ASTVผู้จัดการรายวัน – ได้เวลามือปราบทุจริตรัฐบาลประชาธิปัตย์ เร่งรัดสางคดีทุจริตที่ถูกดองเค็มในยุครัฐบาลทักษิณและนอมินีเรืองอำนาจ วัดใจลุยคดีที่พัวพันถึง “เนวินและเพื่อน” รื้อเอ็นบีที เช่ารถเมล์เอ็นจีวี ทลายขุมทรัพย์สุวรรณภูมิฉาวทั้งคิงส์พาวเวอร์ สัมปทานแท็กซ์ รวมถึงคดี ซีทีเอ็กซ์ - แอร์พอร์ตลิงก์ ที่ถูกป.ป.ช. แช่แข็ง หรือไม่ จับตาคลังสั่งรีดภาษีครอบครัวชินวัตร-ดามาพงศ์ 3 หมื่นกว่าล้านที่ยังค้างคา
รัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ ดูเหมือนจะเป็นความหวังของสังคมที่ต้องการให้มีการชำระสะสางปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นอย่างมโหฬารในยุครัฐบาลทักษิณและนอมินีครองเมือง
แต่เวลานี้ยังเป็นที่น่าสงสัยว่า รัฐบาลประชาธิปัตย์ จะกล้าเอาจริงเอาจังในเรื่องนี้หรือไม่ เพราะหันซ้ายแลขวามายังพรรคร่วมรัฐบาลก็ล้วนมีแต่ผู้ถูกตั้งข้อกังขาว่าร่วมขบวนการปล้นชาติโกงแผ่นดินกับรัฐบาลทักษิณและนอมินีทั้งนั้น โดยเฉพาะ “กลุ่มเนวินและเพื่อน” ที่แหกคอกพรรคพลังประชาชนหรือเพื่อไทยในวันนี้ เข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์
ขณะที่ผู้นำรัฐบาลยังอ้ำอึ้ง บรรดาขุนพลขุดคุ้ยทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ ที่เคยแสดงบทบาทมือปราบทุจริตยังแทงกั๊กว่าจะดำเนินการกับเพื่อนร่วมรัฐบาลอย่างไร สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.ระบบสัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งสวมหมวกอีกใบคือแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ชุมนุมต่อสู้กับระบบทักษิณมานานร่วมครึ่งปี ก็ได้ลั่นวาจาว่าจะเข้าไปสะสางคดีความทุจริตที่เกิดขึ้นในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา
สำหรับคดีทุจริตที่ สมเกียรติ วางเป้าจะเข้าไปสะสาง คือ 1) คดีที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ตรวจสอบไว้แล้วแต่กระบวนการยังไม่ส่งขึ้นสู่ชั้นศาล 2) คดีการทุจริตสนามบินสุวรรณภูมิ และ 3) การชำระชะล้างองค์กรต่างๆ ที่เป็นกลไกขับเคลื่อนของระบอบทักษิณ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กรมประชาสัมพันธ์, กรมสอบสวนคดีพิเศษ, องค์การอาหารและยา รวมทั้งการปฎิรูปสื่อวิทยุโทรทัศน์
แต่พรรคประชาธิปัตย์ จะปล่อยให้นายสมเกียรติ ลุยเดี่ยวแล้วอาจมีผลสะท้อนกลับมาทำให้ตายยกเข่ง หรือไม่ ต้องติดตามกันต่อไป
หากย้อนกลับไปดูสำนวนคดีของ คตส. ที่ส่งต่อให้หน่วยงานต่างๆ ภายหลังหมดวาระเมื่อเดือนมิ.ย. 2551 จะพบว่า คตส. ได้ส่งสำนวนคดีให้อัยการสูงสุด 7 คดี คือ
1) คดีการจัดซื้อจัดจ้างปรับเปลี่ยนสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสารและเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดท่าอากาศสุวรรณภูมิ (ซีทีเอ็กซ์)
2) คดีโครงการก่อสร้างระบบจ่ายไฟฟ้าและเครือข่ายท่อร้อยไฟใต้ดินของการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
3) คดีธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้ให้บริษัทในเครือกฤษดามหานคร
4) คดีเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรตอบข้อหารือภาษีหุ้นชินคอร์ปโดยไม่ชอบ
5) คดีทุจริตจัดซื้อจัดจ้างโครงการบ้านเอื้ออาทรทั้งหมด
6) คดี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิตเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคม
7) คดี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร่ำรวยผิดปกติจากมาตรการเอื้อประโยชน์จากการคงถือหุ้นสัมปทาน 76,000 ล้านบาท
ที่ผ่านมา ใน 7 คดีข้างต้น อัยการสูงสุด ได้ส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2 คดี คือ คดีพ.ต.ท.ทักษิณ แปลงค่าสัมปทานฯ และ คดีร่ำรวยผิดปกติ เท่านั้น ส่วนคดีอื่นได้ส่งต่อให้ ป.ป.ช.ไต่สวนเพิ่มเติม ยกเว้นคดีธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้ให้บริษัทในเครือกฤษดามหานคร ที่อยู่ในมืออัยการสูงสุด และจนบัดนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ
นอกเหนือจากการส่งสำนวนคดีให้อัยการสูงสุดแล้ว คตส.ยังได้ส่งคดีให้ ปปช. ดำเนินการต่อ จำนวน 6 คดี คือ
1) คดีการจัดซื้อจัดจ้างเรือและรถดับเพลิงของกรุงเทพมหานคร โดยสำนวนไต่สวนแล้วเสร็จแต่พิจารณาไม่ทัน
2) คดีโครงการก่อสร้างระบบขนส่งทางรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของการรถไฟแห่งประเทศไทย (แอร์พอร์ตลิงก์) สำนวนไต่สวนแล้วเสร็จ แต่พิจารณาไม่ทัน
3) คดีโครงการบ้านเอื้ออาทรที่เหลือ เช่น ร่มเกล้า, บางพลี, รังสิต, คลอง 9, กบินบุรี, อรัญประเทศ โดยสำนวนไต่สวนแล้วเสร็จแต่พิจารณาไม่ทัน
4) คดีจัดจ้างก่อสร้างและจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์บริษัทห้องปฏิบัติการกลางตรวจสอบผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร จำกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (เซ็นทรัลแล็ป)
5) กรณีซื้อทีมฟุตบอลแมนซิตี้
6) กรณีปกปิดบัญชีทรัพย์สิน หุ้น บริษัทธนชาติประกันภัย 60 ล้านบาทในชื่อนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์
ส่วนกรณีที่ คตส. ส่งกรมสรรพากรเพื่อประเมินภาษี มี 4 กรณี ซึ่งเวลานี้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กรณ์ จาติกวณิช รมว.กระทรงการคลัง คือ
1) กรณี บรรณพจน์ ดามาพงศ์ ที่รับหุ้นจากคุณหญิงพจมาน ชินวัตร มีภาระภาษี 546 ล้านบาทเศษ
2) กรณี พานทองแท้ - พิณทองทา ชินวัตร ซื้อหุ้นแอมเพิลริช ในราคา 1 บาท ขายในราคา 49.25 บาท มีภาระภาษี 11,808 ล้านบาท
3) แอมเพิลริช ขายหุ้น 1 บาท ราคาตลาด 49.25 บาท มีภาระภาษี 20,923 ล้านบาท
4) บริษัทชินแซทเทิลไลท์ รับเงินค่าสินไหมทดแทน มีภาระภาษีจากรายรับ 1,082 ล้านบาท
สำหรับคดีที่ คตส. ทำสำนวนคดีส่งให้กับทางอัยการสูงสุดและป.ป.ช.ไปแล้วก่อนหมดวาระ และจนบัดนี้ยังไม่มีความคืบหน้า คือ คดีซีทีเอ็กซ์ ซึ่งอัยการสูงสุด อ้างว่าสำนวนไม่สมบูรณ์พอที่จะดำเนินคดีได้ จึงได้มีการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างผู้แทนฝ่ายอัยการสูงสุดและผู้แทนฝ่ายคณะกรรมการป.ป.ช. โดยมี ใจเด็ด พรไชยา กรรมการ ป.ป.ช. เป็นหัวหน้าคณะทำงาน
แต่กระบวนการสอบสวนรวบรวมพยานที่ไม่จำกัดกรอบเวลาของคณะทำงานที่รับผิดชอบคดีซีทีเอ็กซ์ ทำให้มีข้อท้วงติงจากหน่วยงานที่ติดตามคดีนี้ เช่น สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) โดยมีหนังสือแจ้งไปยัง ป.ป.ช.ว่า สำนวนคดีมีความสมบูรณ์เพียงพอแล้วพร้อมกับแจกแจงรายละเอียดยิบในทุกประเด็นที่หยิบยกขึ้นมาสอบสวนซ้ำ
นอกจากนั้น อดีตคณะกรรมการ คตส. ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การตั้งคณะทำงานร่วมของอัยการสูงสุด และป.ป.ช. เป็นเทคนิกในการดึงคดี เพราะอัยการสูงสุด ตกเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วย และคณะกรรมการป.ป.ช.ไม่มีความชัดเจนว่าจะแยกสำนวนฟ้องอัยการสูงสุด ออกไปต่างหาก ตามข้อเสนอของคณะกรรมการ คตส.
