ศูนย์ข่าวภูเก็ต - หลายภาคส่วนในภูเก็ตจัดมหกรรม “เปิดโลกสัมมาชีพ Learn for life 2016” ภูเก็ตเปิด 60 คลินิกปรึกษาอาชีพ “คณิต-วิทยาศาสตร์-ภาษาและบริการ” เตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียนสู่โลกของการทำงาน จังหวัดภูเก็ต
วันนี้ (18 ม.ค.) ณ ศูนย์กีฬาสะพานหิน จังหวัดภูเก็ต สภาการศึกษาจังหวัดภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต และสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกันเปิดมหกรรม “เปิดโลกสัมมาชีพ Learn for Live 2016” เพื่อเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายธุรกิจและการศึกษาร่วมสร้างความรู้และความเข้าใจให้แก่เด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง ตั้งเป้าเปลี่ยนทัศนคติคนภูเก็ตในการเรียนอาชีวะ และสร้างค่านิยมที่ถูกต้องในการเรียนรู้ เตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสู่โลกการทำงานในสายอาชีพ เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐในการแก้ปัญหาและความต้องการของประเทศในเรื่องการขาดแคลนแรงงาน และตอบสนองความต้องการด้านแรงงานตามทิศทางการพัฒนาของจังหวัด มี น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต เป็นประธานในพิธี โดยมี นพ.โกศล แตงอุทัย รองนายกเทศมนตรีภูเก็ต นายบัณฑูร ทองตัน ประธานสภาการศึกษาจังหวัดภูเก็ต ศ.ดร.สุมาลี ตั้งประดับกุล กรรมการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเข้าร่วมโครงการ
อย่างไรก็ตาม หลังพิธีเปิดมีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงที่มาโครงการ ถอดรหัสโลกแห่งอาชีพ นิทรรศการแนะ (เด็ก) แนวสู่อนาคตของเด็กภูเก็ต Lear for Life โดยมี น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรี นพ.โกศล แตงอุทัย รองนายกเทศมนตรี นายบัณฑูร ทองตัน ประธานสภาการศึกษาจังหวัดภูเก็ต ศ.ดร.สุมาลี ตั้งประดับกุล กรรมการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับ จังหวัดภูเก็ต เป็นหนึ่งใน 14 จังหวัดที่สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ขับเคลื่อนโครงการจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ หรือ Area-Based Education (ABE) ภายใต้ “โครงการการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต” โดยมี สภาการศึกษาจังหวัดภูเก็ต และเทศบาลนครภูเก็ต เป็นหน่วยงานประสานเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างจังหวัดภูเก็ตให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society)
โดยปัจจุบัน สสค.ได้จัดทำโครงการการเตรียมความพร้อมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสู่โลกของการทำงาน ร่วมกับ 3 จังหวัดนำร่อง คือ เชียงใหม่ ตราด และภูเก็ต โดยจัดมหกรรม “เปิดโลกสัมมาชีพ Learn for Live 2016” ขึ้นเพื่อปลุกให้คนภูเก็ตตื่นตัวขึ้นมาในเรื่องการงานอาชีพในอนาคตนับจากนี้ว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ซึ่งการทำงานในระดับจังหวัดจะทำให้เกิดการมองในประเด็นการเตรียมความพร้อมด้านแรงงานที่ชัดเจนมากขึ้น
