ศึกภายใน สอท.ปะทุรอบใหม่ “พยุงศักดิ์” ถอดคณะกรรมการฝ่ายตรงออกเรียบ เสียบคนตัวเองครบ คนในเผยบรรยากาศวังเวง ลามถึงฝ่ายสำนักงานเลิกจ้าง-ลดตำแหน่ง ‘พยุงศักดิ์’ ยันไม่ได้นิ่งนอนใจ ทุ่มทุกทางช่วยเอสเอ็มอี ด้านธนิตย้ำถ้าไม่อยากให้ล้มรัฐต้องช่วย ขณะที่ เลขาธิการ สอท.ชี้ถ้าอยู่ไม่ได้ก็ปิดกิจการ ส่วนหอการค้าไทยเร่งสำรวจความเดือดร้อนก่อนหารืออีกรอบ คนในวงการหวั่นตัวประธานแค่เล่นตามบทบาทไม่เอาจริง!
ท่าทีแสดงความห่วงใยต่อธุรกิจเอสเอ็มอีและวิพากษ์วิจารณ์มาตรการที่รัฐบาลออกมาเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยว่าไม่ตรงจุดของนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) รวมถึงเรียกร้องให้ภาครัฐทบทวนและเพิ่มมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมจากนโยบายของรัฐบาลที่บังคับใช้ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ เมื่อ 1 มกราคม 2556
หากมองเผินๆ แล้ว ส.อ.ท.ได้ทำหน้าที่ปกป้องสิทธิประโยชน์ของสมาชิก ต่อรองกับรัฐบาลและไม่มีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง ทั้งตัวประธานและรองประธานอย่าง นายธนิต โสรัตน์ ต่างออกมาทำหน้าที่ไปในแนวทางเดียวกัน
จนหลายคนที่เคยติดตามปัญหาความวุ่นวายใน ส.อ.ท.เมื่อช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2555 ที่มีสมาชิก ส.อ.ท.จำนวนไม่น้อยเปิดประชุมกันบริเวณขั้นบันไดของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เพื่อโหวตเปลี่ยนตัวประธานสภาจากพยุงศักดิ์ มาเป็น นายสันติ วิลาสศักดานนท์ อดีตประธานคนก่อนที่เคยให้การสนับสนุนพยุงศักดิ์มาโดยตลอด อันเนื่องมาจากสมาชิกจำนวนดังกล่าวมองกันว่าการทำหน้าที่ของนายพยุงศักดิ์ไม่ได้ปกป้องสมาชิกเรื่องค่าแรง 300 บาท และมองว่าเอาใจรัฐบาล
แต่สุดท้ายเรื่องก็ยุติลงไปด้วยการที่นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ที่ถูกโหวตให้ทำหน้าที่แทนนายพยุงศักดิ์ ขอถอนตัวเพื่อยุติความขัดแย้ง นายพยุงศักดิ์ยังนั่งบริหารตามเดิม ด้วยการวิ่งเข้าหาฝ่ายการเมืองทั้งจากกระทรวงอุตสาหกรรมและรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ตามมาด้วยการนำเอากำลังตำรวจเข้าไปนั่งประจำการในสภาอุตสาหกรรมเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ทำให้บรรยากาศการทำงานภายใน ส.อ.ท.คุกรุ่นมาโดยตลอด
“พยุงศักดิ์” ออกคำสั่งล้างบาง
