รายละเอียดคำฟ้องคดี
ข้อ ๑ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีนางสาวจิราพร ลิ้มปานานนท์ เป็นประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้บริโภค รายละเอียดปรากฏตามสำเนาใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมหรือองค์การ ข้อบังคับ วัตถุประสงค์ ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เอกสารประกอบคำฟ้องหมายเลข ๑
ในการฟ้องคดีนี้คณะกรรมการของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีมติให้ฟ้องคดีและได้มอบอำนาจให้นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นผู้ฟ้องคดีแทน รายละเอียดปรากฏตามมติคณะกรรมการและหนังสือมอบอำนาจ เอกสารประกอบคำฟ้องหมายเลข ๒ และ ๓
ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๔ มอบอำนาจให้นายเฉลิมพงษ์ กลับดีและนายงามศักดิ์ โภคพูล เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีทางปกครองกับผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง ๓ ราย รายละเอียดปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจ เอกสารประกอบคำฟ้องหมายเลข ๔
ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ถึงที่ ๔ เป็นประชาชนผู้บริโภคที่ใช้บริการก๊าซฯ และเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหาย โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องมาจากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไป ซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นคณะบุคคลที่ประกอบด้วยบุคคลผู้มีตำแหน่งต่างๆกันหลายคน มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๗๑ อันประกอบด้วย หัวหน้าคณะ ๑ คน ซึ่งเรียกว่า นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอื่น ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มีหน้าที่กำกับ จัดหา พัฒนาและบริหารจัดการพลังงานและราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ เป็นคณะบุคคลที่ประกอบด้วยบุคคลผู้มีตำแหน่งต่างๆกันหลายคน ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดราคาพลังงานให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ และติดตาม ดูแล ประสาน สนับสนุน เร่งรัด การดำเนินการของคณะกรรมการทั้งหลายที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เพื่อให้มีการดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ และประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรี หรือ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มอบหมาย
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ เป็นบริษัทมหาชน จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๔ โดยการแปรสภาพจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โดยรับโอนกิจการ สิทธิ หนี้ความรับผิด สินทรัพย์ และพนักงานทั้งหมด ภายใต้พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ ทั้งนี้โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน ๒,๐๐๐ ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ ๑๐ บาท โดยได้ทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวันแรก ในวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ และมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ข้อ ๒ สืบเนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ และ ๓ มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๔ (ครั้งที่ ๑๓๘) โดยมีมติดังต่อไปนี้
๒.๑ เห็นชอบในนโยบายการกำหนดราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว LPG และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ NGV ดังนี้
๒.๑.๑ แนวทางการปรับโครงสร้างราคาขายปลีกก๊าซ LPG
๒.๑.๑.๑ ขยายระยะเวลาการตรึงราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนต่อไปจนถึงสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๕๕
๒.๑.๑.๒ ขยายระยะเวลาการตรึงราคาก๊าซ LPG ภาคขนส่งต่อไปจนถึงวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๕ เพื่อเตรียมจัดทำบัตรเครดิตพลังงาน และปรับเปลี่ยนรถแท็กซี่ LPG เป็น NGV โดยตั้งแต่วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๕ เริ่มปรับขึ้นราคาขายปลีกเดือนละ ๐.๗๕ บาทต่อกิโลกรัม (๐.๔๑ บาทต่อลิตร) โดยปรับพร้อมกับการขึ้นราคา NGV ๐.๕๐ บาทต่อกิโลกรัม จนไปสู่ต้นทุนโรงกลั่นน้ำมัน
๒.๑.๑.๓ กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับก๊าซที่ใช้เป็นวัตถุดิบ ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กิโลกรัมละ ๑ บาท ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
๒.๑.๒ แนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV
๒.๑.๒.๑ ขยายระยะเวลาตรึงราคาขายปลีก NGV ในระดับราคา ๘.๕๐ บาทต่อกิโลกรัม และคงอัตราเงินชดเชยในอัตรา ๒ บาทต่อกิโลกรัมต่อไป ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ จนถึงวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๕ เพื่อเตรียมความพร้อมเรื่องบัตรเครดิตพลังงานและการปรับเปลี่ยนรถแท็กซี่ LPG เป็น NGV
๒.๑.๒.๒ ทยอยปรับขึ้นราคาขายปลีก NGV เดือนละ ๐.๕๐ บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๕ จนถึงเดือนธันวาคม ๒๕๕๕ เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ใช้ NGV มากเกินไป
๒.๑.๒.๓ ทยอยปรับลดอัตราเงินชดเชยลงเดือนละ ๐.๕๐ บาทต่อกิโลกรัม จำนวน ๔ ครั้ง ตั้งแต่วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๕ - เดือนเมษายน ๒๕๕๕
๒.๑.๒.๔ ให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานรับไปพิจารณาหาแนวทางการช่วยเหลือกลุ่มรถ โดยสารสาธารณะ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากแนวทางการปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV รายละเอียดปรากฏตามเอกสารประกอบคำฟ้องหมายเลข ๕
ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ และ ๓ มีมติดังกล่าว เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ได้มีมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ ๕/๒๕๕๔ (ครั้งที่ ๑๓๘) ในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ มีมติเห็นชอบข้อเสนอแนวทางการปรับโครงสร้างราคา ดังนี้