ส่วนคดีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ท่อร้อยไฟใต้ดิน, ธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้, แอร์พอร์ตลิงก์, บ้านเอื้ออาทร, เซ็นทรัลแล็ป ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ จากคณะกรรมการ ป.ป.ช. และอัยการสูงสุด เช่นกัน
ในบรรดาคดีความต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นนั้น เป็นที่น่าจับตาว่า เมื่อขั้วการเมืองเปลี่ยน คดีความในชั้น ป.ป.ช.และอัยการสูงสุด ที่เกี่ยวข้องกับ เนวิน ชิดชอบ คือ คดีเซ็นทรัลแล็บ และคดีทุจริตในสนามบินสุวรรณภูมิหลายคดี ซึ่งมีเครือข่ายกลุ่มเพื่อนเนวิน มีเอี่ยวอยู่ด้วย จะได้รับการชำระสะสางหรือไม่
*** ทลายขุมทรัพย์สุวรรณภูมิ
การตรวจสอบโครงการทุจริตสนามบินสุวรรณภูมิ นอกเหนือจากคดีการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000, โครงการแอร์พอร์ตลิงก์, โครงการก่อสร้างระบบจ่ายไฟฟ้าและเครือข่ายท่อร้อยสายไฟ แล้ว ยังมีคดีร้านค้าปลอดอากรและพื้นที่เชิงพาณิชย์ (คิงส์พาวเวอร์), การประมูลงานจ้างเหมาบริการรักษาความปลอดภัย, รถเข็นกระเป๋า, แท็กซี่ลีมูซีน, ระบบไฟฟ้า 400 เมกะเฮิร์ต และระบบพีซีแอร์ (งวงช้าง) อีกด้วย
กล่าวสำหรับ 5 คดีหลัง สุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะหน่วยงานผู้รับผิดชอบคดี ให้สัมภาษณ์ในวันที่ส่งสำนวนต่อ ป.ป.ช. เมื่อเดือน ก.ย. 2550 ว่า หลักฐานเอกสารชัดเจน เป็นคดีที่ไม่ได้ซับซ้อน นั่นหมายความว่า ป.ป.ช. น่าจะสรุปสำนวนเพื่อส่งฟ้องนักการเมืองและข้าราชการที่เกี่ยวข้องได้โดยไม่ชักช้าได้บ้างแล้ว
แต่จนบัดนี้ยังไม่มีคดีที่เกี่ยวข้องกับสนามบินแห่งนี้ถูกส่งฟ้อง กระทั่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. บางคนถูกตั้งข้อกังขาว่ามีส่วนเอื้อประโยชน์ด้วยการดองเรื่องการสอบทุจริตสุวรรณภูมิ ซึ่งเกี่ยวพันกับ “ชินวัตร – วงศ์สวัสดิ์” และพวกพ้องเพื่อนเนวิน ซึ่งเป็นขาใหญ่แห่งสุวรรณภูมิ
กล่าวสำหรับกรณีรถเข็นกระเป๋าในสนามบินสุวรรณภูมิ ที่ดีเอสไอเข้าตรวจสอบนั้น นับเป็นหนึ่งในสัมปทานที่บริษัทไทยแอร์พอร์ตส กราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด หรือ แท็กส์ ได้รับการว่าจ้างบริหารจัดการจาก ทอท. ภายหลังจาก แท็กส์ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น
การได้งานสัมปทานในสุวรรณภูมิของ แท็กส์ นับสิบสัญญา ทำให้เกิดข้อกังขาว่า ผู้ถือหุ้นใหญ่ในแท็กส์หลังการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ก็คือ “นอมินีเจ๊” ซึ่งได้ใช้อำนาจและอิทธิพล คว้างานในสนามบินสุวรรณภูมิ ช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกาศเร่งเครื่องก่อสร้างเพื่อเปิดสนามบินสุวรรณภูมิให้ทันในวันที่ 28 ก.ย. 2549
ในบรรดาสัญญาที่ แท็กส์ คว้าสัมปทานในสุวรรณภูมินอกเหนือจากรถเข็นกระเป๋า ที่ยังมีปัญหาจนถึงบัดนี้แล้ว ยังมีกรณีที่ อลงกรณ์ พลบุตร และ กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยื่นข้อร้องเรียนต่อ ป.ป.ช. ขอให้ตรวจสอบ เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ในข้อหาร่ำรวยผิดปกติ และอาจพัวพันกับการได้รับงานสัมปทานโครงการบริหารเขตปลอดอากรและศูนย์โลจิสติกส์ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มูลค่า 10,000 ล้านบาท ของ แท็กส์ อีกด้วย
ทั้งนี้ แท็กส์ ได้เข้ารับงานบริหารเขตปลอดอากรพื้นที่ 6 แสนตารางเมตร และศูนย์โลจิสติกส์พื้นที่อีก 4 หมื่นตารางเมตร สัญญานี้มีมูลค่างานเป็นเงินกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี ระยะเวลาสัญญา 10 ปี รวมมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท โดยไม่มีการเปิดประมูลแข่งขัน ซึ่งในช่วงที่แท็กส์ได้งานขณะนั้น สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ ทอท. อยู่ด้วย
โครงการอื้อฉาวในสุวรรณภูมิ ยังมีกรณีการประมูลงานจ้างเหมาบริการรักษาความปลอดภัยสนามบินสุวรรณภูมิโดยวิธีพิเศษ และเพิ่มงบประมาณ จากเดิม 3,086 ล้านบาท เป็น 5,400 ล้านบาท
คดีนี้ ป.ป.ช. มีมติเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2550 ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับพวก คือ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ, พงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล, ศรีสุข จันทรางศุ รวมถึง สมชาย วงศ์สวัสดิ์ โดยมอบหมายให้ ใจเด็ด พรไชยา กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานคณะอนุกรรมการไต่สวน
นอกจากนี้ ยังมีกรณีกล่าวหา สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกับพวก ซึ่งมี สมชาย วงศ์สวัสดิ์ รวมอยู่ด้วย ร่วมกันทุจริตโครงการจัดตั้งร้านค้าปลอดอากร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานภูมิภาค และการบริหารกิจการเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดย ป.ป.ช. มีมติเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2550 ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน โดยมี ภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธาน
แต่ “หลุมดำ” ป.ป.ช. ได้ดองคดีที่เกี่ยวข้องกับสนามบินสุวรรณภูมิดังกล่าวข้างต้นจนกระทั่งสนามบินเปิดบริการไปกว่าสองปีแล้ว ยังไม่มีความคืบหน้าในการตรวจสอบใดๆ ออกมา
