ่ายค่าธรรมเนียมบริการเป็นเงินจำนวนร้อยละ 2.20 ของพันธกรณีการซื้อต่างตอบแทนเป็นเงิน 2,942,495.16 ยูโร
นอกจากนี้ การทำการค้าต่างตอบแทนดังกล่าว ฝ่ายไทยไม่ได้ประโยชน์ตามที่จัดทำแต่อย่างใด การที่บริษัทเอกชนดังกล่าวได้ทำสัญญาการค้าต่างตอบแทน โดยใช้ไก่ต้มสุกไปขายต่างประเทศทั้งที่บริษัทดังกล่าวก็ได้ส่งไก่ออกไปยังต่างประเทศเป็นปกติอยู่แล้ว เพียงแต่นำเอารายการส่งออกไปแจ้งต่อกรมการค้าต่างประเทศว่า ได้ส่งไก่ไปครบจำนวนตามที่ทำสัญญาการค้าต่างตอบแทนแล้ว นอกจากนี้ในที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 24 ส.ค.47 มีมติเรื่องไก่ต้มสุกเป็นสินค้าอันดับแรก เพื่อพยายามนำรายการสินค้าไก่ต้มสุกมาทำรายการสินค้าต่างตอบแทนอันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชน ซึ่งเป็นเครือญาติกับนายวัฒนา
การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุไม่ให้โอกาสผู้อื่นเข้าทำการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม จนเป็นเหตุให้บริษัท STEYR ได้เข้าร่วมในโครงการจัดซื้อรถดับเพลิง โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ และเป็นการปฏิบัติและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์ ที่ไม่ควรได้ตามกฎหมาย ให้กับ บริษัท STEYR ดังนั้นการกระทำของนายโภคิน นายประชา นายวัฒนา นายสมัคร พล.ต.ต.อธิลักษณ์ มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐตาม พ.ศ. 2542 มาตรา 7 ,11 ,12 ,13
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบริษัท STEYR ไม่มีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน แต่ได้กระทำการอันเป็นการช่วยเหลือในการที่เจ้าพนักงานกระทำความผิด จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงาน ของรัฐฯ มาตรา 7 ,11 ,12,13
หลังจากศาลฎีกาฯ รับคดีไว้และตั้งองค์คณะพิจารณาคดี มีการนัดพิจารณาคดีครั้งแรกในเดือนพ.ย. 54 เรื่อยมากระทั่งวันที่ 30 พ.ค. 56 ศาลฯ ได้นัดไต่สวนพยานนัดสุดท้าย และให้คู่ความแถลงปิดคดี ทั้งนี้หากจำเลยทั้ง 6 รายกระทำผิดจริงตามมาตรา 157 คือ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ
สำหรับผลของคดีที่ศาลฯ จะตัดสินในวันที่ 30 ก.ย. 56 นี้ จะส่งผลต่อกระบวนการพิจารณาคดีของคณะอนุญาโตตุลาการที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวคือ หากศาลฎีกาฯ ตัดสินว่ามีการทุจริตอาจทำให้สัญญาที่ลงนามกันผิดไปด้วย กทม.จะได้เปรียบในคดีการฟ้องร้องเรื่องสัญญามิชอบและอาจจะได้รับเงินที่จ่ายไปทั้ง 9 งวดคืน แต่หากไม่พบว่ามีการกระทำความผิดหรือทุจริต และสัญญาซื้อขายดังกล่าวนั้นเป็นไปอย่างถูกต้อง กทม.ต้องยอมรับการซื้อขายและยอมรับรถและเรือดับเพลิงที่ถูกส่งมาให้ตั้งแต่ปี 2549 ที่เสื่อมสภาพจนไม่น่าจะใช้การได้
นับเป็นอีกคดีการทุจริตโดยฝีมือของนักการเมืองที่กัดกร่อนสังคมไทย ไม่ว่าพรรคการเมืองไหนจะขึ้นมาเป็นใหญ่บริหารบ้านเมืองก็ตาม
(8 ส.ค. 56)
