xs
xsm
sm
md
lg

ปัญหาพื้นฐานของ “กระบวนการมีส่วนร่วม” / จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


 
คอลัมน์  :  คนคาบสมุทรมลายู
โดย...จรูญ  หยูทอง-แสงอุทัย 
--------------------------------------------------------------------------------
 
 
จากการที่ผมมีประสบการณ์ในการทำหน้าที่ หัวหน้าคณะทำงานประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการใหญ่ๆ ของรัฐบาลหลายโครงการ เช่น โครงการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โครงการจัดทำแผนแม่บทการขุดลอกทะเลสาบสงขลาตอนล่าง โครงการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำปากระวะ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ฯลฯ
 
ผมพบว่า ปัญหาอุปสรรคเบื้องต้นของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่วนใหญ่เกิดจาก “ปัญหาขาดจิตสำนึก” ของฝ่ายต่างๆ ดังนี้
 
๑. จิตสำนึกของผู้ใช้อำนาจรัฐ หรือเจ้าของโครงการ ที่ใช้หลักการตามทฤษฎีการเกลี้ยกล่อมทางสังคม และรัฐพิธีการบริหารจัดการ มากกว่าจะใช้หลักการตามทฤษฎีว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน หน่วยงานของรัฐเหล่านี้มักจะทำโครงการเพื่อโครงการ เพื่อแสดงผลงาน และโอกาสในการได้รับการจัดสรรงบประมาณ มากกว่าจะจัดทำโครงการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนคนส่วนใหญ่ หรือผลประโยชน์ของประเทศชาติ
 
๒. จิตสำนึกสาธารณะ และความกล้าหาญทางจริยธรรมของนักวิชาการ ในนามของบริษัทที่ปรึกษาที่ทำการศึกษา เพื่อสนับสนุนความชอบธรรมให้กับโครงการ คนเหล่านี้ขาดจิตสำนึกสาธารณะ ขาดความกล้าหาญทางจริยธรรมในการตอบโจทย์ของประชาชน แต่จะเน้นตอบโจทย์เจ้าของโครงการ ผู้สนับสนุนงบประมาณค่าจ้าง ค่าตอบแทนมากกว่า ขาดความรับผิดชอบต่อความเสียหายจากผลกระทบของโครงการในอนาคต ไม่ให้ข้อมูลที่ครบถ้วนรอบด้านแก่ประชาชน ไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยใช้สถานะของนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญมาข่มชาวบ้าน ผู้อยู่กับข้อมูลและความจริงในพื้นที่ ขณะที่นักวิชาการรู้มาจากตำราเอกสาร ซึ่งผู้ศึกษา วิจัย วิเคราะห์ สังเคราะห์จากการสอบถามประชาชนมาอีกที
 
๓. จิตสำนึกสาธารณะของประชาชนส่วนใหญ่ยังอ่อนด้อย ไม่ยอมรับรู้ และเรียนรู้จากข้อมูลที่มี โดยเฉพาะข้อมูลจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยต่อโครงการ ประชาชนส่วนใหญ่วางเฉย ไม่สนใจรับรู้ บางส่วนก็เข้าแสดงความคิดเห็นที่สนับสนุนโครงการ โดยไม่ศึกษารายละเอียด และประณามฝ่ายที่คัดค้านว่าขัดขวางความเจริญก้าวหน้า รับจ้างจากต่างประเทศมาขัดขวางรัฐบาล ค้านทุกเรื่อง ฯลฯ หวังลมๆ แล้งๆ ตามที่เจ้าของโครงการขายฝัน เช่น บ้านเมืองจะเจริญขึ้น ลูกหลานจะมีงานทำ เศรษฐกิจของชุมชนจะดีขึ้น จะได้ใช้ไฟฟ้าราคาถูก แก๊สราคาถูก ฯลฯ เป็นต้น
 
๔. จิตสำนึกของสื่อมวลชน ทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ ยังไม่ค่อยมีสื่อที่ทำหน้าที่ให้ความรู้ ความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงของรัฐ และทุนในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะสื่อที่อยู่ในกำกับของรัฐบาล ซึ่งเป็นสื่อของรัฐ แต่เข้าใจผิดว่าเป็นสื่อของรัฐบาล เสียแรงที่ประชาชนต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพในการทำหน้าที่สื่อของภาครัฐ โดยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ๒๕๔๐ เป็นต้นมา แต่สื่อเหล่านี้กลับไปซุกอำนาจรัฐในสังคมอำนาจนิยมเหมือนเดิม
 
ทางออกสำหรับสังคมไทยวันนี้ คือ ต้องอาศัยสมอง และสองมือของประชาชนที่ทันโลก ทันเหตุการณ์ หรือ “รู้จักหวัน” กับเครือข่ายการเรียนรู้ที่ทรงพลัง ด้วยข้อมูลที่รอบด้านของสังคมแห่งการเรียนรู้ สรุปบทเรียนในการต่อสู้ ขับเคลื่อนสังคมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน สังคมที่พึ่งพาตนเองเป็นหลัก
 
เพราะอำนาจรัฐจับมือกับอำนาจทุนแย่งชิงทรัพยากรจากประชาชน แล้วปล่อยภาวะมลพิษทั้งทางธรรมชาติ และสังคมให้แก่ชุมชน โดยอ้างวาทกรรม “การพัฒนา” ที่คำนึงถึงกำไร หรือจุดคุ้มทุนทางเศรษฐกิจ มากกว่าความสงบสุขของสังคม
 
ไม่เป็นไปตามหลักการที่ต้องการขจัดปัญหาจากการพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑-๕ ที่พบว่า “เศรษฐกิจก้าวหน้า สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน” ที่แท้จริง ตามหลักการที่ว่า “คืนความสมบูรณ์สู่สังคม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน มีความเป็นเอกภาพ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ที่ว่ากันไว้มานานแล้วตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ เป็นต้นมา
 
“ความหวังถ้ายังมี ก็อยู่ที่ประชาชน”
 
 

รางวัล “ครูเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร” ปี ๒๕๖๐ / จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย
รางวัล “ครูเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร” ปี ๒๕๖๐ / จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย
วันที่ ๒๘-๓๐ พฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการสนับสนุนกระบวนการคัดเลือกครูผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัล สมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีจังหวัดสงขลา (ฝ่ายดำเนินการสรรหาและคัดเลือก) ที่มี รศ.ลำดวน เกษตรสุนทร อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ มรภ.สงขลา เป็นประธาน นายจรูญ หยูทอง อดีตนักวิชาการชำนาญการพิเศษ สถาบันทักษิณคดีศึกษา ม.ทักษิณ เป็นรองประธาน และอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงการศึกษาของจังหวัดสงขลาจำนวนหนึ่ง ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์ของ “๙ อรหันต์ทองคำในวงการครู” ของจังหวัดสงขลา
กำลังโหลดความคิดเห็น