*** จับตาฟื้นคดีเอสซีฯ– ซอฟท์แวร์คอมพ์กฟภ.
คดีสำคัญอีกคดีหนึ่งที่ถูกจับตามองว่าจะมีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่หรือไม่ ก็คือ คดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัทเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง เพ็ญโสม ดามาพงศ์ กรรมการบริษัทบริษัทเอสซี แอสเสท, บุษบา ดามาพงศ์ อดีตกรรมการบริษัทฯ พ.ต.ท.ทักษิณ และ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ผู้ต้องหาที่ 1-4 ฐานกระทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่ปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้น บริษัทเอสซี แอสเสท
เหตุผลในการสั่งไม่ฟ้องคดี เพราะอัยการมีความเห็นว่า การกระทำของผู้ต้องหาที่ 1 และ 2 นั้นเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนทุกอย่างโดยมีบริษัทหลักทรัพย์ธนชาติ จำกัด (มหาชน) ดำเนินการแทน และผ่านการตรวจสอบของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ตรวจสอบถูกต้องแล้ว
ส่วนการกระทำของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน นั้น อัยการเห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าทั้งสองไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการซื้อ -ขายหุ้นด้วยตัวเอง แต่ซื้อขายหุ้นผ่านกองทุน ดังนั้นหน้าที่การรายงานการซื้อขายหุ้นจึงเป็นของกองทุน ไม่ใช่หน้าที่ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ที่จะต้องรายงาน ตามที่ถูกกล่าวหา
ภายหลังจากอัยการสั่งไม่ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2551 กรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งติดตามคดีนี้มาโดยตลอด ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึง ชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด, พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และ ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพยและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ก.ล.ต.)
หนังสือดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า คำแถลงเหตุผลของอัยการในการไม่ยื่นฟ้องนั้น ล้วนเป็นการอ้างหลักการทางกฎหมายที่คลาดเคลื่อน และไม่ตรงตามคำร้องเดิมของดีเอสไอ สมัย สุนัย มโนมัยอุดม ที่ได้ยื่นฟ้องเอาไว้ และ กรณ์ ได้นำเรื่องนี้หารือกับคณะทำงานด้านกฎหมายของพรรค เพื่อหาช่องทางเอาผิดกับผู้เกี่ยวข้องตามกฎหมาย และยื่นเรื่องให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบต่อไป
ส่วนคดีอื่นๆ ที่พรรคประชาธิปัตย์ เคยร้องเรียนให้มีการตรวจสอบแต่ยังไม่มีผลใดๆ คือ โครงการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มูลค่า 3,192 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ และถูกยื่นตรวจสอบจากหลายฝ่ายมากที่สุดโครงการหนึ่ง
อลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานตรวจสอบทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นเรื่องต่อคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการสตง.ขอให้ตรวจสอบความไม่โปร่งในการอนุมัติโครงการและขั้นตอนการประมูล รวมทั้งมีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต 5 ประเด็นหลัก คือ
1. การอนุมัติโครงการในคณะกรรมการ กฟภ. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยที่ทำสัญญาส่อพิรุธ เช่น การเปลี่ยนจากการซื้อเป็นเช่า ซึ่งเมื่อเทียบกับการจัดซื้อแล้วรัฐจะได้ประโยชน์มากกว่าการเช่า
2.วงเงินงบประมาณการเช่าจำนวน 3,192 ล้านบาทสูงเกินจริง
3.ขั้นตอนการประมูลไม่โปร่งใส จากผู้ยื่นประกวดราคาทั้งสิ้น 8 ราย แต่กลับมีผู้ผ่านเทคนิคเพียงรายเดียวที่ได้รับการเปิดซองราคา ซึ่งราคาที่ผู้ชนะการประมูลนั้นมีราคาใกล้เคียงกับราคากลางมาก
4.บริษัทในกลุ่มกิจการค้าที่ชนะการประมูลของ กฟภ.เป็นของน้องสาวนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีทุนจดทะเบียนเพียง 1 ล้านบาท แต่ชนะการประมูลมูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท
และ 5.บริษัทที่ปรึกษาอินทนนท์ ที่ได้รับจ้างให้ดำเนินการศึกษาโครงการดังกล่าว มีผลการศึกษาที่น่าเคลือบแคลง
***งัดข้อ “เนวิน” เบรกรถเมล์เอ็นจีวี
นอกเหนือจากโครงการต่างๆ ข้างต้นแล้ว ยังมีโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวีที่มีปัญหาอื้อฉาวมาตั้งแต่สมัยรัฐบายสมัคร ซึ่งหลายฝ่ายคาดหมายว่าคงได้รับการทบทวนตรวจสอบใหม่ในยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะก่อนหน้านี้พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะพรรคฝ่ายค้าน ได้เตรียมเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลสมัครมาแล้ว แถมมีการแพลมชื่อนักการเมืองร่วมงาบหัวคิวอีกด้วย
แต่พลันที่ เนวิน ชิดชอบ ส่ง โสภณ ซารัมย์ เข้ามาครองตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โสภณ ได้ประกาศก่อนที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ จะแถลงนโยบายต่อรัฐสภาด้วยซ้ำว่า จะเดินหน้าโครงการรถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน มูลค่า 62,598 ล้านบาท ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โดยจะไม่มีการทบทวนใหม่แต่อย่างใด เพราะผ่านขั้นตอนดำเนินการมาไกลและควรจะเดินหน้าต่อไป
โครงการดังกล่าว อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ และ ถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ได้รวบรวบข้อมูลเพื่ออภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลสมัครมาแล้ว โดยตั้งข้อสังเกตถึงความไม่โปร่งใส ไม่คุ้มค่า ซ้ำยังเพลมชื่อมิสเตอร์เอส และมิสเตอร์ที งาบหัวคิวคันละล้านอีกด้วย
งานนี้จึงเป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่งว่า เมื่อพรรคประชาธิปัตย์พลิกขั้วมาเป็นฝ่ายรัฐบาล จะกล้าเบรกโครงการนี้หรือไม่
*** รื้อเอ็นบีที นำร่องปฏิรูปสื่อ
สำหรับการปฏิรูปสื่อซึ่งเป็นประเด็นที่มีการเรียกร้องจากสังคมไม่น้อยไปกว่าการจัดการปัญหาทุจริตนั้น สาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งรับหน้าที่กำกับดูแลสื่อสารมวลชน ได้ส่งสัญญาณเข้าไปปรับเปลี่ยนใหม่ไล่ตั้งแต่ชื่อช่องเอ็นบีทีกลับมาเป็นช่อง 11 ตามเดิม รวมทั้งรายการที่สนองนโยบายของรัฐบาล
