วานนี้ (16ม.ค.) คณะกรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายชนินทร์ รุ่งแสง เป็นประธาน ได้ เชิญตัวแทนจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน เข้าให้ข้อมูล เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหา ของกลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ จากนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท จนบางแห่งต้องปิดกิจการ
นายจุติ ไกรฤกษ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ สอบถามว่า ทางสำนักกิจการมีการเตือนผู้ประกอบการอย่างไร และมีการวิเคราะห์หรือไม่ว่า หากมีการย้ายฐานการผลิตประเทศจะเสียประโยชน์ไปมากเพียงใด เหตุผลที่ไม่รับข้อเสนอของสภาอุตสาหกรรม คืออะไร ซึ่งตัวแทนจากสำนักวิสาหกิจ(สสว.)ตอบว่า ทุกอย่างต้องรอการดำเนินการทางภาครัฐ หรือแนะนำให้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการจ้างงาน เรื่องของการส่งออก ก็มีการหารือในแนวทางการแก้ไขอยู่บ้าง แต่เนื่องจากปัญหายังไม่เกิด มาตรการที่ออกมาจึงยังไม่ชัดเจน ตัวแทนจาก สสว. มีการเตรียมมาตรการรองรับที่นอกเหนือจากมาตรการของรัฐบาลคือ พยายามช่วยในเรื่องของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้คำปรึกษาเบื้องต้นในเรื่องของการลดต้นทุนในการผลิต มีการจัดทีมนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญลงไปวินิจฉัยสถานประกอบการ ว่ามีขีดความสามารถมากน้อยเพียงใด ส่วนสถานประกอบการที่มีความจำเป็นที่จะต้องย้ายฐานการผลิตเพื่อไปอยู่ในพื้นที่ ที่มีแรงงานราคาถูก ก็จะมีการช่วยเหลือในการปล่อยกู้ และเรื่องของการลดหย่อนดอกเบี้ยจากแหล่งเงินทุน และยังต้องมีการส่งเสริมช่องทางในการตลาดเพื่อเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการ รวมไปถึงมีการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการมองว่า นโยบายที่ทางสสว. ชี้แจง เป็นสิ่งเลื่อนลอย ที่ใช้วิธีการเปิดตำราในการแก้ปัญหา ซึ่งวิธีการดังกล่าวก็ไม่สามารถทำได้จริง และไม่ทันการกับการแก้ปัญหาเร่งด่วน ที่มีผู้ได้รับผลกระทบจำนวนมาก ประธานคณะกรรมาธิการ ระบุว่า มีความไม่สบายกับการแก้ปัญหาของสสว. ที่ยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนออกมารองรับปัญหา ทั้งที่ผลกระทบกำลังจะบานปลาย แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับยังรอเวลา เพื่อให้ปัญหาลุกลามโดยไม่มีการเตรียมการแก้ไข
ด้านตัวแทนจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ชี้แจงว่า มีการพิจารณาผลกระทบจากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเดิม ซึ่งจากการประเมิน ขณะนี้ยังไม่พบว่าผลกระทบจากกรณีดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้น และมีการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการประมาณ 300 ราย ยอมรับว่าได้รับผลกระทบ แต่ก็มีการช่วยเหลือตัวเองโดยการลดต้นทุนในการผลิต เช่น เปลี่ยนการจ้างงานจากการเป็นลูกจ้างประจำ เป็นการจ้างงานแบบเหมาชิ้น
นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองประธานคณะกรรมาธิการ ถามว่า การขึ้นค่าแรง 300 บาท ในบางพื้นที่ ที่มีค่าแรงถูก จะได้รับผลกระทบในเรื่องของการสูญเสียฝีมือแรงงานหรือไม่ เพราะปัจจุบันที่ค่าแรงในทุกพื้นที่เท่าเทียมกันแรงงานก็คงไม่ต้องการที่จะอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญ ซึ่งส่วนตัวเห็นด้วยกับข้อเสนอของสภาอุตสาหกรรม เพราะจะสามารถช่วยเหลือเยียวยาแรงงานได้มากกว่า
ตัวแทนสำนักวิสาหกิจชี้แจงว่า ต้องยอมรับว่าอาจจะมีในบางพื้นที่ที่ต้องสูญเสียศักยภาพในการผลิตไป แต่หากมองในเรื่องของการบริหารจัดการนโยบายของรัฐบาลก็มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมให้ย้ายฐานการผลิตเพื่อให้ไปอยู่ในพื้นที่ที่มีความสะดวกในการขนส่ง
ขณะที่ นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ชี้แจงว่า ภาพรวมผลกระทบตั้งแต่ 1-15 ม.ค.56 มีตัวเลขการเลิกจ้างพันกว่าคน ถือว่าเป็นเกณฑ์ที่ปกติ ซึ่งทั้งรัฐบาลและกระทรวงแรงงาน ก็มีมาตรการออกมารองรับ 17 มาตรการ ด้วยกัน ซึ่งเชื่อว่ามาตรการที่ออกมาจะแก้ปัญหาได้อย่างครอบคลุม
ส่วนมาตรการในการปรับเปลี่ยนเรื่องของการจัดเก็บภาษีนั้น คณะกรรมาธิการได้สอบถามว่า รัฐบาลจะสูญเสียรายได้ประมาณเท่าไร ซึ่งตัวแทนจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ชี้แจงว่า มาตรการนี้ยังไม่มีผลที่เห็นเป็นรูปธรรม ต้องรอการยื่นเสียภาษีในเดือนพ.ค.ที่จะถึงนี้ จึงทำให้ยังไม่สามารถประเมินการสูญเสียรายได้ทั้งหมดได้ ซึ่งจากการประเมินตามสถิติ ซึ่งเป็นตัวเลขประมาณการณ์ น่าจะอยู่ที่เกือบ 6,400 ล้านบาท
นอกจากนี้คณะกรรมาธิการ ยังสอบถามปลัดกระทรวงแรงงานว่า แรงงานที่ถูกเลิกจ้างเพราะเจ้าของกิจการย้ายฐานการผลิต หรือปิดกิจการ กระทรวงแรงงาน จะมีมาตรการในการช่วยเหลือผู้ประกอบการและแรงงานที่ตกงานอย่างไรบ้าง และที่ผ่านมากระทรวงแรงงานได้มีการสำรวจปริมาณแรงงานต่างด้าวบ้างหรือไม่ว่า มีอยู่เท่าไร และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้ แรงงานที่ได้รับประโยชน์เป็นแรงงานไทย หรือแรงงานต่างด้าว
ปลัดกระทรวงแรงงานชี้แจงว่า กระทรวงแรงงานมีมาตรการในการรองรับแรงงานที่ตกงานอยู่แล้ว ส่วนผู้ประกอบการ ก็เข้าไปช่วยในเรื่องของการปรับลดเรื่องสวัสดิการของลูกจ้างลง เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ และในอนาคต จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานในเมืองไปยังชนบท ดังนั้นกระทรวงแรงงาน จึงจะเข้าไปดูในเรื่องของการหาแรงงานทดแทน กระทรวงแรงงาน จึงมีการเตรียมฝึกอบรมเด็กจบใหม่ให้สามารถพัฒนาขึ้นเป็นแรงงานที่มีคุณภาพในอนาคตเพื่อมาทดแทน ส่วนแรงงานต่างด้าวเป็นเพียงกลุ่มแรงงานทดแทนแรงงานไทย ที่มีจำนวนลดลงเท่านั้น เช่นเดียวกันกับเรื่องการปรับค่าแรงขั้นต่ำ ก็ต้องครอบคลุมไปถึงค่าแรงของแรงงานต่างด้าว ที่ก็ต้องได้รับในอัตราที่เท่าเทียมกัน
