ศูนย์ข่าวภาคใต้ - เครือข่ายเกษตรกรรมอินทรีย์วิถีเมืองลุงและภาคีเครือข่ายต้านสารเคมีวัตถุอันตราย 3 ชนิด พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส-ไกลโซเฟต ปักหลักชุมนุมหน้ากระทรวงเกษตรฯ เป็นวันที่ 2 ชวนตั้งคำถาม “ใครรับเงินจากบรรษัทสารเคมี?” จึงไม่มีการแบนเคมีพิษในระบบผลิตอาหาร ด้านสังคมออนไลน์คาใจยาฆ่าหญ้า “อมพ่น หญ้าตาย คนไม่ตาย” ที่คนในเครื่องแบบสีกากีกล้าเรียงหน้าสาธิตสรรพคุณ ชาวเน็ตตั้งกระทู้ถาม “หลอกลวงหรือไม่?!”
วันนี้ (15 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณีเครือข่ายเกษตรกรรมอินทรีย์วิถีเมืองลุงและภาคีเครือข่ายต้านสารเคมีวัตถุอันตราย 3 ชนิด พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส-ไกลโซเฟต ได้มาปักหลักชุมนุมอย่างไม่มีกำหนด หน้ากระทรวงเกษตรฯพร้อมทำพิธีสาบแช่งหน่วยงานที่อนุญาตนำให้ใช้สารดังกล่าว โดย ระบุว่าจะยืนหยัดนั่งอยู่หน้ากระทรวงเกษตรฯ จนกว่ารัฐบาลประกาศแบน
โดยในเช้าวันนี้เฟซบุกของนายประสิทธิ์ชัย หนูนวล ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ ได้ถ่ายทอดสดการชุมนุมโดยมีการตั้งคำถามถึงประเด็นที่ว่ามี “ใครรับเงินจากบรรษัทสารเคมีหรือเปล่าจึงไม่แบนเคมีพิษในระบบการผลิตอาหาร” ชมคลิปได้จากลิงค์คลิปวิดีโอถ่ายทอดสดด้านล่างนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าพาราควอตเป็นยากำจัดวัชพืชชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมที่สุดในโลก ถูกสังเคราะห์ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1882 แต่ถูกนำมาใช้กำจัดวัชพืชครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1955 ผลิตจำหน่ายครั้งแรกในปี ค.ศ.1961 โดยบริษัท ICI ปัจจุบันทำการตลาดโดยบริษัท ซินเจนทา ในประเทศไทย พาราควอตเป็นที่รู้จักในชื่อการค้า กรัมม็อกโซน (Grammoxone) เป็นยาฆ่าวัชพืชที่นิยมใช้ที่สุดในประเทศไทย
ขณะที่เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ ไทยแพน ที่เปิดเผยข้อมูลปี 2559 ว่าพบสารพิษตกค้างในพืช-ผักถึง 66 ชนิด ส่วนข้อมูลสถิติปริมาณการใช้สารเคมีในปี 2560 ทางเครือข่าย BIOTHAI รายงานว่าโดยทั่วไปสถิติการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถตรวจสอบได้ที่สำนักงานควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร แต่กลับไม่พบตัวเลขการใช้สารเคมีประจำปี 2560 แต่ประการใด
