ผู้จัดการรายวัน – ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งไม่รับคำร้องของมูลนิธิผู้บริโภคผู้ฟ้องคดีปตท.ที่ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีโอนทรัพย์สิน อำนาจและสิทธิคืนรัฐ เหตุผู้ร้องมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เตรียมทำหนังสือถึงคลังตรวจสอบการรับโอนทรัพย์สินฯ อีกครั้ง
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง กรรมการผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการติดตามการบังคับคดีปตท.ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดว่า เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2551 ศาลปกครองสูงสุด มีหนังสือแจ้งคำสั่งมายังนางสาวรสนา โตสิตระกูล ผู้ฟ้องคดีที่ 2 ว่า คดีดังกล่าว ตุลาการเจ้าของสำนวนได้พิจารณาคำร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีของผู้ฟ้องทั้งห้า ลงวันที่ 28 ม.ค. 2551 แล้ว เห็นว่า ผู้ที่มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีได้ ต้องเป็นบุคคลที่เป็นฝ่ายชนะคดีหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา สำหรับคดีนี้ ศาลพิพากษาให้ยกคำขอของผู้ฟ้องคดี ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ไม่มีสิทธิบังคับคดีนี้ได้ เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่อาจร้องขอให้บังคับคดีได้ ให้ยกคำร้อง
หนังสือแจ้งคำสั่งดังกล่าว ลงนามโดยนางชนานันท์ ตรีรานุรัตน์ ผู้อำนวยการกลุ่มสนับสนุนงานคดีปกครอง ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานศาลปกครองสูงสุด
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2551 นางสาวสารี อ๋องสมหวัง และนางสาวรสนา โตสิตระกูล ในฐานะผู้ฟ้องคดีปตท. ได้เข้ายื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดเพื่อขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี หมายเลขคดีดำที่ ฟ. 47/49 และหมายเลขคดีแดงที่ ฟ.35/ 50 ระหว่างมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กับพวกรวม 5 คน ผู้ฟ้องคดี กับ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 4 คือ คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รมว.กระทรวงพลังงาน และบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) เนื่องจาก คำสั่งศาลปกครองสูงสุด พิพากษาให้มีการแบ่งแยกทรัพย์สิน ในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐออกจากอำนาจและสิทธิของปตท. ให้เสร็จสิ้นก่อนการแต่งตั้ง
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ตามพ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550
ต่อมา เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการประกอบกิจการพลังงาน ตามพระราชบัญญัติประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 จำนวน 7 คน ตามที่นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ รมว.กระทรวงพลังงาน เป็นผู้เสนอ ทำให้ครบเงื่อนเวลาที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ต้องปฎิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ถูกฟ้องคดียังมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาให้ครบถ้วน
นอกจากนั้น ผู้ฟ้องคดีทั้งห้า ยังได้ยื่นคำร้องต่อศาลฯ ว่า ยังมีทรัพย์สินของผู้ถูกฟ้องคดีที่สี่ ที่ต้องโอนคืนกระทรวงการคลังอีกเป็นจำนวนมาก โดยผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่พยายามปิดปัง บ่ายเบี่ยง ไม่ยอมทำบัญชีแบ่งแยก ซึ่งผู้ฟ้องคดีทั้งห้าได้ตรวจพบเบื้องต้นมีมูลค่าร่วมสองแสนล้านบาทที่อยู่ในขอบข่ายที่ปตท.ต้องโอนคืนแก่รัฐตามคำพิพากษาของศาล
นางสาวสารี กล่าวว่า เมื่อศาลฯ มีคำสั่งออกมาว่า ผู้ฟ้องไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาน่าจะเป็นกระทรวงการคลัง ทางผู้ฟ้องคดี จะเร่งทำหนังสือเพื่อยื่นต่อกระทรวงการคลัง ขอตรวจสอบรายการโอนคืนทรัพย์สิน อำนาจและสิทธิที่เป็นอำนาจมหาชนออกจากอำนาจของปตท. อีกครั้ง รวมทั้งจะทำหนังสือเพื่อสอบถามรายละเอียดข้อมูลขั้นตอนการบังคับคดีจากผู้อำนวยการสำนักคดีของศาลปกครองสูงสุดด้วย
อนึ่ง ภายหลังจากศาลฯ มีคำสั่งไม่รับคำร้องขอของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกับพวก รวม 5 คน ในฐานะผู้ฟ้องคดี เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2551 ทาง ปตท. ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดี ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2551 เพื่อขอขยายระยะเวลาการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลฯ ออกไปอีก 30 วัน นับจากวันที่พระมหากษัติรย์ ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการประกอบกิจการพลังงาน ซึ่งสำนักงานศาลปกครอง ได้มีหนังสือแจ้งคำสั่งศาลฯ ลงวันที่ 4 ก.พ. 2551 แจ้งคำสั่งศาลฯ อนุญาตให้ขยายระยะเวลาดำเนินการตามคำพิพากษาออกไปตามที่บริษัทมีคำขอ
ทั้งนี้ บริษัทได้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลและนำส่งรายงานการแบ่งแยกทรัพย์สินตามคำวินิจฉัยและคำสั่งพิพากษาของศาลต่อสำนักงานศาลปกครอง เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2551 พร้อมกับส่งถึงกรมธนารักษ์ เพื่อขอส่งมอบทรัพย์สินที่บริษัทแบ่งแยกตามคำพิพากษาของศาลฯ แล้ว แต่รายการแบ่งแยกทรัพย์สินดังกล่าว ยังไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะแต่อย่างใด
