การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวานนี้ (4พ.ย.) เริ่มเมื่อเวลา13.30 น. โดยมีนายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานการประชุม ซึ่งได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการปฏิบัติต่ออากาศยานที่กระทำผิดกฎหมาย พ.ศ. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว เป็นการพิจารณาต่อจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันพุธที่ 28 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งกฎหมายดังกล่าวมีทั้งหมด 32 มาตรา โดยมีหลักการและสาระสำคัญคือ เนื่องจากปัจจุบันการใช้อากาศยานกระทำผิดกฎหมายในลักษณะที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ หรือเป็นภัยต่อสาธารณะ มีความหลากหลายมากขึ้น จำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารที่มีความเชี่ยวชาญ และให้มีการประสานกันมาขึ้นในการปฎิบัติต่ออากาศยานนั้น แต่ด้วย พ.ร.บ.ว่าด้วยการปฏิบัติต่ออากาศยานที่กระทำผิดกฎหมาย พ.ศ. 2519 ยังมีบทบัญญัติที่ไม่ชัดเจน เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ฝ่ายทหารในการตรวจและพิสูจน์ฝ่ายการสกัดและยึดอากาศยาน และการจับ ควบคุม และการสืบสวนสอบสวนเบื้องต้นผู้ควบคุมอากาศยานและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะลงมติเห็นชอบร่างฯ ในวาระที่ 3 ประธานได้ตรวจสอบองค์ประชุมก่อนที่จะมีการลงมตินั้นนายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ได้ขอให้ประธานในที่ประชุมตรวจสอบองค์ประชุมอีกครั้ง เพราะเกรงว่าจะไม่ครบองค์ประชุม แต่นายสุวโรช พะลัง ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าในการลงมติในมาตรา 32 ที่ประชุมได้ลงมติเห็นด้วยตามที่คณะกรรมาธิการเสียงข้างมากแก้ไขด้วยคะแนนที่เกินกึ่งหนึ่ง ดังนั้นแสดงว่าองค์ประชุมครบแล้ว และให้ดำเนินการลงมติไปเลย แต่ประธานได้สั่งพักการประชุม 10 นาที
เมื่อเริ่มประชุมอีกครั้ง พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นทำหน้าที่ประธาน พร้อมทั้งได้เปิดโอกาสให้ ส.ส.ซักถาม โดยนายสุนัย กล่าวว่าเมื่อสักครู่ตนเป็นผู้หนึ่งที่ให้นับองค์ประชุมใหม่ด้วยความสุภาพที่สุด เพราะองค์ประชุมสภาฯ แห่งนี้เกิดการคลาดเคลื่อนหลายครั้งแล้ว ซึ่งกติกาใหม่ได้ให้ความสำคัญกับองค์ประชุม แต่ตนสังเกตหลายครั้งว่า ตอนที่ประธานลงไปตรวจสอบองค์ประชุมไม่บอกเลยว่าครบหรือไม่ครบ เชื่อว่ามีการตกลงกันหน้าบัลลังก์ประธานในที่ประชุมกับคนที่ตรวจสอบองค์ประชุม โดยเฉพาะในช่วงที่ นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ เป็นประธานในที่ประชุม เมื่อไม่ครบก็รีบรวบรัดตัดตอน ปิดการประชุม เรื่องนี้ไม่ใช่ฝ่ายค้านเป็นพวกหูหนวก ตาบอด และที่ตนพูดก็เพื่อให้ทุกฝ่ายตาสว่างสักที
ภายหลังจากที่มีการถกเถียงกันเรื่ององค์ประชุมเกือบหนึ่งชั่วโมง ก่อนลงมติได้มีการเช็กองค์ประชุม พบว่ามีเสียงองค์ประชุม 238 คน ถือว่าเสียงเกินกึ่งหนึ่งพอดี ทำให้ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย ได้ประท้วงว่าเชื่อว่ามีการกดบัตรแทนกัน ทำให้พ.อ.อภิวันท์ ตัดบทว่าจะเสนอให้ประธานสภาฯ ตั้งคณะกรรมการสอบการกดบัตรแทนกัน
แต่ส.ส.ฝ่ายค้าน ไม่พอใจ พากันลุกขึ้นทยอยเดินออกจากห้องประชุม เหลือเฉพาะส.ส.ซีกรัฐบาลเท่นั้น แต่พ.อ.อภิวันท์ ได้ให้ที่ประชุมลงมติร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวจนจบกระบวนการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากฝ่ายค้านได้เดินออกจากห้องประชุมนั้น ก็มีบางส่วนไปหลบอยู่ด้านหลังห้องประชุม เพื่อสังเกตุการณ์ ประมาณ 5 นาที ส.ส.ฝ่ายค้านบางส่วนได้เดินเข้ามาในห้องประชุมต่อ