๑) แนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG
ภาคครัวเรือน : ขอขยายระยะเวลาการตรึงราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนต่อไปจนถึงสิ้นปี ๒๕๕๕
ภาคขนส่ง : ขอขยายระยะเวลาการตรึงราคาก๊าซ LPG ภาคขนส่งต่อไปจนถึง ๑๕มกราคม ๒๕๕๕ เพื่อเตรียมจัดทำบัตรเครดิตพลังงาน และปรับเปลี่ยนรถแท็กซี่ LPG เป็น NGV โดยตั้งแต่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๕ เริ่มปรับขึ้นราคาขายปลีกเดือนละ ๐.๗๕ บาท/กก. (๐.๔๑ บาท/ลิตร) โดยปรับพร้อมกับการขึ้นราคา NGV ๐.๕๐ บาท/กก. จนไปสู่ต้นทุนโรงกลั่นน้ำมัน
ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี : กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับก๊าซที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กิโลกรัมละ ๑ บาท ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
๒) แนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV
(๑) ขยายระยะเวลาตรึงราคาขายปลีก NGV ในระดับราคา ๘.๕๐ บาท/กก. และคงอัตราเงินชดเชยในอัตรา ๒ บาท/กก. ต่อไปตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ จนถึง ๑๕ มกราคม ๒๕๕๕ เพื่อเตรียมความพร้อมเรื่องบัตรเครดิตพลังงานและการปรับเปลี่ยนรถแท็กซี่ LPG เป็น NGV
(๒) ทยอยปรับขึ้นราคาขายปลีก NGV เดือนละ ๐.๕๐ บาท/กก. ตั้งแต่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๕ จนถึงธันวาคม ๒๕๕๕ เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ใช้ NGV มากเกินไป
(๓) ทยอยปรับลดอัตราเงินชดเชยลงเดือนละ ๐.๕๐ บาท/กก. จำนวน ๔ ครั้ง ตั้งแต่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๕ - เมษายน ๒๕๕๕
(๔) เพื่อบรรเทาผลกระทบจากแนวทางการปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV สำหรับกลุ่มรถโดยสารสาธารณะ จึงมอบให้ คณะกรรมการบริหานนโยบายพลังงาน ( กบง.) รับไปพิจารณาหาแนวทางการช่วยเหลือกลุ่มดังกล่าวต่อไป รายละเอียดปรากฏตามเอกสารประกอบคำฟ้องหมายเลข ๖
ข้อ ๓ การปรับขึ้นราคากาซ NGV และ LPG ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์จะส่งผลให้ ณ สิ้นปี ๒๕๕๕ ราคาขายปลีกก๊าซ NGV จากปัจจุบันที่ขายในราคา ๘.๕๐ บาทต่อกิโลกรัม จะเพิ่มขึ้นอีก ๖ บาทต่อกิโลกรัม รวมเป็น ๑๔.๕๐ บาทต่อกิโลกรัม หรือสูงขึ้นร้อยละ ๗๐ จากราคาเดิม ส่วนราคาขายปลีกก๊าซ LPG จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ ๑๑.๑๔ บาท ต่อลิตร เมื่อถึงสิ้นปี ๒๕๕๕ ก๊าซ LPG จะมีราคาขายปลีกสูงเพิ่มขึ้น ๔.๙๒ บาทต่อลิตร รวมเป็น ๑๖.๐๖ บาทต่อลิตร หรือเท่ากับร้อยละ ๔๔ ของราคาเดิม ดังนั้นการขึ้นราคาดังกล่าว จึงก่อให้เกิดความเดือดร้อนกับกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล รถยนต์สาธารณะ รถขนส่งสินค้า และประชาชนผู้บริโภคทั่วไป
กรณีที่ ๑ การขึ้นราคาก๊าซ NGV
สืบเนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ได้ถูกแปรรูปเป็นบริษัทมหาชน เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๔ และมีกิจการในเครือที่เกี่ยวข้องกับกิจการพลังงานทุกภาคส่วน คือตั้งแต่การสำรวจและผลิต , การขนส่งก๊าซผ่านท่อ รวมไปถึงกิจการโรงแยก โรงกลั่นและการจำหน่าย การขายส่ง การค้าปลีก จึงเป็นกิจการที่ผูกขาดแบบครบวงจรในกิจการพลังงานของประเทศไทย จึงเป็นผู้มีอิทธิพลในการกำหนดทิศทางการใช้พลังงาน และราคาพลังงานของประเทศ และเป็นผู้จัดทำข้อมูลราคาซื้อขายและต้นทุนที่มุ่งผลกำไรสูงสุด เสนอผ่านกระทรวงพลังงาน ที่มีผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นคณะกรรมการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ และปลัดกระทรวงพลังงานยังเป็นประธานกรรมการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ด้วย เพื่อให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ใช้ประกอบการพิจารณาการขึ้นราคา โดยกำหนดข้อมูลราคาต้นทุนก๊าซที่สูงกว่าต้นทุนราคาตลาดโลกเกือบสองเท่า กล่าวคือข้อมูลต้นทุนเนื้อก๊าซ ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ นำเสนอข้อมูลต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ และประชาสัมพันธ์ต่อประชาชนทั่วไป โดยกำหนดราคาอยู่ที่ ๘.๓๙ บาทต่อกิโลกรัมนั้น เป็นราคาก๊าซธรรมชาติที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ขายให้กับโรงไฟฟ้า จึงเป็นราคาที่รวมกำไรแล้ว มิใช่ต้นทุนที่แท้จริง
ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดโลก อาทิเช่น ราคาก๊าซธรรมชาติของประเทศสหรัฐอเมริกาในแหล่ง Henry Hub ราคาเฉลี่ยทั้งปี ๒๕๕๔ อยู่ที่ประมาณ ๔.๒๙ บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น รายละเอียดปรากฏตามเอกสารประชาสัมพันธ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ และตารางเปรียบเทียบโครงสร้างราคาขายปลีกก๊าซ NGV เอกสารประกอบคำฟ้องหมายเลข ๗ และ ๘
เมื่อเปรียบเทียบโครงสร้างราคาจำหน่ายปลีกก๊าซ NGV ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ เสนอ ซึ่งอยู่ที่ราคา ๑๔.๙๖ บาทต่อกิโลกรัม ประกอบด้วยต้นทุนเนื้อก๊าซ ๘.๓๙ บาท ค่าบริหารจัดการและขนส่ง ๕.๕๖ บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีค่าการตลาด ๑.๐๑ บาท และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ เห็นชอบ ให้ขึ้นราคาไปจนถึงสิ้นปี ๒๕๕๕ ซึ่งอยู่ที่ราคา ๑๔.๕๐ บาทนั้น จะสูงกว่าราคาขายปลีกเฉลี่ยของตลาดโลกในปี ๒๕๕๔ ซึ่งอยู่ที่ราคา ๗.๕๗ บาท เกือบสองเท่าเช่นกัน รายละเอียดปรากฏตามเอกสารประกอบคำฟ้องหมายเลข ๘ ที่อ้างแล้ว
อนึ่ง ต้นทุนค่าบริหารจัดการและค่าขนส่งในส่วนของสถานีบริการก๊าซ NGV ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ เสนออยู่ที่ราคา ๕.๕๖ บาทต่อกิโลกรัม และที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ เห็นชอบนั้น เป็นต้นทุนที่สูงภายใต้การบริหารจัดการที่ไร้ประสิทธิภาพ เนื่องจากการขนส่งก๊าซ NGV ที่เหมาะสมควรดำเนินการขนส่งผ่านทางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และให้ตั้งสถานีบริการตามแนวท่อฯ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ กลับจัดให้มีสถานีบริการก๊าซ NGV นอกแนวท่อส่งก๊าซเป็นจำนวนมากถึง ๓๔๙ แห่ง จาก ๔๕๓ แห่ง ทำให้มีต้นทุนที่สูงมาก เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการขาดทุนของก๊าซ NGV เนื่องจากต้องมีต้นทุนเพิ่มในการก่อสร้างสถานีแม่ สถานีลูก
