ป.ป.ช.เผย พบกลโกงเชิงนโยบาย-ซับซ้อน-ทำงานเป็นทีม มากกว่าในอดีต ยุคนี้อยากได้เท่าไร ‘บวก’ กันในนโยบายได้เลย! พร้อมเดินหน้าส่ง ป.ป.ช.จังหวัด สร้างพลังประชาชน ด้านเอกชน นักวิชาการ ภาคประชาชน จับตาประเด็นร้อนโครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน พบช่องทางโกงเพียบ! รศ.ดร.ต่อตระกูลชี้ อาจเกิดการล็อกสเปกด้วยคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์ หากไม่โปร่งใสจะเป็นปัญหาระดับชาติ
รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผุด “เมกะโปรเจกต์” มูลค่าหลายล้านล้านบาท และมีหลายโครงการใช้งบสูงเป็นจำนวนแสนล้าน ไม่ว่าจะเป็นโครงการบริหารจัดการน้ำ 350,000 ล้านบาท, โครงการรถไฟความเร็วสูงมี 4 เส้นทาง รวมระยะทาง 1,447 กม. วงเงินก่อสร้างรวม 481,066 ล้านบาท, งบประมาณการรับจำนำข้าวในปี 2555 วงเงินประมาณ 260,000 ล้านบาท เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ยิ่งรัฐบาลมีโครงการจัดซื้อ จัดจ้าง และก่อสร้างมากเท่าไร ย่อมเป็นที่จับตาของประชาชนและองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามคอร์รัปชัน เพราะที่ผ่านมาพบว่าสถานการณ์ในการทุจริตคอร์รัปชันของประเทศไทยมีแนวโน้มรุนแรงและสูงขึ้น
ทั้งที่ก่อนหน้านี้ นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ได้ประกาศให้การแก้ปัญหาคอร์รัปชันเป็นวาระแห่งชาติ แต่กลับปรากฏว่าสถานการณ์คอร์รัปชันของไทยรุนแรงอยู่ในอันดับที่ 13 ในเอเชีย
นอกจากนี้ จากข้อมูลผลสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยต่อ “สถานการณ์คอร์รัปชันไทย” ผู้ประกอบการเอกชน ข้าราชการ และประชาชน ทั่วประเทศ 2,400 ราย ระหว่างเดือนธันวาคม 2554-มกราคม 2555 พบว่า ผู้ประกอบการทำธุรกิจกับภาครัฐ 82.1% ต้องจ่ายเงินพิเศษให้ข้าราชการและนักการเมือง และเมื่อประเมินมูลค่าการทุจริตคอร์รัปชันจากงบประมาณ จากงบลงทุนภาครัฐต่อปี 2-3 ล้านล้านบาท มีการทุจริต 25-30% คิดเป็นความเสียหาย 1.8-2 แสนล้านบาท หรือ 1.6-2.1% ของจีดีพี เป็นมูลค่าต่อปี 10.67 ล้านบาท และภายใน 5-10 ปี รัฐจะสูญเสีย 8 แสนล้านบาทถึง 1 ล้านล้านบาท หากไม่มีการแก้ไข
ที่สำคัญที่สุดในขณะนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามคอร์รัปชัน เชื่อว่ากำลังมีนวัตกรรมการโกงที่แนบเนียนกว่าในอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าว และพืชการเกษตร โครงการบริหารจัดการน้ำที่พบช่องทางทุจริตได้อย่างน่าตกใจ!