หลังการลงมติเสร็จสิ้นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่าในสภาฯ ชุดปัจจุบัน ยังไม่มีการวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญในเรื่ององค์ประชุมแต่อย่างใด แต่พ.อ.อภิวันท์ ยืนยันว่าสมัย สนช. มีแน่ และแม้ไม่มีคำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญ ตนก็วินิจฉัยตามข้อเท็จจริง เมื่อฝ่ายค้านเขาแสดงเจตจำนงว่าไม่อยากร่วมประชุม ก็ไม่ถือว่าเป็นองค์ประชุม และเพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย ก็ให้มีการแก้ไขข้อบังคับการประชุมให้นับองค์ประชุมตามข้อเท็จจริง ซึ่งขอให้ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล และประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน หารือกันเพื่อแก้ไขปัญหา ไม่เช่นนั้นการประชุม ก็ไม่สามารถเดินต่อไปได้
จากนั้นการประชุมยังไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ เพราะส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ขอให้ พ.อ.อภิวันท์ ถอนคำวินิจฉัยเรื่ององค์ประชุม แต่ในซีกฝ่ายค้าน ส.ส.จากพรรคเพื่อไทย ต่างลุกขึ้นประท้วงจนวุ่นวาย เรื่องการกดบัตรแทนกัน ทำให้พ.อ.อภิวันท์ ตัดบทให้ประธานวิปฝ่ายค้าน และประธานวิปรัฐบาลไปหารือกันในเรื่องนี้
ขณะที่ส.ส.พรรคเพื่อไทย เสนอให้ปิดประชุมอ้างว่า เมื่อมีปัญหาก็ไม่ควรที่จะถกเถียงกันต่อไป และสนับสนุนให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเรื่องการนับองค์ประชุม แต่ฝ่าย พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วย อ้างว่าไม่มีประเด็นอะไรที่ต้องตรวจสอบในที่สุด พ.อ.อภิวันท์ ได้สรุป ให้กมธ.กิจการสภาฯ พิจารณาเรื่องนี้ ในที่สุดบรรยากาศก็สงบลงได้ หลังจากส.ส.ถกเถียงกันนานกว่า 2 ชั่วโมง
จากนั้นการประชุมดำเนินไปจนถึงเวลา 19.15 น.และเตรียมลงมติรับหลักการร่างพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ในท้องที่เขตบางเขน สายไหม และเขตคลองสามวา กทม.ที่ครม.เป็นผู้เสนอ พ.อ.อภิวันท์ ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้ขอตรวจสอบองค์ประชุมก่อนที่จะมีการลงมติ ปรากฏว่ามีสมาชิกอยู่ในห้องประชุมเพียง 234 คน รวมพ.อ.อภิวันท์ ที่แสดงตนอยู่ในห้องประชุมด้วยเป็น 235 คน ถือว่าไม่ครบกึ่งหนึ่งขององค์ประชุม ที่ต้องมีเสียงกึ่งหนึ่งคือ 238 เสียง จากจำนวน 475 คน ทำให้พ.อ.อภิวันท์ ต้องขอเลื่อนการลงมติ และชิงปิดประชุมในเวลา 19.20 น. ซึ่งถือว่าองค์ประชุมสภาฯ ต้องล่มเป็นครั้งที่สองติดต่อกันในรอบสองสัปดาห์
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะลงมติเห็นชอบร่างฯ ในวาระที่ 3 ประธานได้ตรวจสอบองค์ประชุมก่อนที่จะมีการลงมตินั้นนายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ได้ขอให้ประธานในที่ประชุมตรวจสอบองค์ประชุมอีกครั้ง เพราะเกรงว่าจะไม่ครบองค์ประชุม แต่นายสุวโรช พะลัง ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าในการลงมติในมาตรา 32 ที่ประชุมได้ลงมติเห็นด้วยตามที่คณะกรรมาธิการเสียงข้างมากแก้ไขด้วยคะแนนที่เกินกึ่งหนึ่ง ดังนั้นแสดงว่าองค์ประชุมครบแล้ว และให้ดำเนินการลงมติไปเลย แต่ประธานได้สั่งพักการประชุม 10 นาที
เมื่อเริ่มประชุมอีกครั้ง พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นทำหน้าที่ประธาน พร้อมทั้งได้เปิดโอกาสให้ ส.ส.ซักถาม โดยนายสุนัย กล่าวว่าเมื่อสักครู่ตนเป็นผู้หนึ่งที่ให้นับองค์ประชุมใหม่ด้วยความสุภาพที่สุด เพราะองค์ประชุมสภาฯ แห่งนี้เกิดการคลาดเคลื่อนหลายครั้งแล้ว ซึ่งกติกาใหม่ได้ให้ความสำคัญกับองค์ประชุม แต่ตนสังเกตหลายครั้งว่า ตอนที่ประธานลงไปตรวจสอบองค์ประชุมไม่บอกเลยว่าครบหรือไม่ครบ เชื่อว่ามีการตกลงกันหน้าบัลลังก์ประธานในที่ประชุมกับคนที่ตรวจสอบองค์ประชุม โดยเฉพาะในช่วงที่ นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ เป็นประธานในที่ประชุม เมื่อไม่ครบก็รีบรวบรัดตัดตอน ปิดการประชุม เรื่องนี้ไม่ใช่ฝ่ายค้านเป็นพวกหูหนวก ตาบอด และที่ตนพูดก็เพื่อให้ทุกฝ่ายตาสว่างสักที
