xs
xsm
sm
md
lg

เกือบ 90% เห็นด้วยผ่านแบบสอบถามโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สุราษฎร์ฯ-หาดใหญ่-สงขลา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

แฟ้มภาพ
 
การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดกิจกรรมการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงระยะสิ้นสุดโครงการ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสีย และหน่วยงานทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมเสนอแนะข้อคิดเห็น ร่วมสะท้อนข้อห่วงกังวลและผลกระทบต่อการพัฒนาโครงการในภาพรวมของพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สรุปประเด็นความคิดเห็น ดังนี้
 
 
ผลจากการแสดงความคิดเห็นผ่านแบบสอบถาม มีผู้เห็นด้วยต่อการพัฒนาโครงการ 88.03% และไม่เห็นด้วยกับไม่แน่ใจ 4.27%, 7.69% ซึ่งอาจจะยังมีความกังวลใจในเรื่องของโครงการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และการหาที่อยู่อาศัยใหม่
 
ด้านวิศวกรรมและด้านเศรษฐศาสตร์
1.อยากทราบว่าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงทางหาดใหญ่-สงขลา จะเริ่มก่อสร้างเมื่อไหร่
ตามแผนจะดำเนินการในอีก 2-3 ปี แต่ทั้งนี้ต้องศึกษาความเหมาะสม และการออกแบบโครงการเสร็จสิ้น รวมถึงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ตลอดจนต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะก่อสร้างรถไฟทางคู่ได้ ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 5-7 ปี
 
2.ในการออกแบบทางรถไฟทั้งที่ยกระดับ และระดับดินมีการกั้นรั้วตลอดแนวหรือไม่ แล้วผู้ที่ได้รับผลกระทบสามารถเข้าไปอยู่อาศัยใต้ทางยกระดับได้หรือไม่
ทางการรถไฟฯ จะกั้นรั้วตลอดแนวทางการเดินรถไฟเพื่อความปลอดภัยของผู้ที่สัญจรข้ามทางรถไฟ และสำหรับผู้ที่รับได้ผลกระทบทางกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา มีแนวคิดที่จะจัดหาพื้นที่ใหม่ให้อยู่ในเขตรถไฟที่ว่างอยู่ นอกเขตเดินรถ หรือพื้นที่ใต้ทางยกระดับและทำการปรับพื้นที่ ออกแบบระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่ที่จัดเตรียม และเสนอเรื่องไปทางฝ่ายบริหารทรัพย์สินของการรถไฟฯ ได้พิจารณา
 
3.แนวเขตการก่อสร้างทางรถไฟระยะ 5-10 เมตร สามารถก่อสร้างที่อยู่อาศัยได้หรือไม่
พื้นที่ในเขตการก่อสร้างไม่สามารถก่อสร้างที่อยู่อาศัยได้ สำหรับผู้ที่เช่าพื้นที่เขตทางรถไฟอย่างถูกต้องจะได้รับค่าชดเชยสิ่งปลูกสร้าง ค่ารื้อถอน คาขนย้าย และสามารถเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่ทางการรถไฟฯ ได้จัดสรรไว้ให้ได้ โดยจะต้องมีรายชื่ออยู่ในการสำรวจผู้ที่อยู่อาศัยในเขตทางรถไฟในการศึกษาออกแบบครั้งนี้
 
4.ก่อนการดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟคู่ จะแจ้งให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบทราบเมื่อใดประมาณ 6 เดือนก่อนดำเนินการก่อสร้างโครงการ แต่ทั้งนี้ ต้องศึกษาความเหมาะสม และการออกแบบโครงการเสร็จสิ้น รวมถึงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจจะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ตลอดจนต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อน จึงจะก่อสร้างรถไฟทางคู่ได้ ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 5-7 ปี
 
5.กรณีอยู่อาศัยในพื้นที่เขตรถไฟ และไม่มีสัญญาเช่าการรถไฟฯ จะได้รับการชดเชยหรือค่ารื้อถอนอย่างไร
กรณีที่มีการเช่าพื้นที่กับการรถไฟฯ อย่างถูกต้อง จะได้รับค่าชดเชย ค่ารื้อถอน ค่าขนย้าย และค่าชดเชยค่าเสียโอกาสจากการเช่า แต่หากไม่มีการเช่ากับการรถไฟฯ จะได้รับพียงค่ารื้อถอน และค่าขนย้าย อย่างไรก็ตาม ทางการรถไฟฯ มีแผนจัดหา และเตรียมพื้นที่เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ โดยจัดหา และเตรียมพื้นที่เพื่อทำการโยกย้าย
 