ป.ป.ช.ปฏิบัติการเชิงรุก-พบโกงแบบซับซ้อน
“การทุจริตเชิงนโยบายมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น นักการเมืองบางคนอาจออกกฎหมาย หรือนโยบายที่มีช่องทางให้เกิดการคอร์รัปชัน และมีผู้ร่วมกระบวนการมากขึ้น กว่าจะรู้ว่าเกิดความไม่โปร่งใสก็ต่อเมื่อเกิดข้อสงสัยว่าทำไมบริษัทที่ได้รับการประมูลถึงเป็นบริษัทนี้ และทำไมไม่เป็นบริษัทอื่น ต่างจากสมัยก่อนที่มีการจ่ายใต้โต๊ะ แต่นี่กลับใช้การบวกในนโยบายเลยก็มี” นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช) ระบุ
นายวิชากล่าวต่อว่า ล่าสุด ป.ป.ช. ได้ส่งกรณีการทุจริตเชิงนโยบายให้แก่ภาครัฐแล้ว พร้อมข้อเสนอแนะ โดยเฉพาะกรณีการนำระบบการประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-ออคชัน (E-Auction) เข้ามาใช้นั้น กลับพบว่า เป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตได้ง่าย
“ป.ป.ช.เสนอให้ยกเลิกระบบอี-ออคชัน แล้ว โดยเฉพาะกับ เมกะโปรเจกต์ทั้งหลาย”
ส่วนเม็ดเงินหรือจำนวนเปอร์เซ็นต์ในการทุจริตยังไม่พบความเคลื่อนไหวที่มากผิดปกติ แต่ยังคงเป็นไปตามแนวทางที่เคยปฏิบัติกันมา แต่ละเดือนจะมีการร้องเรียนเข้ามาที่ ป.ป.ช. ประมาณ 30-40 เรื่อง ซึ่งปัจจุบัน ป.ป.ช.ได้ทำงานเชิงรุกมากยิ่งขึ้น โดยมีการตั้ง ป.ป.ช.ระดับจังหวัด 9 แห่ง กระจายตามภาค ประกอบด้วย นครปฐม, อยุธยา, นครราชสีมา, ขอนแก่น, ชลบุรี, สุราษฎร์ธานี, สงขลา, พิษณุโลก, เชียงใหม่ จะเพิ่มอีก 23 จังหวัดในปีนี้ เช่น แพร่ และจะเพิ่มอีก 44 จังหวัดในปีหน้าก็จะครบทั่วประเทศ
เอกชนจับตา ‘โครงการน้ำ-จำนำพืช’
ด้าน นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชัน กล่าวว่า โครงการแก้ปัญหาน้ำทั้งระบบรัฐบาลต้องการดำเนินงานอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันน้ำท่วมให้ทันท่วงที ซึ่งทางภาคีฯอ ยากให้มีการดำเนินงานอย่างชัดเจน โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ มีการเปิดเผยข้อมูล และมีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน หรือมีช่องทางทุจริตให้น้อยที่สุด ซึ่งทางภาคีฯ จะเฝ้าติดตามโครงการอย่างต่อเนื่อง อีกประเด็นหนึ่งที่ภาคีติดตามการดำเนินงานของภาครัฐคือ เรื่องจำนำพืชผลการเกษตร เช่น ข้าว, หอมแดง ฯลฯ ได้มีการเก็บข้อมูล และตรวจสอบเรื่องนี้อย่างละเอียด
อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวจาก ป.ป.ช.ระบุว่า การที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชัน ทั้งภาคีเครือข่ายฯ องค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย และ ป.ป.ช. ต่างให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวังโครงการบริหารจัดการน้ำ 350,000 ล้านบาท และโครงการรับจำนำพืชการเกษตรทุกประเภท เนื่องจากเป็นโครงการที่ใช้งบประมาณสูงมาก อีกทั้งมีการเฝ้าระวังและติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะการทุจริตที่จะเกิดขึ้นกับ 2 โปรเจกต์นี้สะท้อนให้เห็นนวัตกรรมการโกงที่สมบูรณ์แบบที่สุด
“นี่เป็นการโกงที่แฝงมากับโครงการประชานิยม เป็นระบบการโกงของพวกพ่อค้าที่สมบูรณ์แบบ กินและสร้างกำไรได้ทุกเม็ด และการโกงครั้งนี้ที่เคยคิดกันที่สูตร 30% จากงบลงทุนนั้นจะมาใช้ในยุคนี้ไม่ได้แล้ว เพราะการโกงรอบนี้เป็นการโกงแบบตามสบายและเชื่อว่ามากกว่า 50%”
‘เงินทอน’คำศัพท์ของกลุ่มทุจริตเงินหลวง