ด้านบัณฑูร ทองตัน ประธานสภาการศึกษาจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยว่า ทุกวันนี้เราเชื่อกันว่าการเรียนจบปริญญาตรีจะทำให้ลูกหลานของเรามีงานทำมีหน้ามีตา ทุกคนจึงพยายามให้ลูกเรียนสายสามัญโดยหาทุกวิถีทางให้สอบเข้าในโรงเรียนดีๆ เพื่อที่จะได้ไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้ แต่เราไม่เคยที่จะสร้างความตระหนัก สร้างค่านิยมที่ถูกต้องให้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองว่าลูกหลานของเราเมื่อจบปริญญาไปแล้วจะมีงานทำมากน้อยเพียงใด และคิดว่าการเรียนสายอาชีวะมันเป็นทางตันของลูกหลาน วันนี้จึงมีคนจบปริญญาตรีจำนวนมากที่ตกงาน และเป็นภาระครอบครัว
“สิ่งที่สภาการศึกษาภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต รวมทั้งภาคธุรกิจเอกชน และเครือข่ายสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะอาชีวศึกษา และอาสาสมัครในภูเก็ตลุกขึ้นมาช่วยกันจัดมหกรรมเปิด 60 ปี อาชีพแนะแนวเด็กมัธยมต้นสู่โลกการทำงาน ก็เพราะเห็นตรงกันว่า ภูเก็ตประสบปัญหาว่างงานในขณะที่งานหลายตำแหน่งขาด การฉายภาพอนาคตของภูเก็ตให้แก่ผู้ปกครอง ครู และผู้เรียนจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการเตรียมพร้อมของเด็กเยาวชน และคนภูเก็ต ขณะเดียวกัน ก็เป็นการแสดงพลังของคนภูเก็ตที่ลุกขึ้นมาช่วยกันจัดการศึกษา โดยใช้โจทย์ความต้องการของพื้นที่เป็นฐาน วันนี้ภูเก็ตรู้แล้วว่าเราต้องมุ่งไปสู่การพัฒนาสัมมาชีพที่ขาดด้านใดบ้าง ซึ่งผมมั่นใจว่า หากส่วนกลางปล่อยให้การศึกษาเป็นเรื่องที่จังหวัดเข้ามามีส่วนร่วมได้ ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระให้รัฐบาล และกระทรวงศึกษา โดยเฉพาะเรื่องกลไกขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัด ควรมีกฎหมายรองรับ แต่มิใช่รูปแบบการสั่งการให้เกิดพร้อมกันทั่วประเทศ ควรเริ่มจังหวัดที่มีความพร้อมเริ่มก่อน”
ศ.ดร.สุมาลี ตั้งประดับกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ สสค. กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสู่โลกของการทำงานจังหวัดภูเก็ตว่า ที่ผ่านมา กระบวนการสร้างแนวคิดในเรื่องอาชีพของเรานั้นเป็นไปในลักษณะการสร้างภาพฝัน การศึกษาของการสร้างคนให้มองแต่ภาพสวย เราสอนให้เด็กรู้ และเห็นเพียงแค่มุมเดียว แต่ไม่ได้ทำเกิดความเข้าใจในแต่ละอาชีพอย่างลึกซึ้ง
“เพราะฉะนั้นสิ่งที่ สสค.ลงไปทำเรื่องอาชีพก็คือ การเข้าไปปรับกระบวนการในการเรียนรู้ของเด็กให้มีความเข้าใจในเรื่องของอาชีพอย่างถ่องแท้ ด้วยการสร้างภาพความเป็นจริงในชีวิต และการทำงานให้เด็ก และเยาวชนได้เห็นเพื่อให้เขาได้มีเป้าหมายในชีวิต และรู้ว่าถ้าจะไปให้ถึงเป้าหมายนั้นจะต้องทำอย่างไรบ้าง เพราะทุกวันนี้เราเรียนไปโดยไม่มีเป้าหมายในชีวิต เรียนไปโดยไม่รู่ว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร เรื่องอาชีพไม่ใช่แค่ภาพฝันแต่เป็นสิ่งที่จะต้องรู้ และเข้าใจลงไปในรายละเอียดอย่างลึกซึ้งมากกว่าแค่มองเห็นค่าตอบแทน หรือความสวยหรูของแต่ละอาชีพ วันนี้สังคมเรายังเชื่ออยู่กับสิ่งเดิมที่ยังผิดทางอยู่ ซึ่งต้องใช้เวลาในการสร้างความรู้ และความเข้าใจให้เกิดขึ้นแก่ทั้งครู เด็ก และผู้ปกครอง วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ต้องใช้เวลาในชั้นเรียนมาบูรณาการกับเรื่องการเรียนรู้อาชีพ เอาชีวิตจริงมาให้เด็กเรียนรู้โดยกระตุ้นให้เด็กได้คิด และค้นคว้าด้วยตัวเอง”