ไบโอไทยค้นจากสถิติของกรมศุลกากรแทน พบข้อมูลน่าตระหนกว่า สถิติการใช้สารเคมีในปีที่ผ่านมามีมูลค่าเพิ่มสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยพบว่ามีมูลค่าการนำเข้าสูงถึง 26,793,588,586 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 39.3% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2559 อ่านเหตุผลที่เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ทั่วประเทศเรียกร้องให้มีการยกเลิกการอนุญาตใช้สารกำจัดศัตรูพืชได้จากลิงค์ https://www.change.org/p/สนับสนุนให้ประเทศไทยยกเลิกการใช้สารฆ่าหญ้าพาราควอต-สารฆ่าแมลงคลอร์ไพริฟอส-และไกลโฟเซต
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าประเด็นการใช้สารกำจัดวัชพืชในการเกษตรพบว่ามีประเด็นที่เป็นที่ฮือฮาและเป็ยข้อถกเถียงอยู่ในเว็บไซต์ pantip.com ตามลิงค์ https://pantip.com/topic/31055187 ซึ่งสมาชิกเว็บบอร์ดผู้ตั้งกระทู้ใช้นามว่า chedhopper เผยแพร่เมื่อ 2 ตุลาคม 2556 เวลา 08:21 น. โดยระบุถึงการเอ่ยอ้างสรรพคุณของผู้ผลิตและจำหน่ายสารกำจัดศัตรูพืชที่ระบุว่าเป็น “ชีวภัณฑ์ฆ่าหญ้า” ยี่ห้อหนึ่งในกระทู้หัวข้อ “หลอกลวงหรือไม่” มีข้อความว่า
“สารที่สกัดมาจากพืช แล้วออกฤทธิ์ทำลายพืชด้วยกันเอง โดยไปยับยั้งการสังเคราะห์คลอโรฟิวส์ ผมว่ามันไม่น่าจะเป็นไปได้นะครับ คิดว่าถ้าเป็นจริงต้องเสนอรางวัลโนเบลด้านสิ่งแวดล้อมให้เลย หรือไม่ก็จดสิทธิบัตรขายให้บริษัทข้ามชาติอย่าง Monsanto หรือ Syngenta คงได้หลักพันล้าน”
“แต่หากไม่เป็นตามที่โฆษณา... ถ้าเป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีในท้องตลาดแล้วนำมาแต่งกลิ่น ปรับความเจือจาง แล้วมาหลอกขายตามหมู่บ้านต่างๆ ผ่านผู้นำชุมชน ผมว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งเลยครับ ช่วยกันวิเคราะห์หน่อยนะครับ ผมว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ถ้าจริงก็ควรส่งเสริม แต่ถ้าไม่จริงควรตัดไฟแต่ต้นลมนะครับ ตามไปลิ้งค์นี้เลยครับ http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=293828.0 - http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=443103.0
จากการตรวจสอบไปตามลิงค์ดังกล่าวพบข้อความโฆษณาจำหน่ายยาฆ่าหญ้าชนิดนี้ระบุว่า
“พลิกโฉมราคาใหม่ชีวภัณฑ์ฆ่าหญ้าลูกเดียว เขียวเป็นตาย ตายทั้งใบแคบและใบกว้าง เวลาพ่นไม่ต้องใส่เสื้อผ้ามิดชิด โดนเนื้อโดนตัวไม่เป็นไร *มีที่เดียวในโลกจร้า* ดูรายละเอียดข้างล่างนะค่ะ ราคาขาย ขวดหนึ่งลิตร มี 2 แบบ เผาไหม้ และดูดซึม ราคาเดียว 350 บาท กรุณาสั่งจองล่วงหน้าค่ะ ซื้อเยอะต่อรองราคาได้ค่ะ ราคานี้ไม่รวมค่าขนส่ง หรือมารับเองได้ที่ ในห้องสมุดประชาชนห้องถ่ายเอกสาร จ. เชียงรายจร้า (ตอนนี้มีทั้งแบบเผาไหม้ และดูดซึมทั้ง 2 อย่างเลยจร้า)
