ยะลา - นักวิชาการยะลาชี้ นายกเตรียมใช้มาตรา 21 พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ เปิดโอกาสผู้หลงผิดมอบตัวเป็นนิมิตรหมายที่ดี ที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
หลังจากที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรับมนตรี ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ จะใช้มาตรา 21 ของ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ที่เปิดโอกาสให้ผู้กระทำผิด หรือผู้ที่ก่อเหตุร้ายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้ามอบตัว เจ้าหน้าที่จะส่งเข้าอบรมโดยจะไม่ต้องถูกดำเนินคดี สำหรับเนื้อหาของ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ มาตรา 21 ระบุว่า ภายในเขตพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ กอ.รมน. ดำเนินการตามมาตรา 15 (พื้นที่เกิดเหตุการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคง) หากปรากฏว่าผู้ใดต้องหาว่าได้กระทำความผิดอันมีผลกระทบต่อความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักรตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
แต่กลับใจเข้ามอบตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนแล้วปรากฏว่าผู้นั้นได้ กระทำไปเพราะหลงผิดหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และการเปิดโอกาสให้ผู้นั้นกลับตัวจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร ในการนี้ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนของผู้ต้องหา นั้น พร้อมทั้งความเห็นของพนักงานสอบสวนไปให้ ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในกรณีที่ผู้อำนวยการเห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานสอบสวนให้ส่งสำนวนพร้อม ความเห็นของผู้อำนวยการให้พนักงานอัยการเพื่อยื่นคำร้องต่อศาล
หากเห็นมีความสมควร ศาลอาจสั่งให้ส่งผู้ต้องหานั้นให้ผู้อำนวยการเพื่อเข้ารับการอบรม ณ สถานที่ที่กำหนดเป็นเวลาไม่เกินหกเดือน และปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นที่ศาล กำหนดด้วยก็ได้ การดำเนินการตามวรรคสอง ให้ศาลสั่งได้ต่อเมื่อผู้ต้องหานั้นยินยอมเข้ารับการอบรม และปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว เมื่อผู้ต้องหาได้เข้ารับการอบรมและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดดังกล่าวแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องผู้ต้องหานั้นเป็นอันระงับไป
ด้าน ผศ.เอกฉัตร วิทยอภิบาลกุล นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฎยะลา กล่าวว่า เหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นั้น ณ.วันนี้ ผ่านมาแล้วร่วม 6 ปี ทุกคนทราบดีว่ามีบุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ ค่อนข้างจะมีจำนวนมาก แต่ว่าบุคคลแต่ละคนก็มาจากหลายหลายความคิด และหลากหลายคุณลักษณะที่ได้กระทำ ดังนั้นกระบวนการหนึ่งทางสังคม ที่จะแก้ปัญหา และสามารถที่จะมาช่วยเหลือได้ คือ สถาบันครอบครัว ต้องมีการสร้างความเข้มแข็งทางสังคมในจุดนั้น เพื่อจะมาแก้ปัญหาในระยะยาว
อีกส่วนหนึ่งคือกระบวนการทางการเมือง มาตรา 21 ของ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ปี 51 ต้องการที่จะเยียวยาในส่วนของบุคคลที่กระทำไปด้วยการหลงผิด หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การกระทำนั้น หากบุคคลดังกล่าว สามารถกลับตัวกลับใจ มาช่วย และเป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในลักษณะนี้อะไรก็แล้วแต่ ที่เป็นเครื่องมือของรัฐ ทั้งกระบวนการออกกกหมาย หรือ การบังคับใช้กฎหมายต่างๆ รวบถึงกลไกของรับต่างๆ ในส่วนของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ ถ้าได้คำนึงถึงผลประโยชน์ ของการรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อย และความสันติสุขในพื้นที่
หรืออะไรก็แล้วแต่ คิดว่าเป็นเรื่องที่ดี คือการเปิดโอกาสให้บุคคลมามอบตัว ใน พ.ร.บ. ตามมาตรา 21 กำหนดไว้ชัดเจนว่า ลักษณะของบุคคลดังกล่าว คงเป็นลักษณะที่ได้กระทำไปด้วยความหลงผิด ที่ได้กลับเข้าสู้กระบวนการเยียวยา ทางสังคม และทางกกหมาย เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู เข้าสู่กระบวนการอบรมทางด้านจิตใจ ขัดเกลาทางจิตใจ แล้วส่งกลับสู่สังคม เพื่อนำมามีส่วนร่วมในการมาแก้ปัญหา ตนเองเชื่อว่าเป็นมิติที่ดีทางหนึ่งของทางรับบาล ที่มองทางสังคมโดยอาศัยกลไกทางภาคการเมืองเป็นตัวนำ
นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฎยะลา ยังกล่าวอีกว่า ในวันนี้รัฐบาลได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์เป็นค่อนข้างมาก จากผู้ที่มอบตัว หรือ ผู้ที่ถูกจับกุม และถูกควบคุมตัว ขอให้รัฐบาลมองภาพในทุกๆ มิติ อะไรก็แล้วแต่ หรือ บุคคลใด ที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ดำเนินการต่อไปอย่างมีระบบมากยิ่งขึ้น ควบคู่กับความปลอดภัยของผู้ให้ข้อมูล