สัญญาณจากรัฐบาลใหม่ ทำให้ช่องเอ็นบีทีเตรียมปรับผังรายการใหม่เพื่อตอบสนองทันควัน โดยเปิดให้เวลารัฐบาลเข้ามาใช้ช่องเอ็นบีทีนำเสนอนโยบายต่างๆ พร้อมกันนั้นก็ดึงรายการและเวลาจากบริษัทดิจิตอล มีเดียฯ บริษัทของกลุ่มเนวิน มาทำเองมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการใช้วิธีค่อยๆ ลดบทบาทของบริษัทเอกชนรายดังกล่าวที่เข้ามามีอิทธิพลในช่องเอ็นบีทียุครัฐบาลนอมินีทักษิณ แทนการหักด้ามพร้าด้วยเข่า เพื่อลดการเผชิญหน้า
หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณเดือนเม.ย. ปี 2551 ที่ผ่านมา อลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ บุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นหนังสือต่อพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อขอให้สอบสวนความไม่โปร่งใสการทำสัญญาของ NBT กับบริษัทดิจิตอล มีเดีย
หนังสือที่ยื่นต่อ สตง. ระบุว่า การที่กรมประชาสัมพันธ์ไปทำสัญญาให้ บริษัทดิจิตอล มีเดีย ให้ผลิตรายการข่าววันละ 9 ชั่วโมงครึ่ง แลกกับการขายโฆษณา ชั่วโมงละ 7 นาทีโดยจ่ายผลตอบแทนให้ช่อง 11 ปีละ 40 ล้านบาทนั้น น่าจะทำให้รัฐเสียประโยชน์ เพราะปกติแล้ว ช่อง 11 คิดค่าเช่าเวลาชั่วโมงละ 30,000-100,000 บาท เงินค่าตอบแทนที่ดิจิตอล มีเดีย จะต้องจ่ายจึงไม่ควรจะต่ำกว่าปีละ 100 ล้านบาท
นอกจากนั้น กรมประชาสัมพันธ์ยังยอมให้ดิจิตอล มีเดีย ใช้เครื่องไม้เครื่องมือของช่อง 11 ทั้งหมด โดยไม่ต้องลงทุนเอง ที่สำคัญ การทำสัญญาจ้างบริษัทดิจิตอล มีเดีย ไม่มีการเปิดกว้างให้เอกชนรายอื่นๆ เสนอตัวเข้ามาแข่งขันด้วย ซึ่งเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.ฮั้ว ทั้งนี้ สัญญาระหว่างกรมประชาสัมพันธ์กับ ดิจิตอล มีเดีย ทำกันเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2551 มีอายุ 2 ปี จะครบกำหนดในวันที่ 16 มีนาคม 2553
ส่วน อสมท ซึ่งถูกการเมืองแทรกแซงในสมัยรัฐบาลสมัคร ต่อเนื่องมาถึงรัฐบาลสมชาย นั้น สาทิตย์ เปรยว่า จะต้องเข้าไปเปลี่ยนบอร์ด เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนใหม่เช่นกัน
สำหรับ อสมท นั้น สมัยรัฐบาลสมัคร ต่อเนื่องด้วยรัฐบาลสมชาย เข้ามากุมอำนาจบริหารประเทศ ได้มีการเปลี่ยนบอร์ด อสมท. โดยมี จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคพลังประชาชน บิดาของ จารุวงศ์ เรืองสุวรรณ เลขานุการของ จักรภพ เพ็ญแข เป็นประธานบอร์ด, นัที เปรมรัศมี รองประธาน พร้อมด้วย ธงทอง จันทรางศุ อดีตบอร์ด อสมท ยุค มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ เป็นผอ.อสมท ซึ่งสั่งปลดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ออกจากผังรายการ
ส่วนกรรมการ ประกอบด้วย ดนุชา ยินดีพิธ, นฤนารท พระปัญญา, ประสาน หวังรัตนปราณี, วิทยาธร ท่อแก้ว, สมบูรณ์ ม่วงกล่ำ, อนุสรณ์ ธรรมใจ, พงษ์ชัย อมตานนท์ ปราโมทย์ โชคศิริกุล
บอร์ด อสมท ข้างต้น ได้เดินแผนปลด วสันต์ ภัยหลีกลี้ ผอ.อสมท ออกจากตำแหน่งด้วยข้อกล่าวหาและวิธีการต่างๆ เช่น การทำผิดสัญญา หารายได้ไม่เข้าเป้า ฯลฯ กระทั่ง วสันต์ ได้สวนกลับหากถูกปลดจริงจะฟ้องศาลปกครอง แต่ในที่สุด วสันต์ ก็ต้องยุติบทบาท ผอ.อสมท ด้วยเหตุที่ว่าสไตล์การทำงานแตกต่างจากบอร์ด
ขณะที่ องอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นฝ่ายค้านในขณะนั้น ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นแรงกดดันจากรัฐบาลที่ต้องการเข้ามายึดกุม อสมท เพื่อเอื้อประโยชน์ทางการเมืองในการทำลายคู่แข่งและตักตวงผลประโยชน์ทางธุรกิจเพื่อเป็นทุนทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม การปรับรื้อช่องเอ็นบีที และ อสมท เป็นเพียงภารกิจจิ๊บๆ เมื่อเทียบกับการปฏิรูปสื่อทั้งระบบเพื่อเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้าไปมีสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม อันเป็นทรัพยากรการสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 47
ที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ ขณะทำหน้าที่พรรคฝ่ายค้านได้เสนอร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. ..... เพื่อปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2543 เข้าสู่สภาฯ ซึ่งค้างอยู่ในสภาฯ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนขั้วการเมือง
แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นหลักๆ ของร่าง พ.ร.บ. เช่น การเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีโอกาสเข้าเป็นเจ้าของคลื่นความถี่ร้อยละ 20 และห้ามไม่ให้มีการโฆษณาเพื่อปิดช่องธุรกิจเข้าครอบงำสื่อ, กระบวนการสรรหาคณะกรรมการ กสทช. การกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้ารับการสรรหา เพื่อความโปร่งใส ได้ตัวแทนจากทุกภาคส่วนไม่ใช่มีเพียงตัวแทนจากธุรกิจการเมือง
ที่สำคัญคือ การปล่อยให้ กสทช. กำหนดนโยบายที่เป็นอิสระหรือจะต้องอยู่ภายใต้การกำหนดของรัฐบาล ถือเป็นเรื่องสำคัญที่พรรคประชาธิปัตย์ ต้องทำให้เกิดความชัดเจนและเร่งทำคลอดกฎหมายดังกล่าวออกมาบังคับโดยไม่ชักช้าเพื่อเปิดให้ประชาชนมีโอกาสเป็นเจ้าคลื่นความถี่วิทยุ โทรทัศน์ โทรคมนาคม ตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ อย่างแท้จริง ซึ่งนั่นจะนำไปสู่การปฏิรูปสื่ออย่างขนานใหญ่ ไม่ใช่การปล่อยให้ทรัพยากรการสื่อสารถูกครอบครองโดยรัฐบาลและทุนดังที่เป็นมาตลอดนับตั้งแต่สถานีวิทยุโทรทัศน์เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยสมัยจอมพลป.พิบูลสงคราม จวบจนปัจจุบัน
ดูเหมือนว่า ภารกิจของรัฐบาลประชาธิปัตย์ในช่วงบ้านเมืองประสบภาวะวิกฤตรอบด้าน จะหนักหนาสาหัส แต่สังคมก็ยังคาดหวังว่าสารพัดโครงการซึ่งถูกตรวจสอบและมีข้อกล่าวหาว่าพัวพันกับการทุจริตจะถูกเชคบิลและกระบวนยุติธรรมนำคดีขึ้นสู่ชั้นศาล หาไม่แล้ว จะกลายเป็นแต่เพียงทีใครทีมันสลับกันขึ้นมาแสวงหาประโยชน์บนข้ออ้างเพื่อประเทศชาติเท่านั้น
รัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ ดูเหมือนจะเป็นความหวังของสังคมที่ต้องการให้มีการชำระสะสางปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นอย่างมโหฬารในยุครัฐบาลทักษิณและนอมินีครองเมือง
