ASTVผู้จัดการออนไลน์ - องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ส่งจดหมายเปิดผนึกจี้ “อนุพงษ์” สั่งยกเลิกการใช้เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด จีที 200 เลิกบัญชีดำผู้ต้องสงสัยเหยื่อไม้ล้างป่าช้า พร้อมทั้งขอให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการจัดซื้อทุจริตคอร์รัปชั่นหรือไม่
วันนี้ (26 ก.พ.) องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน 5 องค์กร ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก เพื่อขอให้กองทัพบกยกเลิกการใช้เครื่องตรวจวัตถุระเบิดจีที 200 และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรม รวมทั้งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการจัดซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวว่ามีการทุจริตคอร์รัปชั่นหรือไม่ โดยเนื้อความในจดหมาย ระบุดังนี้
ตามที่ได้มีผลการ ตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศยืนยันตรงกันว่าเครื่องตรวจวัตถุระเบิด จีที ๒๐๐ ไม่มีประสิทธิภาพ มีผลทำให้ทางราชการได้ระงับการจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวแล้ว แต่ทางกองทัพบกและหน่วยงานราชการบางแห่งยังยืนยันที่จะใช้เครื่องมือดังกล่าว โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อไปนั้น
จากการตรวจสอบพบว่า ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งอยู่ภายใต้การประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งให้อำนาจเจ้าหน้าที่อย่างกว้างขวางในการตรวจค้นและจับกุมบุคคลผู้ต้องสงสัยเกี่ยวกับความมั่นคง เจ้าหน้าที่ได้ใช้เครื่องตรวจวัตถุระเบิด จีที 200 ชี้ตัวบุคคลผู้ต้องสงสัยโดยอ้างว่าตรวจพบสารตั้งต้นวัตถุระเบิดในตัวบุคคลหรือเสื้อผ้า แล้วใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ควบคุมตัวบุคลที่ต้องสงสัยได้นานถึง 37 วัน ทำให้บุคคลเหล่านั้นสูญเสียอิสรภาพโดยไม่มีข้อกล่าวหาในทางอาญา เป็นการควบคุมตัวไม่ชอบและขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66ซึ่งได้ให้หลักประกันเสรีภาพบุคคลไว้ด้วยว่า การจะออกหมายจับต้องมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิด
นอกจากนั้น ยังขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550มาตรา 39ที่ว่า คดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539อันเป็นผลให้ประเทศไทยมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม โดยข้อ 14 ข้อ 2 ย่อยที่บัญญัติว่า “บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดอาญา ต้องมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด” ซึ่งบทบัญญัติของกฎหมายทั้งสองฉบับและกติการะหว่างประเทศนี้ มีไว้เพื่อประกันว่าสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลจะไม่ถูกละเมิดโดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ
นอกจากนั้น ยังพบว่า ผู้ที่เคยถูกควบคุมตัวเนื่องจากการใช้เครื่องจีที 200 ได้ถูกทางราชการขึ้นบัญชีดำ (Blacklist) ไว้ ทำให้ประสพกับความเดือดร้อนและกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพอย่างยิ่ง เช่น ถูกตรวจเข้มเป็นพิเศษในระหว่างเดินทาง ถูกติดตามตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง กลายเป็นผู้ต้องสงสัยของรัฐอย่างไม่วันจบสิ้น จึงขอเรียกร้องให้กองทัพบกดำเนินการ ดังนี้
1.ให้ยกเลิกการใช้เครื่องตรวจวัตถุระเบิด จีที 200 ทั้งหมด
2.ให้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีการจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวว่ามีการทุจริตคอรัปชั่นหรือไม่
3.ให้ยกเลิกบัญชีดำบุคคลที่ตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง เนื่องจากการใช้เครื่องจีที 200
4.ให้ชดเชยและเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้เครื่องจีที 200 โดยเจ้าหน้าที่อย่างรีบด่วน