อีกทั้งยังเกิดปัญหาต่อผู้บริโภค เนื่องจากสถานีบริการ NGV นอกแนวท่อฯ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณใกล้ชุมชนที่ไม่มีแนวท่อก๊าซธรรมชาติผ่าน จึงต้องพึ่งพารถบรรทุกพ่วง(Trailer) ซึ่งมีต้นทุนที่สูง ขนส่ง NGV จากสถานีจ่ายก๊าซฯ หลัก ซึ่งการขนส่ง NGV ในแต่ละเที่ยวจะขนส่งในสถานะที่เป็นก๊าซจึงบรรจุได้ในปริมาณน้อย มีระยะเวลาที่ใช้ในการขนส่งนาน มีค่าใช้จ่ายที่สูง ทำให้สถานีบริการ NGV นอกแนวท่อฯ นี้มีปริมาณ NGV สำหรับบริการแก่ผู้ใช้รถ NGV ไม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่ความต้องการใช้สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ และผู้ใช้ NGV จะต้องรอจนกว่ารถขนส่งก๊าซ NGV รอบถัดไปจะมาถึง
ต้นทุนที่สูงกว่าของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ นอกจากจะเป็นการบริหารกิจการที่ไม่มีประสิทธิภาพแล้ว หรืออาจจะเกิดจากการทุจริต มีการผ่องถ่ายกำไร ให้กับบริษัทในเครือของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ที่มีกิจการก๊าซธรรมชาติ และมีกำไรสูงขึ้นทุกปี โดยในปี ๒๕๕๓ - ๒๕๕๔ มีผลกำไรไม่น้อยกว่า ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท ขณะที่ราคาขายปลีกก๊าซธรรมชาติต่อผู้บริโภคมีสภาพของการขาดทุน ทำให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ ใช้มาตรการชดเชยจากกองทุนน้ำมัน ซึ่งเป็นเงินโดยตรงของผู้บริโภค โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และปลัดกระทรวงพลังงาน ใช้อำนาจของตนเอง ในการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ และส่งผลต่อผลประโยชน์ของตนเอง
ดังนั้นการเห็นชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ ตามข้อมูลที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ นำเสนอ จึงเป็นการพิจารณาที่ขาดการตรวจสอบและเปรียบเทียบข้อมูลที่ครบถ้วนอย่างรอบด้าน เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ เป็นผู้กำกับดูแลและบางคนเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากผลประกอบการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ซึ่งอาจจะทำให้ออกดุลพินิจหรือคำแนะนำที่ไม่สุจริตได้
กรณีที่ ๒ การขึ้นราคาก๊าซ LPG
สืบเนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ ให้เหตุผลว่าการใช้ก๊าซ LPG ของภาคยานยนต์ เป็นเหตุให้ปริมาณก๊าซ LPG มีไม่เพียงพอ ต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ ทำให้ต้องมีการนำเข้าก๊าซ LPG จากต่างประเทศ และทำให้เกิดภาระการชดเชยส่วนต่างของราคาก๊าซ LPG ที่นำเข้าจากต่างประเทศ
แต่ข้อเท็จจริงคือ ในปี ๒๕๕๓ ประเทศไทยสามารถผลิตก๊าซ LPG ได้ ๔.๔ ล้านตัน พบว่าภาคครัวเรือนใช้อยู่ที่ ๒.๔ ล้านตัน และในภาคยานยนต์ใช้อยู่ที่ ๖.๘ แสนตัน รวมแล้วเท่ากับ ๓.๑ ล้านตันเท่านั้น ยังเหลืออีก ๑.๓ ล้านตัน สำหรับใช้ในกิจการอื่นๆ แต่พบว่าในปีดังกล่าว ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีใช้ก๊าซ LPG มากถึง ๑.๕๙ ล้านตัน จึงทำให้ก๊าซ LPG ที่ผลิตได้ภายในประเทศไม่เพียงพอ และต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ
ที่ผ่านมายังพบอีกว่า จากปี ๒๕๕๑ - ๒๕๕๓ การใช้ก๊าซ LPG ของกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นถึง ๖๘% คืออยู่ที่ ๙ แสนตัน , ๑.๒๘ ล้านตัน และ ๑.๕๙ ล้านตัน เรียงตามลำดับ ในขณะที่การใช้ก๊าซ LPG ของกลุ่มยานยนต์มีสัดส่วนที่ลดลง รายละเอียดปรากฏตาม ตารางเปรียบเทียบข้อมูลก๊าซธรรมชาติ เอกสารประกอบคำฟ้องหมายเลข ๙
จากข้อเท็จจริงที่กล่าวมาแล้ว การใช้ก๊าซ LPG ของกลุ่มอุตสาหกรรมจึงเป็นสาเหตุแท้จริงที่ทำให้ก๊าซ LPG ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดภาระการชดเชยจากการนำเข้าจาก ต่างประเทศ ตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๕๑ - กันยายน ๒๕๕๔ คิดเป็นเงินประมาณ ๕๗,๓๓๙ ล้านบาท ซึ่งแทนที่รัฐบาลจะไปจัดเก็บเงินค่าก๊าซ LPG กับกลุ่มปิโตรเคมีเพิ่มขึ้น กลับกำหนดให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ใช้ก๊าซเป็นวัตถุดิบ ส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพียงกิโลกรัมละ ๑ บาทเท่านั้น ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ใช้ก๊าซ LPG ต้องจ่ายเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมัน ในอัตรากิโลกรัมละ ๘ - ๑๑ บาท (ในช่วงปี ๒๕๕๕ เป็นต้นไป) และยังผลักภาระมาให้ประชาชนด้วยการขึ้นราคา LPG อีกด้วย
นอกจากนี้ รัฐได้ใช้เงินกองทุนน้ำมัน ซึ่งเป็นเงินของผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท ในการสนับสนุนให้รถยนต์ขนาดเล็กปรับเปลี่ยนการใช้ก๊าซ LPG เป็น NGV จำนวนมาก ทำให้เกิดการขนส่งนอกแนวท่อก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นนโยบายที่บิดเบี้ยวของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และ ๔ เพื่อลดการใช้ก๊าซ LPG เนื่องจากก๊าซ LPG มีความสำคัญและเป็นที่ต้องการสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ และที่ ๕ ได้รับประโยชน์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม นอกจากนี้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และ ๔ ยังได้พิจารณาให้นำเงินจากกองทุนน้ำมัน เพื่อชดเชยจากการนำเข้าก๊าซ LPG จากต่างประเทศ ตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๕๑ - กันยายน ๒๕๕๔ คิดเป็นเงินประมาณ ๕๗,๓๓๙ ล้านบาท ให้กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ โดยที่ธุรกิจปิโตรเคมี ไม่ได้รับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้แต่ประการใด ก่อนหน้าที่จะมีมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔
ดังนั้น มติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ ในการอนุมัติให้ขึ้นราคากับภาคขนส่งและอุตสาหกรรมบางส่วน จึงเป็นคำสั่งหรือมติที่มิชอบ รวมทั้งมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจที่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยผลักภาระให้ประชาชน และไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน แต่กลับมองเห็นถึงผลประโยชน์ส่วนตน ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ เป็นเจ้าของกิจการ และมีบริษัทในเครือหลายแห่ง ที่ประกอบกิจการด้านอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยใช้ก๊าซ LPG เป็นวัตถุดิบสำคัญในการประกอบกิจการ รายละเอียดปรากฏตาม รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจปิโตรเคมีในเครือผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ เอกสารประกอบคำฟ้องหมายเลข ๑๐
ข้อ ๓ ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ เห็นว่ามติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ และ ๓ มีมติโดยอาศัยข้อเท็จจริงจากมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และ ๔ และมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และ ๔ ก็อาศัยข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้องครบถ้วนจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ทั้งนี้ข้อเท็จจริงดังกล่าว เป็นข้อเท็จจริงที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่เป็นประโยชน์แก่มหาชนแต่อย่างใด ผู้ถูกฟ้องคดี ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ กลับมิได้ตรวจสอบทัดทาน แก้ไขหรือฟังข้อมูลให้ครบถ้วน กลับมีมติเห็นชอบตามคำร้องขอของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ให้ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ และ ๓ มีมติอนุมัติ อันเป็นการกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการกระทำอื่นใดโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ ทั้งที่ในภาวะปัจจุบัน เพิ่งจะผ่านความทุกข์ยากจากอุทกภัย การประกาศขึ้นราคาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ ไม่สมควร ไม่มีความจำเป็น และไม่เร่งด่วน ที่จะปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV และ LPG ทำให้ประชาชนผู้บริโภคเดือดร้อน เกิดผลกระทบต่อเนื่อง โดยส่วนรวม และเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕
นอกจากนี้ ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ (ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๔๗ก วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐ ) มีผลบังคับใช้ ซึ่งบทบัญญัติในมาตรา ๕๖ , ๕๗ , ๕๗ วรรค ๒ , ๕๘, ๖๑ และ ๘๔ (๑๐) บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในการเข้าถึง ข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะที่อยู่ในความครอบครองของราชการหรือหน่วยงานของรัฐ , สิทธิในการได้รับคำชี้แจงและเหตุผลทางราชการและหน่วยงานของรัฐ , สิทธิในการมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติราชการทางปกครอง , สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับการคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภคทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ ๗ ว่าด้วยแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ มาตรา ๘๔ (๕) ได้บัญญัติถึงหน้าที่ของรัฐว่า รัฐ จะต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ โดยกำกับให้การประกอบกิจการมีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดตัดตอน ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมและคุ้มครองผู้บริโภค
ดังนั้น มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ ๕/๒๕๕๔ (ครั้งที่ ๑๓๘) ของผู้ถูกฟ้องที่ ๓ และ ๔ ที่ออกโดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และ ๔ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใด เนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น หรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาขนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
เมื่อเป็นดังนี้ แม้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ และ ๓ จะมีมติเห็นชอบมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และ ๔ ครั้งที่ ๕/๒๕๕๔ (ครั้งที่ ๑๓๘) กรณีจึงถือได้ว่ามติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ เป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีลักษณะการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม และเป็นการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร ทั้งเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจเอกชนให้มีอำนาจเหนือตลาดและก่อให้เกิดการผูกขาด รวมทั้งเอื้อประโยชน์ให้ข้าราชการระดับสูงที่มีหน้าที่ผู้กำกับดูแลกิจการพลังงานด้วย
ด้วยเหตุดังที่ได้ประทานกราบเรียนต่อศาลมาแล้วข้างต้น ขอศาลปกครองได้โปรดพิจารณาพิพากษาดังนี้
๑ ขอให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ ที่เห็นชอบมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ ๕/๒๕๕๔ (ครั้งที่ ๑๓๗) วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔
๒ ขอให้เพิกถอนมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔
๓ ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และ ๒ เปิดเผยต้นทุนที่แท้จริงของราคาเนื้อก๊าซ รวมถึงให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่นอกเหนือจากข้อมูลของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องโดยตรง เพื่อกำหนดราคาที่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
๔ ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และ ๒ รับฟังความคิดเห็นจากองค์กรหรือผู้แทนผู้บริโภค ประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการรถยนต์ รถยนต์สาธารณะ ภาคการขนส่ง รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมอื่นๆที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อประกอบการตัดสินใจทุกครั้งก่อนมีการดำเนินการ ตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญมาตรา ๖๑
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ผู้รับมอบอำนาจผู้ฟ้องคดีทั้ง ๔
นายเฉลิมพงษ์ กลับดี