แม้ภาพภายนอกจะดูเหมือนสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย แต่ภายในยังคงมีความขัดแย้งอยู่ตลอดเวลาเมื่อ 11 มกราคม 2556 นายพยุงศักดิ์ ประธาน ส.อ.ท.มีคำสั่งที่ 20/001/2556 ปรับเปลี่ยนความรับผิดชอบของกรรมการบริหาร โดยสลับหน้าที่ของรองประธานอย่าง นายมังกร ธนสารศิลป์ กับนายเกรียงไกร เธียรนุกุล และตำแหน่งรองเลขาธิการ ส.อ.ท.อีก 4 คน โดยให้ นายปฐม สุทธาธิกุลชัย และดร.ชโย ตรังอดิศัยกุล เข้ามารับผิดชอบในงานหลัก ส่วน นายจิรบูลย์ วิทยสิงห์ และนายเอกพร โฆษะครรชิต ประจำสำนักงานประธานสภาอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ยังมีคำสั่งที่ สป./004/2556 และสป./005/2556 เปลี่ยนแปลงสายงานรับผิดชอบของกรรมการบริหารในหลายตำแหน่ง บุคลากรหลักๆ ที่ปรับออกจากตำแหน่งเดิมในฐานของกรรมการ อนุกรรมการชุดต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่เป็นแกนหลักการในการเสนอปลดพยุงศักดิ์
โดยเฉพาะ นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการ ถูกถอดออกจากกรรมการชุดต่างๆ รวม 24 ชุด ส่วน นายมังกร ธนสารศิลป์ 5 ชุด นายธนิต โสรัตน์ 13 ชุด นายธวัชชัย เฮงประเสริฐ 5 ชุด นายสันติ วิลาสศักดานนท์ 1 ชุด นายทวีกิจ จตุรเจริญกุล 10 ชุด และนายอภิชิต ประสพรัตน์ 5 ชุด
การถอดฝ่ายที่คัดค้านนายพยุงศักดิ์ออกจากกรรมการชุดต่างๆ นั้น ได้มีการส่งคนในฝ่ายนายพยุงศักดิ์เข้ามารับหน้าที่แทน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนที่มาจากเครือของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย
“ล่าสุดมีการเลิกจ้างบุคลากรระดับสูงที่ประจำฝ่ายสำนักงาน ส.อ.ท. รวมถึงโยกย้ายในลักษณะลดตำแหน่งให้ไปอยู่ในฝ่ายที่ไม่สำคัญ มีการตรวจสอบการใช้โทรศัพท์และอุปกรณ์สำนักงานอย่างเข้มข้น ขณะนี้ใน ส.อ.ท. ไม่ต่างกับแดนสนธยา” แหล่งข่าวใน ส.อ.ท. กล่าว
หอฯการค้าห่วง ส.อ.ท.
ด้าน นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองเลขาธิการหอการค้าไทย แสดงความเป็นห่วงสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นใน ส.อ.ท. อยากให้เรื่องจบลงโดยเร็ว เพราะต่างคนต่างถือตัวเองเป็นหลัก ถือคนละตำรา ตอนนี้ยังไม่เห็นอนาคตว่าจะจบลงอย่างไร คงต้องรอจนกว่าจะล้า แต่เป็นห่วงจะทำให้ทรุดลงไปและเสียกำลังคนไปเรื่อยๆ คงต้องรอดูการประชุมใหญ่เดือนมีนาคมว่าจะออกมาเป็นอย่างไร
ส.อ.ท. ยันไม่ได้นิ่งนอนใจ
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกล่าวว่า เราทำการบ้านมาตั้งแต่ปลายปี 2553 ดูเรื่องมาตรการผลกระทบ และการเพิ่มความสามารถและประสิทธิภาพการผลิต เราพยายามหามาตรการที่ช่วยธุรกิจเอสเอ็มอีได้ทันที เน้นไปที่จังหวัดที่ปรับค่าแรงเพิ่มขึ้น 80-90% และยังพยายามหาเงื่อนไขเพิ่มเติมให้
ขณะเดียวกัน สภาอุตฯ ได้ตรวจสอบข้อมูลของกลุ่มเอสเอ็มอีที่มีต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้น 30% ขึ้นไป ทั้งในเรื่องของสัดส่วนการใช้แรงงานที่มีฝีมือ ข้อมูลจากการแจ้งยอดขายของกรมสรรพากร ประกันสังคม ข้อมูลว่าเป็นเท่าไหร่ของราคาขาย เพื่อหาช่องทางเสนอต่อภาครัฐ