เรียกว่า นายประชา เลือกเดินตามรอยนักโทษขาใหญ่ อย่าง นช. ทักษิณ ชินวัตร ในคดีที่ดินรัชดาฯ, นายวัฒนา อัศวเหม ในคดีทุจริตบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน และนายสมชาย คุณปลื้ม คดีที่ทิ้งขยะเขาไม้แก้ว ซึ่งคนหลังนี้ถูกจับและกลับมาติดคุกก่อนจะได้รับการประกันตัวออกไปรักษาพยาบาลตัวเองอยู่ในขณะนี้
เหตุที่นายประชา ไม่สนว่าจะตกอยู่ในฐานะนักโทษหนีคดี ก็อาจเป็นได้ว่า เพราะกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะการติดตามนักโทษมารับโทษทัณฑ์ไม่มีความศักดิ์สิทธิ์หลงเหลืออยู่แล้ว ดังเช่นกรณีนช.ทักษิณ ที่นอกจากจะไม่ได้ถูกนำตัวมารับโทษแล้ว ยังมีคนไปแห่แหนให้ติดยศให้ และยังได้รับการยกย่องในฐานะนายใหญ่ สามารถชี้นิ้วสั่งการบริหารประเทศได้ โดยที่คณะผู้บริหารบ้านเมืองไล่ตั้งแต่นายกรัฐมนตรี ผู้บริหารสูงสุด เสนาบดีกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ต่างกุลีกุจอทำตามคำสั่ง และทำมากกว่าที่สั่งเพื่อเอาอกเอาใจ จึงพาลทำให้กระบวนการยุติธรรมเกิดความบิดเบี้ยว และคนทำผิดไม่สะทกสะท้านที่หนีคดี หนีความผิด
ย้อนรอยคดีรถดับเพลิงที่เรียกได้ว่าเป็นมหากาพย์ไม่แพ้คดีอื่นๆ ที่อยู่ในแฟ้มคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คดีนี้ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายโภคิน พลกุล อดีต รมว.มหาดไทย, นายประชา มาลีนนท์ อดีต รมช.มหาดไทย, นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.พาณิชย์, พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ อดีตผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม., บริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ จำกัด และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นจำเลยที่ 1-6 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ. 2542 จากกรณีการจัดซื้อรถ และเรือดับเพลิง พร้อมอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย ตามโครงการพัฒนาระบบบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำนักป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยกทม. มูลค่า 6,687,489,000 บาท
คดีนี้เริ่มจากการออกมาแฉข้อมูลของนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส. มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย เมื่อครั้งสังกัดอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี 2547 โดยระบุว่านายสมัคร สุนทรเวช ในสมัยดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ได้เซ็นลงนามซื้อขายเรือและรถดับเพลิงเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 47 ขณะที่ดำรงตำแหน่งรักษาการในช่วงรอเลือกตั้งผู้ว่าฯ คนใหม่ ซึ่งเป็นการกระทำก่อนวันที่จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 29 ส.ค. 47 เพียงแค่วันเดียว ซึ่งถือเป็นความผิดปกติที่ไม่มีใครเขาทำกัน โดยศึกเลือกตั้งครั้งนั้น พรรคประชาธิปัตย์ ส่งนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ลงสมัครผู้ว่าฯ กทม.