วันนี้ (18 ม.ค.) ณ ศูนย์กีฬาสะพานหิน จังหวัดภูเก็ต สภาการศึกษาจังหวัดภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต และสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกันเปิดมหกรรม “เปิดโลกสัมมาชีพ Learn for Live 2016” เพื่อเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายธุรกิจและการศึกษาร่วมสร้างความรู้และความเข้าใจให้แก่เด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง ตั้งเป้าเปลี่ยนทัศนคติคนภูเก็ตในการเรียนอาชีวะ และสร้างค่านิยมที่ถูกต้องในการเรียนรู้ เตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสู่โลกการทำงานในสายอาชีพ เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐในการแก้ปัญหาและความต้องการของประเทศในเรื่องการขาดแคลนแรงงาน และตอบสนองความต้องการด้านแรงงานตามทิศทางการพัฒนาของจังหวัด มี น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต เป็นประธานในพิธี โดยมี นพ.โกศล แตงอุทัย รองนายกเทศมนตรีภูเก็ต นายบัณฑูร ทองตัน ประธานสภาการศึกษาจังหวัดภูเก็ต ศ.ดร.สุมาลี ตั้งประดับกุล กรรมการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเข้าร่วมโครงการ
อย่างไรก็ตาม หลังพิธีเปิดมีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงที่มาโครงการ ถอดรหัสโลกแห่งอาชีพ นิทรรศการแนะ (เด็ก) แนวสู่อนาคตของเด็กภูเก็ต Lear for Life โดยมี น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรี นพ.โกศล แตงอุทัย รองนายกเทศมนตรี นายบัณฑูร ทองตัน ประธานสภาการศึกษาจังหวัดภูเก็ต ศ.ดร.สุมาลี ตั้งประดับกุล กรรมการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับ จังหวัดภูเก็ต เป็นหนึ่งใน 14 จังหวัดที่สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ขับเคลื่อนโครงการจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ หรือ Area-Based Education (ABE) ภายใต้ “โครงการการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต” โดยมี สภาการศึกษาจังหวัดภูเก็ต และเทศบาลนครภูเก็ต เป็นหน่วยงานประสานเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างจังหวัดภูเก็ตให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society)
โดยปัจจุบัน สสค.ได้จัดทำโครงการการเตรียมความพร้อมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสู่โลกของการทำงาน ร่วมกับ 3 จังหวัดนำร่อง คือ เชียงใหม่ ตราด และภูเก็ต โดยจัดมหกรรม “เปิดโลกสัมมาชีพ Learn for Live 2016” ขึ้นเพื่อปลุกให้คนภูเก็ตตื่นตัวขึ้นมาในเรื่องการงานอาชีพในอนาคตนับจากนี้ว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ซึ่งการทำงานในระดับจังหวัดจะทำให้เกิดการมองในประเด็นการเตรียมความพร้อมด้านแรงงานที่ชัดเจนมากขึ้น
