สุราษฎร์ธานี - ธ.ก.ส.ลุยเงินออมธนาคารต้นไม้ หนุนชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงปลูกต้นไม้ใช้หนี้ ตั้งเป้าปลูกต้นไม้เพิ่มปีละ 2 ล้านต้น
ที่โรงแรมบรรจงบุรี อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ฝ่ายกิจการสาขาภาคใต้ตอนบนได้จัดงาน “นำเสนอผลิตภัณฑ์เงินออมธนาคารต้นไม้” เพื่อแก้วิกฤตสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้สารเคมี จนสภาพภูมิกาศมีการเปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดภาวะฝนแล้ง น้ำท่วม ปัญหาหนี้สินนอกระบบ โดยมี นายวงศศิริ พรหมชนะ ผวจ.สุราษฎร์ธานี เป็นประธาน
สำหรับโครงการธนาคารต้นไม้ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2553 โดยทาง ธ.ก.ส.ร่วมกับคณะกรรมการผู้นำชุมชนแห่งชาติ ริเริ่มการปลูกต้นไม้เพื่อใช้หนี้โดยส่งเสริมตามแนวพระราชดำริ ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยสร้างระบบจัดการทรัพยากรชุมชนร่วมกัน เพิ่มพื้นที่ป่าไม้ด้วยการปลูกพืชแบบวนเกษตร เป็นการลดพื้นที่การทำเกษตรแบบเชิงเดี่ยวให้น้อยลง เกิดวิสาหกิจที่เกี่ยวเนื่องต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการตัดแต่ง แปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้เป็นเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ซึ่งเป็นที่มาของธนาคารต้นไม้
นายมรกต พิธรัตน์ ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ธ.ก.ส.ตั้งเป้าการดำเนินการธนาคารต้นไม้โดยจะสนับสนุชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง และชุมชนอื่นๆ เพื่อขยายในปี 2561 จะขยายเป็น 6,800 ชุมชน มีสมาชิก 170,000 คน ปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นปีละ 200,000 ต้น จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 9,300,000 ต้น
นอกจากนั้น ผลิตภัณฑ์เงินออมธนาคารต้นไม้ ผู้ฝากเงินเริ่มต้นที่ 10,000 บาท ได้รับดอกเบี้ย 1.55% ต่อปี บุคคลธรรมดา ส่วนราชการ และองค์กรของรัฐ ไม่เสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก ธนาคารจะสมทบเงิน จำนวน 0.25% ของยอดเงินฝากคงเหลือเพื่อสนับสนุนเกษตร และชุมชนนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูก และดูแลต้นไม้เพื่ออนุรักษ์เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ที่สำคัญทางชุมชนให้การตอบรับดีมาก และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ที่โรงแรมบรรจงบุรี อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ฝ่ายกิจการสาขาภาคใต้ตอนบนได้จัดงาน “นำเสนอผลิตภัณฑ์เงินออมธนาคารต้นไม้” เพื่อแก้วิกฤตสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้สารเคมี จนสภาพภูมิกาศมีการเปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดภาวะฝนแล้ง น้ำท่วม ปัญหาหนี้สินนอกระบบ โดยมี นายวงศศิริ พรหมชนะ ผวจ.สุราษฎร์ธานี เป็นประธาน
สำหรับโครงการธนาคารต้นไม้ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2553 โดยทาง ธ.ก.ส.ร่วมกับคณะกรรมการผู้นำชุมชนแห่งชาติ ริเริ่มการปลูกต้นไม้เพื่อใช้หนี้โดยส่งเสริมตามแนวพระราชดำริ ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยสร้างระบบจัดการทรัพยากรชุมชนร่วมกัน เพิ่มพื้นที่ป่าไม้ด้วยการปลูกพืชแบบวนเกษตร เป็นการลดพื้นที่การทำเกษตรแบบเชิงเดี่ยวให้น้อยลง เกิดวิสาหกิจที่เกี่ยวเนื่องต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการตัดแต่ง แปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้เป็นเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ซึ่งเป็นที่มาของธนาคารต้นไม้
นายมรกต พิธรัตน์ ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ธ.ก.ส.ตั้งเป้าการดำเนินการธนาคารต้นไม้โดยจะสนับสนุชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง และชุมชนอื่นๆ เพื่อขยายในปี 2561 จะขยายเป็น 6,800 ชุมชน มีสมาชิก 170,000 คน ปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นปีละ 200,000 ต้น จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 9,300,000 ต้น
นอกจากนั้น ผลิตภัณฑ์เงินออมธนาคารต้นไม้ ผู้ฝากเงินเริ่มต้นที่ 10,000 บาท ได้รับดอกเบี้ย 1.55% ต่อปี บุคคลธรรมดา ส่วนราชการ และองค์กรของรัฐ ไม่เสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก ธนาคารจะสมทบเงิน จำนวน 0.25% ของยอดเงินฝากคงเหลือเพื่อสนับสนุนเกษตร และชุมชนนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูก และดูแลต้นไม้เพื่ออนุรักษ์เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ที่สำคัญทางชุมชนให้การตอบรับดีมาก และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