แต่ทว่า เมื่อนายอภิรักษ์ ได้รับการเลือกตั้ง นายอภิรักษ์ ก็เปิดแอลซีตามที่ได้ลงนามสัญญาไว้กับบริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุค สเปเชียล ฟาห์รซอยก์ จำกัด ก่อนที่จะแก้ไขใหม่เพื่อแก้ข้อกล่าวหาว่าเป็นสัญญาที่เสียเปรียบเอกชน ไม่นับว่าราคาซื้อรถดับเพลิงมีราคาแพง และมีการเรียกรับสินบน จากนั้นก็มีการกล่าวโทษกันไปมาระหว่างกทม.ที่อ้างว่า มหาดไทย (มท.) ในฐานะกำกับดูแลไปทำสัญญาระดับประเทศมาแล้ว จึงเร่งให้กมท.ลงนามเปิดแอลซี ขณะที่มท.ก็อ้างว่าถ้ากทม.เห็นว่าสัญญาเสียเปรียบ ผิดปกติก็ไม่ควรยอมเปิดแอลซีและยกเลิกโครงการไป
เมื่อเป็นข่าวโด่งดัง นายยุทธพงศ์ ก็ยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช. เมื่อเดือนต.ค. 48 ให้เข้ามาสอบสวนการทุจริตในโครงการนี้ และเมื่อเกิดรัฐประหาร ปี 49 คดีนี้เข้าไปอยู่ในการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) แต่ยังไม่ทันเสร็จสิ้น คตส.หมดวาระลง คดีจึงถูกโอนกลับมาอยู่ในมือของ ป.ป.ช. พร้อมกันนั้น กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ที่เข้ามาสอบสวนเรื่องนี้เช่นกัน ก็ส่งสำนวนที่สอบสวนคดีนี้มาให้ป.ป.ช.ดำเนินการต่อ โดยนายวิชา มหาคุณ เป็นประธานคณะอนุกรรมการไต่สวน
หลังจากนั้น คณะกรรม ป.ป.ช. มีมติเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ชี้มูลความผิด โดยมีผู้ถูกกล่าวหา ประกอบด้วย 1. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าฯ กทม. 2. นายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าฯ กทม. 3. นายโภคิน พลกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 4. นายประชา มาลีนนท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 5. นายวัฒนา เมืองสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 6. พล.ต.ต.อธิรักษ์ ตันชูเกียรติ อดีตผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. และ 7. บริษัทสไตเออร์ฯ คู่สัญญา จากออสเตรีย
โดยมีมติวินิจฉัยว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดในการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ กรณีสั่งเปิดแอลซี (L/C-Letter of Credit) กับธนาคารกรุงไทยเพื่อชำระเงินบริษัท สไตเออร์ฯ ของออสเตรียผู้ผลิตรถดับเพลิงและอุปกรณ์ดับเพลิง แต่ในปี 2552 นายสมัคร สุนทรเวช หนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาในสมัยดำรงตำแหน่งรักษาการผู้ว่าฯ กทม. ได้เสียชีวิตลงจึงเหลือผู้ถูกกล่าวหาเพียง 6 ราย เท่านั้น ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จากนั้น ป.ป.ช.ได้ส่งสำนวนคดีให้อัยการสูงสุดฟ้องต่อศาล แต่อัยการสูงสุด กลับมีความเห็นว่าสำนวนไม่สมบูรณ์ ยื้อกันอยู่นาน จนกระทั่ง ป.ป.ช.ตัดสินใจยื่นฟ้องคดีเองต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 54 เป็นคดีหมายเลขดำที่ อม.5/2554 และศาลฯได้รับคดีไว้พิจารณาเมื่อเดือนส.ค. 54
