ASTVผู้จัดการออนไลน์ - แม้ ครม.ยิ่งลักษณ์จะเลื่อนตัดสินใจเรื่องการขอใช้สนามบินอู่ตะเภาของสหรัฐฯ ออกไปในสัปดาห์หน้า แต่สังคมยังคงเคลือบแคลงสงสัยว่าผู้นำไทยมีผลประโยชน์ใดแอบแฝงหรือไม่ ขณะที่ “รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร” วิเคราะห์เบื้องหลังความต้องการใช้อู่ตะเภาของอเมริกา และความสุ่มเสี่ยงต่อการสร้างความหวาดระแวงจากกลุ่มต่อต้านอเมริกาและคู่แข่งอย่างจีนที่ประเทศไทยอาจต้องเผชิญ
กรณีที่หน่วยงานความมั่นคงสหรัฐอเมริกาเจรจากับฝ่ายไทยเพื่อขอใช้สนามบินอู่ตะเภาเป็นศูนย์ช่วยเหลือภัยพิบัติทางธรรมชาติและมนุษยธรรม รวมถึงองค์การการบินอวกาศของสหรัฐอเมริกา (NASA) ก็ขอร่วมศึกษา วิจัย สำรวจสภาพภูมิอากาศในเชิงอุตุนิยมวิทยานั้น ยังเป็นประเด็นร้อนแรงที่สังคมต้องจับตาอย่างใกล้ชิด ท่ามกลางความเคลือบแคลงว่าผู้นำไทยมีผลประโยชน์ใดแอบแฝงกับการยินยอมให้สหรัฐอเมริกาขนยุทโธปกรณ์และขนกองกำลังมาปักหลักอยู่ในสนามบิน ซึ่งแท้ที่จริงแล้วคือฐานทัพที่มีความสำคัญทั้งทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์มากที่สุดแห่งหนึ่งของอาเซียน
นอกจากนั้น ในแง่มุมของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การยินยอมให้สหรัฐฯ เข้ามาใช้สนามบินอู่ตะเภาก็ย่อมส่งผลกระทบและสร้างความหวาดระแวงให้แก่กลุ่มต่อต้านอเมริกา รวมถึงประเทศมหาอำนาจอย่างจีนที่เป็นคู่แข่งกับอเมริกาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและแนวความคิดทางการเมือง รวมถึงตะวันออกกลางและชาติอาเซียนที่มีความทรงจำเลวร้ายต่อสนามบินอู่ตะเภาที่อเมริกาเคยใช้เป็นฐานบินทิ้งระเบิดในสงครามอินโดจีน
รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ “ASTVผู้จัดการออนไลน์” โดยวิเคราะห์กรณีข้างต้นได้อย่างน่าสนใจ
ดร.ปณิธานมองว่า โครงการความร่วมมือดังกล่าวนั้น ผู้นำไทยควรทำให้มีความชัดเจนและโปร่งใส เพราะทุกวันนี้การเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งการเมืองในระดับโลกกำลังเกิดสภาวะใหม่ ซึ่งก็คือเกิดการแข่งขันทางยุทธศาสตร์ และเกิดการสร้างอิทธิพลระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศพันธมิตร ซึ่งในภูมิภาคเอเชียก็มีพันธมิตรสำคัญคืออินเดีย ออสเตรเลีย และสมาชิกในอาเซียนบางประเทศ ขณะที่ในบางประเทศแถบทะเลจีนตะวันออกอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้นั้นก็มีการรวมกลุ่มกันเป็นพันธมิตรทางการเมืองของสหรัฐฯ อยู่แล้ว นอกจากนั้นยังมีจีนที่กำลังมีบทบาทมากขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจ และการเมือง
ดังนั้น ท่ามกลางบรรยากาศที่มีการแข่งขันแบบนี้ การที่ไทยจะเปิดพื้นที่ให้มหาอำนาจเข้ามาใช้สนามบินอู่ตะเภาซึ่งแม้จะเป็นโครงการที่ดี แต่เราก็ต้องระมัดระวังต่อบรรยากาศที่ถูกส่งออกไปว่าเราเป็นพันธมิตรกับใครหรือไม่?