อย่างไรก็ตามคณะกรรมาธิการเห็นว่า ตัวแทนที่มาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการในวันนี้ เป็นการชี้แจงแบบเลื่อนลอย และยังไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ซึ่งเท่ากับว่า ทั้งผู้ประกอบการและแรงงาน ก็คงต้องทนรับสภาพต่อไปจนกว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะสามารถหามาตรการที่ชัดเจนออกมาแก้ปัญหา
นายจุติ ไกรฤกษ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ สอบถามว่า ทางสำนักกิจการมีการเตือนผู้ประกอบการอย่างไร และมีการวิเคราะห์หรือไม่ว่า หากมีการย้ายฐานการผลิตประเทศจะเสียประโยชน์ไปมากเพียงใด เหตุผลที่ไม่รับข้อเสนอของสภาอุตสาหกรรม คืออะไร ซึ่งตัวแทนจากสำนักวิสาหกิจ(สสว.)ตอบว่า ทุกอย่างต้องรอการดำเนินการทางภาครัฐ หรือแนะนำให้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการจ้างงาน เรื่องของการส่งออก ก็มีการหารือในแนวทางการแก้ไขอยู่บ้าง แต่เนื่องจากปัญหายังไม่เกิด มาตรการที่ออกมาจึงยังไม่ชัดเจน ตัวแทนจาก สสว. มีการเตรียมมาตรการรองรับที่นอกเหนือจากมาตรการของรัฐบาลคือ พยายามช่วยในเรื่องของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้คำปรึกษาเบื้องต้นในเรื่องของการลดต้นทุนในการผลิต มีการจัดทีมนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญลงไปวินิจฉัยสถานประกอบการ ว่ามีขีดความสามารถมากน้อยเพียงใด ส่วนสถานประกอบการที่มีความจำเป็นที่จะต้องย้ายฐานการผลิตเพื่อไปอยู่ในพื้นที่ ที่มีแรงงานราคาถูก ก็จะมีการช่วยเหลือในการปล่อยกู้ และเรื่องของการลดหย่อนดอกเบี้ยจากแหล่งเงินทุน และยังต้องมีการส่งเสริมช่องทางในการตลาดเพื่อเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการ รวมไปถึงมีการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการมองว่า นโยบายที่ทางสสว. ชี้แจง เป็นสิ่งเลื่อนลอย ที่ใช้วิธีการเปิดตำราในการแก้ปัญหา ซึ่งวิธีการดังกล่าวก็ไม่สามารถทำได้จริง และไม่ทันการกับการแก้ปัญหาเร่งด่วน ที่มีผู้ได้รับผลกระทบจำนวนมาก ประธานคณะกรรมาธิการ ระบุว่า มีความไม่สบายกับการแก้ปัญหาของสสว. ที่ยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนออกมารองรับปัญหา ทั้งที่ผลกระทบกำลังจะบานปลาย แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับยังรอเวลา เพื่อให้ปัญหาลุกลามโดยไม่มีการเตรียมการแก้ไข
ด้านตัวแทนจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ชี้แจงว่า มีการพิจารณาผลกระทบจากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเดิม ซึ่งจากการประเมิน ขณะนี้ยังไม่พบว่าผลกระทบจากกรณีดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้น และมีการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการประมาณ 300 ราย ยอมรับว่าได้รับผลกระทบ แต่ก็มีการช่วยเหลือตัวเองโดยการลดต้นทุนในการผลิต เช่น เปลี่ยนการจ้างงานจากการเป็นลูกจ้างประจำ เป็นการจ้างงานแบบเหมาชิ้น
นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองประธานคณะกรรมาธิการ ถามว่า การขึ้นค่าแรง 300 บาท ในบางพื้นที่ ที่มีค่าแรงถูก จะได้รับผลกระทบในเรื่องของการสูญเสียฝีมือแรงงานหรือไม่ เพราะปัจจุบันที่ค่าแรงในทุกพื้นที่เท่าเทียมกันแรงงานก็คงไม่ต้องการที่จะอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญ ซึ่งส่วนตัวเห็นด้วยกับข้อเสนอของสภาอุตสาหกรรม เพราะจะสามารถช่วยเหลือเยียวยาแรงงานได้มากกว่า