ด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสังคม
1.บริเวณวัดอุทัยธาราม โดยเจ้าอาวาสรูปก่อนได้มีการสร้างกำแพงในที่ของทางรถไฟฯ และได้สร้างศาลาสามัคคีธรรม เพื่อให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์ โดยที่บริเวณนั้นติดกับเขตของทางรถไฟฯ หากมีการรื้อย้ายขอให้คงตัวศาลาไว้ ส่วนรั้วสามารถรื้อออกได้ แต่ขอให้ทางโครงการฯ ออกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างกำแพงหรือไม่
บริเวณวัดอุทัยธาราม ทางกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาพยายามออกแบบเพื่อไม่ให้วัดได้รับผลกระทบ แต่หากได้รับผลกระทบ และต้องมีการรื้อย้าย ทางโครงการฯ จะจ่ายค่าชดเชยให้ทั้งหมด
 
ข้อสนับสนุนและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านวิศวกรรมและด้านเศรษฐศาสตร์
1.อยากเสนอแนะเพิ่มเติมจากการศึกษาพัฒนาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ โดยการเสนอให้มีการยกระดับสถานีชุมทางหาดใหญ่ เพื่อเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองหาดใหญ่ให้ดียิ่งขึ้น
รับไปพิจารณาเพิ่มเติม เนื่องจากมีข้อจำกัดในส่วนของชุมทางหาดใหญ่ที่มีจำนวนรางเป็นจำนวนมาก และมีโรงซ่อมบำรุง สำหรับช่วงชุมทางหาดใหญ่ สงขลา ขบวนรถไฟมีขนาดที่สั้นกว่า เลยทำให้ platform ที่มีขนาดประมาณ 200 กว่าเมตรก็เพียงพอ ส่วนหาดใหญ่ต้อง platform ที่มีขนาดประมาณ 200 กว่าเมตร หากทำการก่อสร้างค่าผลตอบแทนทางเศรษฐกิจก็คงจะไม่ถึง 12% ตามเกณฑ์มาตรฐานที่ทางสภาพัฒน์เป็นผู้กำหนด เนื่องจากหาดใหญ่เป็นชุมทาง จึงมีรางจำนวนมาก และมีโรงซ่อมบำรุง ถ้าจะทำการยกระดับก็ใช้งบลงทุนจำนวนมาก และชานชาลาของชุมทางหาดใหญ่ก็มีความยาวเพื่อรองรับการขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งแนวคิดการออกแบบของกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาก็จะทำการปรับปรุงอาคราหลังเดิม ให้มีห้องทำงานของเจ้าหน้าที่รถไฟ และออกแบบให้มี facility ต่างๆ ส่วนการออกแบบอาคารใหม่บริเวณด้านข้างอาคราเดิมที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ พื้นที่บ้านพักพนักงานก็ทำการรื้อย้าย และปรับให้มีทัศนียภาพที่สวยงาม นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ที่จะทำการพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั้งหมด (พื้นที่สีแดงในแผนการออกแบบ)
 
2.เสนอให้เพิ่มป้ายหยุดรถไฟในบริเวณที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก เช่น ตลาดพลาซ่า รพ.หาดใหญ่ สะพานดำ แยกโรงปูน ถ.อนุสรณ์อาจารย์ทอง ถ.กาญจนราเมศวร์ และ ม.ทักษิณ เป็นต้น เนื่องจากช่วงชุมทางหาดใหญ่-สงขลา มีเพียง 7 สถานี ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อผู้ใช้บริการ
รับไปพิจารณาเพิ่มเติม จากผลการศึกษาจำนวนผู้โดยสารระหว่างทางค่อนข้างน้อยมาก หากมีการออกแบบเพิ่มเติมก็อาจจะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน
 
3.เสนอให้ก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางหาดใหญ่-สงขลาก่อน เนื่องจากบริเวณ ถ.หมายเลข 407 คลองแห มีการจราจรที่แออัดมาก เมื่อพิจารณาจากค่า B/C และ EIRR ร่วมกับค่า Congestion Loss & Economic Loss ไม่ทราบว่าทางโครงการได้นำเรื่องการเกิดอุบัติเหตุไปคำนวณด้วยหรือไม่
ในการคำนวณ EIRR ที่นำมาคำนวณจะเป็นแบบ standard แต่หากเพิ่ม accidental loss มีจำนวนมากก็สามารถคำนวณให้ตัวเลขเพิ่มขึ้นได้
 
4.เสนอให้มีการย้ายโรงซ่อมบำรุง เพื่อให้สามารถรื้อย้ายรางที่มีจำนวนมากออก เพื่อทำการออกแบบเป็นสถานีให้ยกระดับ
รับไปพิจารณา และขอคำปรึกษากับทางวิศวกรด้านระบบราง เพื่อสามารถรื้อย้ายรางที่ไม่ได้ใช้งานออกได้
 
 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น