ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เจ.ดี.พูลส์ เผยตลาดสระว่ายน้ำครึ่งปีแรกยังขยายตัวช้า ผู้ประกอบการเน้นลดต้นทุนตัดราคาขายคู่แข่ง ส่งผลสินค้าไม่ได้มาตรฐาน และมีการใช้กลยุทธ์เน้นโซเชียลมีเดียเกินจริงส่งผลต่อภาพรวมธุรกิจ โดยปี 59 ประเมินตลาดสระว่ายน้ำไว้ 5,000 ล้านบาท พร้อมแชร์ส่วนแบ่ง 20% และขยายสาขาใหม่ 2 สาขา ตามเป้า 4 สาขา และยอดขาย 1,000 ล้านบาท
นายธนูศักดิ์ พึ่งเดช ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท เจ.ดี.พูลส์ ผู้นำด้านอุตสาหกรรมสระว่ายน้ำในรูปแบบแฟรนไชส์แห่งแรก และแห่งเดียวในประเทศไทย เผยว่า ภาพรวมตลาดสร้างสระว่ายน้ำครึ่งแรกปี 2559 ไม่ขยายตัวดังที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลกระทบเกิดจากความไม่เชื่อมั่นของผู้บริโภค และเศรษฐกิจประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน ส่งผลให้ตลาดรับสร้างสระว่ายน้ำมีการแข่งขันราคากันรุนแรง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย และรายใหม่ที่เข้ามาแข่งขันในธุรกิจนี้ ต่างหันมาเน้นการลดต้นทุน หรือใช้วัสดุราคาประหยัด เพื่อตัดราคาขายคู่แข่ง เช่น โครงสร้างสระไม่เสริมเหล็ก วัสดุไฟเบอร์กลาสคุณภาพต่ำ และราคาถูก ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพและอายุการใช้งานสระว่ายน้ำ ดังนั้น หากผู้บริโภคที่ไม่เข้าใจ หรือศึกษารายละเอียดไม่ดีพอหรือเน้นราคาถูกเท่านั้นอาจพบกับความผิดหวัง หรือได้สินค้า และบริการไม่คุ้มค่าต่อเงินที่จ่ายไป
“ปัจจุบันตลาดรับสร้างสระว่ายน้ำแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.สระบ้านเดี่ยวพักอาศัย 2.สระขนาดใหญ่สำหรับโรงแรมและรีสอร์ต 3.บ้านพร้อมสระหรือ Pool Villa และ 4.สระสวนน้ำโดยกลุ่มที่ขยายตัวมากที่สุดคือ สระบ้านเดี่ยวขนาดเล็กหรือมูลค่าไม่เกิน 8 แสนบาท โดยมีผู้ประกอบการรายย่อยส่วนใหญ่แข่งขันชิงแชร์ส่วนแบ่งกันเป็นหลัก ในขณะที่ตลาดกลุ่ม Pool Villa เติบโตต่อเนื่อง แต่ไม่หวือหวามากนัก สำหรับสระขนาดใหญ่และสวนน้ำตลาดรวมยังทรงตัว
อย่างไรก็ดี บริษัทฯ พบว่า ผู้ประกอบการรายใหม่ที่เข้ามาแข่งขันในตลาดสระว่ายน้ำ มีการใช้กลยุทธ์โฆษณาเกินจริงบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องน่ากังวล และน่าเป็นห่วง สำหรับราคาสร้างสระว่ายน้ำที่แท้จริงโดยผู้ให้บริการมืออาชีพ รวมถึงอาจนำไปสู่ความขัดแย้ง หรือผิดสัญญาระหว่างกันกรณีไม่สามารถให้บริการสร้างสระว่ายน้ำได้ตามที่โฆษณาไว้ และสุดท้ายจะส่งผลด้านลบต่อภาพรวมธุรกิจสร้างสระว่ายน้ำ”
นายธนูศักดิ์ ยังได้กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ บริษัทได้เปิดตัวธุรกิจบริการดูแลคุณภาพน้ำและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สระว่ายน้ำให้สระทุกประเภท ภายใต้แบรนด์ พูลโปรแอนด์แล็บ (Pool Pro&Lab : PPL) โดยเปิดตัวแล้ว 5 สาขาได้แก่ กรุงเทพฯ, ภูเก็ต, เชียงใหม่, เชียงราย และกาญจนบุรี รวมถึงคาดว่าจะเปิดเพิ่มอีก 4 สาขา ให้ครบ 9 สาขาในปีนี้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมแบรนด์ของ เจ.ดี.พูลส์ ให้เป็นแบรนด์สระว่ายน้ำรายแรก และรายเดียวในประเทศไทยให้ครบวงจรที่สุดตั้งแต่การผลิต และก่อสร้างสระว่ายน้ำ การทำการตลาดในรูปแบบแฟรนไชส์ รวมถึงการบริการหลังการขายและดูแลคุณภาพอย่างครบวงจร