เขายกตัวอย่างการโกงในระบบจำนำข้าว คือเริ่มตั้งแต่การสวมสิทธิ์จำนำข้าวของเกษตรกร การที่ข้าวไทยที่รับจำนำไว้แล้วหายไปจากตลาดโลก และมีการนำข้าวราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้านทั้งเขมร เวียดนาม มาสวมสิทธิ์ในลักษณะซื้อถูกข้าวแพง ซึ่งผลประโยชน์ล้วนไปตกกับพ่อค้าและโรงสีที่ได้รับโควตาจากรัฐบาล
ในเรื่องโครงการน้ำ เชื่อว่ามีการล็อกสเปกเกิดขึ้นแน่นอน เริ่มตั้งแต่การจัดทำ TOR เชื่อว่ามีการงุบงิบทำ และใช้วิธีแบ่งเป็นโครงการย่อยเพราะเขาสามารถอ้างถึงหากไม่รีบดำเนินการจัดทำจะเกิดผลกระทบต่อประเทศชาติอย่างรุนแรง
“ต้องค่อยๆ แกะรอยตามเรื่องนี้ว่า เขาทำกันอย่างไร อดีตเป็นการหักหัวคิวของผู้มีอำนาจทางการเมืองและข้าราชการจะกี่เปอร์เซ็นต์ของโครงการก็ว่ากันไป ตามด้วยการจ่ายเงินสดล่วงหน้าของบริษัทที่จะได้รับงาน และมีการนำเงินโกงเหล่านี้ไปฟอกเป็นเงินถูกกฎหมายได้ในที่สุด”
เขาอธิบายอีกว่า วันนี้ในวงนักธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตและผู้มีอำนาจในการอนุมัติให้บริษัทใดได้งาน เปลี่ยนจากคำว่าหักหัวคิว หรือจ่ายล่วงหน้า เป็นคำว่า “เงินทอน” ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่เรียกกันภายใน ส่วนจะถอนกันเท่าไรนั้นเป็นไปตามที่มีการตกลงกันไว้
“คำว่าเงินทอน คือเป็นเงินทอนจากงบประมาณของรัฐ นั่นก็คือเงินภาษีของประชาชนที่พ่อค้าแบ่งจ่ายไปเข้ากระเป๋าของผู้มีอำนาจที่บวกไว้ว่าต้องการกี่เปอร์เซ็นต์ของงบโครงการตั้งแต่ตั้งงบนั่นเอง”
พ่อค้ายันไม่จ่ายเสียโอกาสได้งาน
ส่วน นายมานะ นิมิตรมงคล ผู้อำนวยการศูนย์ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น กล่าวถึงเรื่องงบประมาณฟื้นฟูประเทศหลังอุทกภัย 350,000 ล้านบาท ว่า เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้ระยะเวลาเร่งด่วน อาจเกิดประเด็นที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ทางภาคีฯ พยายามให้เกิดการศึกษา มองร่วมกัน และแลกเปลี่ยนระหว่างนักวิชาการ เอกชน และภาครัฐ อยากให้เกิดการชี้ประเด็นที่น่าเป็นห่วง เพื่อเสนอให้ภาครัฐหาแนวทางในการป้องกัน หรือเป็นการร่วมกันป้องกันในทุกฝ่าย ดีกว่าจะปล่อยให้เกิดข้อขัดแย้งภายหลัง
ทั้งนี้ ภาคียังมีโครงการหลายประเภท เพื่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของชาติ อาทิ การจัดงานสัมมนาอย่างต่อเนื่องในประเด็นที่น่าสนใจ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน และมีรูปแบบโครงการที่ต่อต้านการทุจริตโดยตรง ที่มีการลงนามตกลงระหว่างสมาชิกในการไม่จ่ายสินบน เป็นแนวร่วมปฏิบัติ และมีการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
“นักธุรกิจบางรายมองว่าการไม่จ่ายสินบนเป็นการเสียโอกาสทางการค้า หากคู่แข่งจ่ายก็จะยิ่งเสียโอกาสมากขึ้น แต่ทางภาคีฯ จะชี้ให้เห็นว่าการจ่ายสินบนเป็นปัญหาระดับชาติ และเกิดการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียมกัน ส่งผลให้เกิดต้นทุนที่สูงขึ้น โดยไม่ได้นำไปพัฒนาประเทศชาติอย่างแท้จริง ทั้งนี้การจะสำเร็จได้ต้องใช้เวลา”
รัฐฯล็อกสเปกโครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน
หวั่นซ้ำรอย E-Auction ยุคทักษิณ