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง กรรมการผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการติดตามการบังคับคดีปตท.ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดว่า เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2551 ศาลปกครองสูงสุด มีหนังสือแจ้งคำสั่งมายังนางสาวรสนา โตสิตระกูล ผู้ฟ้องคดีที่ 2 ว่า คดีดังกล่าว ตุลาการเจ้าของสำนวนได้พิจารณาคำร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีของผู้ฟ้องทั้งห้า ลงวันที่ 28 ม.ค. 2551 แล้ว เห็นว่า ผู้ที่มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีได้ ต้องเป็นบุคคลที่เป็นฝ่ายชนะคดีหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา สำหรับคดีนี้ ศาลพิพากษาให้ยกคำขอของผู้ฟ้องคดี ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ไม่มีสิทธิบังคับคดีนี้ได้ เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่อาจร้องขอให้บังคับคดีได้ ให้ยกคำร้อง
หนังสือแจ้งคำสั่งดังกล่าว ลงนามโดยนางชนานันท์ ตรีรานุรัตน์ ผู้อำนวยการกลุ่มสนับสนุนงานคดีปกครอง ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานศาลปกครองสูงสุด
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2551 นางสาวสารี อ๋องสมหวัง และนางสาวรสนา โตสิตระกูล ในฐานะผู้ฟ้องคดีปตท. ได้เข้ายื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดเพื่อขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี หมายเลขคดีดำที่ ฟ. 47/49 และหมายเลขคดีแดงที่ ฟ.35/ 50 ระหว่างมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กับพวกรวม 5 คน ผู้ฟ้องคดี กับ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 4 คือ คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รมว.กระทรวงพลังงาน และบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) เนื่องจาก คำสั่งศาลปกครองสูงสุด พิพากษาให้มีการแบ่งแยกทรัพย์สิน ในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐออกจากอำนาจและสิทธิของปตท. ให้เสร็จสิ้นก่อนการแต่งตั้ง
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ตามพ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550
ต่อมา เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการประกอบกิจการพลังงาน ตามพระราชบัญญัติประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 จำนวน 7 คน ตามที่นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ รมว.กระทรวงพลังงาน เป็นผู้เสนอ ทำให้ครบเงื่อนเวลาที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ต้องปฎิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ถูกฟ้องคดียังมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาให้ครบถ้วน
นอกจากนั้น ผู้ฟ้องคดีทั้งห้า ยังได้ยื่นคำร้องต่อศาลฯ ว่า ยังมีทรัพย์สินของผู้ถูกฟ้องคดีที่สี่ ที่ต้องโอนคืนกระทรวงการคลังอีกเป็นจำนวนมาก โดยผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่พยายามปิดปัง บ่ายเบี่ยง ไม่ยอมทำบัญชีแบ่งแยก ซึ่งผู้ฟ้องคดีทั้งห้าได้ตรวจพบเบื้องต้นมีมูลค่าร่วมสองแสนล้านบาทที่อยู่ในขอบข่ายที่ปตท.ต้องโอนคืนแก่รัฐตามคำพิพากษาของศาล
นางสาวสารี กล่าวว่า เมื่อศาลฯ มีคำสั่งออกมาว่า ผู้ฟ้องไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาน่าจะเป็นกระทรวงการคลัง ทางผู้ฟ้องคดี จะเร่งทำหนังสือเพื่อยื่นต่อกระทรวงการคลัง ขอตรวจสอบรายการโอนคืนทรัพย์สิน อำนาจและสิทธิที่เป็นอำนาจมหาชนออกจากอำนาจของปตท. อีกครั้ง รวมทั้งจะทำหนังสือเพื่อสอบถามรายละเอียดข้อมูลขั้นตอนการบังคับคดีจากผู้อำนวยการสำนักคดีของศาลปกครองสูงสุดด้วย
อนึ่ง ภายหลังจากศาลฯ มีคำสั่งไม่รับคำร้องขอของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกับพวก รวม 5 คน ในฐานะผู้ฟ้องคดี เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2551 ทาง ปตท. ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดี ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2551 เพื่อขอขยายระยะเวลาการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลฯ ออกไปอีก 30 วัน นับจากวันที่พระมหากษัติรย์ ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการประกอบกิจการพลังงาน ซึ่งสำนักงานศาลปกครอง ได้มีหนังสือแจ้งคำสั่งศาลฯ ลงวันที่ 4 ก.พ. 2551 แจ้งคำสั่งศาลฯ อนุญาตให้ขยายระยะเวลาดำเนินการตามคำพิพากษาออกไปตามที่บริษัทมีคำขอ
ทั้งนี้ บริษัทได้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลและนำส่งรายงานการแบ่งแยกทรัพย์สินตามคำวินิจฉัยและคำสั่งพิพากษาของศาลต่อสำนักงานศาลปกครอง เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2551 พร้อมกับส่งถึงกรมธนารักษ์ เพื่อขอส่งมอบทรัพย์สินที่บริษัทแบ่งแยกตามคำพิพากษาของศาลฯ แล้ว แต่รายการแบ่งแยกทรัพย์สินดังกล่าว ยังไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะแต่อย่างใด