แต่เวลานี้ยังเป็นที่น่าสงสัยว่า รัฐบาลประชาธิปัตย์ จะกล้าเอาจริงเอาจังในเรื่องนี้หรือไม่ เพราะหันซ้ายแลขวามายังพรรคร่วมรัฐบาลก็ล้วนมีแต่ผู้ถูกตั้งข้อกังขาว่าร่วมขบวนการปล้นชาติโกงแผ่นดินกับรัฐบาลทักษิณและนอมินีทั้งนั้น โดยเฉพาะ “กลุ่มเนวินและเพื่อน” ที่แหกคอกพรรคพลังประชาชนหรือเพื่อไทยในวันนี้ เข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์
ขณะที่ผู้นำรัฐบาลยังอ้ำอึ้ง บรรดาขุนพลขุดคุ้ยทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ ที่เคยแสดงบทบาทมือปราบทุจริตยังแทงกั๊กว่าจะดำเนินการกับเพื่อนร่วมรัฐบาลอย่างไร สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.ระบบสัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งสวมหมวกอีกใบคือแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ชุมนุมต่อสู้กับระบบทักษิณมานานร่วมครึ่งปี ก็ได้ลั่นวาจาว่าจะเข้าไปสะสางคดีความทุจริตที่เกิดขึ้นในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา
สำหรับคดีทุจริตที่ สมเกียรติ วางเป้าจะเข้าไปสะสาง คือ 1) คดีที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ตรวจสอบไว้แล้วแต่กระบวนการยังไม่ส่งขึ้นสู่ชั้นศาล 2) คดีการทุจริตสนามบินสุวรรณภูมิ และ 3) การชำระชะล้างองค์กรต่างๆ ที่เป็นกลไกขับเคลื่อนของระบอบทักษิณ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กรมประชาสัมพันธ์, กรมสอบสวนคดีพิเศษ, องค์การอาหารและยา รวมทั้งการปฎิรูปสื่อวิทยุโทรทัศน์
แต่พรรคประชาธิปัตย์ จะปล่อยให้นายสมเกียรติ ลุยเดี่ยวแล้วอาจมีผลสะท้อนกลับมาทำให้ตายยกเข่ง หรือไม่ ต้องติดตามกันต่อไป
หากย้อนกลับไปดูสำนวนคดีของ คตส. ที่ส่งต่อให้หน่วยงานต่างๆ ภายหลังหมดวาระเมื่อเดือนมิ.ย. 2551 จะพบว่า คตส. ได้ส่งสำนวนคดีให้อัยการสูงสุด 7 คดี คือ
1) คดีการจัดซื้อจัดจ้างปรับเปลี่ยนสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสารและเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดท่าอากาศสุวรรณภูมิ (ซีทีเอ็กซ์)
2) คดีโครงการก่อสร้างระบบจ่ายไฟฟ้าและเครือข่ายท่อร้อยไฟใต้ดินของการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
3) คดีธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้ให้บริษัทในเครือกฤษดามหานคร
4) คดีเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรตอบข้อหารือภาษีหุ้นชินคอร์ปโดยไม่ชอบ
5) คดีทุจริตจัดซื้อจัดจ้างโครงการบ้านเอื้ออาทรทั้งหมด
6) คดี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิตเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคม
7) คดี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร่ำรวยผิดปกติจากมาตรการเอื้อประโยชน์จากการคงถือหุ้นสัมปทาน 76,000 ล้านบาท
ที่ผ่านมา ใน 7 คดีข้างต้น อัยการสูงสุด ได้ส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2 คดี คือ คดีพ.ต.ท.ทักษิณ แปลงค่าสัมปทานฯ และ คดีร่ำรวยผิดปกติ เท่านั้น ส่วนคดีอื่นได้ส่งต่อให้ ป.ป.ช.ไต่สวนเพิ่มเติม ยกเว้นคดีธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้ให้บริษัทในเครือกฤษดามหานคร ที่อยู่ในมืออัยการสูงสุด และจนบัดนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ
นอกเหนือจากการส่งสำนวนคดีให้อัยการสูงสุดแล้ว คตส.ยังได้ส่งคดีให้ ปปช. ดำเนินการต่อ จำนวน 6 คดี คือ
1) คดีการจัดซื้อจัดจ้างเรือและรถดับเพลิงของกรุงเทพมหานคร โดยสำนวนไต่สวนแล้วเสร็จแต่พิจารณาไม่ทัน
2) คดีโครงการก่อสร้างระบบขนส่งทางรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของการรถไฟแห่งประเทศไทย (แอร์พอร์ตลิงก์) สำนวนไต่สวนแล้วเสร็จ แต่พิจารณาไม่ทัน
3) คดีโครงการบ้านเอื้ออาทรที่เหลือ เช่น ร่มเกล้า, บางพลี, รังสิต, คลอง 9, กบินบุรี, อรัญประเทศ โดยสำนวนไต่สวนแล้วเสร็จแต่พิจารณาไม่ทัน
4) คดีจัดจ้างก่อสร้างและจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์บริษัทห้องปฏิบัติการกลางตรวจสอบผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร จำกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (เซ็นทรัลแล็ป)
5) กรณีซื้อทีมฟุตบอลแมนซิตี้
6) กรณีปกปิดบัญชีทรัพย์สิน หุ้น บริษัทธนชาติประกันภัย 60 ล้านบาทในชื่อนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์
ส่วนกรณีที่ คตส. ส่งกรมสรรพากรเพื่อประเมินภาษี มี 4 กรณี ซึ่งเวลานี้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กรณ์ จาติกวณิช รมว.กระทรงการคลัง คือ
1) กรณี บรรณพจน์ ดามาพงศ์ ที่รับหุ้นจากคุณหญิงพจมาน ชินวัตร มีภาระภาษี 546 ล้านบาทเศษ
2) กรณี พานทองแท้ - พิณทองทา ชินวัตร ซื้อหุ้นแอมเพิลริช ในราคา 1 บาท ขายในราคา 49.25 บาท มีภาระภาษี 11,808 ล้านบาท
3) แอมเพิลริช ขายหุ้น 1 บาท ราคาตลาด 49.25 บาท มีภาระภาษี 20,923 ล้านบาท
4) บริษัทชินแซทเทิลไลท์ รับเงินค่าสินไหมทดแทน มีภาระภาษีจากรายรับ 1,082 ล้านบาท
สำหรับคดีที่ คตส. ทำสำนวนคดีส่งให้กับทางอัยการสูงสุดและป.ป.ช.ไปแล้วก่อนหมดวาระ และจนบัดนี้ยังไม่มีความคืบหน้า คือ คดีซีทีเอ็กซ์ ซึ่งอัยการสูงสุด อ้างว่าสำนวนไม่สมบูรณ์พอที่จะดำเนินคดีได้ จึงได้มีการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างผู้แทนฝ่ายอัยการสูงสุดและผู้แทนฝ่ายคณะกรรมการป.ป.ช. โดยมี ใจเด็ด พรไชยา กรรมการ ป.ป.ช. เป็นหัวหน้าคณะทำงาน
แต่กระบวนการสอบสวนรวบรวมพยานที่ไม่จำกัดกรอบเวลาของคณะทำงานที่รับผิดชอบคดีซีทีเอ็กซ์ ทำให้มีข้อท้วงติงจากหน่วยงานที่ติดตามคดีนี้ เช่น สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) โดยมีหนังสือแจ้งไปยัง ป.ป.ช.ว่า สำนวนคดีมีความสมบูรณ์เพียงพอแล้วพร้อมกับแจกแจงรายละเอียดยิบในทุกประเด็นที่หยิบยกขึ้นมาสอบสวนซ้ำ
นอกจากนั้น อดีตคณะกรรมการ คตส. ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การตั้งคณะทำงานร่วมของอัยการสูงสุด และป.ป.ช. เป็นเทคนิกในการดึงคดี เพราะอัยการสูงสุด ตกเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วย และคณะกรรมการป.ป.ช.ไม่มีความชัดเจนว่าจะแยกสำนวนฟ้องอัยการสูงสุด ออกไปต่างหาก ตามข้อเสนอของคณะกรรมการ คตส.
