xs
xsm
sm
md
lg

ลุกฮือ! ชาวพัทลุงค้านฟาร์มสุกรคอนแทรกฟาร์มมิ่ง “เบทาโกร” หวั่นกระทบแหล่งน้ำสะอาด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


 
พัทลุง - ฟาร์มหมูคอนแทรกฟาร์มมิ่ง “เบทาโกร” ในพัทลุง ถูกกลุ่มชาวบ้านคัดค้าน ระบุกระทบปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะแหล่งน้ำ เจ้าของฟาร์มยันดำเนินการต่อเพราะลงทุนไปแล้ว ขณะที่เทศบาลชี้หากผิดจริงก็จะถูกระงับ และสั่งปิดตามกฎหมาย

วันนี้ (11 ธ.ค.) ที่มัสยิดบ้านทุ่งเหรียง หมู่ 2 ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง ได้มีผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น โต๊ะอิหม่าม โต๊ะคอเต็บ บิลัน กำนัน ผู้ใหญ่ สมาชิกสภาเทศบาลตำบลควนเสาธง จากหลายหมู่บ้าน เช่น หมู่ 2 หมู่ 3 หมู่ 4 หมู่ 8 เป็นต้น ร่วมประชุมกับผู้แทนบริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) และเจ้าของฟาร์มสุกรระบบคอนแทรกฟาร์ม ประมาณ 100 คน มาร่วมชุมนุมการคัดค้านก่อสร้างฟาร์มสุกรคอนแทรกฟาร์มของ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) โดยกล่าวว่า จะทำการคัดค้านจนถึงที่สุด นอกจากชาวไทยมุสลิมแล้ว ยังมีชาวไทยพุทธร่วมชุมนุมคัดค้านด้วย โดยมี นายสมโชค สมันนุ้ย เป็นแกนนำตัวแทนชาวบ้านกล่าวในการทำการคัดค้านในครั้งนี้

ทั้งนี้ ฟาร์มอยู่ระว่างการก่อสร้างที่หมู่ 5 บ้านปลักปอม ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง อยู่บริเวณใกล้เคียงกับหมู่บ้านชาวไทยมุสลิม ประมาณ 800 เมตร ทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก 350 เมตร โดยเฉพาะยังมีแหล่งน้ำสายสำคัญที่ประกอบอาชีพหาสัตว์น้ำ คือ คลองท่าเชียด และคลองปลักปอม ที่หวั่นวิตกจะได้รับผลกระทบจากการบำบัดน้ำเสียที่จะระบายลงสู่ลำคลอง เนื่องจากสายน้ำเป็นแหล่งอุปโภคของการเลี้ยงสัตว์ การเกษตร และเป็นแหล่งปล่อยเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และเลี้ยงปลากะชัง โดยส่วนใหญ่ผู้ประกอบในพื้นที่ต่างเป็นชาวไทยมุสลิมซึ่งอยู่ใต้น้ำ

นายร่อเฝล สมันนุ้ย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8 บ้านควนปาบ ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า สำหรับการสร้างคอนแทรกฟาร์มมิ่งสุกรในพื้นที่หมู่ 5 ประชาชนที่อยู่ใต้น้ำ จำนวน 2 หมู่บ้าน ได้ทำหนังสือลงลายมือชื่อประชาชนประมาณเกือบ 300 รายชื่อ คัดค้านระงับการก่อสร้างฟาร์มสุกรไปแล้ว ส่งไปยังเทศบาลเทศบาลตำบลควนเสาธง อ.ตะโหมด

 
ในขณะเดียวกัน ทางผู้แทนจากเทศบาลตำบลคนเสาธง อ.ตะโหมด กล่าวว่า ทางเทศบาลได้ดำเนินการไปตามขั้นตอนกฎหมายในการออกใบอนุญาต ส่วนที่ประชาชนคัดค้านก็เป็นสิทธิ และผู้ประกอบการก็มีสิทธิที่จะดำเนินการได้ แต่หากประชาชนร้องเรียนว่าผิดระเบียบ เช่น กำจัดบำบัดน้ำเสีย เรื่องกลิ่น เป็นต้น ทางเทศบาลก็ต้องดำเนินการตรวจสอบ และหากไม่ได้ระดับมาตรฐานก็จะต้องถูกระงับในที่สุดเช่นกัน

ในขณะเดียวกัน ทางเจ้าของฟาร์มสุกรคอนแรกฟาร์มมิ่ง บ้านปลักปอม กล่าวว่า ทางฟาร์มได้ลงทุนไปแล้วประมาณ 1.2 ล้านบาท ปรับถมพื้นที่ ไฟฟ้า และดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายทุกประการ ทั้งระบบห่างจากชุมชน ห่างจากแหล่งน้ำ โดยจะดำเนินการก่อสร้างตามขั้นตอนต่อไป หากระงับจะผิดสัญญากับบริษัท สำหรับฟาร์มสุกรแห่งนี้เลี้ยงประมาณ 200 แม่พันธุ์

นายสมยศ เพชรา ผู้จัดการสหกรณ์ผู้เลี้ยงสัตว์จังหวัดพัทลุง จำกัด เปิดเผยว่า ภาวะการเลี้ยงสุกรใน จ.พัทลุง โดยภาพรวมทั้งของผู้เลี้ยงรายย่อย รายเล็ก และของสหกรณ์ที่มีอยู่ประมาณ 8 สหกรณ์ผู้เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งของบริษัทรายใหญ่ประมาณ 4 บริษัท ได้ล้นตลาดอยู่ จากปกติของพัทลุงมีประมาณ 300,000-400,000 ตัว ในปี 2556 แต่มาปี 2557 มีประมาณ 700,000 ตัว และในปี 2558 นี้ มีกว่า 700,000 ตัวหรือถึง 800,000 ตัว ซึ่งเป็นพื้นที่ 1 ใน 5 ของประเทศที่เลี้ยงสุกร เพราะบริษัทขนาดใหญ่ได้มาลงทุนในพื้นที่