ตามสำนวนคดีนี้ ที่ ป.ป.ช.ยื่นฟ้องต่อศาลฯ ระบุว่า ที่ประชุม ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดจำเลยทั้งหก โดยเห็นว่ากระทำของนายอภิรักษ์ ภายหลังที่เข้ารับตำแหน่งผู้ว่า กทม. เมื่อปี พ.ศ.2547 ได้ทราบข้อมูลการทุจริตเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมาตลอด เพราะมีการร้องเรียนมายังที่ ป.ป.ช. และหน่วยงานอื่นๆ รวมทั้งมีการพูดกันในหมู่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และพบว่าบันทึกข้อตกลงความเข้าใจไม่ได้ส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง และพบว่าการถอนเรื่องคืนมาจากสำนักงานอัยการสูงสุดมีเหตุผลที่ไม่น่ารับฟัง แต่กลับไม่ดำเนินการตรวจสอบโดยเร็วเพื่อทราบข้อเท็จจริงแล้วดำเนินการยกเลิกตามสัญญา แต่นายอภิรักษ์ เพียงแต่ตั้งกรรมการพิจารณาละเอียดการจัดซื้อรถยนต์ดับเพลิง และอุปกรณ์ ทำหน้าที่พิจารณาตรวจสอบรายละเอียดการจัดซื้อเท่านั้น
อีกทั้งการที่ได้ดำเนินการขอให้กระทรวงมหาดไทย พิจารณาทบทวนการจัดซื้อโครงการนี้ตลอดมา นายอภิรักษ์ ย่อมทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการซื้อรถและเรือดับเพลิงแล้วว่ามีความบกพร่อง และไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่กลับอ้างว่าอำนาจในการบริหารเงินทั้งหมดไม่ได้อยู่ที่ผู้ว่าฯ กทม. แต่เป็นอำนาจของนายโภคิน และอ้างว่าได้รับคำชี้แจงยืนยันจากกระทรวงมหาดไทยว่าการจัดซื้อครั้งนี้เป็นไปถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทุกประการ และแม้จะอ้างว่าได้รับการเร่งรัดให้ กทม. เปิดบริษัทแอลซี แก่บริษัท STEYRฯ อยู่เสมอก็ตาม ก็ไม่อาจฟังได้
ทั้งนี้ ข้อเท็จจริงทราบได้ว่าอำนาจในการบริหารเงินทั้งหมดอยู่ที่ผู้ว่าฯกทม. ไม่ได้เป็นอำนาจของกระทรวงมหาดไทยตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด เพราะว่างบอุดหนุนที่กระทรวงมหาดไทยจัดให้ กทม. เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการใช้จ่ายเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดให้ กทม.เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการใช้จ่ายเงินอุดหนุน พ.ศ.2533 ข้อ 6 ซึ่งถ้าหากได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงก็จะทราบว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดซื้อตามโครงการนี้ว่ามีความไม่ชอบอย่างไร แต่ปรากฏว่าวันที่ 10 ม.ค. 48 นายอภิรักษ์ กลับดำเนินการเปิดแอลซี และแก้ไขแอลซีให้กับบริษัท STEYR เป็นเหตุให้ข้อตกลงซื้อขายที่นายสมัคร สุนทรเวช ลงนามกับ บริษัท STEYR เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2547 มีผลผูกพันและบังคับใช้กับคู่สัญญาต่อไป ทั้งที่นายอภิรักษ์ทราบอยู่แล้วว่าการจัดซื้อตามโครงการนี้ได้มีการจัดซื้อตามเอ็มโอยูที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
นอกจากนี้ เมื่อได้รับแจ้งจากธนาคารกรุงไทยเพื่อให้แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขของแอลซี นายอภิรักษ์ ก็ดำเนินการแก้ไขโดยไม่ชักช้า และไม่ได้แก้ไขเพียงเงื่อนไขเพื่อส่งมอบในประเทศไทยเท่านั้นแต่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในเนื้อหาอื่นอีกหลายรายการ อันเป็นการทำให้ บริษัท STEYR ได้รับประโยชน์จากการเปิดแอลซีที่เกิดจากการทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นไปตามหลักสุจริตตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 และการแก้ไขดังกล่าวทำให้นายโภคิน กับพวกที่ได้กระทำไปแล้วในตอนแรก ยังไม่ได้ปรากฏเป็นมูลค่าความเสียหายที่เป็นตัวเงิน แต่โดยผลของการเปิดแอลซีดังกล่าวทำให้ กทม. ต้องจ่ายงบประมาณไปแล้วจำนวน 2,354 ล้านบาท โดยไม่ได้สินค้าตามวัตถุประสงค์ของการจัดหาพัสดุแต่อย่างใด การกระทำของอภิรักษ์ จึงมีมูลตามความผิดมาตรา 157