ขณะที่ รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม และผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุม ระบุถึงโครงการน้ำ 3.5 แสนล้านว่าอาจเกิดความไม่โปร่งใสขึ้น จากกรณีที่ภาครัฐบาลจะใช้วิธีการจัดซื้อ จัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ จึงทำให้มีช่องให้เกิดการทุจริต หรือเกิดความไม่เป็นธรรม หรือเหมือนเป็นการล็อกสเปกให้บางกลุ่มเท่านั้น โดยถ้ามีการทุจริตอาจอยู่ที่ประมาณ 10% ของงบประมาณเพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่
สำหรับการล็อกสเปกในที่นี้อาจกระทำด้วยการกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้ารับงานว่า ผลงานที่ผ่านมาในการทำงานเกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำมาแล้วเป็นมูลค่า 30,000 ล้านบาท ถ้าจะรวมบริษัทขนาดเล็ก แต่ละบริษัทต้องเคยทำงานเรื่องนี้มาไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท คือต้องรวมกว่า 15 บริษัท ซึ่งบริษัทที่มีคุณสมบัติขนาดนี้ในประเทศไทยแทบจะไม่มี โดยเฉพาะเรื่องงานเขื่อน
อีกทั้งยังกำหนดว่าบริษัทเหล่านั้นต้องมีความสามารถในการออกแบบ และสร้างเอง ซึ่งบริษัทข้ามชาติจะมีคุณสมบัติตรงมากกว่า
ขณะเดียวกันรัฐควรที่จะมีการเปิดกว้างในด้านคุณสมบัติผู้ที่จะเข้ามารับงานมากกว่านี้ จะได้เกิดการแข่งขันอย่างแท้จริง และการที่คนเข้าไปขอเอกสาร 400 กว่าราย อาจไม่ใช่ว่าจะมีคุณสมบัติได้ตามนั้น หรือจะเสนอตัว
ในประเด็น TOR ควรทำให้เป็นรูปแบบของมาตรฐาน แต่ปัจจุบันผู้ทำงานด้านวิศวกรรมมองว่าสิ่งที่เป็นอยู่ไม่ใช่ TOR แต่เป็นในรูปของการโฆษณาเสียมากกว่า
รศ.ดร.ต่อตระกูลบอกอีกว่า ผู้คิดระบบนี้อาจไม่ตั้งใจก็เป็นได้ ซึ่งโครงการนี้มี นายปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นประธานพิจารณา เหมือนในยุคของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ที่มีการนำระบบการประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-ออคชั่น (E-Auction) ที่บอกว่าจะช่วยแก้ปัญหาการทุจริตในการประมูล แต่ผลการวิจัยของนักศึกษากลับพบว่า 6 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างเกิดการฮั้วประมูลขึ้น แม้ภายนอกจะดูโปร่งใส แต่เมื่อดูจากตัวเลขที่ประมูลได้เกือบเท่างบประมาณเลยทีเดียว บางโครงการจะผิดจากงบประมาณเพียงแค่ 500-100 บาทเท่านั้น
ที่สำคัญคือ อาจจะซ้ำรอยโครงการในอดีตที่มีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกันอยู่ และกลายเป็นเพียงสิ่งที่ไม่มีค่า อาทิ ทางด่วนบางนา-ชลบุรี ฟ้องวงเงิน 6,000 ล้านบาท, โครงการบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ฯลฯ
‘งานน้ำ’ประมูลไม่โปร่งใสกระทบระดับชาติ
รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค ระบุด้วยว่า โครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่ามหาศาลอย่างโครงการนี้ เป็นที่ต้องการของหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน อเมริกา หรือญี่ปุ่น หากไม่มีความโปร่งใสในการแข่งขันก็อาจเป็นปัญหาระดับชาติได้ และจะเป็นภาพที่ไม่ดีต่อสายตานานาประเทศได้
เนื่องจากเห็นว่าไม่มีการแข่งขันที่เป็นธรรม ซึ่งตามกฎหมายของอเมริกาจะไม่มีการจ่ายเงินใต้โต๊ะ หากมาประมูลในประเทศไทยก็มักจะแพ้ตลอด และอาจเกิดความไม่พอใจที่เมื่อมีโครงการขนาดใหญ่ ในขณะที่อเมริกาเดือดร้อน ไทยกลับไม่ใช้อเมริกาแม้ว่าอเมริกาให้ข้อเสนอที่ดี ก็ตาม