“*** หมายเหตุการสาธิตการฆ่าหญ้าสมุนไพรบางตัว อาจจะไม่ถูกกับร่างกายของแต่ละคน อาจจะแพ้ได้*** (ผลิตภัณฑ์มาจากสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน & กลุ่มวิสาหกิจชุมชน สนใจติดต่อได้ที่ 089-5533112 คุณ พลพิพัฒน์ ไชยมะณี จร้า) ธ กรุงไทย สาขา เชียงราย 504 044 6535”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสิ่งที่สร้างความฮือฮาคือการสาธิตการใช้ยาฆ่าหญ้าดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อความที่ถูกนำมาใช้เป็นคำโฆษณายาฆ่าหญ้านี้ในสังคมออนไลน์มาจนถึงปัจจุบันโดยมีการตั้งชื่อหน้าเพจว่า “ยาฆ่าหญ้าชีวภาพ นิวตรอน” โดยมีสโลแกนที่เป็นคำโฆษณาสรรพคุณว่า
“อมพ่น หญ้าตาย คนไม่ตาย อิอิสนใจ สั่งซื้อ สอบถามเพิ่มเติมโทร 064-776 5939 @ไลน์ http://line.me/ti/p/GGSapMcT1S อินบ๊อก http://m.me/newtron.by.puy #ยาฆ่าหญ้าชีวภาพ
จากกระทู้ “หลอกลวงหรือไม่” พบว่ามีผู้มาแสดงความคิดเห็นต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงปี 256o ขณะเดียวกันเพจ “ยาฆ่าหญ้าชีวภาพ นิวตรอน” ยังคงมีความเคลื่อนไหวอยู่ในปัจจุบัน ปรากฎสื่อการสาธิตการใช้ยาฆ่าหญ้ายี่ห้อนี้ทั้งในรูปแบบของคลิปวิดีโอและภาพนิ่ง
โดยพบว่ามีบุคคลแต่งชุดสีกากีแบบข้าราชการหรือพนักงานปกครองส่วนท้องถิ่นปรากฎภาพเป็นผู้ร่วมสาธิตสรรพคุณยาฆ่าหญ้าชนิดนี้ด้วยการเทน้ำยาใส่ปาก “อม” แล้ว “พ่น” ลงบนพื้นหญ้า พร้อมภาพที่อ้างว่าใช้เวลาประมาณ 30 นาทีหญ้าก็เริ่มเหี่ยว ซึ่งลักษณะการออกฤทธิ์ของสารดังกล่าวใกล้เคียงกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชประเภทพาราควอต สังคมจึงยิ่งมีประเด็นค้างคาใจเนื่องจากฉลากที่ปิดอยู่บนบรรจุภัณฑ์ของยาฆ่าหญ้าชนิดนี้ระบุคำเตือนที่ระบุถึงอันตรายของสารดังกล่าว ดังที่แสดงไว้ท้ายกระทู้ “หลอกลวงหรือไม่” อาทิ
ความคิดเห็นที่ 3 - ชื่อสมาชิก Always Red เผยแพร่เมื่อ 2 ตุลาคม 2556 เวลา 08:58 น. “ขอมุงด้วยคนทำเป็นเล่นไป งานนี้อลังการพอสมควร.... ใครรู้ข้อเท็จจริงว่ามันคือสารอะไรมาตอบทีครับ ปล. เหมือนจะปลอดภัย แต่พออ่านคำเตือนแล้วไหงมันต้องอยู่เหนือลม ปิดปาก ปิดจมูก ใช้เสร็จให้อาบน้ำ .... แล้วพวกเมิงเอามาอมพ่นกันเนี่ยนะ”
ความคิดเห็นที่ 5 ชื่อสมาชิก toxicobkk เผยแพร่เมื่อ 2 ตุลาคม 2556 เวลา 09:05 น. “อ่านตาม net พบว่าผลิตโดย นายสมพร ดีจิตรวศิน ที่บอกว่าเป็นนักวิชาการอิสระ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตสารชีวภัณฑ์ แต่ผมเองหาข้อมูลมากกว่านี้ไม่เจอ
จากข้อมูลฝ่ายเดียว มีข่าวการทดสอบใช้กำจัดผักตบชวาที่เชืยงใหม่ และกำจัดจอกหูหนูยักษ์ที่เทศบาลตำบลมะเขือแจ้ ตั้งแต่ มีค, เมย 56 แต่ยังไม่เห็นผลการทดสอบเลย จาก youtube เห็นว่าใบกระถินเปลี่ยนสีใน 10 นาที ผักตบชวาเปลี่ยนสีใน 1 วัน
