ลดภาษีนิติบุคคลออกฤทธิ์ เพิ่มช่องว่างทางภาษี นักเศรษฐศาสตร์ชี้ มนุษย์เงินเดือนฐานภาษี 10% แบกหลังแอ่น หนีลำบาก ส่วนฐาน 20% ตัวช่วยเยอะ แถมเลือกได้ตั้งบริษัทเสียภาษีแค่ 20% พร้อมห่วงสถานการณ์หนี้สาธารณะพุ่ง
มติคณะรัฐมนตรี 18 กันยายน 2555 ได้ลดการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลลงเหลือ 20% สำหรับรอบบัญชีปีภาษี 2556 ถือว่ารัฐบาลได้ดำเนินการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างต่อเนื่องจากระดับ 30% ลงมาเหลือ 23% ในปี 2555
เป้าหมายหลักเพื่อเป็นการรองรับการเปิดประเทศเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เนื่องจากอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน และสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการที่อยู่นอกระบบ เข้ามาเสียภาษีถูกต้องมากขึ้น ดึงนักลงทุนจากต่างประเทศให้มาลงทุนมากขึ้น รวมถึงยังรองรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ที่จะใช้ในปี 2556 ทั่วประเทศ รวมถึงเงินเดือนระดับปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือน
ขณะที่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เคยมีกระแสข่าวว่าจะปรับปรุงเช่นกัน แต่เรื่องนี้ทางรัฐบาลถือว่ายังไม่ใช่ความจำเป็นเร่งด่วน
ดังนั้น ขณะนี้ภาคประชาชนยังคงต้องจ่ายภาษีในอัตราเดิม ขณะที่ภาคธุรกิจได้รับอนุมัติให้ปรับลดภาษีลงเหลือ 23% ในปีนี้ และปีหน้าภาษีนิติบุคคลจะเหลือเพียง 20% ทำให้เกิดช่องว่างทางภาษีระหว่างบุคคลธรรมดากับนิติบุคคลมากขึ้น
ข้าราชการ-รัฐวิสาหกิจโดนเต็ม
ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ภาษีบุคคลธรรมดาของเราเก็บไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ในจำนวน 80% ของคนที่อยู่ในวัยทำงาน มีผู้ที่ยื่นภาษีราว 7 ล้านคน แม้จะลดภาษีบุคคลธรรมดาลงคงไม่ทำให้รายได้รัฐเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ และเมื่อลดภาษีแล้วคนที่เคยหลีกเลี่ยงจะจ่ายเต็มจำนวนหรือไม่
คนที่ต้องจ่ายภาษีอย่างกลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ คงยากที่จะหลีกเลี่ยงภาษี รวมถึงคนที่มีรายได้น้อยจริงๆ แต่กลุ่มที่ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย คนกลุ่มนี้จะมีวิธีการทำให้เสียภาษีได้น้อยลงมากกว่าคนทั่วไป
“จริงๆ แล้วเรื่องอัตราภาษีที่ต้องเสีย ไม่ค่อยเป็นปัญหามากนัก กระทรวงการคลังควรต้องขยายฐานเพื่อให้คนเสียภาษีให้รัฐมากขึ้น หรือพิจารณาภาษีตัวอื่นๆ ที่ไม่เคยบังคับใช้ได้เช่นภาษีมรดกหรือภาษีที่ดิน อีกทั้งที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้สิทธิในการหักลดหย่อนภาษีมากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้ภาครัฐจัดเก็บภาษีได้น้อยลง”
ประเทศไทยมีปัญหาด้านฐานะการคลังที่ขาดดุลมาโดยตลอด หากรัฐบาลยังมีรายจ่ายเยอะจากนโยบายประชานิยม เชื่อว่าอีก 4-5 ปีข้างหน้าหนี้สาธารณะของไทยคงขึ้นไปที่ระดับ 50% แม้ว่าจะยังไม่ใช่ระดับที่อันตราย แต่หนทางที่หนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้นเป็นเส้นทางที่อันตรายและเมื่อถึงเวลานั้นเราอาจปรับตัวไม่ทัน