“ขอให้รออีกนิด รอข้อมูลของหอการค้าและในอีกหลายส่วน เพื่อจะได้จัดยาที่ถูกโรคกับเอสเอ็มอีที่เกิดขึ้น”
ส่วนเรื่องกองทุนช่วยเหลือนั้นเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจเอสเอ็มอีอยากได้มากที่สุด แต่รัฐบาลไม่เห็นด้วยเพราะไม่รู้ตัวเลขหรือขนาดว่าเป็นเท่าไหร่ นั้น ประธานสภาอุตฯ บอกว่า ในเรื่องนี้เราได้มี
การหารือกันหนัก โดยมีโครงการเอสเอ็มอีวีแคร์ ทำงานร่วมกับเอกชน และหน่วยงานของรัฐเป็นโครงการที่ต้องใช้เวลา ซึ่งจะส่งผลดีในระยะสั้นกับระยะกลาง และทำคู่ขนานกันไปไม่ได้รอ ซึ่งสภาอุตฯ ไม่ใช่แค่พูด ต้องมีข้อมูลประกอบ เรามีคณะทำงานคุยกับผู้มีอำนาจตัดสินใจ ผลออกมาเป็นอย่างไรเป็นเรื่องที่ต้องหารือกัน
“ตอนนี้ใครที่เดือดร้อนให้แจ้งความจำนงเข้ามาที่ ส.อ.ท. เพื่อจะหาวิธีการช่วยเหลือ รวมถึงได้คุยกับผู้ประกอบการรายใหญ่ไม่ให้กดราคาสินค้าของกลุ่มเอสเอ็มอี”
ถ้าไม่อยากให้ล้ม-ต้องช่วย
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มาตรการเชิงภาษีที่รัฐบาลเสนอมานั้น ธุรกิจเอสเอ็มอีตามต่างจังหวัดคงเข้าไม่ถึง เพราะเป็นภาษีแบบเหมาจ่าย
มาตรการที่รัฐบาลช่วยได้คือเม็ดเงิน สภาพคล่องถือเป็นปัจจัยหลัก ต้องทำให้ทุกรายเข้าถึงแหล่งเงินทุน ในทางปฏิบัติแล้วการจะเข้าไปใช้สิทธิสินเชื่อที่รัฐบาลจัดให้นั้นอาจติดขัดในเรื่องของหลักประกัน แต่จะเป็นประโยชน์กับกลุ่มธุรกิจที่แข็งแรง
“เชื่อว่าท้ายที่สุดแล้วในเรื่องเงินชดเชยส่วนต่าง รัฐบาลคงเข้ามาช่วยบ้าง หากรัฐบาลไม่ต้องการให้เอกชนล้ม รัฐบาลก็ต้องช่วย”
รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวถึงปัญหาภายในที่เกิดขึ้นในเวลานี้ว่า ส.อ.ท. ผู้นำองค์กรมีต้นทุนทางสังคม คนกลุ่มนี้รักษาสถานะ ชื่อเสียง เกียรติยศ ไม่ต้องพึ่งพิงรายได้จาก ส.อ.ท. อย่ายึดติดกับตำแหน่ง เรื่องพวกนี้เป็นแค่ชั่วคราวแล้วก็ต้องไป กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ต้องวางตัวเป็นกลาง ต้องให้ข้อมูลที่ถึงปัญหาที่แท้จริงกับรัฐบาล ถ้ารัฐไม่ฟังก็จบ ปล่อยให้ผู้นำประเทศตัดสินใจ
“คนข้างๆ ตัวของรัฐบาลที่ให้ข้อมูลในเรื่องปัญหาของธุรกิจเอสเอ็มอีต่างจังหวัด อาจให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนัก ปัญหานี้ควรผ่อนปรนมาตั้งแต่ต้นปี 2555”
ถ้าอยู่ไม่ได้ก็ปิด
ขณะที่ นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการ ส.อ.ท. กล่าวว่า มาตรการของรัฐบาลที่ออกมาอย่างเช่น เรื่องประกันสังคมหรือจัดหาสินค้าราคาถูก นั้นไม่เกี่ยวกัน
ข้อเรียกร้องเงินชดเชยส่วนต่าง 3 ปี ปีแรก 75% ปีที่สอง 50% และปีที่สาม 25% นั้นเป็นทางออกที่ดีเพื่อให้ผู้ประกอบการปรับตัว แต่รัฐกลับไม่ตอบสนองในเรื่องนี้ หรืออย่างเรื่องภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% ยกเลิกได้หรือไม่ หรือจะคงไว้ตามกฎหมายที่ 0.1% ก็ได้
ปัญหาของธุรกิจเอสเอ็มอีคือเมื่อต้นทุนเพิ่ม ย่อมทำให้สภาพคล่องขาด เรื่องมาตรการในการปล่อยกู้เสริมสภาพคล่องนั้น ต้องกลับไปดูว่าการปล่อยกู้ทำได้จริงหรือไม่ เพราะต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจจากเรื่องค่าแรงย่อมส่งผลต่อรายได้และกำไรของผู้ประกอบการ จะมีเจ้าหน้าที่คนใดกล้าปล่อย เพราะปล่อยแล้วอาจกลายเป็นหนี้เสีย เจ้าหน้าที่รายนั้นก็จะมีปัญหาในการทำงาน
ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เวลานี้ประธาน ส.อ.ท. เรียกร้องหามาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ แต่เรื่องนี้ควรทำมาตั้งแต่ก่อนหน้านี้ แม้ว่าในความเป็นจริงจะไม่สามารถขัดต่อนโยบายของรัฐบาลได้แต่ก็ต้องหามาตรการเยียวยาที่เป็นรูปธรรม งานนี้รัฐบาลคงดีใจ ที่ไม่มีการรุกอย่างจริงจัง
ปัจจุบันผู้ประกอบการรายย่อยเดือดร้อนอยู่แล้ว แต่จะทำอย่างไรให้พวกเขาอยู่ต่อไปได้ หากนโยบายค่าแรง 300 บาทดีจริง ทำไมรัฐบาลต้องออกมาตรการมาเยียวยา และมาตรการบางอย่างเช่นเรื่องสินค้าธงฟ้าก็ขัดแย้งกับสิ่งที่รัฐพูดว่าไม่มีผลกระทบ งานนี้ถ้ากิจการรายเล็กอยู่ไม่ได้ก็คงต้องปิดกิจการกันไป
หอการค้าสำรวจความเดือดร้อน
ส่วน นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า สิ่งที่ภาคเอกชนเสนอไปและรัฐบาลจัดมาตรการมาให้นั้น คงได้มาไม่หมด อย่างเรื่องกองทุนชดเชยรัฐบาลคงไม่ให้ ขณะนี้ทางหอการค้ากำลังรวบรวมปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการอยู่ อีกราว 1 สัปดาห์จะมีการหารือกันอีกครั้ง และจะหารือร่วมกับสภาอุตสาหกรรมด้วย
อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้แรงงานที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต้องทราบไว้ด้วยเช่นกันว่า เมื่อใช้แล้วอีก 2 ปีค่าแรงจะไม่มีการปรับขึ้น เกรงว่าเมื่อเรื่อง 300 บาทผ่านไปได้จะมีการเรียกร้องค่าแรงเพื่อขึ้นกันอีก
หวั่นประธานสภาอุตฯ แค่ดราม่า
แหล่งข่าวจากวงการอุตสาหกรรมกล่าวว่า การทำหน้าที่ของประธาน ส.อ.ท. คนนี้ แม้จะท้วงติงมาตรการของรัฐบาล แต่ดูเหมือนเป็นเพียงแค่การทำตามหน้าที่ที่มีอยู่เท่านั้น ไม่ได้เดินเรื่องหรือคัดค้านในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะฐานธุรกิจที่สนับสนุนเป็นกิจการขนาดใหญ่ ไม่กระทบกับเรื่องค่าแรง 300 บาท และไม่ต้องการมีปัญหากับรัฐบาล ดังนั้น ภาพของการคัดค้านนั้นจึงเป็นเพียงแค่การทำตามบทบาทของตัวประธานเท่านั้น
“ธุรกิจเอสเอ็มอีตามต่างจังหวัดที่เดือดร้อนจริงๆ จึงรวมตัวกันเดินเครื่องเพื่อปลดตัวประธานพยุงศักดิ์เมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว เพราะเห็นว่าไม่ได้เรียกร้องหรือต่อรองกับภาครัฐในเรื่องนี้อย่างจริงจัง”