ส่วนกลไก ฟังจากที่พูดในคลิป งงมาก เหมือนพยายามใช้ศัพท์วิทยาศาสตร์ทำให้ดูขลังมากกว่าจะพยายามอธิบายจริง ๆ แต่ผมก็ยังไม่สามารถบอกได้ว่าหลอกลวงหรือไม่ มีข้อสงสัยต่อไปนี้ ถ้าดีจริง ผู้ผลิตน่าจะมีผลการทดสอบที่เป็นหลักเป็นฐาน มาแสดงด้วย แบบที่ถูกต้องตามกระบวนการทดสอบทางวิทยาศาสตร์
ถ้าดีจริง ก็คงขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แต่การไปสาธิต ดูจะไม่ค่อยเป็นมือ pro เท่าไร ออกไปทางโฆษณาชวนเชื่อมากกกว่า และถ้าสินค้าดีจริง ก็น่าจะให้หน่วยงานวิชาการของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทดสอบดู จะ sure กว่า และน่าจะดีต่อการโฆษณา”
ความคิดเห็นที่ 7 ชื่อสมาชิก JD300 เผยแพร่ 2 ตุลาคม 2556 เวลา 09:23 น. “ผมคิดว่าจริงๆ เค้าก็แอบผสมยาฆ่าหญ้ากลุ่มไกลโฟเสตลงไปด้วยครับ พวกราวด์อัพน่ะ ตามข้อมูลในวิกิฯ ยาฆ่าหญ้ากลุ่มนี้มันมีพิษต่ำมากต่อมนุษย์ โดยเฉพาะในกรณีของการรับเข้าไปทางปาก... แต่ผมไม่เคยลองทำดูนะครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/Glyphosate#Human Based on an assessment completed in 1993 and published as a Reregistration Eligibility Decision (RED) document, the EPA considers glyphosate to be noncarcinogenic and relatively low in dermal and oral acute toxicity.[19]”
ความคิดเห็นที่ 7-4 ชื่อสมาชิก sayanjo65 เผยแพร่ 2 ตุลาคม 2556 เวลา 11:13 น. “ยาฆ่าหญ้าบ้านเรามีสองประเภทครับแบบสัมผัสตาย คือพวกชื่อสามัญ พาราคว๊อท ชื่อการค้าก็พวก กรัมม๊อกโซน พวกนี้ออกฤทธิ์ เร็วครับ ถ้าพ่นกลางแดดจัดๆ เดินพ่นไป เหลียวหลังมาดูหญ้าเหลืองยุบตามเลย พวกนี้อมไม่ได้แน่นอนครับ
แบบดูดซึม พวกชื่อสามัญ ไกลโฟเซท ชื่อการค้าก็พวก ราวด์อัพ พวกนี้ออกฤทธิ์ช้าครับ พ่นๆไป กว่าหญ้าจะตาย 7-14 วันโน่นเลย แต่มันคุมได้นาน หญ้าตายยาวนานมาก ส่วนอมได้ไม่ได้นี่ไม่ชัวร์ครับ จากรูปข้างบนๆ บอกพ่นใส่หญ้า 3 ชม. ตาย ผมว่าไม่น่าจะใส่ยาฆ่าหญ้าทั้งสองประเภทลงไปผสมแน่ๆ
อีกอย่างนะครับผมไม่แน่ใจว่ากรณีนี้ผิดกฎหมายหรือไม่ เพราะผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารเคมีใช้ในการเกษตร มันจะระบุให้ต้องใส่ชื่อสามัญ สารออกฤทธิ์ ติดฉลากไว้ทุกตัว และต้องส่งตัวอย่างให้กรมวิชาการเกษตรรับรองออกเลขทะเบียนด้วย (ต้องมีงานทดลองรองรับด้วยนะครับ) แต่ผมไม่เห็นในฉลากมันจะระบุชื่อสามัญ อะไรไว้เลย คือมันมีอีกเคส แบบว่าพวกที่ไม่ใช่สารเคมีไม่ต้องออกใบรับรอง กับใบทะเบียนได้ อย่างพวกสารจับใบ อะไรเทือกนั้น”
ความคิดเห็นที่ 18 สมาชิกหมายเลข 717458 2 ตุลาคม 2556 เวลา 10:47 น. “ไม่ใช่ว่ามีคนเข้าใจผิด แล้วทะลึ่งไปอม พาราควอต กัมมอคโซน นะ โอ้ยอันตรายแท้ พิสูจน์ด้วยวิธีอื่นก็ได้”