ผู้จัดการรายวัน – องค์กรผู้บริโภคคัดค้านรัฐบาลลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ชี้ทำให้ประเทศสูญงบประมาณกว่า 25,000 ล้านโดยไม่จำเป็น หนุนร่วมมือซื้อคืนหุ้นปตท.จากตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งสามารถลดราคาน้ำมันได้ทันที 5 บาท และรับประกันไม่ขึ้นราคาก๊าซธรรมชาติอีก 10 ปี
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิผู้บริโภค แถลงคัดค้านมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันของรัฐบาล เพราะเป็นเพียงนโยบาย ที่ช่วยสร้างความร่ำรวยให้บริษัทน้ำมันเพิ่มขึ้น ทำให้ประเทศต้องสูญเสียงบประมาณ 25,000 ล้านบาท ในระยะเวลา 6 เดือน โดยไม่มีความจำเป็น แทนที่รัฐฯจะคิดราคาน้ำมันให้เป็นธรรมกับผู้บริโภค โดยใช้ราคาต้นทุนที่แท้จริงของน้ำมัน ไม่ใช่ราคาน้ำมันจากประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากปัจจุบันบริษัทน้ำมันใช้น้ำมันจากประเทศแถบตะวันออกกลางและน้ำมันจากในประเทศถึงร้อยละ 21
เช่น หากประเทศสิงคโปร์ กำหนดราคาซื้อขายที่ 34 บาท บริษัทน้ำมันก็จะกำหนดราคาน้ำมันในประเทศไทยอยู่ที่ 35 บาทโดยอัติโนมัติเพราะบวกค่าขนส่ง 1 บาททันที เมื่อรวมกับค่าการตลาด ภาษีกองทุนน้ำมัน ภาษีมูลค่าเพิ่มอีกประมาณ 6 บาท ทำให้ราคาน้ำมันที่จำหน่ายในท้องตลาดจะอยู่ที่ 41 บาท
แต่หากพิจารณาต้นทุนที่แท้จริง พบว่า ต้นทุนราคาน้ำมันดิบที่ซื้อขายประมาณ 140 เหรียญต่อบาเรล ทำให้ราคาน้ำมันดิบก่อนการกลั่นของบริษัท อยู่ที่ประมาณ 28 บาทต่อลิตร ซึ่งหากรวมค่าขนส่งและค่าการกลั่นจำนวน 2 บาท ค่าการตลาดและภาษีทุกประเภทอีก 6 บาท ดังนั้น บริษัทน้ำมัน หรือปตท. ควรจะขายน้ำมันอยู่ที่ลิตรละ 36 บาทก็มีกำไรแล้ว
ทั้งนี้ ในทางกลับกัน หากปตท.กลั่นน้ำมันส่งออกไปขายที่สิงคโปร์ จะขายได้ในราคาเพียง 33 บาทเท่านั้น เพราะต้องหักต้นทุน 1 บาทสำหรับค่าขนส่งน้ำมัน
นางสาวสารี กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนปัจจุบัน น่าจะทราบปัญหาการคิดราคาที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคนี้ดี จึงมีมติเสนอให้บริษัทน้ำมันลดราคาเพื่อลดภาระของประชาชนจำนวน 1 บาทต่อลิตร ซึ่งบริษัทก็ยังคงมีกำไรมากมาย แต่บริษัทน้ำมันได้สร้างภาพร่วมกันโดยลดราคาน้ำมันให้มากกว่าที่รัฐมนตรีขอความร่วมมือถึง 3 บาทต่อลิตร แต่เป็นการลดราคาให้เพียง 700 ล้านลิตรเท่านั้น คิดเป็นเงินประมาณ 2,000 ล้านบาท หรือเพียงร้อยละ 10 ที่รัฐมนตรีเสนอ เพราะประเทศไทยใช้น้ำมันโดยรวมประมาณ 20,000 ล้านลิตรต่อปี
“ในขณะที่ทุกคนกำลังเดือดร้อนอย่างหนักจากผลกระทบของราคาน้ำมัน ทั้งผู้บริโภคและภาคการผลิต แต่บริษัทน้ำมันที่เคยเป็นรัฐวิสาหกิจของประเทศ สามารถทำกำไรได้อย่างมากมายมหาศาลระดับแสนล้าน ใช้เงินทำการตลาด การโฆษณา สร้างภาพองค์กร”
นางสาวสารี กล่าวต่อว่า เวลานี้แม้รัฐบาลจะยังชะลอการขึ้นราคาก๊าซหุงต้มโดยอ้างเหตุผลเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว รัฐไม่จำเป็นต้องขึ้นราคาก๊าซ LPG ที่ใช้ในประเทศได้ถึง 10 ปี และในปัจจุบันราคาก๊าซ LPG ที่กำหนดราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นยังเป็นราคาที่มีกำไรและไม่ได้เป็นราคาที่อุดหนุนแต่ประการใด