ฐานภาษี 10% แบกภาระ
ด้าน ผศ.ดร.สมประวิน มันประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ประเทศไทยมีความลักลั่นทางภาษีมาโดยตลอด อัตราไม่ครอบคลุม ทำให้มีคนเสียภาษีน้อยมาก
การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อรองรับกับการเปิดเออีซี หรือเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับภาคธุรกิจนั้น หากพิจารณาให้ดีจะพบว่ากำไรของบริษัทต่างๆ ไม่ใช่แค่เรื่องภาษีเพียงอย่างเดียว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญอีก เช่น ค่าเครื่องจักรหรือค่าแรง รวมถึงวิธีบริหารจัดการของรัฐ
เมื่อลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลงแล้ว จะทำให้การลงทุนทางตรง (FDI) มีมากขึ้นหรือไม่ ในเรื่องนี้ภาคธุรกิจทราบดีว่า ในไทยมีสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) อยู่แล้ว ซึ่งให้สิทธิพิเศษด้านภาษีอยู่แล้ว เช่น ไม่ต้องเสียภาษีกี่ปี ตามพื้นที่ที่เข้าไปตั้งโรงงาน
ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ลดลงเหลือ 20% ขณะที่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายังคงที่ ระดับภาษีตั้งแต่ 10-37% อาจทำให้เกิดปัญหาตามมา โดยเฉพาะคนที่เสียภาษีในฐาน 20% ขึ้นไป กลุ่มนี้ถือว่ามีรายได้ค่อนข้างสูง พวกเขามีวิธีการที่จะทำให้การเสียภาษีน้อยลงด้วยช่องทางที่รัฐบาลเปิดไว้ หรือใช้สิทธิด้วยการตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในอัตรา 20%
ขณะที่คนที่อยู่ในฐานที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่า 20% ที่ถือว่าเป็นผู้มีรายได้ไม่สูงจะมีทางเลือกน้อยกว่า เพราะมีข้อจำกัดเรื่องเงินออม และหากไปลงทุนใดๆ เพื่อนำมาใช้หักลดหย่อนภาษีก็จะไม่คุ้มค่า ดังนั้นคนที่เสียภาษีในฐาน 10-20% จะกลายเป็นผู้ที่ต้องแบกรับภาระภาษีตัวอื่นๆ ที่หดหายไปตามนโยบายของรัฐบาลโดยเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคลที่หายไปปีละ 5 หมื่นล้านบาท
ระวังหนี้สาธารณะพุ่ง
“เรายังไม่เห็นรัฐบาลจะขยายฐานภาษีเพื่อมาชดเชยรายได้ที่หดหายไป ซึ่งในระยะนี้ประชาชนทั่วไปที่มีหน้าที่เสียภาษีก็ต้องรับภาระนี้แทน และถ้าการจัดเก็บภาครัฐมีปัญหามากๆ รัฐก็จำเป็นต้องปรับขึ้นภาษี เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะใช้ในอัตรา 9% ในปี 2557”
ที่ผ่านมาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย จะเติบโตน้อยลงทุกปี เมื่อเป็นเช่นนี้การเก็บภาษีย่อมทำได้น้อยลง หากเกิดปัญหาขึ้นก็ต้องกู้เงินมาเพื่อแก้ปัญหา
สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือการลดรายได้ของรัฐบาล ประกอบกับนโยบายประชานิยมที่รัฐบาลทำอยู่ ทั้งเรื่องเงินยังชีพผู้สูงอายุที่เป็นเรื่องดี ย่อมเป็นภาระผูกพันตลอด และโครงการใหม่ๆ ที่เน้นกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นนั้น อาจทำให้ฐานะทางการคลังของประเทศมีปัญหาได้ หนี้สาธารณะของไทยที่เริ่มขยับขึ้นมาอยู่ที่ 42-43% ของจีดีพี ซึ่งคาดกันว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า หนี้สาธารณะของไทยจะขึ้นไปแตะเพดาน 60% บนสมมติฐานที่ประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากวิกฤตเศรษฐกิจโลก แต่หากถูกกระทบโอกาสถึง 60% ก็จะเร็วขึ้น