ตัวแทนสำนักวิสาหกิจชี้แจงว่า ต้องยอมรับว่าอาจจะมีในบางพื้นที่ที่ต้องสูญเสียศักยภาพในการผลิตไป แต่หากมองในเรื่องของการบริหารจัดการนโยบายของรัฐบาลก็มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมให้ย้ายฐานการผลิตเพื่อให้ไปอยู่ในพื้นที่ที่มีความสะดวกในการขนส่ง
ขณะที่ นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ชี้แจงว่า ภาพรวมผลกระทบตั้งแต่ 1-15 ม.ค.56 มีตัวเลขการเลิกจ้างพันกว่าคน ถือว่าเป็นเกณฑ์ที่ปกติ ซึ่งทั้งรัฐบาลและกระทรวงแรงงาน ก็มีมาตรการออกมารองรับ 17 มาตรการ ด้วยกัน ซึ่งเชื่อว่ามาตรการที่ออกมาจะแก้ปัญหาได้อย่างครอบคลุม
ส่วนมาตรการในการปรับเปลี่ยนเรื่องของการจัดเก็บภาษีนั้น คณะกรรมาธิการได้สอบถามว่า รัฐบาลจะสูญเสียรายได้ประมาณเท่าไร ซึ่งตัวแทนจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ชี้แจงว่า มาตรการนี้ยังไม่มีผลที่เห็นเป็นรูปธรรม ต้องรอการยื่นเสียภาษีในเดือนพ.ค.ที่จะถึงนี้ จึงทำให้ยังไม่สามารถประเมินการสูญเสียรายได้ทั้งหมดได้ ซึ่งจากการประเมินตามสถิติ ซึ่งเป็นตัวเลขประมาณการณ์ น่าจะอยู่ที่เกือบ 6,400 ล้านบาท
นอกจากนี้คณะกรรมาธิการ ยังสอบถามปลัดกระทรวงแรงงานว่า แรงงานที่ถูกเลิกจ้างเพราะเจ้าของกิจการย้ายฐานการผลิต หรือปิดกิจการ กระทรวงแรงงาน จะมีมาตรการในการช่วยเหลือผู้ประกอบการและแรงงานที่ตกงานอย่างไรบ้าง และที่ผ่านมากระทรวงแรงงานได้มีการสำรวจปริมาณแรงงานต่างด้าวบ้างหรือไม่ว่า มีอยู่เท่าไร และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้ แรงงานที่ได้รับประโยชน์เป็นแรงงานไทย หรือแรงงานต่างด้าว
ปลัดกระทรวงแรงงานชี้แจงว่า กระทรวงแรงงานมีมาตรการในการรองรับแรงงานที่ตกงานอยู่แล้ว ส่วนผู้ประกอบการ ก็เข้าไปช่วยในเรื่องของการปรับลดเรื่องสวัสดิการของลูกจ้างลง เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ และในอนาคต จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานในเมืองไปยังชนบท ดังนั้นกระทรวงแรงงาน จึงจะเข้าไปดูในเรื่องของการหาแรงงานทดแทน กระทรวงแรงงาน จึงมีการเตรียมฝึกอบรมเด็กจบใหม่ให้สามารถพัฒนาขึ้นเป็นแรงงานที่มีคุณภาพในอนาคตเพื่อมาทดแทน ส่วนแรงงานต่างด้าวเป็นเพียงกลุ่มแรงงานทดแทนแรงงานไทย ที่มีจำนวนลดลงเท่านั้น เช่นเดียวกันกับเรื่องการปรับค่าแรงขั้นต่ำ ก็ต้องครอบคลุมไปถึงค่าแรงของแรงงานต่างด้าว ที่ก็ต้องได้รับในอัตราที่เท่าเทียมกัน
อย่างไรก็ตามคณะกรรมาธิการเห็นว่า ตัวแทนที่มาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการในวันนี้ เป็นการชี้แจงแบบเลื่อนลอย และยังไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ซึ่งเท่ากับว่า ทั้งผู้ประกอบการและแรงงาน ก็คงต้องทนรับสภาพต่อไปจนกว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะสามารถหามาตรการที่ชัดเจนออกมาแก้ปัญหา