ส่วนของประเทศญี่ปุ่นเองก็มีกฎหมายห้ามให้ใต้โต๊ะเหมือนกัน อาจมีการแอบให้บ้าง แต่ก็ไม่สามารถออกหน้าได้มาก
ขณะที่ประเทศจีนมีการแสดงตัวอย่างชัดเจนว่ามีความสัมพันธ์ที่ดีกับพรรครัฐบาลไทย อย่างในช่วงน้ำท่วม บริษัทจีนบางแห่งได้มอบเงินช่วย โดยพบนายกรัฐมนตรี เป็นต้น ซึ่งคาดว่างานครั้งนี้ประเทศจีนที่ร่วมมือกับประเทศไทยน่าจะได้ไป ซึ่งเป็นบริษัทที่รับสร้างเขื่อนทั่วโลกอยู่แล้ว
ทั้งนี้ เชื่อว่าเป็นการเจรจากันในระดับประเทศ ซึ่งปกติประเทศจีนจะรับก่อสร้างให้หลายประเทศ บางแห่งก็แลกกับทรัพยากร หรือสัมประทาน หรือบางครั้งก็ให้ผ่อนชำระก็มี จะเห็นได้ว่าในประเทศไทยบริษัทญี่ปุ่นในด้านการก่อสร้างเริ่มน้อยลง จะมีบริษัทจีนเข้ามารับงานแทน
รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผุด “เมกะโปรเจกต์” มูลค่าหลายล้านล้านบาท และมีหลายโครงการใช้งบสูงเป็นจำนวนแสนล้าน ไม่ว่าจะเป็นโครงการบริหารจัดการน้ำ 350,000 ล้านบาท, โครงการรถไฟความเร็วสูงมี 4 เส้นทาง รวมระยะทาง 1,447 กม. วงเงินก่อสร้างรวม 481,066 ล้านบาท, งบประมาณการรับจำนำข้าวในปี 2555 วงเงินประมาณ 260,000 ล้านบาท เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ยิ่งรัฐบาลมีโครงการจัดซื้อ จัดจ้าง และก่อสร้างมากเท่าไร ย่อมเป็นที่จับตาของประชาชนและองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามคอร์รัปชัน เพราะที่ผ่านมาพบว่าสถานการณ์ในการทุจริตคอร์รัปชันของประเทศไทยมีแนวโน้มรุนแรงและสูงขึ้น
ทั้งที่ก่อนหน้านี้ นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ได้ประกาศให้การแก้ปัญหาคอร์รัปชันเป็นวาระแห่งชาติ แต่กลับปรากฏว่าสถานการณ์คอร์รัปชันของไทยรุนแรงอยู่ในอันดับที่ 13 ในเอเชีย
นอกจากนี้ จากข้อมูลผลสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยต่อ “สถานการณ์คอร์รัปชันไทย” ผู้ประกอบการเอกชน ข้าราชการ และประชาชน ทั่วประเทศ 2,400 ราย ระหว่างเดือนธันวาคม 2554-มกราคม 2555 พบว่า ผู้ประกอบการทำธุรกิจกับภาครัฐ 82.1% ต้องจ่ายเงินพิเศษให้ข้าราชการและนักการเมือง และเมื่อประเมินมูลค่าการทุจริตคอร์รัปชันจากงบประมาณ จากงบลงทุนภาครัฐต่อปี 2-3 ล้านล้านบาท มีการทุจริต 25-30% คิดเป็นความเสียหาย 1.8-2 แสนล้านบาท หรือ 1.6-2.1% ของจีดีพี เป็นมูลค่าต่อปี 10.67 ล้านบาท และภายใน 5-10 ปี รัฐจะสูญเสีย 8 แสนล้านบาทถึง 1 ล้านล้านบาท หากไม่มีการแก้ไข
ที่สำคัญที่สุดในขณะนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามคอร์รัปชัน เชื่อว่ากำลังมีนวัตกรรมการโกงที่แนบเนียนกว่าในอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าว และพืชการเกษตร โครงการบริหารจัดการน้ำที่พบช่องทางทุจริตได้อย่างน่าตกใจ!
ป.ป.ช.ปฏิบัติการเชิงรุก-พบโกงแบบซับซ้อน
“การทุจริตเชิงนโยบายมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น นักการเมืองบางคนอาจออกกฎหมาย หรือนโยบายที่มีช่องทางให้เกิดการคอร์รัปชัน และมีผู้ร่วมกระบวนการมากขึ้น กว่าจะรู้ว่าเกิดความไม่โปร่งใสก็ต่อเมื่อเกิดข้อสงสัยว่าทำไมบริษัทที่ได้รับการประมูลถึงเป็นบริษัทนี้ และทำไมไม่เป็นบริษัทอื่น ต่างจากสมัยก่อนที่มีการจ่ายใต้โต๊ะ แต่นี่กลับใช้การบวกในนโยบายเลยก็มี” นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช) ระบุ