ดังนั้น รัฐบาลควรเน้นการลงทุนระยะยาว มากกว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น เพื่อให้ผลของการลงทุนนั้นเป็นตัวสร้างรายได้ให้กับประเทศในอนาคต
ขยายฐานภาษี
ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ Chief Economist และผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า การปรับลดภาษีให้ภาคธุรกิจจะหนุนให้คนทำธุรกิจมากขึ้น สิงคโปร์ก็ทำลักษณะนี้ ด้วยการลดภาษีนิติบุคคลลงมาก่อน ในระยะสั้นอาจดูไม่เท่าเทียมกัน แต่สุดท้ายก็ต้องทำทั้ง 2 ด้านคือลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลงมา สำหรับมนุษย์เงินเดือนไม่กระทบเพราะยังคงเสียภาษีเท่าเดิม
ที่ผ่านมามีนิติบุคคลของไทยบางรายไปจดทะเบียนที่ประเทศเพื่อนบ้านเนื่องจากฐานภาษีต่ำกว่า วิธีการนี้เป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับรายย่อยเข้ามาจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมากขึ้น และเป็นความตั้งใจให้มีความสามารถแข่งขันมากขึ้น และเป็นการดึงเอาคนที่ทำธุรกิจให้เข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น หากมีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมากขึ้น ก็สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น รัฐจะได้ภาษีเข้ามาหมุนเวียนเศรษฐกิจมากขึ้น
คนรวยเลี่ยงภาษีง่าย
นักการเงินรายหนึ่งกล่าวว่า วิธีการที่จะทำให้เสียภาษีน้อยลงสำหรับบุคคลธรรมดานั้นถือว่ามีทางออกอยู่ไม่น้อย คนที่เสียภาษีในฐาน 20% เกือบทุกคนจะพยายามหาวิธีทำให้พวกเขาเสียภาษีน้อยลง ตามเงื่อนไขหรือช่องทางที่รัฐบาลเปิดให้
บางคนเริ่มที่การซื้ออสังหาริมทรัพย์ เพื่อนำดอกเบี้ยค่างวดผ่อนบ้านมาเป็นรายการหักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 1 แสนบาท หากรายได้ยังสูงอยู่ก็สามารถซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตที่อายุ 10 ปีขึ้นไป ก็หักลดหย่อนได้อีก 1 แสนบาท หรือซื้อประกันแบบบำนาญหักได้อีก 2 แสน หรืออาจซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและกองทุนรวมหุ้นระยะยาวหักได้ประเภทละ 5 แสนบาท หากซื้อ 2 ประเภทหักลดหย่อนได้ 1 ล้านบาท วิธีการนี้เป็นทั้งการออมเงินและหักลดหย่อนภาษีได้
หากเป็นผู้มีรายได้สูงจริงๆ หลายคนนิยมตั้งบริษัท เพื่อหักลดหย่อนภาษีได้มากขึ้น เนื่องจากภาษีนิติบุคคลจะมีรายการให้หักลดหย่อนได้มากกว่าบุคคลธรรมดา ยิ่งภาษีนิติบุคคลในปี 2556 เหลือ 20% ย่อมเป็นทางออกที่ดีสำหรับคนกลุ่มนี้ ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะทำให้มีกำไรหรือไม่มีกำไร กรณีไม่มีกำไรก็ไม่ต้องเสียภาษี
คนที่จะต้องรับภาระด้านภาษีแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยคือกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย และคนที่เสียภาษีในฐาน 10% แม้ว่าจะพยายามลงทุนตามกฎระเบียบที่รัฐบาลเปิดไว้ก็ไม่คุ้มค่า นี่คือปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของผู้ที่เสียภาษีในเมืองไทย