นอกจากนั้น องค์กรผู้บริโภค เสนอให้ประชาชนผู้บริโภค ร่วมมือกันซื้อหุ้นปตท.คืน โดยจ่ายเงินคนละไม่ถึง 3,370 บาท หากคิดจากจำนวนประชากร 63 ล้านคน หรืออาจจ่ายมากน้อยตามสัดส่วนการเสียภาษี ผู้ที่ขับรถยนต์ หรือ ยืมเงินจากกองทุนต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมาย ก็สามารถนำปตท.กลับมาเป็นของทุกคน ลดค่าน้ำมันได้ทันทีลิตรละ 5 บาท รัฐได้ภาษีสรรพสามิตทุกบาททุกสตางค์ไม่เหมือนกับการลดภาษีน้ำมันของนายกสมัคร สุนทรเวช รวมทั้งรับประกันไม่ขึ้นราคาก๊าซอีกอย่างน้อย 10 ปี
“ปัจจุบันรัฐโดยกระทรวงการคลังเป็นเจ้าของหุ้น ปตท. 51.8% ซึ่งมีจำนวนหุ้นประมาณ 1,460 ล้านหุ้น หุ้นที่เหลือของนิติบุคคลอื่นประมาณ 847 ล้านหุ้น ๆ ละ 250 บาท ณ วันที่ 16 กรกฎาคมนี้ ดังนั้น จะต้องใช้เงินประมาณ 211,750 ล้านบาท แต่รัฐก็ควรจะลงทุน เพราะปตท.มีกำไรสุทธิประมาณ 100,000 ล้านบาท ลงทุนเพียง 2 ปีกว่า ๆ ก็คืนทุน ปีที่ 3 สามารถนำกำไรทำโครงการหลักประกันสุขภาพหรือสร้างรถไฟฟ้าได้”
องค์กรผู้บริโภค ยังเปรียบเทียบให้เห็นว่า หากเราเป็นเจ้าของปตท. จะสามารถดำเนินการให้ปตท. 1) ลดราคาน้ำมันจำนวน 5 บาท ต่อลิตรในน้ำมันทุกประเภท และหยุดใช้ราคาสิงคโปร์เป็นตัวกำหนดราคาน้ำมัน และหันมาใช้โครงสร้างราคาน้ำมันที่แท้จริงในการคิดราคาจำหน่ายในประเทศ 2) หยุดส่งออกก๊าซธรรมชาติ และหยุดขึ้นราคาก๊าซธรรมชาติทุกประเภทไม่น้อยกว่า 10 ปี ตามสัญญาสัมปทานก๊าซธรรมชาติ
3) ขายก๊าซธรรมชาติ ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในราคาที่เป็นธรรมเพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าให้กับผู้บริโภค 4) สนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงาน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติที่ยั่งยืน เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศในอนาคตและ 5) กระทรวงการคลังต้องเร่งตรวจสอบการคืนทรัพย์สินของปตท.ให้ครบถ้วนในเบื้องต้นระหว่างที่ยังไม่สามารถซื้อปตท.คืนได้
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิผู้บริโภค แถลงคัดค้านมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันของรัฐบาล เพราะเป็นเพียงนโยบาย ที่ช่วยสร้างความร่ำรวยให้บริษัทน้ำมันเพิ่มขึ้น ทำให้ประเทศต้องสูญเสียงบประมาณ 25,000 ล้านบาท ในระยะเวลา 6 เดือน โดยไม่มีความจำเป็น แทนที่รัฐฯจะคิดราคาน้ำมันให้เป็นธรรมกับผู้บริโภค โดยใช้ราคาต้นทุนที่แท้จริงของน้ำมัน ไม่ใช่ราคาน้ำมันจากประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากปัจจุบันบริษัทน้ำมันใช้น้ำมันจากประเทศแถบตะวันออกกลางและน้ำมันจากในประเทศถึงร้อยละ 21
เช่น หากประเทศสิงคโปร์ กำหนดราคาซื้อขายที่ 34 บาท บริษัทน้ำมันก็จะกำหนดราคาน้ำมันในประเทศไทยอยู่ที่ 35 บาทโดยอัติโนมัติเพราะบวกค่าขนส่ง 1 บาททันที เมื่อรวมกับค่าการตลาด ภาษีกองทุนน้ำมัน ภาษีมูลค่าเพิ่มอีกประมาณ 6 บาท ทำให้ราคาน้ำมันที่จำหน่ายในท้องตลาดจะอยู่ที่ 41 บาท
แต่หากพิจารณาต้นทุนที่แท้จริง พบว่า ต้นทุนราคาน้ำมันดิบที่ซื้อขายประมาณ 140 เหรียญต่อบาเรล ทำให้ราคาน้ำมันดิบก่อนการกลั่นของบริษัท อยู่ที่ประมาณ 28 บาทต่อลิตร ซึ่งหากรวมค่าขนส่งและค่าการกลั่นจำนวน 2 บาท ค่าการตลาดและภาษีทุกประเภทอีก 6 บาท ดังนั้น บริษัทน้ำมัน หรือปตท. ควรจะขายน้ำมันอยู่ที่ลิตรละ 36 บาทก็มีกำไรแล้ว
ทั้งนี้ ในทางกลับกัน หากปตท.กลั่นน้ำมันส่งออกไปขายที่สิงคโปร์ จะขายได้ในราคาเพียง 33 บาทเท่านั้น เพราะต้องหักต้นทุน 1 บาทสำหรับค่าขนส่งน้ำมัน