นายวิชากล่าวต่อว่า ล่าสุด ป.ป.ช. ได้ส่งกรณีการทุจริตเชิงนโยบายให้แก่ภาครัฐแล้ว พร้อมข้อเสนอแนะ โดยเฉพาะกรณีการนำระบบการประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-ออคชัน (E-Auction) เข้ามาใช้นั้น กลับพบว่า เป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตได้ง่าย
“ป.ป.ช.เสนอให้ยกเลิกระบบอี-ออคชัน แล้ว โดยเฉพาะกับ เมกะโปรเจกต์ทั้งหลาย”
ส่วนเม็ดเงินหรือจำนวนเปอร์เซ็นต์ในการทุจริตยังไม่พบความเคลื่อนไหวที่มากผิดปกติ แต่ยังคงเป็นไปตามแนวทางที่เคยปฏิบัติกันมา แต่ละเดือนจะมีการร้องเรียนเข้ามาที่ ป.ป.ช. ประมาณ 30-40 เรื่อง ซึ่งปัจจุบัน ป.ป.ช.ได้ทำงานเชิงรุกมากยิ่งขึ้น โดยมีการตั้ง ป.ป.ช.ระดับจังหวัด 9 แห่ง กระจายตามภาค ประกอบด้วย นครปฐม, อยุธยา, นครราชสีมา, ขอนแก่น, ชลบุรี, สุราษฎร์ธานี, สงขลา, พิษณุโลก, เชียงใหม่ จะเพิ่มอีก 23 จังหวัดในปีนี้ เช่น แพร่ และจะเพิ่มอีก 44 จังหวัดในปีหน้าก็จะครบทั่วประเทศ
เอกชนจับตา ‘โครงการน้ำ-จำนำพืช’
ด้าน นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชัน กล่าวว่า โครงการแก้ปัญหาน้ำทั้งระบบรัฐบาลต้องการดำเนินงานอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันน้ำท่วมให้ทันท่วงที ซึ่งทางภาคีฯอ ยากให้มีการดำเนินงานอย่างชัดเจน โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ มีการเปิดเผยข้อมูล และมีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน หรือมีช่องทางทุจริตให้น้อยที่สุด ซึ่งทางภาคีฯ จะเฝ้าติดตามโครงการอย่างต่อเนื่อง อีกประเด็นหนึ่งที่ภาคีติดตามการดำเนินงานของภาครัฐคือ เรื่องจำนำพืชผลการเกษตร เช่น ข้าว, หอมแดง ฯลฯ ได้มีการเก็บข้อมูล และตรวจสอบเรื่องนี้อย่างละเอียด
อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวจาก ป.ป.ช.ระบุว่า การที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชัน ทั้งภาคีเครือข่ายฯ องค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย และ ป.ป.ช. ต่างให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวังโครงการบริหารจัดการน้ำ 350,000 ล้านบาท และโครงการรับจำนำพืชการเกษตรทุกประเภท เนื่องจากเป็นโครงการที่ใช้งบประมาณสูงมาก อีกทั้งมีการเฝ้าระวังและติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะการทุจริตที่จะเกิดขึ้นกับ 2 โปรเจกต์นี้สะท้อนให้เห็นนวัตกรรมการโกงที่สมบูรณ์แบบที่สุด
“นี่เป็นการโกงที่แฝงมากับโครงการประชานิยม เป็นระบบการโกงของพวกพ่อค้าที่สมบูรณ์แบบ กินและสร้างกำไรได้ทุกเม็ด และการโกงครั้งนี้ที่เคยคิดกันที่สูตร 30% จากงบลงทุนนั้นจะมาใช้ในยุคนี้ไม่ได้แล้ว เพราะการโกงรอบนี้เป็นการโกงแบบตามสบายและเชื่อว่ามากกว่า 50%”
‘เงินทอน’คำศัพท์ของกลุ่มทุจริตเงินหลวง
เขายกตัวอย่างการโกงในระบบจำนำข้าว คือเริ่มตั้งแต่การสวมสิทธิ์จำนำข้าวของเกษตรกร การที่ข้าวไทยที่รับจำนำไว้แล้วหายไปจากตลาดโลก และมีการนำข้าวราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้านทั้งเขมร เวียดนาม มาสวมสิทธิ์ในลักษณะซื้อถูกข้าวแพง ซึ่งผลประโยชน์ล้วนไปตกกับพ่อค้าและโรงสีที่ได้รับโควตาจากรัฐบาล
ในเรื่องโครงการน้ำ เชื่อว่ามีการล็อกสเปกเกิดขึ้นแน่นอน เริ่มตั้งแต่การจัดทำ TOR เชื่อว่ามีการงุบงิบทำ และใช้วิธีแบ่งเป็นโครงการย่อยเพราะเขาสามารถอ้างถึงหากไม่รีบดำเนินการจัดทำจะเกิดผลกระทบต่อประเทศชาติอย่างรุนแรง