มติคณะรัฐมนตรี 18 กันยายน 2555 ได้ลดการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลลงเหลือ 20% สำหรับรอบบัญชีปีภาษี 2556 ถือว่ารัฐบาลได้ดำเนินการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างต่อเนื่องจากระดับ 30% ลงมาเหลือ 23% ในปี 2555
เป้าหมายหลักเพื่อเป็นการรองรับการเปิดประเทศเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เนื่องจากอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน และสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการที่อยู่นอกระบบ เข้ามาเสียภาษีถูกต้องมากขึ้น ดึงนักลงทุนจากต่างประเทศให้มาลงทุนมากขึ้น รวมถึงยังรองรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ที่จะใช้ในปี 2556 ทั่วประเทศ รวมถึงเงินเดือนระดับปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือน
ขณะที่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เคยมีกระแสข่าวว่าจะปรับปรุงเช่นกัน แต่เรื่องนี้ทางรัฐบาลถือว่ายังไม่ใช่ความจำเป็นเร่งด่วน
ดังนั้น ขณะนี้ภาคประชาชนยังคงต้องจ่ายภาษีในอัตราเดิม ขณะที่ภาคธุรกิจได้รับอนุมัติให้ปรับลดภาษีลงเหลือ 23% ในปีนี้ และปีหน้าภาษีนิติบุคคลจะเหลือเพียง 20% ทำให้เกิดช่องว่างทางภาษีระหว่างบุคคลธรรมดากับนิติบุคคลมากขึ้น
ข้าราชการ-รัฐวิสาหกิจโดนเต็ม
ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ภาษีบุคคลธรรมดาของเราเก็บไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ในจำนวน 80% ของคนที่อยู่ในวัยทำงาน มีผู้ที่ยื่นภาษีราว 7 ล้านคน แม้จะลดภาษีบุคคลธรรมดาลงคงไม่ทำให้รายได้รัฐเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ และเมื่อลดภาษีแล้วคนที่เคยหลีกเลี่ยงจะจ่ายเต็มจำนวนหรือไม่
คนที่ต้องจ่ายภาษีอย่างกลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ คงยากที่จะหลีกเลี่ยงภาษี รวมถึงคนที่มีรายได้น้อยจริงๆ แต่กลุ่มที่ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย คนกลุ่มนี้จะมีวิธีการทำให้เสียภาษีได้น้อยลงมากกว่าคนทั่วไป
“จริงๆ แล้วเรื่องอัตราภาษีที่ต้องเสีย ไม่ค่อยเป็นปัญหามากนัก กระทรวงการคลังควรต้องขยายฐานเพื่อให้คนเสียภาษีให้รัฐมากขึ้น หรือพิจารณาภาษีตัวอื่นๆ ที่ไม่เคยบังคับใช้ได้เช่นภาษีมรดกหรือภาษีที่ดิน อีกทั้งที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้สิทธิในการหักลดหย่อนภาษีมากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้ภาครัฐจัดเก็บภาษีได้น้อยลง”
ประเทศไทยมีปัญหาด้านฐานะการคลังที่ขาดดุลมาโดยตลอด หากรัฐบาลยังมีรายจ่ายเยอะจากนโยบายประชานิยม เชื่อว่าอีก 4-5 ปีข้างหน้าหนี้สาธารณะของไทยคงขึ้นไปที่ระดับ 50% แม้ว่าจะยังไม่ใช่ระดับที่อันตราย แต่หนทางที่หนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้นเป็นเส้นทางที่อันตรายและเมื่อถึงเวลานั้นเราอาจปรับตัวไม่ทัน
ฐานภาษี 10% แบกภาระ