นางสาวสารี กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนปัจจุบัน น่าจะทราบปัญหาการคิดราคาที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคนี้ดี จึงมีมติเสนอให้บริษัทน้ำมันลดราคาเพื่อลดภาระของประชาชนจำนวน 1 บาทต่อลิตร ซึ่งบริษัทก็ยังคงมีกำไรมากมาย แต่บริษัทน้ำมันได้สร้างภาพร่วมกันโดยลดราคาน้ำมันให้มากกว่าที่รัฐมนตรีขอความร่วมมือถึง 3 บาทต่อลิตร แต่เป็นการลดราคาให้เพียง 700 ล้านลิตรเท่านั้น คิดเป็นเงินประมาณ 2,000 ล้านบาท หรือเพียงร้อยละ 10 ที่รัฐมนตรีเสนอ เพราะประเทศไทยใช้น้ำมันโดยรวมประมาณ 20,000 ล้านลิตรต่อปี
“ในขณะที่ทุกคนกำลังเดือดร้อนอย่างหนักจากผลกระทบของราคาน้ำมัน ทั้งผู้บริโภคและภาคการผลิต แต่บริษัทน้ำมันที่เคยเป็นรัฐวิสาหกิจของประเทศ สามารถทำกำไรได้อย่างมากมายมหาศาลระดับแสนล้าน ใช้เงินทำการตลาด การโฆษณา สร้างภาพองค์กร”
นางสาวสารี กล่าวต่อว่า เวลานี้แม้รัฐบาลจะยังชะลอการขึ้นราคาก๊าซหุงต้มโดยอ้างเหตุผลเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว รัฐไม่จำเป็นต้องขึ้นราคาก๊าซ LPG ที่ใช้ในประเทศได้ถึง 10 ปี และในปัจจุบันราคาก๊าซ LPG ที่กำหนดราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นยังเป็นราคาที่มีกำไรและไม่ได้เป็นราคาที่อุดหนุนแต่ประการใด
นอกจากนั้น องค์กรผู้บริโภค เสนอให้ประชาชนผู้บริโภค ร่วมมือกันซื้อหุ้นปตท.คืน โดยจ่ายเงินคนละไม่ถึง 3,370 บาท หากคิดจากจำนวนประชากร 63 ล้านคน หรืออาจจ่ายมากน้อยตามสัดส่วนการเสียภาษี ผู้ที่ขับรถยนต์ หรือ ยืมเงินจากกองทุนต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมาย ก็สามารถนำปตท.กลับมาเป็นของทุกคน ลดค่าน้ำมันได้ทันทีลิตรละ 5 บาท รัฐได้ภาษีสรรพสามิตทุกบาททุกสตางค์ไม่เหมือนกับการลดภาษีน้ำมันของนายกสมัคร สุนทรเวช รวมทั้งรับประกันไม่ขึ้นราคาก๊าซอีกอย่างน้อย 10 ปี
“ปัจจุบันรัฐโดยกระทรวงการคลังเป็นเจ้าของหุ้น ปตท. 51.8% ซึ่งมีจำนวนหุ้นประมาณ 1,460 ล้านหุ้น หุ้นที่เหลือของนิติบุคคลอื่นประมาณ 847 ล้านหุ้น ๆ ละ 250 บาท ณ วันที่ 16 กรกฎาคมนี้ ดังนั้น จะต้องใช้เงินประมาณ 211,750 ล้านบาท แต่รัฐก็ควรจะลงทุน เพราะปตท.มีกำไรสุทธิประมาณ 100,000 ล้านบาท ลงทุนเพียง 2 ปีกว่า ๆ ก็คืนทุน ปีที่ 3 สามารถนำกำไรทำโครงการหลักประกันสุขภาพหรือสร้างรถไฟฟ้าได้”
องค์กรผู้บริโภค ยังเปรียบเทียบให้เห็นว่า หากเราเป็นเจ้าของปตท. จะสามารถดำเนินการให้ปตท. 1) ลดราคาน้ำมันจำนวน 5 บาท ต่อลิตรในน้ำมันทุกประเภท และหยุดใช้ราคาสิงคโปร์เป็นตัวกำหนดราคาน้ำมัน และหันมาใช้โครงสร้างราคาน้ำมันที่แท้จริงในการคิดราคาจำหน่ายในประเทศ 2) หยุดส่งออกก๊าซธรรมชาติ และหยุดขึ้นราคาก๊าซธรรมชาติทุกประเภทไม่น้อยกว่า 10 ปี ตามสัญญาสัมปทานก๊าซธรรมชาติ
3) ขายก๊าซธรรมชาติ ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในราคาที่เป็นธรรมเพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าให้กับผู้บริโภค 4) สนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงาน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติที่ยั่งยืน เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศในอนาคตและ 5) กระทรวงการคลังต้องเร่งตรวจสอบการคืนทรัพย์สินของปตท.ให้ครบถ้วนในเบื้องต้นระหว่างที่ยังไม่สามารถซื้อปตท.คืนได้