ในปี 2559 นี้ บริษัทฯ ประเมินปริมาณ และมูลค่าตลาดรับสร้างสระว่ายน้ำไว้ 5,000 ล้านบาทเศษ ทั้งนี้ ในส่วนของ เจ.ดี.พลูส์ ตั้งเป้าแชร์ส่วนแบ่งตลาดไว้ร้อยละ 20 โดยในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา (ม.ค.-มิ.ย.2559) สามารถทำยอดขายได้แล้ว 440 ล้านบาทเศษ ใกล้เคียงกับเป้าที่ตั้งไว้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลังคาดการณ์ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และทิศทางเศรษฐกิจประเทศจะปรับตัวดีขึ้น หลังจากที่ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ และจะนำไปสู่การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยที่ชัดเจนแล้ว
ทั้งนี้ ครึ่งปีแรกที่ผ่านมา บริษัทฯ มีการขยายสาขาใหม่ ได้แก่ ปากช่อง นครศรีธรรมราช และปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศรวม 20 สาขา สำหรับในครึ่งปีหลังยังคงเน้นขยายสาขาต่างจังหวัดอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบการลงทุนเอง และแฟรนไชส์ ทั้งนี้ จังหวัดเป้าหมายที่คาดว่าจะเปิดใหม่ โดยปัจจุบันมีนักลงทุนให้ความสนใจ และอยู่ระหว่างเจรจากว่า 10 ราย ด้วยกลยุทธ์แบรนด์สระว่ายน้ำชั้นนำ และคืนทุนเร็ว พร้อมกันนี้ ตั้งเป้าขยาย 4 สาขา และมียอดขายสระว่ายน้ำปีนี้ไว้ 1,000 ล้านบาท
นายธนูศักดิ์ พึ่งเดช ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท เจ.ดี.พูลส์ ผู้นำด้านอุตสาหกรรมสระว่ายน้ำในรูปแบบแฟรนไชส์แห่งแรก และแห่งเดียวในประเทศไทย เผยว่า ภาพรวมตลาดสร้างสระว่ายน้ำครึ่งแรกปี 2559 ไม่ขยายตัวดังที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลกระทบเกิดจากความไม่เชื่อมั่นของผู้บริโภค และเศรษฐกิจประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน ส่งผลให้ตลาดรับสร้างสระว่ายน้ำมีการแข่งขันราคากันรุนแรง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย และรายใหม่ที่เข้ามาแข่งขันในธุรกิจนี้ ต่างหันมาเน้นการลดต้นทุน หรือใช้วัสดุราคาประหยัด เพื่อตัดราคาขายคู่แข่ง เช่น โครงสร้างสระไม่เสริมเหล็ก วัสดุไฟเบอร์กลาสคุณภาพต่ำ และราคาถูก ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพและอายุการใช้งานสระว่ายน้ำ ดังนั้น หากผู้บริโภคที่ไม่เข้าใจ หรือศึกษารายละเอียดไม่ดีพอหรือเน้นราคาถูกเท่านั้นอาจพบกับความผิดหวัง หรือได้สินค้า และบริการไม่คุ้มค่าต่อเงินที่จ่ายไป