อย่าลืมว่าการบังคับใช้ค่าแรง 300 บาทใน 7 จังหวัดนำร่องเมื่อเดือนเมษายน 2555 นั้นก็มีผลกระทบในระดับหนึ่ง แต่ประธานกลับมาแสดงบทบาทในปีนี้ ซึ่งค่าแรงทั่วประเทศปรับใช้ในอัตราเดียวกัน ไม่สามารถแก้ปัญหาหรือชะลอออกไปได้แล้ว
ท่าทีแสดงความห่วงใยต่อธุรกิจเอสเอ็มอีและวิพากษ์วิจารณ์มาตรการที่รัฐบาลออกมาเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยว่าไม่ตรงจุดของนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) รวมถึงเรียกร้องให้ภาครัฐทบทวนและเพิ่มมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมจากนโยบายของรัฐบาลที่บังคับใช้ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ เมื่อ 1 มกราคม 2556
หากมองเผินๆ แล้ว ส.อ.ท.ได้ทำหน้าที่ปกป้องสิทธิประโยชน์ของสมาชิก ต่อรองกับรัฐบาลและไม่มีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง ทั้งตัวประธานและรองประธานอย่าง นายธนิต โสรัตน์ ต่างออกมาทำหน้าที่ไปในแนวทางเดียวกัน
จนหลายคนที่เคยติดตามปัญหาความวุ่นวายใน ส.อ.ท.เมื่อช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2555 ที่มีสมาชิก ส.อ.ท.จำนวนไม่น้อยเปิดประชุมกันบริเวณขั้นบันไดของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เพื่อโหวตเปลี่ยนตัวประธานสภาจากพยุงศักดิ์ มาเป็น นายสันติ วิลาสศักดานนท์ อดีตประธานคนก่อนที่เคยให้การสนับสนุนพยุงศักดิ์มาโดยตลอด อันเนื่องมาจากสมาชิกจำนวนดังกล่าวมองกันว่าการทำหน้าที่ของนายพยุงศักดิ์ไม่ได้ปกป้องสมาชิกเรื่องค่าแรง 300 บาท และมองว่าเอาใจรัฐบาล
แต่สุดท้ายเรื่องก็ยุติลงไปด้วยการที่นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ที่ถูกโหวตให้ทำหน้าที่แทนนายพยุงศักดิ์ ขอถอนตัวเพื่อยุติความขัดแย้ง นายพยุงศักดิ์ยังนั่งบริหารตามเดิม ด้วยการวิ่งเข้าหาฝ่ายการเมืองทั้งจากกระทรวงอุตสาหกรรมและรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ตามมาด้วยการนำเอากำลังตำรวจเข้าไปนั่งประจำการในสภาอุตสาหกรรมเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ทำให้บรรยากาศการทำงานภายใน ส.อ.ท.คุกรุ่นมาโดยตลอด
“พยุงศักดิ์” ออกคำสั่งล้างบาง
แม้ภาพภายนอกจะดูเหมือนสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย แต่ภายในยังคงมีความขัดแย้งอยู่ตลอดเวลาเมื่อ 11 มกราคม 2556 นายพยุงศักดิ์ ประธาน ส.อ.ท.มีคำสั่งที่ 20/001/2556 ปรับเปลี่ยนความรับผิดชอบของกรรมการบริหาร โดยสลับหน้าที่ของรองประธานอย่าง นายมังกร ธนสารศิลป์ กับนายเกรียงไกร เธียรนุกุล และตำแหน่งรองเลขาธิการ ส.อ.ท.อีก 4 คน โดยให้ นายปฐม สุทธาธิกุลชัย และดร.ชโย ตรังอดิศัยกุล เข้ามารับผิดชอบในงานหลัก ส่วน นายจิรบูลย์ วิทยสิงห์ และนายเอกพร โฆษะครรชิต ประจำสำนักงานประธานสภาอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ยังมีคำสั่งที่ สป./004/2556 และสป./005/2556 เปลี่ยนแปลงสายงานรับผิดชอบของกรรมการบริหารในหลายตำแหน่ง บุคลากรหลักๆ ที่ปรับออกจากตำแหน่งเดิมในฐานของกรรมการ อนุกรรมการชุดต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่เป็นแกนหลักการในการเสนอปลดพยุงศักดิ์