“ต้องค่อยๆ แกะรอยตามเรื่องนี้ว่า เขาทำกันอย่างไร อดีตเป็นการหักหัวคิวของผู้มีอำนาจทางการเมืองและข้าราชการจะกี่เปอร์เซ็นต์ของโครงการก็ว่ากันไป ตามด้วยการจ่ายเงินสดล่วงหน้าของบริษัทที่จะได้รับงาน และมีการนำเงินโกงเหล่านี้ไปฟอกเป็นเงินถูกกฎหมายได้ในที่สุด”
เขาอธิบายอีกว่า วันนี้ในวงนักธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตและผู้มีอำนาจในการอนุมัติให้บริษัทใดได้งาน เปลี่ยนจากคำว่าหักหัวคิว หรือจ่ายล่วงหน้า เป็นคำว่า “เงินทอน” ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่เรียกกันภายใน ส่วนจะถอนกันเท่าไรนั้นเป็นไปตามที่มีการตกลงกันไว้
“คำว่าเงินทอน คือเป็นเงินทอนจากงบประมาณของรัฐ นั่นก็คือเงินภาษีของประชาชนที่พ่อค้าแบ่งจ่ายไปเข้ากระเป๋าของผู้มีอำนาจที่บวกไว้ว่าต้องการกี่เปอร์เซ็นต์ของงบโครงการตั้งแต่ตั้งงบนั่นเอง”
พ่อค้ายันไม่จ่ายเสียโอกาสได้งาน
ส่วน นายมานะ นิมิตรมงคล ผู้อำนวยการศูนย์ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น กล่าวถึงเรื่องงบประมาณฟื้นฟูประเทศหลังอุทกภัย 350,000 ล้านบาท ว่า เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้ระยะเวลาเร่งด่วน อาจเกิดประเด็นที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ทางภาคีฯ พยายามให้เกิดการศึกษา มองร่วมกัน และแลกเปลี่ยนระหว่างนักวิชาการ เอกชน และภาครัฐ อยากให้เกิดการชี้ประเด็นที่น่าเป็นห่วง เพื่อเสนอให้ภาครัฐหาแนวทางในการป้องกัน หรือเป็นการร่วมกันป้องกันในทุกฝ่าย ดีกว่าจะปล่อยให้เกิดข้อขัดแย้งภายหลัง
ทั้งนี้ ภาคียังมีโครงการหลายประเภท เพื่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของชาติ อาทิ การจัดงานสัมมนาอย่างต่อเนื่องในประเด็นที่น่าสนใจ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน และมีรูปแบบโครงการที่ต่อต้านการทุจริตโดยตรง ที่มีการลงนามตกลงระหว่างสมาชิกในการไม่จ่ายสินบน เป็นแนวร่วมปฏิบัติ และมีการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
“นักธุรกิจบางรายมองว่าการไม่จ่ายสินบนเป็นการเสียโอกาสทางการค้า หากคู่แข่งจ่ายก็จะยิ่งเสียโอกาสมากขึ้น แต่ทางภาคีฯ จะชี้ให้เห็นว่าการจ่ายสินบนเป็นปัญหาระดับชาติ และเกิดการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียมกัน ส่งผลให้เกิดต้นทุนที่สูงขึ้น โดยไม่ได้นำไปพัฒนาประเทศชาติอย่างแท้จริง ทั้งนี้การจะสำเร็จได้ต้องใช้เวลา”
รัฐฯล็อกสเปกโครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน
หวั่นซ้ำรอย E-Auction ยุคทักษิณ
ขณะที่ รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม และผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุม ระบุถึงโครงการน้ำ 3.5 แสนล้านว่าอาจเกิดความไม่โปร่งใสขึ้น จากกรณีที่ภาครัฐบาลจะใช้วิธีการจัดซื้อ จัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ จึงทำให้มีช่องให้เกิดการทุจริต หรือเกิดความไม่เป็นธรรม หรือเหมือนเป็นการล็อกสเปกให้บางกลุ่มเท่านั้น โดยถ้ามีการทุจริตอาจอยู่ที่ประมาณ 10% ของงบประมาณเพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่