ข้อ ๑ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีนางสาวจิราพร ลิ้มปานานนท์ เป็นประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้บริโภค รายละเอียดปรากฏตามสำเนาใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมหรือองค์การ ข้อบังคับ วัตถุประสงค์ ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เอกสารประกอบคำฟ้องหมายเลข ๑
ในการฟ้องคดีนี้คณะกรรมการของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีมติให้ฟ้องคดีและได้มอบอำนาจให้นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นผู้ฟ้องคดีแทน รายละเอียดปรากฏตามมติคณะกรรมการและหนังสือมอบอำนาจ เอกสารประกอบคำฟ้องหมายเลข ๒ และ ๓
ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๔ มอบอำนาจให้นายเฉลิมพงษ์ กลับดีและนายงามศักดิ์ โภคพูล เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีทางปกครองกับผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง ๓ ราย รายละเอียดปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจ เอกสารประกอบคำฟ้องหมายเลข ๔
ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ถึงที่ ๔ เป็นประชาชนผู้บริโภคที่ใช้บริการก๊าซฯ และเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหาย โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องมาจากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไป ซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นคณะบุคคลที่ประกอบด้วยบุคคลผู้มีตำแหน่งต่างๆกันหลายคน มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๗๑ อันประกอบด้วย หัวหน้าคณะ ๑ คน ซึ่งเรียกว่า นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอื่น ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มีหน้าที่กำกับ จัดหา พัฒนาและบริหารจัดการพลังงานและราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ เป็นคณะบุคคลที่ประกอบด้วยบุคคลผู้มีตำแหน่งต่างๆกันหลายคน ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดราคาพลังงานให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ และติดตาม ดูแล ประสาน สนับสนุน เร่งรัด การดำเนินการของคณะกรรมการทั้งหลายที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เพื่อให้มีการดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ และประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรี หรือ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มอบหมาย
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ เป็นบริษัทมหาชน จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๔ โดยการแปรสภาพจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โดยรับโอนกิจการ สิทธิ หนี้ความรับผิด สินทรัพย์ และพนักงานทั้งหมด ภายใต้พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ ทั้งนี้โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน ๒,๐๐๐ ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ ๑๐ บาท โดยได้ทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวันแรก ในวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ และมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ข้อ ๒ สืบเนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ และ ๓ มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๔ (ครั้งที่ ๑๓๘) โดยมีมติดังต่อไปนี้
๒.๑ เห็นชอบในนโยบายการกำหนดราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว LPG และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ NGV ดังนี้
๒.๑.๑ แนวทางการปรับโครงสร้างราคาขายปลีกก๊าซ LPG
๒.๑.๑.๑ ขยายระยะเวลาการตรึงราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนต่อไปจนถึงสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๕๕
๒.๑.๑.๒ ขยายระยะเวลาการตรึงราคาก๊าซ LPG ภาคขนส่งต่อไปจนถึงวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๕ เพื่อเตรียมจัดทำบัตรเครดิตพลังงาน และปรับเปลี่ยนรถแท็กซี่ LPG เป็น NGV โดยตั้งแต่วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๕ เริ่มปรับขึ้นราคาขายปลีกเดือนละ ๐.๗๕ บาทต่อกิโลกรัม (๐.๔๑ บาทต่อลิตร) โดยปรับพร้อมกับการขึ้นราคา NGV ๐.๕๐ บาทต่อกิโลกรัม จนไปสู่ต้นทุนโรงกลั่นน้ำมัน
๒.๑.๑.๓ กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับก๊าซที่ใช้เป็นวัตถุดิบ ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กิโลกรัมละ ๑ บาท ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
๒.๑.๒ แนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV
๒.๑.๒.๑ ขยายระยะเวลาตรึงราคาขายปลีก NGV ในระดับราคา ๘.๕๐ บาทต่อกิโลกรัม และคงอัตราเงินชดเชยในอัตรา ๒ บาทต่อกิโลกรัมต่อไป ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ จนถึงวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๕ เพื่อเตรียมความพร้อมเรื่องบัตรเครดิตพลังงานและการปรับเปลี่ยนรถแท็กซี่ LPG เป็น NGV
๒.๑.๒.๒ ทยอยปรับขึ้นราคาขายปลีก NGV เดือนละ ๐.๕๐ บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๕ จนถึงเดือนธันวาคม ๒๕๕๕ เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ใช้ NGV มากเกินไป
๒.๑.๒.๓ ทยอยปรับลดอัตราเงินชดเชยลงเดือนละ ๐.๕๐ บาทต่อกิโลกรัม จำนวน ๔ ครั้ง ตั้งแต่วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๕ - เดือนเมษายน ๒๕๕๕
๒.๑.๒.๔ ให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานรับไปพิจารณาหาแนวทางการช่วยเหลือกลุ่มรถ โดยสารสาธารณะ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากแนวทางการปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV รายละเอียดปรากฏตามเอกสารประกอบคำฟ้องหมายเลข ๕
ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ และ ๓ มีมติดังกล่าว เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ได้มีมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ ๕/๒๕๕๔ (ครั้งที่ ๑๓๘) ในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ มีมติเห็นชอบข้อเสนอแนวทางการปรับโครงสร้างราคา ดังนี้