อีกประเด็นหนึ่งก็คือ ความร่วมมือดังกล่าวไปส่งเสริมศักยภาพด้านต่างๆ ตามที่ระบุไว้จริงๆ หรือไม่? การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งรวมถึงไทยจะเปิดพื้นที่ให้มหาอำนาจใช้นั้น แม้อาจจะเป็นพื้นฐานที่ดี เป็นโครงการเกี่ยวกับพลเรือน แต่เราก็อาจต้องระวัง ‘บรรยากาศ’ ที่จะมีการส่งออกไป นั่นคือท่าทีที่ถูกส่งไปว่าเราเป็นพันธมิตรกับกลุ่มนั้น-กลุ่มนี้ หรือไม่
ประเด็นสำคัญต่อมา ในทัศนะของ ดร.ปณิธานก็คือ ความโปร่งใสของวัตถุประสงค์ในการใช้สนามบินอู่ตะเภา ทั้งตั้งคำถามว่าเป็นการสร้างเสริมศักยภาพให้แก่การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์จริงๆ หรือมีวัตถุประสงค์ทางการทหารแอบแฝง
“เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าข้อมูลทางอากาศที่ได้รับการค้นคว้าจะไม่ถูกนำไปเสริมสร้างศักยภาพทางการทหาร เช่น การตรวจจับ การสื่อสารในอวกาศ การสร้างระบบการสู้รบใหม่ในอวกาศ เครื่องบินไร้คนขับแบบใหม่ หรือแม้แต่กองกำลังของสหรัฐฯ ที่เข้ามาเพื่อป้องกันภัยพิบัตินั้น แม้จริงๆ แล้วจะเป็นโครงการที่เรานำแสนอต่อที่ประชุมอาเซียนเมื่อประมาณเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งมีเวียดนาม และจีน ห้ความสนใจยินดีร่วมด้วย แต่โครงการดังกล่าวอเมริกาก็กลับให้ความสนใจและเดินหน้าผลักดันขอเข้ามาก่อน เอาทหารเข้ามาเพื่อช่วยเหลือ ซึ่งในหลักการยอมรับว่าดี แต่ในความเป็นจริง เมื่อมีทหาร มีอาวุธยุทโธปกรณ์เข้ามาแล้ว แม้จะไม่ใช่การรบแต่มันจะสร้างให้เกิดบรรยากาศความไม่ไว้วางใจกับเราไหม”
ครั้นทราบว่า ครม. มีมติให้เลื่อนการพิจารณากรณีสนามบินอู่ตะเภาออกไปก่อน ดร.ปณิธานมองว่าเป็นการตัดสินใจสิ่งที่เหมาะสม เพราะแสดงให้สหรัฐฯ เห็นว่าเราเป็นฝ่ายได้เปรียบ เป็นเจ้าของพื้นที่ที่ต้องมีการวางกรอบเงื่อนไขที่ชัดเจน ถึงกระนั้นก็ยังต้องจับตามองว่าเงื่อนไขต่างๆ ที่รัฐบาลจะชี้แจงสหรัฐฯ นั้น จะชี้ให้เห็นได้ชัดมากขึ้นว่าเราจะเสียเปรียบหรือได้เปรียบ
นอกจากยกตัวอย่างถึงเงื่อนไขที่อาจเสนอต่อสหรัฐฯ แล้ว ดร.ปณิธานได้ย้ำถึงรัฐบาลว่า ตอนนี้เราเป็นเจ้าของพื้นที่ เรามีข้อได้เปรียบเยอะมาก ดังนั้นต้องกำหนดเงื่อนไขให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้ไทยตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบเป็นเครื่องมือของสหรัฐอเมริกา เพราะพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ เป็นจุดกึ่งกลางของอาเซียน ทั้งยังอยู่ใกล้จีนกับอินเดีย และเป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีการสำรวจอย่างจริงจังนับแต่เกิดสงครามเวียดนาม
“ขณะนี้โครงการเก็บตัวอย่างทางอวกาศนี่พร้อมที่จะบินแล้ว อุปกรณ์บางอย่างทยอยมาแล้ว ส่วนโครงการที่สองคือการบรรเทาภัยพิบัตินั้น เราจะทำอย่างไร? เพราะเขามีอำนาจต่อรองสูง ซึ่งนี่แหละทำให้เกิดความหวาดระแวงในกลุ่มต่อต้านอเมริกาว่าสิ่งที่อเมริกาได้จะทำให้เขาลำบาก ดังนั้นไทยต้องดำเนินการให้ดี
“แต่สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ ภาพที่ถูกส่งออกไปแล้วว่าไทยกับอเมริกามีความร่วมมือกันมากขึ้น และอเมริกาได้กลับเข้ามาในพื้นที่ที่เป็นยุทธศาสตร์แล้ว และเดินโครงการเร็วมาก เราต้องตั้งรับแล้วว่าประเทศต่างๆ จะมองอย่างไร มันจะทำให้เกิดความหวาดระแวงขึ้น อาเซียนและตะวันออกกลางใกล้กันมาก ซึ่งอเมริกาก็ทำให้เห็นว่าเขาเป็นมิตรกับไทย เขาจะทำอะไรไทยก็ไม่ว่าอะไร ทำให้ประเทศเหล่านั้นมองไทยด้วยสายตาที่มีคำถาม”
…..................