ส่วนคดีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ท่อร้อยไฟใต้ดิน, ธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้, แอร์พอร์ตลิงก์, บ้านเอื้ออาทร, เซ็นทรัลแล็ป ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ จากคณะกรรมการ ป.ป.ช. และอัยการสูงสุด เช่นกัน
ในบรรดาคดีความต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นนั้น เป็นที่น่าจับตาว่า เมื่อขั้วการเมืองเปลี่ยน คดีความในชั้น ป.ป.ช.และอัยการสูงสุด ที่เกี่ยวข้องกับ เนวิน ชิดชอบ คือ คดีเซ็นทรัลแล็บ และคดีทุจริตในสนามบินสุวรรณภูมิหลายคดี ซึ่งมีเครือข่ายกลุ่มเพื่อนเนวิน มีเอี่ยวอยู่ด้วย จะได้รับการชำระสะสางหรือไม่
*** ทลายขุมทรัพย์สุวรรณภูมิ
การตรวจสอบโครงการทุจริตสนามบินสุวรรณภูมิ นอกเหนือจากคดีการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000, โครงการแอร์พอร์ตลิงก์, โครงการก่อสร้างระบบจ่ายไฟฟ้าและเครือข่ายท่อร้อยสายไฟ แล้ว ยังมีคดีร้านค้าปลอดอากรและพื้นที่เชิงพาณิชย์ (คิงส์พาวเวอร์), การประมูลงานจ้างเหมาบริการรักษาความปลอดภัย, รถเข็นกระเป๋า, แท็กซี่ลีมูซีน, ระบบไฟฟ้า 400 เมกะเฮิร์ต และระบบพีซีแอร์ (งวงช้าง) อีกด้วย
กล่าวสำหรับ 5 คดีหลัง สุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะหน่วยงานผู้รับผิดชอบคดี ให้สัมภาษณ์ในวันที่ส่งสำนวนต่อ ป.ป.ช. เมื่อเดือน ก.ย. 2550 ว่า หลักฐานเอกสารชัดเจน เป็นคดีที่ไม่ได้ซับซ้อน นั่นหมายความว่า ป.ป.ช. น่าจะสรุปสำนวนเพื่อส่งฟ้องนักการเมืองและข้าราชการที่เกี่ยวข้องได้โดยไม่ชักช้าได้บ้างแล้ว
แต่จนบัดนี้ยังไม่มีคดีที่เกี่ยวข้องกับสนามบินแห่งนี้ถูกส่งฟ้อง กระทั่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. บางคนถูกตั้งข้อกังขาว่ามีส่วนเอื้อประโยชน์ด้วยการดองเรื่องการสอบทุจริตสุวรรณภูมิ ซึ่งเกี่ยวพันกับ “ชินวัตร – วงศ์สวัสดิ์” และพวกพ้องเพื่อนเนวิน ซึ่งเป็นขาใหญ่แห่งสุวรรณภูมิ
กล่าวสำหรับกรณีรถเข็นกระเป๋าในสนามบินสุวรรณภูมิ ที่ดีเอสไอเข้าตรวจสอบนั้น นับเป็นหนึ่งในสัมปทานที่บริษัทไทยแอร์พอร์ตส กราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด หรือ แท็กส์ ได้รับการว่าจ้างบริหารจัดการจาก ทอท. ภายหลังจาก แท็กส์ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น
การได้งานสัมปทานในสุวรรณภูมิของ แท็กส์ นับสิบสัญญา ทำให้เกิดข้อกังขาว่า ผู้ถือหุ้นใหญ่ในแท็กส์หลังการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ก็คือ “นอมินีเจ๊” ซึ่งได้ใช้อำนาจและอิทธิพล คว้างานในสนามบินสุวรรณภูมิ ช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกาศเร่งเครื่องก่อสร้างเพื่อเปิดสนามบินสุวรรณภูมิให้ทันในวันที่ 28 ก.ย. 2549
ในบรรดาสัญญาที่ แท็กส์ คว้าสัมปทานในสุวรรณภูมินอกเหนือจากรถเข็นกระเป๋า ที่ยังมีปัญหาจนถึงบัดนี้แล้ว ยังมีกรณีที่ อลงกรณ์ พลบุตร และ กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยื่นข้อร้องเรียนต่อ ป.ป.ช. ขอให้ตรวจสอบ เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ในข้อหาร่ำรวยผิดปกติ และอาจพัวพันกับการได้รับงานสัมปทานโครงการบริหารเขตปลอดอากรและศูนย์โลจิสติกส์ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มูลค่า 10,000 ล้านบาท ของ แท็กส์ อีกด้วย
ทั้งนี้ แท็กส์ ได้เข้ารับงานบริหารเขตปลอดอากรพื้นที่ 6 แสนตารางเมตร และศูนย์โลจิสติกส์พื้นที่อีก 4 หมื่นตารางเมตร สัญญานี้มีมูลค่างานเป็นเงินกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี ระยะเวลาสัญญา 10 ปี รวมมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท โดยไม่มีการเปิดประมูลแข่งขัน ซึ่งในช่วงที่แท็กส์ได้งานขณะนั้น สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ ทอท. อยู่ด้วย
โครงการอื้อฉาวในสุวรรณภูมิ ยังมีกรณีการประมูลงานจ้างเหมาบริการรักษาความปลอดภัยสนามบินสุวรรณภูมิโดยวิธีพิเศษ และเพิ่มงบประมาณ จากเดิม 3,086 ล้านบาท เป็น 5,400 ล้านบาท
คดีนี้ ป.ป.ช. มีมติเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2550 ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับพวก คือ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ, พงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล, ศรีสุข จันทรางศุ รวมถึง สมชาย วงศ์สวัสดิ์ โดยมอบหมายให้ ใจเด็ด พรไชยา กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานคณะอนุกรรมการไต่สวน
นอกจากนี้ ยังมีกรณีกล่าวหา สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกับพวก ซึ่งมี สมชาย วงศ์สวัสดิ์ รวมอยู่ด้วย ร่วมกันทุจริตโครงการจัดตั้งร้านค้าปลอดอากร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานภูมิภาค และการบริหารกิจการเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดย ป.ป.ช. มีมติเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2550 ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน โดยมี ภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธาน
แต่ “หลุมดำ” ป.ป.ช. ได้ดองคดีที่เกี่ยวข้องกับสนามบินสุวรรณภูมิดังกล่าวข้างต้นจนกระทั่งสนามบินเปิดบริการไปกว่าสองปีแล้ว ยังไม่มีความคืบหน้าในการตรวจสอบใดๆ ออกมา