ด้าน ผศ.ดร.สมประวิน มันประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ประเทศไทยมีความลักลั่นทางภาษีมาโดยตลอด อัตราไม่ครอบคลุม ทำให้มีคนเสียภาษีน้อยมาก
การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อรองรับกับการเปิดเออีซี หรือเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับภาคธุรกิจนั้น หากพิจารณาให้ดีจะพบว่ากำไรของบริษัทต่างๆ ไม่ใช่แค่เรื่องภาษีเพียงอย่างเดียว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญอีก เช่น ค่าเครื่องจักรหรือค่าแรง รวมถึงวิธีบริหารจัดการของรัฐ
เมื่อลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลงแล้ว จะทำให้การลงทุนทางตรง (FDI) มีมากขึ้นหรือไม่ ในเรื่องนี้ภาคธุรกิจทราบดีว่า ในไทยมีสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) อยู่แล้ว ซึ่งให้สิทธิพิเศษด้านภาษีอยู่แล้ว เช่น ไม่ต้องเสียภาษีกี่ปี ตามพื้นที่ที่เข้าไปตั้งโรงงาน
ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ลดลงเหลือ 20% ขณะที่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายังคงที่ ระดับภาษีตั้งแต่ 10-37% อาจทำให้เกิดปัญหาตามมา โดยเฉพาะคนที่เสียภาษีในฐาน 20% ขึ้นไป กลุ่มนี้ถือว่ามีรายได้ค่อนข้างสูง พวกเขามีวิธีการที่จะทำให้การเสียภาษีน้อยลงด้วยช่องทางที่รัฐบาลเปิดไว้ หรือใช้สิทธิด้วยการตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในอัตรา 20%
ขณะที่คนที่อยู่ในฐานที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่า 20% ที่ถือว่าเป็นผู้มีรายได้ไม่สูงจะมีทางเลือกน้อยกว่า เพราะมีข้อจำกัดเรื่องเงินออม และหากไปลงทุนใดๆ เพื่อนำมาใช้หักลดหย่อนภาษีก็จะไม่คุ้มค่า ดังนั้นคนที่เสียภาษีในฐาน 10-20% จะกลายเป็นผู้ที่ต้องแบกรับภาระภาษีตัวอื่นๆ ที่หดหายไปตามนโยบายของรัฐบาลโดยเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคลที่หายไปปีละ 5 หมื่นล้านบาท
ระวังหนี้สาธารณะพุ่ง
“เรายังไม่เห็นรัฐบาลจะขยายฐานภาษีเพื่อมาชดเชยรายได้ที่หดหายไป ซึ่งในระยะนี้ประชาชนทั่วไปที่มีหน้าที่เสียภาษีก็ต้องรับภาระนี้แทน และถ้าการจัดเก็บภาครัฐมีปัญหามากๆ รัฐก็จำเป็นต้องปรับขึ้นภาษี เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะใช้ในอัตรา 9% ในปี 2557”
ที่ผ่านมาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย จะเติบโตน้อยลงทุกปี เมื่อเป็นเช่นนี้การเก็บภาษีย่อมทำได้น้อยลง หากเกิดปัญหาขึ้นก็ต้องกู้เงินมาเพื่อแก้ปัญหา
สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือการลดรายได้ของรัฐบาล ประกอบกับนโยบายประชานิยมที่รัฐบาลทำอยู่ ทั้งเรื่องเงินยังชีพผู้สูงอายุที่เป็นเรื่องดี ย่อมเป็นภาระผูกพันตลอด และโครงการใหม่ๆ ที่เน้นกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นนั้น อาจทำให้ฐานะทางการคลังของประเทศมีปัญหาได้ หนี้สาธารณะของไทยที่เริ่มขยับขึ้นมาอยู่ที่ 42-43% ของจีดีพี ซึ่งคาดกันว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า หนี้สาธารณะของไทยจะขึ้นไปแตะเพดาน 60% บนสมมติฐานที่ประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากวิกฤตเศรษฐกิจโลก แต่หากถูกกระทบโอกาสถึง 60% ก็จะเร็วขึ้น