ภายหลังจากที่มีการถกเถียงกันเรื่ององค์ประชุมเกือบหนึ่งชั่วโมง ก่อนลงมติได้มีการเช็กองค์ประชุม พบว่ามีเสียงองค์ประชุม 238 คน ถือว่าเสียงเกินกึ่งหนึ่งพอดี ทำให้ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย ได้ประท้วงว่าเชื่อว่ามีการกดบัตรแทนกัน ทำให้พ.อ.อภิวันท์ ตัดบทว่าจะเสนอให้ประธานสภาฯ ตั้งคณะกรรมการสอบการกดบัตรแทนกัน
แต่ส.ส.ฝ่ายค้าน ไม่พอใจ พากันลุกขึ้นทยอยเดินออกจากห้องประชุม เหลือเฉพาะส.ส.ซีกรัฐบาลเท่นั้น แต่พ.อ.อภิวันท์ ได้ให้ที่ประชุมลงมติร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวจนจบกระบวนการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากฝ่ายค้านได้เดินออกจากห้องประชุมนั้น ก็มีบางส่วนไปหลบอยู่ด้านหลังห้องประชุม เพื่อสังเกตุการณ์ ประมาณ 5 นาที ส.ส.ฝ่ายค้านบางส่วนได้เดินเข้ามาในห้องประชุมต่อ
หลังการลงมติเสร็จสิ้นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่าในสภาฯ ชุดปัจจุบัน ยังไม่มีการวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญในเรื่ององค์ประชุมแต่อย่างใด แต่พ.อ.อภิวันท์ ยืนยันว่าสมัย สนช. มีแน่ และแม้ไม่มีคำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญ ตนก็วินิจฉัยตามข้อเท็จจริง เมื่อฝ่ายค้านเขาแสดงเจตจำนงว่าไม่อยากร่วมประชุม ก็ไม่ถือว่าเป็นองค์ประชุม และเพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย ก็ให้มีการแก้ไขข้อบังคับการประชุมให้นับองค์ประชุมตามข้อเท็จจริง ซึ่งขอให้ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล และประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน หารือกันเพื่อแก้ไขปัญหา ไม่เช่นนั้นการประชุม ก็ไม่สามารถเดินต่อไปได้
จากนั้นการประชุมยังไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ เพราะส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ขอให้ พ.อ.อภิวันท์ ถอนคำวินิจฉัยเรื่ององค์ประชุม แต่ในซีกฝ่ายค้าน ส.ส.จากพรรคเพื่อไทย ต่างลุกขึ้นประท้วงจนวุ่นวาย เรื่องการกดบัตรแทนกัน ทำให้พ.อ.อภิวันท์ ตัดบทให้ประธานวิปฝ่ายค้าน และประธานวิปรัฐบาลไปหารือกันในเรื่องนี้
ขณะที่ส.ส.พรรคเพื่อไทย เสนอให้ปิดประชุมอ้างว่า เมื่อมีปัญหาก็ไม่ควรที่จะถกเถียงกันต่อไป และสนับสนุนให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเรื่องการนับองค์ประชุม แต่ฝ่าย พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วย อ้างว่าไม่มีประเด็นอะไรที่ต้องตรวจสอบในที่สุด พ.อ.อภิวันท์ ได้สรุป ให้กมธ.กิจการสภาฯ พิจารณาเรื่องนี้ ในที่สุดบรรยากาศก็สงบลงได้ หลังจากส.ส.ถกเถียงกันนานกว่า 2 ชั่วโมง
จากนั้นการประชุมดำเนินไปจนถึงเวลา 19.15 น.และเตรียมลงมติรับหลักการร่างพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ในท้องที่เขตบางเขน สายไหม และเขตคลองสามวา กทม.ที่ครม.เป็นผู้เสนอ พ.อ.อภิวันท์ ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้ขอตรวจสอบองค์ประชุมก่อนที่จะมีการลงมติ ปรากฏว่ามีสมาชิกอยู่ในห้องประชุมเพียง 234 คน รวมพ.อ.อภิวันท์ ที่แสดงตนอยู่ในห้องประชุมด้วยเป็น 235 คน ถือว่าไม่ครบกึ่งหนึ่งขององค์ประชุม ที่ต้องมีเสียงกึ่งหนึ่งคือ 238 เสียง จากจำนวน 475 คน ทำให้พ.อ.อภิวันท์ ต้องขอเลื่อนการลงมติ และชิงปิดประชุมในเวลา 19.20 น. ซึ่งถือว่าองค์ประชุมสภาฯ ต้องล่มเป็นครั้งที่สองติดต่อกันในรอบสองสัปดาห์