*** จับตาฟื้นคดีเอสซีฯ– ซอฟท์แวร์คอมพ์กฟภ.
คดีสำคัญอีกคดีหนึ่งที่ถูกจับตามองว่าจะมีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่หรือไม่ ก็คือ คดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัทเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง เพ็ญโสม ดามาพงศ์ กรรมการบริษัทบริษัทเอสซี แอสเสท, บุษบา ดามาพงศ์ อดีตกรรมการบริษัทฯ พ.ต.ท.ทักษิณ และ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ผู้ต้องหาที่ 1-4 ฐานกระทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่ปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้น บริษัทเอสซี แอสเสท
เหตุผลในการสั่งไม่ฟ้องคดี เพราะอัยการมีความเห็นว่า การกระทำของผู้ต้องหาที่ 1 และ 2 นั้นเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนทุกอย่างโดยมีบริษัทหลักทรัพย์ธนชาติ จำกัด (มหาชน) ดำเนินการแทน และผ่านการตรวจสอบของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ตรวจสอบถูกต้องแล้ว
ส่วนการกระทำของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน นั้น อัยการเห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าทั้งสองไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการซื้อ -ขายหุ้นด้วยตัวเอง แต่ซื้อขายหุ้นผ่านกองทุน ดังนั้นหน้าที่การรายงานการซื้อขายหุ้นจึงเป็นของกองทุน ไม่ใช่หน้าที่ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ที่จะต้องรายงาน ตามที่ถูกกล่าวหา
ภายหลังจากอัยการสั่งไม่ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2551 กรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งติดตามคดีนี้มาโดยตลอด ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึง ชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด, พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และ ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพยและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ก.ล.ต.)
หนังสือดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า คำแถลงเหตุผลของอัยการในการไม่ยื่นฟ้องนั้น ล้วนเป็นการอ้างหลักการทางกฎหมายที่คลาดเคลื่อน และไม่ตรงตามคำร้องเดิมของดีเอสไอ สมัย สุนัย มโนมัยอุดม ที่ได้ยื่นฟ้องเอาไว้ และ กรณ์ ได้นำเรื่องนี้หารือกับคณะทำงานด้านกฎหมายของพรรค เพื่อหาช่องทางเอาผิดกับผู้เกี่ยวข้องตามกฎหมาย และยื่นเรื่องให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบต่อไป
ส่วนคดีอื่นๆ ที่พรรคประชาธิปัตย์ เคยร้องเรียนให้มีการตรวจสอบแต่ยังไม่มีผลใดๆ คือ โครงการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มูลค่า 3,192 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ และถูกยื่นตรวจสอบจากหลายฝ่ายมากที่สุดโครงการหนึ่ง
อลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานตรวจสอบทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นเรื่องต่อคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการสตง.ขอให้ตรวจสอบความไม่โปร่งในการอนุมัติโครงการและขั้นตอนการประมูล รวมทั้งมีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต 5 ประเด็นหลัก คือ
1. การอนุมัติโครงการในคณะกรรมการ กฟภ. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยที่ทำสัญญาส่อพิรุธ เช่น การเปลี่ยนจากการซื้อเป็นเช่า ซึ่งเมื่อเทียบกับการจัดซื้อแล้วรัฐจะได้ประโยชน์มากกว่าการเช่า
2.วงเงินงบประมาณการเช่าจำนวน 3,192 ล้านบาทสูงเกินจริง
3.ขั้นตอนการประมูลไม่โปร่งใส จากผู้ยื่นประกวดราคาทั้งสิ้น 8 ราย แต่กลับมีผู้ผ่านเทคนิคเพียงรายเดียวที่ได้รับการเปิดซองราคา ซึ่งราคาที่ผู้ชนะการประมูลนั้นมีราคาใกล้เคียงกับราคากลางมาก
4.บริษัทในกลุ่มกิจการค้าที่ชนะการประมูลของ กฟภ.เป็นของน้องสาวนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีทุนจดทะเบียนเพียง 1 ล้านบาท แต่ชนะการประมูลมูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท
และ 5.บริษัทที่ปรึกษาอินทนนท์ ที่ได้รับจ้างให้ดำเนินการศึกษาโครงการดังกล่าว มีผลการศึกษาที่น่าเคลือบแคลง
***งัดข้อ “เนวิน” เบรกรถเมล์เอ็นจีวี
นอกเหนือจากโครงการต่างๆ ข้างต้นแล้ว ยังมีโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวีที่มีปัญหาอื้อฉาวมาตั้งแต่สมัยรัฐบายสมัคร ซึ่งหลายฝ่ายคาดหมายว่าคงได้รับการทบทวนตรวจสอบใหม่ในยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะก่อนหน้านี้พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะพรรคฝ่ายค้าน ได้เตรียมเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลสมัครมาแล้ว แถมมีการแพลมชื่อนักการเมืองร่วมงาบหัวคิวอีกด้วย
แต่พลันที่ เนวิน ชิดชอบ ส่ง โสภณ ซารัมย์ เข้ามาครองตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โสภณ ได้ประกาศก่อนที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ จะแถลงนโยบายต่อรัฐสภาด้วยซ้ำว่า จะเดินหน้าโครงการรถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน มูลค่า 62,598 ล้านบาท ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โดยจะไม่มีการทบทวนใหม่แต่อย่างใด เพราะผ่านขั้นตอนดำเนินการมาไกลและควรจะเดินหน้าต่อไป
โครงการดังกล่าว อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ และ ถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ได้รวบรวบข้อมูลเพื่ออภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลสมัครมาแล้ว โดยตั้งข้อสังเกตถึงความไม่โปร่งใส ไม่คุ้มค่า ซ้ำยังเพลมชื่อมิสเตอร์เอส และมิสเตอร์ที งาบหัวคิวคันละล้านอีกด้วย
งานนี้จึงเป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่งว่า เมื่อพรรคประชาธิปัตย์พลิกขั้วมาเป็นฝ่ายรัฐบาล จะกล้าเบรกโครงการนี้หรือไม่
*** รื้อเอ็นบีที นำร่องปฏิรูปสื่อ
สำหรับการปฏิรูปสื่อซึ่งเป็นประเด็นที่มีการเรียกร้องจากสังคมไม่น้อยไปกว่าการจัดการปัญหาทุจริตนั้น สาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งรับหน้าที่กำกับดูแลสื่อสารมวลชน ได้ส่งสัญญาณเข้าไปปรับเปลี่ยนใหม่ไล่ตั้งแต่ชื่อช่องเอ็นบีทีกลับมาเป็นช่อง 11 ตามเดิม รวมทั้งรายการที่สนองนโยบายของรัฐบาล