โดยเฉพาะ นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการ ถูกถอดออกจากกรรมการชุดต่างๆ รวม 24 ชุด ส่วน นายมังกร ธนสารศิลป์ 5 ชุด นายธนิต โสรัตน์ 13 ชุด นายธวัชชัย เฮงประเสริฐ 5 ชุด นายสันติ วิลาสศักดานนท์ 1 ชุด นายทวีกิจ จตุรเจริญกุล 10 ชุด และนายอภิชิต ประสพรัตน์ 5 ชุด
การถอดฝ่ายที่คัดค้านนายพยุงศักดิ์ออกจากกรรมการชุดต่างๆ นั้น ได้มีการส่งคนในฝ่ายนายพยุงศักดิ์เข้ามารับหน้าที่แทน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนที่มาจากเครือของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย
“ล่าสุดมีการเลิกจ้างบุคลากรระดับสูงที่ประจำฝ่ายสำนักงาน ส.อ.ท. รวมถึงโยกย้ายในลักษณะลดตำแหน่งให้ไปอยู่ในฝ่ายที่ไม่สำคัญ มีการตรวจสอบการใช้โทรศัพท์และอุปกรณ์สำนักงานอย่างเข้มข้น ขณะนี้ใน ส.อ.ท. ไม่ต่างกับแดนสนธยา” แหล่งข่าวใน ส.อ.ท. กล่าว
หอฯการค้าห่วง ส.อ.ท.
ด้าน นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองเลขาธิการหอการค้าไทย แสดงความเป็นห่วงสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นใน ส.อ.ท. อยากให้เรื่องจบลงโดยเร็ว เพราะต่างคนต่างถือตัวเองเป็นหลัก ถือคนละตำรา ตอนนี้ยังไม่เห็นอนาคตว่าจะจบลงอย่างไร คงต้องรอจนกว่าจะล้า แต่เป็นห่วงจะทำให้ทรุดลงไปและเสียกำลังคนไปเรื่อยๆ คงต้องรอดูการประชุมใหญ่เดือนมีนาคมว่าจะออกมาเป็นอย่างไร
ส.อ.ท. ยันไม่ได้นิ่งนอนใจ
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกล่าวว่า เราทำการบ้านมาตั้งแต่ปลายปี 2553 ดูเรื่องมาตรการผลกระทบ และการเพิ่มความสามารถและประสิทธิภาพการผลิต เราพยายามหามาตรการที่ช่วยธุรกิจเอสเอ็มอีได้ทันที เน้นไปที่จังหวัดที่ปรับค่าแรงเพิ่มขึ้น 80-90% และยังพยายามหาเงื่อนไขเพิ่มเติมให้
ขณะเดียวกัน สภาอุตฯ ได้ตรวจสอบข้อมูลของกลุ่มเอสเอ็มอีที่มีต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้น 30% ขึ้นไป ทั้งในเรื่องของสัดส่วนการใช้แรงงานที่มีฝีมือ ข้อมูลจากการแจ้งยอดขายของกรมสรรพากร ประกันสังคม ข้อมูลว่าเป็นเท่าไหร่ของราคาขาย เพื่อหาช่องทางเสนอต่อภาครัฐ
“ขอให้รออีกนิด รอข้อมูลของหอการค้าและในอีกหลายส่วน เพื่อจะได้จัดยาที่ถูกโรคกับเอสเอ็มอีที่เกิดขึ้น”
ส่วนเรื่องกองทุนช่วยเหลือนั้นเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจเอสเอ็มอีอยากได้มากที่สุด แต่รัฐบาลไม่เห็นด้วยเพราะไม่รู้ตัวเลขหรือขนาดว่าเป็นเท่าไหร่ นั้น ประธานสภาอุตฯ บอกว่า ในเรื่องนี้เราได้มี