“ปัจจุบันตลาดรับสร้างสระว่ายน้ำแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.สระบ้านเดี่ยวพักอาศัย 2.สระขนาดใหญ่สำหรับโรงแรมและรีสอร์ต 3.บ้านพร้อมสระหรือ Pool Villa และ 4.สระสวนน้ำโดยกลุ่มที่ขยายตัวมากที่สุดคือ สระบ้านเดี่ยวขนาดเล็กหรือมูลค่าไม่เกิน 8 แสนบาท โดยมีผู้ประกอบการรายย่อยส่วนใหญ่แข่งขันชิงแชร์ส่วนแบ่งกันเป็นหลัก ในขณะที่ตลาดกลุ่ม Pool Villa เติบโตต่อเนื่อง แต่ไม่หวือหวามากนัก สำหรับสระขนาดใหญ่และสวนน้ำตลาดรวมยังทรงตัว
อย่างไรก็ดี บริษัทฯ พบว่า ผู้ประกอบการรายใหม่ที่เข้ามาแข่งขันในตลาดสระว่ายน้ำ มีการใช้กลยุทธ์โฆษณาเกินจริงบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องน่ากังวล และน่าเป็นห่วง สำหรับราคาสร้างสระว่ายน้ำที่แท้จริงโดยผู้ให้บริการมืออาชีพ รวมถึงอาจนำไปสู่ความขัดแย้ง หรือผิดสัญญาระหว่างกันกรณีไม่สามารถให้บริการสร้างสระว่ายน้ำได้ตามที่โฆษณาไว้ และสุดท้ายจะส่งผลด้านลบต่อภาพรวมธุรกิจสร้างสระว่ายน้ำ”
นายธนูศักดิ์ ยังได้กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ บริษัทได้เปิดตัวธุรกิจบริการดูแลคุณภาพน้ำและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สระว่ายน้ำให้สระทุกประเภท ภายใต้แบรนด์ พูลโปรแอนด์แล็บ (Pool Pro&Lab : PPL) โดยเปิดตัวแล้ว 5 สาขาได้แก่ กรุงเทพฯ, ภูเก็ต, เชียงใหม่, เชียงราย และกาญจนบุรี รวมถึงคาดว่าจะเปิดเพิ่มอีก 4 สาขา ให้ครบ 9 สาขาในปีนี้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมแบรนด์ของ เจ.ดี.พูลส์ ให้เป็นแบรนด์สระว่ายน้ำรายแรก และรายเดียวในประเทศไทยให้ครบวงจรที่สุดตั้งแต่การผลิต และก่อสร้างสระว่ายน้ำ การทำการตลาดในรูปแบบแฟรนไชส์ รวมถึงการบริการหลังการขายและดูแลคุณภาพอย่างครบวงจร
ในปี 2559 นี้ บริษัทฯ ประเมินปริมาณ และมูลค่าตลาดรับสร้างสระว่ายน้ำไว้ 5,000 ล้านบาทเศษ ทั้งนี้ ในส่วนของ เจ.ดี.พลูส์ ตั้งเป้าแชร์ส่วนแบ่งตลาดไว้ร้อยละ 20 โดยในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา (ม.ค.-มิ.ย.2559) สามารถทำยอดขายได้แล้ว 440 ล้านบาทเศษ ใกล้เคียงกับเป้าที่ตั้งไว้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลังคาดการณ์ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และทิศทางเศรษฐกิจประเทศจะปรับตัวดีขึ้น หลังจากที่ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ และจะนำไปสู่การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยที่ชัดเจนแล้ว
ทั้งนี้ ครึ่งปีแรกที่ผ่านมา บริษัทฯ มีการขยายสาขาใหม่ ได้แก่ ปากช่อง นครศรีธรรมราช และปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศรวม 20 สาขา สำหรับในครึ่งปีหลังยังคงเน้นขยายสาขาต่างจังหวัดอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบการลงทุนเอง และแฟรนไชส์ ทั้งนี้ จังหวัดเป้าหมายที่คาดว่าจะเปิดใหม่ โดยปัจจุบันมีนักลงทุนให้ความสนใจ และอยู่ระหว่างเจรจากว่า 10 ราย ด้วยกลยุทธ์แบรนด์สระว่ายน้ำชั้นนำ และคืนทุนเร็ว พร้อมกันนี้ ตั้งเป้าขยาย 4 สาขา และมียอดขายสระว่ายน้ำปีนี้ไว้ 1,000 ล้านบาท