“ประเด็นสำคัญเพราะเป้าหมายบริษัทรายขนาดใหญ่ลงทุนเลี้ยงไว้รองรับประชามคมอาเซียน หรือเออีซี ที่จะเปิดในปี 2557 ที่ผ่านมา แต่เออีซี ต้องเลื่อนออกมาเปิดในปี 2558 สุกรจึงเกิดภาวะล้นตลาดอยู่ โดยขณะนี้ของพื้นที่ จ.พัทลุง สามารถเลี้ยงภาคใต้ได้ทั้ง 14 จังหวัด”

นายสมยศ กล่าวอีกว่า โดยบริษัทรายใหญ่บางแห่งมีเป้าหมายที่จะเชือดสุกร ประมาณ 500 ตัว/วัน เพื่อรองรับตลาดเออีซี แต่เมื่อเลื่อนไปเปิดประมาณ 1 ปี สุกรจึงไม่สามารถระบายออกตามเป้าหมายได้จึงล้นตลาด จนเกิดปัญหาทางด้านราคา ในพื้นที่ราคาจึงตกต่ำลง

โดยในครึ่งปีหลังประสบปัญหาหนัก ราคาสุกรมีชีวิตทยอยลงมาอยู่ที่ราคาซื้อขายจริง 58 บาท และ 60 บาท/กก. ขณะนี้ราคาประกาศของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ อยู่ที่ 66 บาท/กก. ราคาระยะห่าง 5-6 บาท/กก.

 
นายสมยศ กล่าวต่ออีกว่า สหกรณ์ฯ ผู้เลี้ยงรายย่อย รายเล็กมีผลกระทบหนักมาหลายครั้ง จนสมาชิกประมาณกว่า 1,000 ราย ตอนนี้เหลืออยู่ประมาณ 200 ราย ที่ต้องยุติลงเพราะประสบปัญหาเรื่องขาดทุน และตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา ขาดทุนกับเสมอตัว แต่ครึ่งปีหลังเกิดปัญหาหนักมาก โดยก่อนครึ่งปีหลังราคาสุกรมีชีวิตยืนอยู่ที่ 67 บาท/กก. พร้อมกับกำลังซื้อที่หดหายไปเกินครึ่ง เพราะปัจจัยทางเศรษฐกิจภาคการเกษตรโดยเฉพาะราคายาง

นาสมยศ กล่าวด้วยว่า ตอนนี้ผู้เลี้ยงรายย่อย ผู้เลี้ยงกลุ่มสหกรณ์ จึงขอเรียนว่าให้กลุ่มต่างๆ ตลอดจนถึงรัฐบาล ขอให้เว้นพื้นที่เหลือพื้นที่ไว้ให้แก่การประกอบการกิจการปศุสัตว์รายย่อย รายเล็ก รายกลุ่ม รายสหกรณ์ ซึ่งขณะนี้พื้นที่เหลือไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ พร้อมทั้งให้รัฐบาลช่วยจัดอัตราตำแหน่งปศุสัตว์ 1 ตำแหน่ง ไว้ดูแลกับกลุ่มปศุสัตว์รายเหล่านี้ด้วย เพราะเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งเช่นกัน

ส่วนนโยบายทางด้านปศุสัตว์ รัฐบาลควรมีนโยบายที่ชัดเจนเพื่อเหลือพื้นที่ไว้ให้แก่ผู้เลี้ยงรายย่อย รายเล็ก หรือรายขนาดกลาง และรัฐบาลควรส่งเสริมสนับสนุน ซึ่งประเด็นนี้เป็นที่คาดหวังที่จะช่วยให้อยู่ได้

“ยังมีประเด็นเรื่องสำคัญ คือ การใช้สารเร่งเนื้อแดง ที่ทางรัฐบาลมีนโยบายเข้มงวด แต่ปรากฏว่า ในการตรวจสอบสารเร่งเนื้อแดงยังไม่เข้มข้นเหมือนกับทางภาคตะวันออก เพราะยังมีการใช้สารเร่งเนื้อแดงบางรายในพื้นที่ แล้วทำการส่งออกนอกพื้นที่” นายสมยศ กล่าว

ทางด้าน นายเกรียงศักดิ์ เสรีรัตน์ยืนยง ผู้เลี้ยงสุกรรายขนาดกลาง และอดีตนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ เปิดเผยว่า ภาวะสุกรในภาคใต้ ผู้เลี้ยงรายขนาดเล็กต่างเข้าเป็นคอนแทรกฟาร์มกับบริษัทขนาดใหญ่ จนถึงขณะนี้ไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เหลือประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์เป็นของรายเล็ก รายย่อย รายขนาดกลาง เพราะต้องการหลีกเลี่ยงภาวะการตลาด จึงทำให้ผู้เลี้ยงรายใหญ่ ขณะนี้มีสุกรทางภาคใต้ล้นตลาด และการบริโภคลดลงตามราคายาง เพราะ 80 เปอร์เซ็นต์ ของผู้บริโภคสุกร รายได้มาจากยางพารา ตอนนี้สุกรทางภาคใต้ จึงต้องส่งออกไปยังพื้นที่ภูมิภาคด้วย


 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น