ดังนั้น รัฐบาลควรเน้นการลงทุนระยะยาว มากกว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น เพื่อให้ผลของการลงทุนนั้นเป็นตัวสร้างรายได้ให้กับประเทศในอนาคต
ขยายฐานภาษี
ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ Chief Economist และผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า การปรับลดภาษีให้ภาคธุรกิจจะหนุนให้คนทำธุรกิจมากขึ้น สิงคโปร์ก็ทำลักษณะนี้ ด้วยการลดภาษีนิติบุคคลลงมาก่อน ในระยะสั้นอาจดูไม่เท่าเทียมกัน แต่สุดท้ายก็ต้องทำทั้ง 2 ด้านคือลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลงมา สำหรับมนุษย์เงินเดือนไม่กระทบเพราะยังคงเสียภาษีเท่าเดิม
ที่ผ่านมามีนิติบุคคลของไทยบางรายไปจดทะเบียนที่ประเทศเพื่อนบ้านเนื่องจากฐานภาษีต่ำกว่า วิธีการนี้เป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับรายย่อยเข้ามาจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมากขึ้น และเป็นความตั้งใจให้มีความสามารถแข่งขันมากขึ้น และเป็นการดึงเอาคนที่ทำธุรกิจให้เข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น หากมีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมากขึ้น ก็สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น รัฐจะได้ภาษีเข้ามาหมุนเวียนเศรษฐกิจมากขึ้น
คนรวยเลี่ยงภาษีง่าย
นักการเงินรายหนึ่งกล่าวว่า วิธีการที่จะทำให้เสียภาษีน้อยลงสำหรับบุคคลธรรมดานั้นถือว่ามีทางออกอยู่ไม่น้อย คนที่เสียภาษีในฐาน 20% เกือบทุกคนจะพยายามหาวิธีทำให้พวกเขาเสียภาษีน้อยลง ตามเงื่อนไขหรือช่องทางที่รัฐบาลเปิดให้
บางคนเริ่มที่การซื้ออสังหาริมทรัพย์ เพื่อนำดอกเบี้ยค่างวดผ่อนบ้านมาเป็นรายการหักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 1 แสนบาท หากรายได้ยังสูงอยู่ก็สามารถซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตที่อายุ 10 ปีขึ้นไป ก็หักลดหย่อนได้อีก 1 แสนบาท หรือซื้อประกันแบบบำนาญหักได้อีก 2 แสน หรืออาจซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและกองทุนรวมหุ้นระยะยาวหักได้ประเภทละ 5 แสนบาท หากซื้อ 2 ประเภทหักลดหย่อนได้ 1 ล้านบาท วิธีการนี้เป็นทั้งการออมเงินและหักลดหย่อนภาษีได้
หากเป็นผู้มีรายได้สูงจริงๆ หลายคนนิยมตั้งบริษัท เพื่อหักลดหย่อนภาษีได้มากขึ้น เนื่องจากภาษีนิติบุคคลจะมีรายการให้หักลดหย่อนได้มากกว่าบุคคลธรรมดา ยิ่งภาษีนิติบุคคลในปี 2556 เหลือ 20% ย่อมเป็นทางออกที่ดีสำหรับคนกลุ่มนี้ ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะทำให้มีกำไรหรือไม่มีกำไร กรณีไม่มีกำไรก็ไม่ต้องเสียภาษี
คนที่จะต้องรับภาระด้านภาษีแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยคือกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย และคนที่เสียภาษีในฐาน 10% แม้ว่าจะพยายามลงทุนตามกฎระเบียบที่รัฐบาลเปิดไว้ก็ไม่คุ้มค่า นี่คือปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของผู้ที่เสียภาษีในเมืองไทย