สำหรับรายชื่อองค์การด้านสิทธิมนุษยชนที่เข้าชื่อร้องเรียนครั้งนี้ ประกอบด้วย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม, เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน, สถาบันพัฒนานักกฎหมายและสิทธิมนุษยชน, ศูนย์ทนายความมุสลิม และคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน
วันนี้ (26 ก.พ.) องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน 5 องค์กร ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก เพื่อขอให้กองทัพบกยกเลิกการใช้เครื่องตรวจวัตถุระเบิดจีที 200 และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรม รวมทั้งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการจัดซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวว่ามีการทุจริตคอร์รัปชั่นหรือไม่ โดยเนื้อความในจดหมาย ระบุดังนี้
ตามที่ได้มีผลการ ตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศยืนยันตรงกันว่าเครื่องตรวจวัตถุระเบิด จีที ๒๐๐ ไม่มีประสิทธิภาพ มีผลทำให้ทางราชการได้ระงับการจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวแล้ว แต่ทางกองทัพบกและหน่วยงานราชการบางแห่งยังยืนยันที่จะใช้เครื่องมือดังกล่าว โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อไปนั้น
จากการตรวจสอบพบว่า ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งอยู่ภายใต้การประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งให้อำนาจเจ้าหน้าที่อย่างกว้างขวางในการตรวจค้นและจับกุมบุคคลผู้ต้องสงสัยเกี่ยวกับความมั่นคง เจ้าหน้าที่ได้ใช้เครื่องตรวจวัตถุระเบิด จีที 200 ชี้ตัวบุคคลผู้ต้องสงสัยโดยอ้างว่าตรวจพบสารตั้งต้นวัตถุระเบิดในตัวบุคคลหรือเสื้อผ้า แล้วใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ควบคุมตัวบุคลที่ต้องสงสัยได้นานถึง 37 วัน ทำให้บุคคลเหล่านั้นสูญเสียอิสรภาพโดยไม่มีข้อกล่าวหาในทางอาญา เป็นการควบคุมตัวไม่ชอบและขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66ซึ่งได้ให้หลักประกันเสรีภาพบุคคลไว้ด้วยว่า การจะออกหมายจับต้องมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิด
นอกจากนั้น ยังขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550มาตรา 39ที่ว่า คดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539อันเป็นผลให้ประเทศไทยมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม โดยข้อ 14 ข้อ 2 ย่อยที่บัญญัติว่า “บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดอาญา ต้องมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด” ซึ่งบทบัญญัติของกฎหมายทั้งสองฉบับและกติการะหว่างประเทศนี้ มีไว้เพื่อประกันว่าสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลจะไม่ถูกละเมิดโดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ
นอกจากนั้น ยังพบว่า ผู้ที่เคยถูกควบคุมตัวเนื่องจากการใช้เครื่องจีที 200 ได้ถูกทางราชการขึ้นบัญชีดำ (Blacklist) ไว้ ทำให้ประสพกับความเดือดร้อนและกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพอย่างยิ่ง เช่น ถูกตรวจเข้มเป็นพิเศษในระหว่างเดินทาง ถูกติดตามตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง กลายเป็นผู้ต้องสงสัยของรัฐอย่างไม่วันจบสิ้น จึงขอเรียกร้องให้กองทัพบกดำเนินการ ดังนี้
1.ให้ยกเลิกการใช้เครื่องตรวจวัตถุระเบิด จีที 200 ทั้งหมด
2.ให้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีการจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวว่ามีการทุจริตคอรัปชั่นหรือไม่
3.ให้ยกเลิกบัญชีดำบุคคลที่ตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง เนื่องจากการใช้เครื่องจีที 200
4.ให้ชดเชยและเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้เครื่องจีที 200 โดยเจ้าหน้าที่อย่างรีบด่วน
สำหรับรายชื่อองค์การด้านสิทธิมนุษยชนที่เข้าชื่อร้องเรียนครั้งนี้ ประกอบด้วย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม, เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน, สถาบันพัฒนานักกฎหมายและสิทธิมนุษยชน, ศูนย์ทนายความมุสลิม และคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน