ASTVผู้จัดการรายวัน - ครม.ยังเห็นชอบยกเว้นภาษีเงินได้ให้สมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และเว้นภาษีธุรกิจในกิจการ กอช. นอกจากนี้ ครม.อนุมัติโอนเงินกองทุนฟื้นฟู 1.4 หมื่นล้านบาท ชำระคืน FIDF1,FIDF3 ในปีงบ 59
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวานนี้ (6 ต.ค.) มีมติเห็นชอบหลักการของมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนกองทุนการออมแห่งชาติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ 1. กำหนดให้ผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนเงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ในการคำนวณเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามจำนวนที่จ่ายจริง ในลักษณะการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้เท่าที่สมาชิกของ กอช.จ่ายเป็นเงินสะสมเข้า กอช. ทั้งนี้ เมื่อรวมกับเงินสะสมในลักษณะทำนองเดียวกันแล้วต้องไม่เกินกว่าจำนวนตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด
2. ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่สมาชิกของ กอช.หรือบุคคลซึ่งสมาชิกของ กอช.ได้แสดงเจตนาไว้แก่ กอช.หรือทายาทของสมาชิก กอช.ได้รับจาก กอช.ในกรณีที่สมาชิกของ กอช.สิ้นสมาชิกภาพเพราะอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หรือมีกฎหมายกำหนดให้การสิ้นสมาชิกภาพเพราะเหตุอื่นถือว่าเป็นการสิ้นสมาชิกภาพเพราะอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หรือสิ้นสมาชิกภาพเพราะตาย 3. ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่สมาชิกของ กอช.ได้รับจาก กอช.ในกรณีที่ทุพพลภาพก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 1 – 3 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด 4. ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับกิจการของ กอช. 5. ยกเว้นอากรแสตมป์สำหรับการกระทำตราสารของ กอช. สำหรับผลประโยชน์ของเงินสะสมที่สมาชิกของ กอช.ได้รับจาก กอช.ในกรณีที่สิ้นสมาชิกภาพเพราะลาออกจากกองทุน เห็นควรให้รวมคำนวณเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกับการลาออกจากกองทุนอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน
กระทรวงการคลังรายงานว่าเนื่องจาก กอช.มีวัตถุประสงค์และลักษณะการดำเนินการคล้ายคลึงกับกองทุนบำเหน็จบำนาญช้าราชการ (กบข.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (กสล.) และกองทุนประกันสังคม กล่าวคือ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม การออมของประชาชนให้มีหลักประกันรายได้ระดับพื้นฐานในวัยสูงอายุ สมาชิก กอช. สมควรได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในทำนองเดียวกันกับสมาชิก กบข. สมาชิก กสล. และสมาชิกกองทุนประกันสังคม นอกจากนี้ หากการดำเนินการของ กอช.ซึ่งคาดว่าส่วนใหญ่เป็นการทำธุรกรรมทางการเงินมีต้นทุนที่ต่ำจะช่วยเพิ่มผลประโยชน์ที่สมาชิกของ กอช.ได้รับจาก กอช.อันเป็นการช่วยเหลือสมาชิกของ กอช. โดยเฉพาะสมาชิกที่มีรายได้น้อยให้มีรายได้เพียงพอยิ่งขึ้นแก่การดำรงชีพในยามชราภาพ
สมาชิกของ กอช. จะได้รับเงินหรือผลประโยชน์จาก กอช.ดังนี้ 1. เงินบำนาญในกรณีที่สิ้นสมาชิกภาพเพราะอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ (มาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติฯ) 2. เงินดำรงชีพในกรณีที่เงินบำนาญ มีจำนวนน้อยกว่าจำนวนเงินบำนาญขั้นต่ำที่กำหนดโดยกฎกระทรวง (มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติฯ) 3. เงินสะสม เงินสมทบของรัฐบาล และผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบของรัฐบาลในกรณีที่สิ้นสมาชิกภาพเพราะตายก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ โดยจ่ายให้แก่บุคคลที่สมาชิกแสดงเจตนาไว้ต่อกองทุนหรือทายาทของสมาชิก (มาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติฯ) 4. เงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมทั้งหมดหรือบางส่วนในกรณีที่ทุพพลภาพก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ (มาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ) 5. เงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมในกรณีที่สิ้นสมาชิกภาพเพราะลาออกจากกองทุน (มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ)
6. เงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมในกรณีที่สมาชิกของ กอช.เป็นสมาชิกกองทุนหรืออยู่ในระบบบำนาญอื่นก่อนสิ้นสมาชิกภาพ และได้คงการเป็นสมาชิกของ กอช. ต่อไปโดยได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ตอบแทนของเงินสะสมเมื่อสิ้นสมาชิกภาพ กล่าวคือ อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์หรือตายหรือลาออกจากกองทุน (มาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ) 7. เงินชดเชยกรณีสิ้นสมาชิกภาพเพราะอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์หรือตาย แต่ในวันที่สิ้นสมาชิกภาพนั้นผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบของรัฐบาลที่ได้รับตลอดช่วงอายุการเป็นสมาชิกคำนวณได้น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภท 12 เดือน โดยเฉลี่ยของธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารพาณิชย์แห่งใหญ่ 5 แห่ง โดยเงินชดเชยจะเท่ากับผลต่างระหว่างผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบของรัฐบาลดังกล่าวกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่คำนวณได้ (มาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ)
***อนุมัติโอนเงินFIDF 1.4 หมื่นล้านใช้หนี้
พล.ต.สรรเสริญแถลงด้วยว่า ครม.มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้โอนเงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) เข้าบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (บัญชีสะสมฯ) ในปีงบประมาณ 2559 จำนวน 14,000 ล้านบาท โดยให้กองทุนฯ ทยอยโอนเงินดังกล่าวเข้าบัญชีสะสมฯ ตามปริมาณสภาพคล่องของกองทุนฯ
ทั้งนี้ ในระหว่างปีงบประมาณ 2559 หากกองทุนฯ ได้รับเงินที่มีนัยสำคัญให้พิจารณาทบทวนเพื่อขออนุมัตินำส่งเงินเข้าบัญชีสะสมฯ เพิ่มเติมต่อไป โดยกระทรวงการคลัง รายงานว่าในปีงบประมาณ 2558 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กองทุนฯ โอนเงินเข้าบัญชีสะสมฯ ชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3 จำนวน 3 ครั้ง เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 65,029 ล้านบาท โดยกองทุนฯ ได้ทยอยโอนเงินจำนวนดังกล่าวชำระต้นเงินกู้ FIDF 1 และ FIDF 3 ไปแล้ว 52,629 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 12,400 ล้านบาท จะโอนในเดือนกันยายน 2558
จากการทบทวนประมาณการกระแสเงินรับ-จ่ายของกองทุนฯ คาดว่า ณ สิ้นเดือนกันยายน 2559 กองทุนฯ จะมีสภาพคล่องคงเหลือ 15,598 ล้านบาท (ไม่รวมเงินปันผลรับจากธนาคารกรุงไทย เนื่องจากในปี 2559 คาดว่าจะมีการโอนหุ้นในส่วนที่กองทุนฯ ถือหุ้นไปบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติตามนโยบายทางการ) ซึ่งกองทุนฯ จะมีสภาพคล่องที่จะสามารถชำระต้นเงิน FIDF 1 และ FIDF 3 ในปีงบประมาณ 2559 ได้ 14,000 ล้านบาท
คณะกรรมการจัดการกองทุนในการประชุมเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2558 จึงเห็นควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้โอนเงินของกองทุนฯ เพื่อชำระต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3 ในปีงบประมาณ 2559 จำนวน 14,000 ล้านบาท โดยทยอยโอนเงินของกองทุนฯ เข้าบัญชีสะสมฯ ตามปริมาณสภาพคล่องของกองทุนฯ และในระหว่างปีงบประมาณ 2559 หากกองทุนฯ ได้รับเงินที่มีนัยสำคัญจะพิจารณาทบทวนเพื่อขออนุมัตินำส่งเข้าบัญชีสะสมฯ เพิ่มเติมต่อไป