ส่วนความผิดของนายโภคิน นายประชา นายวัฒนา พล.ต.ต.อธิลักษณ์ และบริษัท STEYR มีพฤติการณ์มิชอบเกี่ยวกับการจัดซื้อโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่และอุบายหลอกลวง ตั้งแต่ขั้นตอนการเริ่มโครงการจนไปถึงการอนุมัติโครงการ โดยเฉพาะการทำข้อตกลงทำความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลออสเตรียที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายคือ 1.ร่างบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องด้านกฎหมายจากหน่วยงานที่รับผิดชอบประกอบ ด้วยกระทรวงมหาดไทย สำนักงานอัยการสูงสุด และกระทรวงการต่างประเทศ 2.ขัดต่อมติ ครม.เมื่อวันที่ 1 ก.ย.35 เรื่องหลักเกณฑ์การส่งร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาเนื่อง จากไม่ได้ส่งร่างบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ ให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา
3.ขัดต่อมติ ครม.เมื่อวันที่ 21 ก.ค.35 , 1 ต.ค.45 , 7 ม.ค.46 และวันที่ 30 ธ.ค.46 เรื่องการติดต่อทำความตกลงกับต่างประเทศ การทำอนุสัญญาและสนธิสัญญาต่างๆ ซึ่งมติ ครม.ดังกล่าวกำหนดไว้ว่า หลักปฏิบัติในการติดต่อทำอนุสัญญา และสนธิสัญญาต้องมอบให้กระทรวงต่างประเทศเป็นเจ้าของเรื่องดำเนินการ และก่อนนำเรื่องเสนอ ครม. ให้กระทรวง ทบวง กรม ส่งเรื่องให้กระทรวงต่างประเทศพิจารณาเสนอความเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาของ ครม.ทุกครั้ง
4.ขัดมติ ครม. 22 มิ.ย.47 ที่กำหนดว่าส่วนที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศให้นำเข้าเฉพาะที่จำเป็น และเป็นส่วนที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศไทยเท่านั้น และต้องดำเนินการเรื่องการค้าต่างตอบแทน แต่ปรากฏว่า บันทึกข้อตกลงความเข้าใจ ไม่ระบุเรื่องการค้าต่างตอบแทน และไม่ระบุเรื่องความช่วยเหลือใดๆ จากรัฐบาลออสเตรีย คือ ยานพาหนะดับเพลิงและยานบรรเทาสาธารณภัย ปรากฏว่าเรือดับเพลิงและโครงประธานรถดับเพลิงชนิด 4×4 มิตซูบิชิ L200 เป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย
5.ขัดต่อข้อบัญญัติกทม.เรื่องการพัสดุ พ.ศ. 2538 โดยมีการกำหนดตัวผู้ขายและสินค้าไว้ล่วงหน้าโดยไม่มีการจัดประกวดราคา พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่าเป็นการอาศัยข้อตกลงระหว่างรัฐกับรัฐ เพื่อกำหนดความผูกพันในเรื่องการขายสินค้า คุณลักษณะของสินค้า และเงื่อนไขอื่น ซึ่งผิดวิสัยการทำข้อตกลงระหว่างรัฐกับรัฐ ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเชื่อว่าเกิดผลผูกพันรัฐบาลและเกิดสิทธิหน้าที่ต่างๆ โดยต้องทำข้อตกลงซื้อขายต่อไป และผูกพันให้รัฐบาลมีภาระหนี้ที่มากถึง 6,687 ล้านบาทเศษ
นอกจากนี้ บันทึกข้อตกลงความเข้าใจดังกล่าวเมื่อมีการลงนามแล้ว ได้มีการเสนอ ครม.เพื่อทราบ มิใช่เพื่ออนุมัติ ซึ่งพยานบุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารในสำนักเลขา ครม.ที่รับผิดชอบดูแลการประชุม ครม.ว่า การทำความเข้าใจของไทยกับต่างประเทศมีกระบวนการและขั้นตอน มีหลักต้องปฏิบัติตามมติ ครม.และหากมีการยกเว้นมติดังกล่าว ต้องมีมติยกเว้นที่ชัดเจน