สำหรับการล็อกสเปกในที่นี้อาจกระทำด้วยการกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้ารับงานว่า ผลงานที่ผ่านมาในการทำงานเกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำมาแล้วเป็นมูลค่า 30,000 ล้านบาท ถ้าจะรวมบริษัทขนาดเล็ก แต่ละบริษัทต้องเคยทำงานเรื่องนี้มาไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท คือต้องรวมกว่า 15 บริษัท ซึ่งบริษัทที่มีคุณสมบัติขนาดนี้ในประเทศไทยแทบจะไม่มี โดยเฉพาะเรื่องงานเขื่อน
อีกทั้งยังกำหนดว่าบริษัทเหล่านั้นต้องมีความสามารถในการออกแบบ และสร้างเอง ซึ่งบริษัทข้ามชาติจะมีคุณสมบัติตรงมากกว่า
ขณะเดียวกันรัฐควรที่จะมีการเปิดกว้างในด้านคุณสมบัติผู้ที่จะเข้ามารับงานมากกว่านี้ จะได้เกิดการแข่งขันอย่างแท้จริง และการที่คนเข้าไปขอเอกสาร 400 กว่าราย อาจไม่ใช่ว่าจะมีคุณสมบัติได้ตามนั้น หรือจะเสนอตัว
ในประเด็น TOR ควรทำให้เป็นรูปแบบของมาตรฐาน แต่ปัจจุบันผู้ทำงานด้านวิศวกรรมมองว่าสิ่งที่เป็นอยู่ไม่ใช่ TOR แต่เป็นในรูปของการโฆษณาเสียมากกว่า
รศ.ดร.ต่อตระกูลบอกอีกว่า ผู้คิดระบบนี้อาจไม่ตั้งใจก็เป็นได้ ซึ่งโครงการนี้มี นายปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นประธานพิจารณา เหมือนในยุคของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ที่มีการนำระบบการประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-ออคชั่น (E-Auction) ที่บอกว่าจะช่วยแก้ปัญหาการทุจริตในการประมูล แต่ผลการวิจัยของนักศึกษากลับพบว่า 6 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างเกิดการฮั้วประมูลขึ้น แม้ภายนอกจะดูโปร่งใส แต่เมื่อดูจากตัวเลขที่ประมูลได้เกือบเท่างบประมาณเลยทีเดียว บางโครงการจะผิดจากงบประมาณเพียงแค่ 500-100 บาทเท่านั้น
ที่สำคัญคือ อาจจะซ้ำรอยโครงการในอดีตที่มีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกันอยู่ และกลายเป็นเพียงสิ่งที่ไม่มีค่า อาทิ ทางด่วนบางนา-ชลบุรี ฟ้องวงเงิน 6,000 ล้านบาท, โครงการบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ฯลฯ
‘งานน้ำ’ประมูลไม่โปร่งใสกระทบระดับชาติ
รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค ระบุด้วยว่า โครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่ามหาศาลอย่างโครงการนี้ เป็นที่ต้องการของหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน อเมริกา หรือญี่ปุ่น หากไม่มีความโปร่งใสในการแข่งขันก็อาจเป็นปัญหาระดับชาติได้ และจะเป็นภาพที่ไม่ดีต่อสายตานานาประเทศได้
เนื่องจากเห็นว่าไม่มีการแข่งขันที่เป็นธรรม ซึ่งตามกฎหมายของอเมริกาจะไม่มีการจ่ายเงินใต้โต๊ะ หากมาประมูลในประเทศไทยก็มักจะแพ้ตลอด และอาจเกิดความไม่พอใจที่เมื่อมีโครงการขนาดใหญ่ ในขณะที่อเมริกาเดือดร้อน ไทยกลับไม่ใช้อเมริกาแม้ว่าอเมริกาให้ข้อเสนอที่ดี ก็ตาม
ส่วนของประเทศญี่ปุ่นเองก็มีกฎหมายห้ามให้ใต้โต๊ะเหมือนกัน อาจมีการแอบให้บ้าง แต่ก็ไม่สามารถออกหน้าได้มาก
ขณะที่ประเทศจีนมีการแสดงตัวอย่างชัดเจนว่ามีความสัมพันธ์ที่ดีกับพรรครัฐบาลไทย อย่างในช่วงน้ำท่วม บริษัทจีนบางแห่งได้มอบเงินช่วย โดยพบนายกรัฐมนตรี เป็นต้น ซึ่งคาดว่างานครั้งนี้ประเทศจีนที่ร่วมมือกับประเทศไทยน่าจะได้ไป ซึ่งเป็นบริษัทที่รับสร้างเขื่อนทั่วโลกอยู่แล้ว
ทั้งนี้ เชื่อว่าเป็นการเจรจากันในระดับประเทศ ซึ่งปกติประเทศจีนจะรับก่อสร้างให้หลายประเทศ บางแห่งก็แลกกับทรัพยากร หรือสัมประทาน หรือบางครั้งก็ให้ผ่อนชำระก็มี จะเห็นได้ว่าในประเทศไทยบริษัทญี่ปุ่นในด้านการก่อสร้างเริ่มน้อยลง จะมีบริษัทจีนเข้ามารับงานแทน