๑) แนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG
ภาคครัวเรือน : ขอขยายระยะเวลาการตรึงราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนต่อไปจนถึงสิ้นปี ๒๕๕๕
ภาคขนส่ง : ขอขยายระยะเวลาการตรึงราคาก๊าซ LPG ภาคขนส่งต่อไปจนถึง ๑๕มกราคม ๒๕๕๕ เพื่อเตรียมจัดทำบัตรเครดิตพลังงาน และปรับเปลี่ยนรถแท็กซี่ LPG เป็น NGV โดยตั้งแต่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๕ เริ่มปรับขึ้นราคาขายปลีกเดือนละ ๐.๗๕ บาท/กก. (๐.๔๑ บาท/ลิตร) โดยปรับพร้อมกับการขึ้นราคา NGV ๐.๕๐ บาท/กก. จนไปสู่ต้นทุนโรงกลั่นน้ำมัน
ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี : กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับก๊าซที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กิโลกรัมละ ๑ บาท ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
๒) แนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV
(๑) ขยายระยะเวลาตรึงราคาขายปลีก NGV ในระดับราคา ๘.๕๐ บาท/กก. และคงอัตราเงินชดเชยในอัตรา ๒ บาท/กก. ต่อไปตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ จนถึง ๑๕ มกราคม ๒๕๕๕ เพื่อเตรียมความพร้อมเรื่องบัตรเครดิตพลังงานและการปรับเปลี่ยนรถแท็กซี่ LPG เป็น NGV
(๒) ทยอยปรับขึ้นราคาขายปลีก NGV เดือนละ ๐.๕๐ บาท/กก. ตั้งแต่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๕ จนถึงธันวาคม ๒๕๕๕ เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ใช้ NGV มากเกินไป
(๓) ทยอยปรับลดอัตราเงินชดเชยลงเดือนละ ๐.๕๐ บาท/กก. จำนวน ๔ ครั้ง ตั้งแต่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๕ - เมษายน ๒๕๕๕
(๔) เพื่อบรรเทาผลกระทบจากแนวทางการปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV สำหรับกลุ่มรถโดยสารสาธารณะ จึงมอบให้ คณะกรรมการบริหานนโยบายพลังงาน ( กบง.) รับไปพิจารณาหาแนวทางการช่วยเหลือกลุ่มดังกล่าวต่อไป รายละเอียดปรากฏตามเอกสารประกอบคำฟ้องหมายเลข ๖
ข้อ ๓ การปรับขึ้นราคากาซ NGV และ LPG ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์จะส่งผลให้ ณ สิ้นปี ๒๕๕๕ ราคาขายปลีกก๊าซ NGV จากปัจจุบันที่ขายในราคา ๘.๕๐ บาทต่อกิโลกรัม จะเพิ่มขึ้นอีก ๖ บาทต่อกิโลกรัม รวมเป็น ๑๔.๕๐ บาทต่อกิโลกรัม หรือสูงขึ้นร้อยละ ๗๐ จากราคาเดิม ส่วนราคาขายปลีกก๊าซ LPG จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ ๑๑.๑๔ บาท ต่อลิตร เมื่อถึงสิ้นปี ๒๕๕๕ ก๊าซ LPG จะมีราคาขายปลีกสูงเพิ่มขึ้น ๔.๙๒ บาทต่อลิตร รวมเป็น ๑๖.๐๖ บาทต่อลิตร หรือเท่ากับร้อยละ ๔๔ ของราคาเดิม ดังนั้นการขึ้นราคาดังกล่าว จึงก่อให้เกิดความเดือดร้อนกับกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล รถยนต์สาธารณะ รถขนส่งสินค้า และประชาชนผู้บริโภคทั่วไป
กรณีที่ ๑ การขึ้นราคาก๊าซ NGV
สืบเนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ได้ถูกแปรรูปเป็นบริษัทมหาชน เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๔ และมีกิจการในเครือที่เกี่ยวข้องกับกิจการพลังงานทุกภาคส่วน คือตั้งแต่การสำรวจและผลิต , การขนส่งก๊าซผ่านท่อ รวมไปถึงกิจการโรงแยก โรงกลั่นและการจำหน่าย การขายส่ง การค้าปลีก จึงเป็นกิจการที่ผูกขาดแบบครบวงจรในกิจการพลังงานของประเทศไทย จึงเป็นผู้มีอิทธิพลในการกำหนดทิศทางการใช้พลังงาน และราคาพลังงานของประเทศ และเป็นผู้จัดทำข้อมูลราคาซื้อขายและต้นทุนที่มุ่งผลกำไรสูงสุด เสนอผ่านกระทรวงพลังงาน ที่มีผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นคณะกรรมการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ และปลัดกระทรวงพลังงานยังเป็นประธานกรรมการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ด้วย เพื่อให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ใช้ประกอบการพิจารณาการขึ้นราคา โดยกำหนดข้อมูลราคาต้นทุนก๊าซที่สูงกว่าต้นทุนราคาตลาดโลกเกือบสองเท่า กล่าวคือข้อมูลต้นทุนเนื้อก๊าซ ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ นำเสนอข้อมูลต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ และประชาสัมพันธ์ต่อประชาชนทั่วไป โดยกำหนดราคาอยู่ที่ ๘.๓๙ บาทต่อกิโลกรัมนั้น เป็นราคาก๊าซธรรมชาติที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ขายให้กับโรงไฟฟ้า จึงเป็นราคาที่รวมกำไรแล้ว มิใช่ต้นทุนที่แท้จริง
ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดโลก อาทิเช่น ราคาก๊าซธรรมชาติของประเทศสหรัฐอเมริกาในแหล่ง Henry Hub ราคาเฉลี่ยทั้งปี ๒๕๕๔ อยู่ที่ประมาณ ๔.๒๙ บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น รายละเอียดปรากฏตามเอกสารประชาสัมพันธ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ และตารางเปรียบเทียบโครงสร้างราคาขายปลีกก๊าซ NGV เอกสารประกอบคำฟ้องหมายเลข ๗ และ ๘
เมื่อเปรียบเทียบโครงสร้างราคาจำหน่ายปลีกก๊าซ NGV ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ เสนอ ซึ่งอยู่ที่ราคา ๑๔.๙๖ บาทต่อกิโลกรัม ประกอบด้วยต้นทุนเนื้อก๊าซ ๘.๓๙ บาท ค่าบริหารจัดการและขนส่ง ๕.๕๖ บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีค่าการตลาด ๑.๐๑ บาท และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ เห็นชอบ ให้ขึ้นราคาไปจนถึงสิ้นปี ๒๕๕๕ ซึ่งอยู่ที่ราคา ๑๔.๕๐ บาทนั้น จะสูงกว่าราคาขายปลีกเฉลี่ยของตลาดโลกในปี ๒๕๕๔ ซึ่งอยู่ที่ราคา ๗.๕๗ บาท เกือบสองเท่าเช่นกัน รายละเอียดปรากฏตามเอกสารประกอบคำฟ้องหมายเลข ๘ ที่อ้างแล้ว
อนึ่ง ต้นทุนค่าบริหารจัดการและค่าขนส่งในส่วนของสถานีบริการก๊าซ NGV ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ เสนออยู่ที่ราคา ๕.๕๖ บาทต่อกิโลกรัม และที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ เห็นชอบนั้น เป็นต้นทุนที่สูงภายใต้การบริหารจัดการที่ไร้ประสิทธิภาพ เนื่องจากการขนส่งก๊าซ NGV ที่เหมาะสมควรดำเนินการขนส่งผ่านทางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และให้ตั้งสถานีบริการตามแนวท่อฯ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ กลับจัดให้มีสถานีบริการก๊าซ NGV นอกแนวท่อส่งก๊าซเป็นจำนวนมากถึง ๓๔๙ แห่ง จาก ๔๕๓ แห่ง ทำให้มีต้นทุนที่สูงมาก เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการขาดทุนของก๊าซ NGV เนื่องจากต้องมีต้นทุนเพิ่มในการก่อสร้างสถานีแม่ สถานีลูก