การหารือกันหนัก โดยมีโครงการเอสเอ็มอีวีแคร์ ทำงานร่วมกับเอกชน และหน่วยงานของรัฐเป็นโครงการที่ต้องใช้เวลา ซึ่งจะส่งผลดีในระยะสั้นกับระยะกลาง และทำคู่ขนานกันไปไม่ได้รอ ซึ่งสภาอุตฯ ไม่ใช่แค่พูด ต้องมีข้อมูลประกอบ เรามีคณะทำงานคุยกับผู้มีอำนาจตัดสินใจ ผลออกมาเป็นอย่างไรเป็นเรื่องที่ต้องหารือกัน
“ตอนนี้ใครที่เดือดร้อนให้แจ้งความจำนงเข้ามาที่ ส.อ.ท. เพื่อจะหาวิธีการช่วยเหลือ รวมถึงได้คุยกับผู้ประกอบการรายใหญ่ไม่ให้กดราคาสินค้าของกลุ่มเอสเอ็มอี”
ถ้าไม่อยากให้ล้ม-ต้องช่วย
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มาตรการเชิงภาษีที่รัฐบาลเสนอมานั้น ธุรกิจเอสเอ็มอีตามต่างจังหวัดคงเข้าไม่ถึง เพราะเป็นภาษีแบบเหมาจ่าย
มาตรการที่รัฐบาลช่วยได้คือเม็ดเงิน สภาพคล่องถือเป็นปัจจัยหลัก ต้องทำให้ทุกรายเข้าถึงแหล่งเงินทุน ในทางปฏิบัติแล้วการจะเข้าไปใช้สิทธิสินเชื่อที่รัฐบาลจัดให้นั้นอาจติดขัดในเรื่องของหลักประกัน แต่จะเป็นประโยชน์กับกลุ่มธุรกิจที่แข็งแรง
“เชื่อว่าท้ายที่สุดแล้วในเรื่องเงินชดเชยส่วนต่าง รัฐบาลคงเข้ามาช่วยบ้าง หากรัฐบาลไม่ต้องการให้เอกชนล้ม รัฐบาลก็ต้องช่วย”
รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวถึงปัญหาภายในที่เกิดขึ้นในเวลานี้ว่า ส.อ.ท. ผู้นำองค์กรมีต้นทุนทางสังคม คนกลุ่มนี้รักษาสถานะ ชื่อเสียง เกียรติยศ ไม่ต้องพึ่งพิงรายได้จาก ส.อ.ท. อย่ายึดติดกับตำแหน่ง เรื่องพวกนี้เป็นแค่ชั่วคราวแล้วก็ต้องไป กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ต้องวางตัวเป็นกลาง ต้องให้ข้อมูลที่ถึงปัญหาที่แท้จริงกับรัฐบาล ถ้ารัฐไม่ฟังก็จบ ปล่อยให้ผู้นำประเทศตัดสินใจ
“คนข้างๆ ตัวของรัฐบาลที่ให้ข้อมูลในเรื่องปัญหาของธุรกิจเอสเอ็มอีต่างจังหวัด อาจให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนัก ปัญหานี้ควรผ่อนปรนมาตั้งแต่ต้นปี 2555”
ถ้าอยู่ไม่ได้ก็ปิด
ขณะที่ นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการ ส.อ.ท. กล่าวว่า มาตรการของรัฐบาลที่ออกมาอย่างเช่น เรื่องประกันสังคมหรือจัดหาสินค้าราคาถูก นั้นไม่เกี่ยวกัน
ข้อเรียกร้องเงินชดเชยส่วนต่าง 3 ปี ปีแรก 75% ปีที่สอง 50% และปีที่สาม 25% นั้นเป็นทางออกที่ดีเพื่อให้ผู้ประกอบการปรับตัว แต่รัฐกลับไม่ตอบสนองในเรื่องนี้ หรืออย่างเรื่องภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% ยกเลิกได้หรือไม่ หรือจะคงไว้ตามกฎหมายที่ 0.1% ก็ได้