ด้านบัณฑูร ทองตัน ประธานสภาการศึกษาจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยว่า ทุกวันนี้เราเชื่อกันว่าการเรียนจบปริญญาตรีจะทำให้ลูกหลานของเรามีงานทำมีหน้ามีตา ทุกคนจึงพยายามให้ลูกเรียนสายสามัญโดยหาทุกวิถีทางให้สอบเข้าในโรงเรียนดีๆ เพื่อที่จะได้ไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้ แต่เราไม่เคยที่จะสร้างความตระหนัก สร้างค่านิยมที่ถูกต้องให้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองว่าลูกหลานของเราเมื่อจบปริญญาไปแล้วจะมีงานทำมากน้อยเพียงใด และคิดว่าการเรียนสายอาชีวะมันเป็นทางตันของลูกหลาน วันนี้จึงมีคนจบปริญญาตรีจำนวนมากที่ตกงาน และเป็นภาระครอบครัว
“สิ่งที่สภาการศึกษาภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต รวมทั้งภาคธุรกิจเอกชน และเครือข่ายสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะอาชีวศึกษา และอาสาสมัครในภูเก็ตลุกขึ้นมาช่วยกันจัดมหกรรมเปิด 60 ปี อาชีพแนะแนวเด็กมัธยมต้นสู่โลกการทำงาน ก็เพราะเห็นตรงกันว่า ภูเก็ตประสบปัญหาว่างงานในขณะที่งานหลายตำแหน่งขาด การฉายภาพอนาคตของภูเก็ตให้แก่ผู้ปกครอง ครู และผู้เรียนจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการเตรียมพร้อมของเด็กเยาวชน และคนภูเก็ต ขณะเดียวกัน ก็เป็นการแสดงพลังของคนภูเก็ตที่ลุกขึ้นมาช่วยกันจัดการศึกษา โดยใช้โจทย์ความต้องการของพื้นที่เป็นฐาน วันนี้ภูเก็ตรู้แล้วว่าเราต้องมุ่งไปสู่การพัฒนาสัมมาชีพที่ขาดด้านใดบ้าง ซึ่งผมมั่นใจว่า หากส่วนกลางปล่อยให้การศึกษาเป็นเรื่องที่จังหวัดเข้ามามีส่วนร่วมได้ ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระให้รัฐบาล และกระทรวงศึกษา โดยเฉพาะเรื่องกลไกขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัด ควรมีกฎหมายรองรับ แต่มิใช่รูปแบบการสั่งการให้เกิดพร้อมกันทั่วประเทศ ควรเริ่มจังหวัดที่มีความพร้อมเริ่มก่อน”
ศ.ดร.สุมาลี ตั้งประดับกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ สสค. กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสู่โลกของการทำงานจังหวัดภูเก็ตว่า ที่ผ่านมา กระบวนการสร้างแนวคิดในเรื่องอาชีพของเรานั้นเป็นไปในลักษณะการสร้างภาพฝัน การศึกษาของการสร้างคนให้มองแต่ภาพสวย เราสอนให้เด็กรู้ และเห็นเพียงแค่มุมเดียว แต่ไม่ได้ทำเกิดความเข้าใจในแต่ละอาชีพอย่างลึกซึ้ง
“เพราะฉะนั้นสิ่งที่ สสค.ลงไปทำเรื่องอาชีพก็คือ การเข้าไปปรับกระบวนการในการเรียนรู้ของเด็กให้มีความเข้าใจในเรื่องของอาชีพอย่างถ่องแท้ ด้วยการสร้างภาพความเป็นจริงในชีวิต และการทำงานให้เด็ก และเยาวชนได้เห็นเพื่อให้เขาได้มีเป้าหมายในชีวิต และรู้ว่าถ้าจะไปให้ถึงเป้าหมายนั้นจะต้องทำอย่างไรบ้าง เพราะทุกวันนี้เราเรียนไปโดยไม่มีเป้าหมายในชีวิต เรียนไปโดยไม่รู่ว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร เรื่องอาชีพไม่ใช่แค่ภาพฝันแต่เป็นสิ่งที่จะต้องรู้ และเข้าใจลงไปในรายละเอียดอย่างลึกซึ้งมากกว่าแค่มองเห็นค่าตอบแทน หรือความสวยหรูของแต่ละอาชีพ วันนี้สังคมเรายังเชื่ออยู่กับสิ่งเดิมที่ยังผิดทางอยู่ ซึ่งต้องใช้เวลาในการสร้างความรู้ และความเข้าใจให้เกิดขึ้นแก่ทั้งครู เด็ก และผู้ปกครอง วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ต้องใช้เวลาในชั้นเรียนมาบูรณาการกับเรื่องการเรียนรู้อาชีพ เอาชีวิตจริงมาให้เด็กเรียนรู้โดยกระตุ้นให้เด็กได้คิด และค้นคว้าด้วยตัวเอง”