6.บริษัท STEYR ได้จ้างบริษัทในเครือบริษัทเอกชนใหญ่ ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับนายวัฒนา เป็นผู้ดำเนินการตามข้อตกลงว่าด้วยการซื้อต่างตอบแทนกับกรมการค้าต่างประเทศ โดยจ่ายค่าธรรมเนียมบริการเป็นเงินจำนวนร้อยละ 2.20 ของพันธกรณีการซื้อต่างตอบแทนเป็นเงิน 2,942,495.16 ยูโร
นอกจากนี้ การทำการค้าต่างตอบแทนดังกล่าว ฝ่ายไทยไม่ได้ประโยชน์ตามที่จัดทำแต่อย่างใด การที่บริษัทเอกชนดังกล่าวได้ทำสัญญาการค้าต่างตอบแทน โดยใช้ไก่ต้มสุกไปขายต่างประเทศทั้งที่บริษัทดังกล่าวก็ได้ส่งไก่ออกไปยังต่างประเทศเป็นปกติอยู่แล้ว เพียงแต่นำเอารายการส่งออกไปแจ้งต่อกรมการค้าต่างประเทศว่า ได้ส่งไก่ไปครบจำนวนตามที่ทำสัญญาการค้าต่างตอบแทนแล้ว นอกจากนี้ในที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 24 ส.ค.47 มีมติเรื่องไก่ต้มสุกเป็นสินค้าอันดับแรก เพื่อพยายามนำรายการสินค้าไก่ต้มสุกมาทำรายการสินค้าต่างตอบแทนอันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชน ซึ่งเป็นเครือญาติกับนายวัฒนา
การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุไม่ให้โอกาสผู้อื่นเข้าทำการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม จนเป็นเหตุให้บริษัท STEYR ได้เข้าร่วมในโครงการจัดซื้อรถดับเพลิง โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ และเป็นการปฏิบัติและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์ ที่ไม่ควรได้ตามกฎหมาย ให้กับ บริษัท STEYR ดังนั้นการกระทำของนายโภคิน นายประชา นายวัฒนา นายสมัคร พล.ต.ต.อธิลักษณ์ มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐตาม พ.ศ. 2542 มาตรา 7 ,11 ,12 ,13
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบริษัท STEYR ไม่มีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน แต่ได้กระทำการอันเป็นการช่วยเหลือในการที่เจ้าพนักงานกระทำความผิด จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงาน ของรัฐฯ มาตรา 7 ,11 ,12,13
หลังจากศาลฎีกาฯ รับคดีไว้และตั้งองค์คณะพิจารณาคดี มีการนัดพิจารณาคดีครั้งแรกในเดือนพ.ย. 54 เรื่อยมากระทั่งวันที่ 30 พ.ค. 56 ศาลฯ ได้นัดไต่สวนพยานนัดสุดท้าย และให้คู่ความแถลงปิดคดี ทั้งนี้หากจำเลยทั้ง 6 รายกระทำผิดจริงตามมาตรา 157 คือ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ
สำหรับผลของคดีที่ศาลฯ จะตัดสินในวันที่ 30 ก.ย. 56 นี้ จะส่งผลต่อกระบวนการพิจารณาคดีของคณะอนุญาโตตุลาการที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวคือ หากศาลฎีกาฯ ตัดสินว่ามีการทุจริตอาจทำให้สัญญาที่ลงนามกันผิดไปด้วย กทม.จะได้เปรียบในคดีการฟ้องร้องเรื่องสัญญามิชอบและอาจจะได้รับเงินที่จ่ายไปทั้ง 9 งวดคืน แต่หากไม่พบว่ามีการกระทำความผิดหรือทุจริต และสัญญาซื้อขายดังกล่าวนั้นเป็นไปอย่างถูกต้อง กทม.ต้องยอมรับการซื้อขายและยอมรับรถและเรือดับเพลิงที่ถูกส่งมาให้ตั้งแต่ปี 2549 ที่เสื่อมสภาพจนไม่น่าจะใช้การได้
นับเป็นอีกคดีการทุจริตโดยฝีมือของนักการเมืองที่กัดกร่อนสังคมไทย ไม่ว่าพรรคการเมืองไหนจะขึ้นมาเป็นใหญ่บริหารบ้านเมืองก็ตาม
(8 ส.ค. 56)