ปัญหาของธุรกิจเอสเอ็มอีคือเมื่อต้นทุนเพิ่ม ย่อมทำให้สภาพคล่องขาด เรื่องมาตรการในการปล่อยกู้เสริมสภาพคล่องนั้น ต้องกลับไปดูว่าการปล่อยกู้ทำได้จริงหรือไม่ เพราะต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจจากเรื่องค่าแรงย่อมส่งผลต่อรายได้และกำไรของผู้ประกอบการ จะมีเจ้าหน้าที่คนใดกล้าปล่อย เพราะปล่อยแล้วอาจกลายเป็นหนี้เสีย เจ้าหน้าที่รายนั้นก็จะมีปัญหาในการทำงาน
ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เวลานี้ประธาน ส.อ.ท. เรียกร้องหามาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ แต่เรื่องนี้ควรทำมาตั้งแต่ก่อนหน้านี้ แม้ว่าในความเป็นจริงจะไม่สามารถขัดต่อนโยบายของรัฐบาลได้แต่ก็ต้องหามาตรการเยียวยาที่เป็นรูปธรรม งานนี้รัฐบาลคงดีใจ ที่ไม่มีการรุกอย่างจริงจัง
ปัจจุบันผู้ประกอบการรายย่อยเดือดร้อนอยู่แล้ว แต่จะทำอย่างไรให้พวกเขาอยู่ต่อไปได้ หากนโยบายค่าแรง 300 บาทดีจริง ทำไมรัฐบาลต้องออกมาตรการมาเยียวยา และมาตรการบางอย่างเช่นเรื่องสินค้าธงฟ้าก็ขัดแย้งกับสิ่งที่รัฐพูดว่าไม่มีผลกระทบ งานนี้ถ้ากิจการรายเล็กอยู่ไม่ได้ก็คงต้องปิดกิจการกันไป
หอการค้าสำรวจความเดือดร้อน
ส่วน นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า สิ่งที่ภาคเอกชนเสนอไปและรัฐบาลจัดมาตรการมาให้นั้น คงได้มาไม่หมด อย่างเรื่องกองทุนชดเชยรัฐบาลคงไม่ให้ ขณะนี้ทางหอการค้ากำลังรวบรวมปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการอยู่ อีกราว 1 สัปดาห์จะมีการหารือกันอีกครั้ง และจะหารือร่วมกับสภาอุตสาหกรรมด้วย
อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้แรงงานที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต้องทราบไว้ด้วยเช่นกันว่า เมื่อใช้แล้วอีก 2 ปีค่าแรงจะไม่มีการปรับขึ้น เกรงว่าเมื่อเรื่อง 300 บาทผ่านไปได้จะมีการเรียกร้องค่าแรงเพื่อขึ้นกันอีก
หวั่นประธานสภาอุตฯ แค่ดราม่า
แหล่งข่าวจากวงการอุตสาหกรรมกล่าวว่า การทำหน้าที่ของประธาน ส.อ.ท. คนนี้ แม้จะท้วงติงมาตรการของรัฐบาล แต่ดูเหมือนเป็นเพียงแค่การทำตามหน้าที่ที่มีอยู่เท่านั้น ไม่ได้เดินเรื่องหรือคัดค้านในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะฐานธุรกิจที่สนับสนุนเป็นกิจการขนาดใหญ่ ไม่กระทบกับเรื่องค่าแรง 300 บาท และไม่ต้องการมีปัญหากับรัฐบาล ดังนั้น ภาพของการคัดค้านนั้นจึงเป็นเพียงแค่การทำตามบทบาทของตัวประธานเท่านั้น
“ธุรกิจเอสเอ็มอีตามต่างจังหวัดที่เดือดร้อนจริงๆ จึงรวมตัวกันเดินเครื่องเพื่อปลดตัวประธานพยุงศักดิ์เมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว เพราะเห็นว่าไม่ได้เรียกร้องหรือต่อรองกับภาครัฐในเรื่องนี้อย่างจริงจัง”
อย่าลืมว่าการบังคับใช้ค่าแรง 300 บาทใน 7 จังหวัดนำร่องเมื่อเดือนเมษายน 2555 นั้นก็มีผลกระทบในระดับหนึ่ง แต่ประธานกลับมาแสดงบทบาทในปีนี้ ซึ่งค่าแรงทั่วประเทศปรับใช้ในอัตราเดียวกัน ไม่สามารถแก้ปัญหาหรือชะลอออกไปได้แล้ว