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวานนี้ (6 ต.ค.) มีมติเห็นชอบหลักการของมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนกองทุนการออมแห่งชาติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ 1. กำหนดให้ผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนเงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ในการคำนวณเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามจำนวนที่จ่ายจริง ในลักษณะการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้เท่าที่สมาชิกของ กอช.จ่ายเป็นเงินสะสมเข้า กอช. ทั้งนี้ เมื่อรวมกับเงินสะสมในลักษณะทำนองเดียวกันแล้วต้องไม่เกินกว่าจำนวนตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด
2. ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่สมาชิกของ กอช.หรือบุคคลซึ่งสมาชิกของ กอช.ได้แสดงเจตนาไว้แก่ กอช.หรือทายาทของสมาชิก กอช.ได้รับจาก กอช.ในกรณีที่สมาชิกของ กอช.สิ้นสมาชิกภาพเพราะอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หรือมีกฎหมายกำหนดให้การสิ้นสมาชิกภาพเพราะเหตุอื่นถือว่าเป็นการสิ้นสมาชิกภาพเพราะอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หรือสิ้นสมาชิกภาพเพราะตาย 3. ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่สมาชิกของ กอช.ได้รับจาก กอช.ในกรณีที่ทุพพลภาพก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 1 – 3 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด 4. ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับกิจการของ กอช. 5. ยกเว้นอากรแสตมป์สำหรับการกระทำตราสารของ กอช. สำหรับผลประโยชน์ของเงินสะสมที่สมาชิกของ กอช.ได้รับจาก กอช.ในกรณีที่สิ้นสมาชิกภาพเพราะลาออกจากกองทุน เห็นควรให้รวมคำนวณเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกับการลาออกจากกองทุนอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน
กระทรวงการคลังรายงานว่าเนื่องจาก กอช.มีวัตถุประสงค์และลักษณะการดำเนินการคล้ายคลึงกับกองทุนบำเหน็จบำนาญช้าราชการ (กบข.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (กสล.) และกองทุนประกันสังคม กล่าวคือ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม การออมของประชาชนให้มีหลักประกันรายได้ระดับพื้นฐานในวัยสูงอายุ สมาชิก กอช. สมควรได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในทำนองเดียวกันกับสมาชิก กบข. สมาชิก กสล. และสมาชิกกองทุนประกันสังคม นอกจากนี้ หากการดำเนินการของ กอช.ซึ่งคาดว่าส่วนใหญ่เป็นการทำธุรกรรมทางการเงินมีต้นทุนที่ต่ำจะช่วยเพิ่มผลประโยชน์ที่สมาชิกของ กอช.ได้รับจาก กอช.อันเป็นการช่วยเหลือสมาชิกของ กอช. โดยเฉพาะสมาชิกที่มีรายได้น้อยให้มีรายได้เพียงพอยิ่งขึ้นแก่การดำรงชีพในยามชราภาพ
สมาชิกของ กอช. จะได้รับเงินหรือผลประโยชน์จาก กอช.ดังนี้ 1. เงินบำนาญในกรณีที่สิ้นสมาชิกภาพเพราะอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ (มาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติฯ) 2. เงินดำรงชีพในกรณีที่เงินบำนาญ มีจำนวนน้อยกว่าจำนวนเงินบำนาญขั้นต่ำที่กำหนดโดยกฎกระทรวง (มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติฯ) 3. เงินสะสม เงินสมทบของรัฐบาล และผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบของรัฐบาลในกรณีที่สิ้นสมาชิกภาพเพราะตายก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ โดยจ่ายให้แก่บุคคลที่สมาชิกแสดงเจตนาไว้ต่อกองทุนหรือทายาทของสมาชิก (มาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติฯ) 4. เงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมทั้งหมดหรือบางส่วนในกรณีที่ทุพพลภาพก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ (มาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ) 5. เงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมในกรณีที่สิ้นสมาชิกภาพเพราะลาออกจากกองทุน (มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ)
6. เงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมในกรณีที่สมาชิกของ กอช.เป็นสมาชิกกองทุนหรืออยู่ในระบบบำนาญอื่นก่อนสิ้นสมาชิกภาพ และได้คงการเป็นสมาชิกของ กอช. ต่อไปโดยได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ตอบแทนของเงินสะสมเมื่อสิ้นสมาชิกภาพ กล่าวคือ อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์หรือตายหรือลาออกจากกองทุน (มาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ) 7. เงินชดเชยกรณีสิ้นสมาชิกภาพเพราะอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์หรือตาย แต่ในวันที่สิ้นสมาชิกภาพนั้นผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบของรัฐบาลที่ได้รับตลอดช่วงอายุการเป็นสมาชิกคำนวณได้น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภท 12 เดือน โดยเฉลี่ยของธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารพาณิชย์แห่งใหญ่ 5 แห่ง โดยเงินชดเชยจะเท่ากับผลต่างระหว่างผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบของรัฐบาลดังกล่าวกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่คำนวณได้ (มาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ)
***อนุมัติโอนเงินFIDF 1.4 หมื่นล้านใช้หนี้
พล.ต.สรรเสริญแถลงด้วยว่า ครม.มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้โอนเงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) เข้าบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (บัญชีสะสมฯ) ในปีงบประมาณ 2559 จำนวน 14,000 ล้านบาท โดยให้กองทุนฯ ทยอยโอนเงินดังกล่าวเข้าบัญชีสะสมฯ ตามปริมาณสภาพคล่องของกองทุนฯ
ทั้งนี้ ในระหว่างปีงบประมาณ 2559 หากกองทุนฯ ได้รับเงินที่มีนัยสำคัญให้พิจารณาทบทวนเพื่อขออนุมัตินำส่งเงินเข้าบัญชีสะสมฯ เพิ่มเติมต่อไป โดยกระทรวงการคลัง รายงานว่าในปีงบประมาณ 2558 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กองทุนฯ โอนเงินเข้าบัญชีสะสมฯ ชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3 จำนวน 3 ครั้ง เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 65,029 ล้านบาท โดยกองทุนฯ ได้ทยอยโอนเงินจำนวนดังกล่าวชำระต้นเงินกู้ FIDF 1 และ FIDF 3 ไปแล้ว 52,629 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 12,400 ล้านบาท จะโอนในเดือนกันยายน 2558
จากการทบทวนประมาณการกระแสเงินรับ-จ่ายของกองทุนฯ คาดว่า ณ สิ้นเดือนกันยายน 2559 กองทุนฯ จะมีสภาพคล่องคงเหลือ 15,598 ล้านบาท (ไม่รวมเงินปันผลรับจากธนาคารกรุงไทย เนื่องจากในปี 2559 คาดว่าจะมีการโอนหุ้นในส่วนที่กองทุนฯ ถือหุ้นไปบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติตามนโยบายทางการ) ซึ่งกองทุนฯ จะมีสภาพคล่องที่จะสามารถชำระต้นเงิน FIDF 1 และ FIDF 3 ในปีงบประมาณ 2559 ได้ 14,000 ล้านบาท
คณะกรรมการจัดการกองทุนในการประชุมเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2558 จึงเห็นควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้โอนเงินของกองทุนฯ เพื่อชำระต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3 ในปีงบประมาณ 2559 จำนวน 14,000 ล้านบาท โดยทยอยโอนเงินของกองทุนฯ เข้าบัญชีสะสมฯ ตามปริมาณสภาพคล่องของกองทุนฯ และในระหว่างปีงบประมาณ 2559 หากกองทุนฯ ได้รับเงินที่มีนัยสำคัญจะพิจารณาทบทวนเพื่อขออนุมัตินำส่งเข้าบัญชีสะสมฯ เพิ่มเติมต่อไป