สัญญาณจากรัฐบาลใหม่ ทำให้ช่องเอ็นบีทีเตรียมปรับผังรายการใหม่เพื่อตอบสนองทันควัน โดยเปิดให้เวลารัฐบาลเข้ามาใช้ช่องเอ็นบีทีนำเสนอนโยบายต่างๆ พร้อมกันนั้นก็ดึงรายการและเวลาจากบริษัทดิจิตอล มีเดียฯ บริษัทของกลุ่มเนวิน มาทำเองมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการใช้วิธีค่อยๆ ลดบทบาทของบริษัทเอกชนรายดังกล่าวที่เข้ามามีอิทธิพลในช่องเอ็นบีทียุครัฐบาลนอมินีทักษิณ แทนการหักด้ามพร้าด้วยเข่า เพื่อลดการเผชิญหน้า
หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณเดือนเม.ย. ปี 2551 ที่ผ่านมา อลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ บุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นหนังสือต่อพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อขอให้สอบสวนความไม่โปร่งใสการทำสัญญาของ NBT กับบริษัทดิจิตอล มีเดีย
หนังสือที่ยื่นต่อ สตง. ระบุว่า การที่กรมประชาสัมพันธ์ไปทำสัญญาให้ บริษัทดิจิตอล มีเดีย ให้ผลิตรายการข่าววันละ 9 ชั่วโมงครึ่ง แลกกับการขายโฆษณา ชั่วโมงละ 7 นาทีโดยจ่ายผลตอบแทนให้ช่อง 11 ปีละ 40 ล้านบาทนั้น น่าจะทำให้รัฐเสียประโยชน์ เพราะปกติแล้ว ช่อง 11 คิดค่าเช่าเวลาชั่วโมงละ 30,000-100,000 บาท เงินค่าตอบแทนที่ดิจิตอล มีเดีย จะต้องจ่ายจึงไม่ควรจะต่ำกว่าปีละ 100 ล้านบาท
นอกจากนั้น กรมประชาสัมพันธ์ยังยอมให้ดิจิตอล มีเดีย ใช้เครื่องไม้เครื่องมือของช่อง 11 ทั้งหมด โดยไม่ต้องลงทุนเอง ที่สำคัญ การทำสัญญาจ้างบริษัทดิจิตอล มีเดีย ไม่มีการเปิดกว้างให้เอกชนรายอื่นๆ เสนอตัวเข้ามาแข่งขันด้วย ซึ่งเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.ฮั้ว ทั้งนี้ สัญญาระหว่างกรมประชาสัมพันธ์กับ ดิจิตอล มีเดีย ทำกันเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2551 มีอายุ 2 ปี จะครบกำหนดในวันที่ 16 มีนาคม 2553
ส่วน อสมท ซึ่งถูกการเมืองแทรกแซงในสมัยรัฐบาลสมัคร ต่อเนื่องมาถึงรัฐบาลสมชาย นั้น สาทิตย์ เปรยว่า จะต้องเข้าไปเปลี่ยนบอร์ด เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนใหม่เช่นกัน
สำหรับ อสมท นั้น สมัยรัฐบาลสมัคร ต่อเนื่องด้วยรัฐบาลสมชาย เข้ามากุมอำนาจบริหารประเทศ ได้มีการเปลี่ยนบอร์ด อสมท. โดยมี จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคพลังประชาชน บิดาของ จารุวงศ์ เรืองสุวรรณ เลขานุการของ จักรภพ เพ็ญแข เป็นประธานบอร์ด, นัที เปรมรัศมี รองประธาน พร้อมด้วย ธงทอง จันทรางศุ อดีตบอร์ด อสมท ยุค มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ เป็นผอ.อสมท ซึ่งสั่งปลดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ออกจากผังรายการ
ส่วนกรรมการ ประกอบด้วย ดนุชา ยินดีพิธ, นฤนารท พระปัญญา, ประสาน หวังรัตนปราณี, วิทยาธร ท่อแก้ว, สมบูรณ์ ม่วงกล่ำ, อนุสรณ์ ธรรมใจ, พงษ์ชัย อมตานนท์ ปราโมทย์ โชคศิริกุล
บอร์ด อสมท ข้างต้น ได้เดินแผนปลด วสันต์ ภัยหลีกลี้ ผอ.อสมท ออกจากตำแหน่งด้วยข้อกล่าวหาและวิธีการต่างๆ เช่น การทำผิดสัญญา หารายได้ไม่เข้าเป้า ฯลฯ กระทั่ง วสันต์ ได้สวนกลับหากถูกปลดจริงจะฟ้องศาลปกครอง แต่ในที่สุด วสันต์ ก็ต้องยุติบทบาท ผอ.อสมท ด้วยเหตุที่ว่าสไตล์การทำงานแตกต่างจากบอร์ด
ขณะที่ องอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นฝ่ายค้านในขณะนั้น ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นแรงกดดันจากรัฐบาลที่ต้องการเข้ามายึดกุม อสมท เพื่อเอื้อประโยชน์ทางการเมืองในการทำลายคู่แข่งและตักตวงผลประโยชน์ทางธุรกิจเพื่อเป็นทุนทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม การปรับรื้อช่องเอ็นบีที และ อสมท เป็นเพียงภารกิจจิ๊บๆ เมื่อเทียบกับการปฏิรูปสื่อทั้งระบบเพื่อเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้าไปมีสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม อันเป็นทรัพยากรการสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 47
ที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ ขณะทำหน้าที่พรรคฝ่ายค้านได้เสนอร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. ..... เพื่อปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2543 เข้าสู่สภาฯ ซึ่งค้างอยู่ในสภาฯ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนขั้วการเมือง
แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นหลักๆ ของร่าง พ.ร.บ. เช่น การเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีโอกาสเข้าเป็นเจ้าของคลื่นความถี่ร้อยละ 20 และห้ามไม่ให้มีการโฆษณาเพื่อปิดช่องธุรกิจเข้าครอบงำสื่อ, กระบวนการสรรหาคณะกรรมการ กสทช. การกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้ารับการสรรหา เพื่อความโปร่งใส ได้ตัวแทนจากทุกภาคส่วนไม่ใช่มีเพียงตัวแทนจากธุรกิจการเมือง
ที่สำคัญคือ การปล่อยให้ กสทช. กำหนดนโยบายที่เป็นอิสระหรือจะต้องอยู่ภายใต้การกำหนดของรัฐบาล ถือเป็นเรื่องสำคัญที่พรรคประชาธิปัตย์ ต้องทำให้เกิดความชัดเจนและเร่งทำคลอดกฎหมายดังกล่าวออกมาบังคับโดยไม่ชักช้าเพื่อเปิดให้ประชาชนมีโอกาสเป็นเจ้าคลื่นความถี่วิทยุ โทรทัศน์ โทรคมนาคม ตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ อย่างแท้จริง ซึ่งนั่นจะนำไปสู่การปฏิรูปสื่ออย่างขนานใหญ่ ไม่ใช่การปล่อยให้ทรัพยากรการสื่อสารถูกครอบครองโดยรัฐบาลและทุนดังที่เป็นมาตลอดนับตั้งแต่สถานีวิทยุโทรทัศน์เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยสมัยจอมพลป.พิบูลสงคราม จวบจนปัจจุบัน
ดูเหมือนว่า ภารกิจของรัฐบาลประชาธิปัตย์ในช่วงบ้านเมืองประสบภาวะวิกฤตรอบด้าน จะหนักหนาสาหัส แต่สังคมก็ยังคาดหวังว่าสารพัดโครงการซึ่งถูกตรวจสอบและมีข้อกล่าวหาว่าพัวพันกับการทุจริตจะถูกเชคบิลและกระบวนยุติธรรมนำคดีขึ้นสู่ชั้นศาล หาไม่แล้ว จะกลายเป็นแต่เพียงทีใครทีมันสลับกันขึ้นมาแสวงหาประโยชน์บนข้ออ้างเพื่อประเทศชาติเท่านั้น