*หมายเหตุ ติดตามอ่านบทสัมภาษณ์ รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร โดยละเอียด ใน ASTVสุดสัปดาห์ ฉบับวันเสาร์ที่ 23 มิ.ย. 2555-29 มิ.ย.2555
ถ่ายภาพโดย : พงษ์ฤทธิ์ฑา ขวัญเนตร
กรณีที่หน่วยงานความมั่นคงสหรัฐอเมริกาเจรจากับฝ่ายไทยเพื่อขอใช้สนามบินอู่ตะเภาเป็นศูนย์ช่วยเหลือภัยพิบัติทางธรรมชาติและมนุษยธรรม รวมถึงองค์การการบินอวกาศของสหรัฐอเมริกา (NASA) ก็ขอร่วมศึกษา วิจัย สำรวจสภาพภูมิอากาศในเชิงอุตุนิยมวิทยานั้น ยังเป็นประเด็นร้อนแรงที่สังคมต้องจับตาอย่างใกล้ชิด ท่ามกลางความเคลือบแคลงว่าผู้นำไทยมีผลประโยชน์ใดแอบแฝงกับการยินยอมให้สหรัฐอเมริกาขนยุทโธปกรณ์และขนกองกำลังมาปักหลักอยู่ในสนามบิน ซึ่งแท้ที่จริงแล้วคือฐานทัพที่มีความสำคัญทั้งทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์มากที่สุดแห่งหนึ่งของอาเซียน
นอกจากนั้น ในแง่มุมของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การยินยอมให้สหรัฐฯ เข้ามาใช้สนามบินอู่ตะเภาก็ย่อมส่งผลกระทบและสร้างความหวาดระแวงให้แก่กลุ่มต่อต้านอเมริกา รวมถึงประเทศมหาอำนาจอย่างจีนที่เป็นคู่แข่งกับอเมริกาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและแนวความคิดทางการเมือง รวมถึงตะวันออกกลางและชาติอาเซียนที่มีความทรงจำเลวร้ายต่อสนามบินอู่ตะเภาที่อเมริกาเคยใช้เป็นฐานบินทิ้งระเบิดในสงครามอินโดจีน
รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ “ASTVผู้จัดการออนไลน์” โดยวิเคราะห์กรณีข้างต้นได้อย่างน่าสนใจ
ดร.ปณิธานมองว่า โครงการความร่วมมือดังกล่าวนั้น ผู้นำไทยควรทำให้มีความชัดเจนและโปร่งใส เพราะทุกวันนี้การเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งการเมืองในระดับโลกกำลังเกิดสภาวะใหม่ ซึ่งก็คือเกิดการแข่งขันทางยุทธศาสตร์ และเกิดการสร้างอิทธิพลระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศพันธมิตร ซึ่งในภูมิภาคเอเชียก็มีพันธมิตรสำคัญคืออินเดีย ออสเตรเลีย และสมาชิกในอาเซียนบางประเทศ ขณะที่ในบางประเทศแถบทะเลจีนตะวันออกอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้นั้นก็มีการรวมกลุ่มกันเป็นพันธมิตรทางการเมืองของสหรัฐฯ อยู่แล้ว นอกจากนั้นยังมีจีนที่กำลังมีบทบาทมากขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจ และการเมือง
ดังนั้น ท่ามกลางบรรยากาศที่มีการแข่งขันแบบนี้ การที่ไทยจะเปิดพื้นที่ให้มหาอำนาจเข้ามาใช้สนามบินอู่ตะเภาซึ่งแม้จะเป็นโครงการที่ดี แต่เราก็ต้องระมัดระวังต่อบรรยากาศที่ถูกส่งออกไปว่าเราเป็นพันธมิตรกับใครหรือไม่?