อีกทั้งยังเกิดปัญหาต่อผู้บริโภค เนื่องจากสถานีบริการ NGV นอกแนวท่อฯ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณใกล้ชุมชนที่ไม่มีแนวท่อก๊าซธรรมชาติผ่าน จึงต้องพึ่งพารถบรรทุกพ่วง(Trailer) ซึ่งมีต้นทุนที่สูง ขนส่ง NGV จากสถานีจ่ายก๊าซฯ หลัก ซึ่งการขนส่ง NGV ในแต่ละเที่ยวจะขนส่งในสถานะที่เป็นก๊าซจึงบรรจุได้ในปริมาณน้อย มีระยะเวลาที่ใช้ในการขนส่งนาน มีค่าใช้จ่ายที่สูง ทำให้สถานีบริการ NGV นอกแนวท่อฯ นี้มีปริมาณ NGV สำหรับบริการแก่ผู้ใช้รถ NGV ไม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่ความต้องการใช้สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ และผู้ใช้ NGV จะต้องรอจนกว่ารถขนส่งก๊าซ NGV รอบถัดไปจะมาถึง
ต้นทุนที่สูงกว่าของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ นอกจากจะเป็นการบริหารกิจการที่ไม่มีประสิทธิภาพแล้ว หรืออาจจะเกิดจากการทุจริต มีการผ่องถ่ายกำไร ให้กับบริษัทในเครือของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ที่มีกิจการก๊าซธรรมชาติ และมีกำไรสูงขึ้นทุกปี โดยในปี ๒๕๕๓ - ๒๕๕๔ มีผลกำไรไม่น้อยกว่า ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท ขณะที่ราคาขายปลีกก๊าซธรรมชาติต่อผู้บริโภคมีสภาพของการขาดทุน ทำให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ ใช้มาตรการชดเชยจากกองทุนน้ำมัน ซึ่งเป็นเงินโดยตรงของผู้บริโภค โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และปลัดกระทรวงพลังงาน ใช้อำนาจของตนเอง ในการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ และส่งผลต่อผลประโยชน์ของตนเอง
ดังนั้นการเห็นชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ ตามข้อมูลที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ นำเสนอ จึงเป็นการพิจารณาที่ขาดการตรวจสอบและเปรียบเทียบข้อมูลที่ครบถ้วนอย่างรอบด้าน เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ เป็นผู้กำกับดูแลและบางคนเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากผลประกอบการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ซึ่งอาจจะทำให้ออกดุลพินิจหรือคำแนะนำที่ไม่สุจริตได้
กรณีที่ ๒ การขึ้นราคาก๊าซ LPG
สืบเนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ ให้เหตุผลว่าการใช้ก๊าซ LPG ของภาคยานยนต์ เป็นเหตุให้ปริมาณก๊าซ LPG มีไม่เพียงพอ ต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ ทำให้ต้องมีการนำเข้าก๊าซ LPG จากต่างประเทศ และทำให้เกิดภาระการชดเชยส่วนต่างของราคาก๊าซ LPG ที่นำเข้าจากต่างประเทศ
แต่ข้อเท็จจริงคือ ในปี ๒๕๕๓ ประเทศไทยสามารถผลิตก๊าซ LPG ได้ ๔.๔ ล้านตัน พบว่าภาคครัวเรือนใช้อยู่ที่ ๒.๔ ล้านตัน และในภาคยานยนต์ใช้อยู่ที่ ๖.๘ แสนตัน รวมแล้วเท่ากับ ๓.๑ ล้านตันเท่านั้น ยังเหลืออีก ๑.๓ ล้านตัน สำหรับใช้ในกิจการอื่นๆ แต่พบว่าในปีดังกล่าว ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีใช้ก๊าซ LPG มากถึง ๑.๕๙ ล้านตัน จึงทำให้ก๊าซ LPG ที่ผลิตได้ภายในประเทศไม่เพียงพอ และต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ
ที่ผ่านมายังพบอีกว่า จากปี ๒๕๕๑ - ๒๕๕๓ การใช้ก๊าซ LPG ของกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นถึง ๖๘% คืออยู่ที่ ๙ แสนตัน , ๑.๒๘ ล้านตัน และ ๑.๕๙ ล้านตัน เรียงตามลำดับ ในขณะที่การใช้ก๊าซ LPG ของกลุ่มยานยนต์มีสัดส่วนที่ลดลง รายละเอียดปรากฏตาม ตารางเปรียบเทียบข้อมูลก๊าซธรรมชาติ เอกสารประกอบคำฟ้องหมายเลข ๙
จากข้อเท็จจริงที่กล่าวมาแล้ว การใช้ก๊าซ LPG ของกลุ่มอุตสาหกรรมจึงเป็นสาเหตุแท้จริงที่ทำให้ก๊าซ LPG ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดภาระการชดเชยจากการนำเข้าจาก ต่างประเทศ ตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๕๑ - กันยายน ๒๕๕๔ คิดเป็นเงินประมาณ ๕๗,๓๓๙ ล้านบาท ซึ่งแทนที่รัฐบาลจะไปจัดเก็บเงินค่าก๊าซ LPG กับกลุ่มปิโตรเคมีเพิ่มขึ้น กลับกำหนดให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ใช้ก๊าซเป็นวัตถุดิบ ส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพียงกิโลกรัมละ ๑ บาทเท่านั้น ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ใช้ก๊าซ LPG ต้องจ่ายเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมัน ในอัตรากิโลกรัมละ ๘ - ๑๑ บาท (ในช่วงปี ๒๕๕๕ เป็นต้นไป) และยังผลักภาระมาให้ประชาชนด้วยการขึ้นราคา LPG อีกด้วย
นอกจากนี้ รัฐได้ใช้เงินกองทุนน้ำมัน ซึ่งเป็นเงินของผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท ในการสนับสนุนให้รถยนต์ขนาดเล็กปรับเปลี่ยนการใช้ก๊าซ LPG เป็น NGV จำนวนมาก ทำให้เกิดการขนส่งนอกแนวท่อก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นนโยบายที่บิดเบี้ยวของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และ ๔ เพื่อลดการใช้ก๊าซ LPG เนื่องจากก๊าซ LPG มีความสำคัญและเป็นที่ต้องการสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ และที่ ๕ ได้รับประโยชน์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม นอกจากนี้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และ ๔ ยังได้พิจารณาให้นำเงินจากกองทุนน้ำมัน เพื่อชดเชยจากการนำเข้าก๊าซ LPG จากต่างประเทศ ตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๕๑ - กันยายน ๒๕๕๔ คิดเป็นเงินประมาณ ๕๗,๓๓๙ ล้านบาท ให้กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ โดยที่ธุรกิจปิโตรเคมี ไม่ได้รับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้แต่ประการใด ก่อนหน้าที่จะมีมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔
ดังนั้น มติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ ในการอนุมัติให้ขึ้นราคากับภาคขนส่งและอุตสาหกรรมบางส่วน จึงเป็นคำสั่งหรือมติที่มิชอบ รวมทั้งมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจที่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยผลักภาระให้ประชาชน และไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน แต่กลับมองเห็นถึงผลประโยชน์ส่วนตน ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ เป็นเจ้าของกิจการ และมีบริษัทในเครือหลายแห่ง ที่ประกอบกิจการด้านอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยใช้ก๊าซ LPG เป็นวัตถุดิบสำคัญในการประกอบกิจการ รายละเอียดปรากฏตาม รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจปิโตรเคมีในเครือผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ เอกสารประกอบคำฟ้องหมายเลข ๑๐
ข้อ ๓ ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ เห็นว่ามติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ และ ๓ มีมติโดยอาศัยข้อเท็จจริงจากมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และ ๔ และมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และ ๔ ก็อาศัยข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้องครบถ้วนจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ทั้งนี้ข้อเท็จจริงดังกล่าว เป็นข้อเท็จจริงที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่เป็นประโยชน์แก่มหาชนแต่อย่างใด ผู้ถูกฟ้องคดี ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ กลับมิได้ตรวจสอบทัดทาน แก้ไขหรือฟังข้อมูลให้ครบถ้วน กลับมีมติเห็นชอบตามคำร้องขอของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ให้ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ และ ๓ มีมติอนุมัติ อันเป็นการกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการกระทำอื่นใดโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ ทั้งที่ในภาวะปัจจุบัน เพิ่งจะผ่านความทุกข์ยากจากอุทกภัย การประกาศขึ้นราคาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ ไม่สมควร ไม่มีความจำเป็น และไม่เร่งด่วน ที่จะปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV และ LPG ทำให้ประชาชนผู้บริโภคเดือดร้อน เกิดผลกระทบต่อเนื่อง โดยส่วนรวม และเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕
นอกจากนี้ ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ (ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๔๗ก วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐ ) มีผลบังคับใช้ ซึ่งบทบัญญัติในมาตรา ๕๖ , ๕๗ , ๕๗ วรรค ๒ , ๕๘, ๖๑ และ ๘๔ (๑๐) บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในการเข้าถึง ข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะที่อยู่ในความครอบครองของราชการหรือหน่วยงานของรัฐ , สิทธิในการได้รับคำชี้แจงและเหตุผลทางราชการและหน่วยงานของรัฐ , สิทธิในการมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติราชการทางปกครอง , สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับการคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภคทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ ๗ ว่าด้วยแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ มาตรา ๘๔ (๕) ได้บัญญัติถึงหน้าที่ของรัฐว่า รัฐ จะต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ โดยกำกับให้การประกอบกิจการมีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดตัดตอน ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมและคุ้มครองผู้บริโภค
ดังนั้น มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ ๕/๒๕๕๔ (ครั้งที่ ๑๓๘) ของผู้ถูกฟ้องที่ ๓ และ ๔ ที่ออกโดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และ ๔ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใด เนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น หรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาขนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
เมื่อเป็นดังนี้ แม้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ และ ๓ จะมีมติเห็นชอบมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และ ๔ ครั้งที่ ๕/๒๕๕๔ (ครั้งที่ ๑๓๘) กรณีจึงถือได้ว่ามติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ , ๒ , ๓ และ ๔ เป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีลักษณะการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม และเป็นการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร ทั้งเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจเอกชนให้มีอำนาจเหนือตลาดและก่อให้เกิดการผูกขาด รวมทั้งเอื้อประโยชน์ให้ข้าราชการระดับสูงที่มีหน้าที่ผู้กำกับดูแลกิจการพลังงานด้วย
ด้วยเหตุดังที่ได้ประทานกราบเรียนต่อศาลมาแล้วข้างต้น ขอศาลปกครองได้โปรดพิจารณาพิพากษาดังนี้
๑ ขอให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ ที่เห็นชอบมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ ๕/๒๕๕๔ (ครั้งที่ ๑๓๗) วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔
๒ ขอให้เพิกถอนมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔
๓ ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และ ๒ เปิดเผยต้นทุนที่แท้จริงของราคาเนื้อก๊าซ รวมถึงให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่นอกเหนือจากข้อมูลของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องโดยตรง เพื่อกำหนดราคาที่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
๔ ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และ ๒ รับฟังความคิดเห็นจากองค์กรหรือผู้แทนผู้บริโภค ประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการรถยนต์ รถยนต์สาธารณะ ภาคการขนส่ง รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมอื่นๆที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อประกอบการตัดสินใจทุกครั้งก่อนมีการดำเนินการ ตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญมาตรา ๖๑
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ผู้รับมอบอำนาจผู้ฟ้องคดีทั้ง ๔
นายเฉลิมพงษ์ กลับดี