อีกประเด็นหนึ่งก็คือ ความร่วมมือดังกล่าวไปส่งเสริมศักยภาพด้านต่างๆ ตามที่ระบุไว้จริงๆ หรือไม่? การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งรวมถึงไทยจะเปิดพื้นที่ให้มหาอำนาจใช้นั้น แม้อาจจะเป็นพื้นฐานที่ดี เป็นโครงการเกี่ยวกับพลเรือน แต่เราก็อาจต้องระวัง ‘บรรยากาศ’ ที่จะมีการส่งออกไป นั่นคือท่าทีที่ถูกส่งไปว่าเราเป็นพันธมิตรกับกลุ่มนั้น-กลุ่มนี้ หรือไม่
ประเด็นสำคัญต่อมา ในทัศนะของ ดร.ปณิธานก็คือ ความโปร่งใสของวัตถุประสงค์ในการใช้สนามบินอู่ตะเภา ทั้งตั้งคำถามว่าเป็นการสร้างเสริมศักยภาพให้แก่การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์จริงๆ หรือมีวัตถุประสงค์ทางการทหารแอบแฝง
“เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าข้อมูลทางอากาศที่ได้รับการค้นคว้าจะไม่ถูกนำไปเสริมสร้างศักยภาพทางการทหาร เช่น การตรวจจับ การสื่อสารในอวกาศ การสร้างระบบการสู้รบใหม่ในอวกาศ เครื่องบินไร้คนขับแบบใหม่ หรือแม้แต่กองกำลังของสหรัฐฯ ที่เข้ามาเพื่อป้องกันภัยพิบัตินั้น แม้จริงๆ แล้วจะเป็นโครงการที่เรานำแสนอต่อที่ประชุมอาเซียนเมื่อประมาณเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งมีเวียดนาม และจีน ห้ความสนใจยินดีร่วมด้วย แต่โครงการดังกล่าวอเมริกาก็กลับให้ความสนใจและเดินหน้าผลักดันขอเข้ามาก่อน เอาทหารเข้ามาเพื่อช่วยเหลือ ซึ่งในหลักการยอมรับว่าดี แต่ในความเป็นจริง เมื่อมีทหาร มีอาวุธยุทโธปกรณ์เข้ามาแล้ว แม้จะไม่ใช่การรบแต่มันจะสร้างให้เกิดบรรยากาศความไม่ไว้วางใจกับเราไหม”
ครั้นทราบว่า ครม. มีมติให้เลื่อนการพิจารณากรณีสนามบินอู่ตะเภาออกไปก่อน ดร.ปณิธานมองว่าเป็นการตัดสินใจสิ่งที่เหมาะสม เพราะแสดงให้สหรัฐฯ เห็นว่าเราเป็นฝ่ายได้เปรียบ เป็นเจ้าของพื้นที่ที่ต้องมีการวางกรอบเงื่อนไขที่ชัดเจน ถึงกระนั้นก็ยังต้องจับตามองว่าเงื่อนไขต่างๆ ที่รัฐบาลจะชี้แจงสหรัฐฯ นั้น จะชี้ให้เห็นได้ชัดมากขึ้นว่าเราจะเสียเปรียบหรือได้เปรียบ
นอกจากยกตัวอย่างถึงเงื่อนไขที่อาจเสนอต่อสหรัฐฯ แล้ว ดร.ปณิธานได้ย้ำถึงรัฐบาลว่า ตอนนี้เราเป็นเจ้าของพื้นที่ เรามีข้อได้เปรียบเยอะมาก ดังนั้นต้องกำหนดเงื่อนไขให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้ไทยตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบเป็นเครื่องมือของสหรัฐอเมริกา เพราะพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ เป็นจุดกึ่งกลางของอาเซียน ทั้งยังอยู่ใกล้จีนกับอินเดีย และเป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีการสำรวจอย่างจริงจังนับแต่เกิดสงครามเวียดนาม
“ขณะนี้โครงการเก็บตัวอย่างทางอวกาศนี่พร้อมที่จะบินแล้ว อุปกรณ์บางอย่างทยอยมาแล้ว ส่วนโครงการที่สองคือการบรรเทาภัยพิบัตินั้น เราจะทำอย่างไร? เพราะเขามีอำนาจต่อรองสูง ซึ่งนี่แหละทำให้เกิดความหวาดระแวงในกลุ่มต่อต้านอเมริกาว่าสิ่งที่อเมริกาได้จะทำให้เขาลำบาก ดังนั้นไทยต้องดำเนินการให้ดี
“แต่สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ ภาพที่ถูกส่งออกไปแล้วว่าไทยกับอเมริกามีความร่วมมือกันมากขึ้น และอเมริกาได้กลับเข้ามาในพื้นที่ที่เป็นยุทธศาสตร์แล้ว และเดินโครงการเร็วมาก เราต้องตั้งรับแล้วว่าประเทศต่างๆ จะมองอย่างไร มันจะทำให้เกิดความหวาดระแวงขึ้น อาเซียนและตะวันออกกลางใกล้กันมาก ซึ่งอเมริกาก็ทำให้เห็นว่าเขาเป็นมิตรกับไทย เขาจะทำอะไรไทยก็ไม่ว่าอะไร ทำให้ประเทศเหล่านั้นมองไทยด้วยสายตาที่มีคำถาม”
…..................
*หมายเหตุ ติดตามอ่านบทสัมภาษณ์ รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร โดยละเอียด ใน ASTVสุดสัปดาห์ ฉบับวันเสาร์ที่ 23 มิ.ย. 2555-29 มิ.ย.2555
ถ่ายภาพโดย : พงษ์ฤทธิ์ฑา ขวัญเนตร